ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
แบบร่างพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 (King Rama VI)
ศิลปิน : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (Silpa Bhirasri)
ปีพุทธศักราช: ปี พ.ศ. 2501 (1958)
เทคนิค: หล่อปลาสเตอร์ (Plaster)
ขนาด : สูง 45 เซนติเมตร (H.45 cm)
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s14ok/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ธารพระกรแก้ว” ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ วิทยากร นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ, นางสาวบุบผา ชูชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
ชื่อเรื่อง นิพฺพานสุตฺต (นิพพานสุด)สพ.บ. 471/1ขหมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา นิพพานประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 40 หน้า : กว้าง 4.4 ซม. ยาว 55.6 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
สรุปกิจกรรม "พิพิธภัณฑ์บันดาลไทย" : แรงบันดาลใจสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากคุณค่าของวัตถุทางวัฒนธรรม
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดกิจกรรม ”พิพิธภัณฑ์บันดาลไทย: การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากคุณค่าวัตถุทางวัฒนธรรมของพิพิธภัณฑ์“ ระหว่างวันที่ 26-30 มิถุนายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี มีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นนักเรียนระดับมัธยมปลาย และนิสิต นักศึกษาในระดับปริญญาตรี รวมจำนวน 109 คน
กิจกรรมการตามหาแรงบันดาลใจจากทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และการเรียนรู้กระบวนการงานออกแบบกราฟฟิก เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยมรดกศิลปวัฒธรรมไทยอย่างยั่งยืน โดยมีอธิบดีกรมศิลปากร นายพนมบุตร จันทรโชติ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และนางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้รับมอบหมายเป็นประธานในพิธีปิดและมอบเกียรติบัตรผู้เข้าร่วมกิจกรรม เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2567
กิจกรรมในครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรจาก “กลุ่มเซียมไล้” กลุ่มนักออกแบบกราฟฟิกที่โดดเด่นในด้านการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทย อาจารย์ไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปินศิลปาธร 2557 สาขาเรขศิลป์ รองศาสตราจารย์ อาวิน อินทรังษี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลย์ศิริ อาจารย์ปณต ทองประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์ และที่สำคัญที่สุดคือนักเรียน นิสิต นักศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนที่ให้ความสนใจและร่วมกิจกรรมกันมาตลอดระยะเวลา 5 วัน สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนกิจกรรมทุกท่านมา ณ ที่นี้#พิพิธภัณฑ์บันดาลไทย #สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ #กรมศิลปากร #กลุ่มเซียมไล้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ชวนน้องๆ ร่วมสืบสานประเพณีอันดีงามของไทย “ประเพณีลอยกระทง” ด้วยกิจกรรมวาดภาพ ระบายสี ประดิษฐ์กระทงกระดาษ ณ มุมกิจกรรม Museum Kid's Zone พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตลอดเดือนพฤศจิกายน 2567 ร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3721 1586 เปิดบริการวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 09.00-16:00 น. ปิดวันจันทร์ – อังคาร ค่าเข้าชมชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท และพระภิกษุ สามเณร นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี เข้าชมฟรี ทั้้งนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตั้งอยู่ที่ ถ.ปราจีนอนุสรณ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25000 google map : https://maps.app.goo.gl/tAcTjUtEEgV7zY9s9
พระบวรราชวัง หรือพระราชวังบวรสถานมงคล หรือที่เรียกกันว่า “วังหน้า” เป็นสถานที่หนึ่งที่งดงามวิจิตร และเป็นตำนานอันแสดงให้เห็นพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสถานที่ และสะท้อนให้เห็นรากฐานทางวัฒนธรรมของประเทศในยุครัตนโกสินทร์ที่น่าสนใจ ควรที่ชาวไทยทุกคนจะได้ทำความรู้จักเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในมรดกทางศิลปกรรมของชาติ
กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์หนังสือ “พระราชวังบวรสถานมงคล” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของพระราชวังบวรสถานมงคล เรื่องของภูมิสถานและที่ตั้งของพระบวรราชวัง อาคารและสิ่งปลูกสร้างสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ หมู่พระวิมาน หอแก้วศาลพระภูมิ และกำแพงวังหน้า อาคารและสิ่งปลูกสร้างสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้แก่ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย และพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) อาคารและสิ่งปลูกสร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้แก่ พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ พระที่นั่งมังคลาภิเษก ตำหนักแดง และเก๋งนุกิจราชบริหาร
หนังสือนี้จะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของพระบวรราชวัง (วังหน้า) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ในแง่มุมต่าง ๆ จำหน่ายราคาเล่มละ ๑,๑๖๕ บาท ผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร ถ.หน้าพระธาตุ พระนคร กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๔๗๐๒, ๐ ๒๒๒๒ ๓๕๖๙
นิทรรศการ "สินสุข" ในโครงการประยุกตศิลป์ร่วมสมัยภูมิปัญญาไทยสู่อาเซียน นำเสนอผลงานประยุกต์ศิลป์ของคณาจารย์ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเกิดจากความประทับใจในความเป็นสุโขทัย บอกเล่าแง่มุมใหม่ๆของเมืองอันสงบงามแห่งนี้ จัดแสดง ณ อาคารจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ระหว่างวันที่ ๒๖ กันยายน - ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทิศเหนือใต้
ชื่อโบราณสถาน โบราณสถานร้าง ต.๑
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ โดยอยู่ติดกับกำแพงเมืองชั้นนอก บริเวณที่ เรียกว่า อีจอม หรือห่างจากประตูนะโมมาทางทิศตะวันตกตามแนวกำแพง เมืองประมาณ ๕๐๐ เมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัด สุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๐ ลิปดา ๔๐ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๒๑ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย -
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถานที่ยังไม่ได้รับการขุดแต่งและบูรณะ ไม่ทราบรูปร่างแน่ ชัด แต่จากหลักฐานการก่ออิฐและเสาศิลาแลงที่ปรากฏอาจจะเป็นกลุ่ม โบราณสถานที่เป็นกลุ่มเจดีย์และวิหาร ขนาดเนินโบราณสถานดังกล่าว กว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๒๕ เมตร
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ขุดแต่ง พ.ศ. 2556
ชื่อโบราณสถาน โบราณสถานร้าง ต.๒
ที่ตั้ง ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ โดยอยู่ติดกับประตูนะโมและอยู่ริมถนนที่ ออกจากประตูเมืองด้านทิศตะวันตก ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๐ ลิปดา ๓๗ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๒๖ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย -
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถานก่ออิฐ ไม่ทราบรูปร่างแน่ชัด มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๑๐ เมตร ตั้งอยู่ตรงกลางเนินดิน มีคูน้ำล้อมรอบอยู่ ๓ ด้าน ส่วน ด้านทิศตะวันออกไม่ปรากฏมีคูน้ำ เพราะเป็นแนวถนนตัดผ่าน คูน้ำนี้กว้าง ประมาณ ๑๐ เมตร ล้อมรอบพื้นที่โบราณสถานขนาดกว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตรไว้
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ขุดแต่ง พ.ศ.2556
ชื่อโบราณสถาน โบราณสถานร้าง ต.๓
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้โดยอยู่ห่างจากประตูนะโมไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๕๐ เมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๐ ลิปดา ๓๕ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๒๗ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย -
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถานก่ออิฐ มีเสาศิลาแลงกลมปรากฏอยู่บนเนิน โบราณสถาน คาดว่าจะเป็นฐานวิหาร รูปร่างของเนินโบราณสถานนี้มี ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ขุดแต่ง พ.ศ.2556
ชื่อโบราณสถาน โบราณสถานร้าง ต.๔
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้โดยอยู่ห่างจากประตูนะโมไปทางทิศใต้ ประมาณ ๒๐๐เมตร และอยู่ติดถนนที่ออกมาจากประตูเมือง ในเขตตำบล เมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๐ ลิปดา ๓๒ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๒๗ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย -
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถานก่ออิฐ ไม่ทราบรูปร่าง ขนาดของเนินโบราณสถานมี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เมตร
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ
ชื่อโบราณสถาน โบราณสถานร้าง ต.๕
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ โดยอยู่ห่างจากประตูนะโมไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๓๐๐ เมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๐ ลิปดา ๓๐ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๓๕ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย -
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถาน ๒ เนิน ไม่ทราบรูปร่าง อยู่ห่างกันประมาณ
๔๐ เมตร มีแนวก่ออิฐและศิลาแลง ขนาดของเนินโบราณสถานเนินแรก กว้างประมาณ ๑๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร เนินที่สองอยู่ทางทิศใต้ของเนิน แรก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เมตร
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ
วันจันทร์ที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๓๐ น.โรงเรียนสาธิตวัดพระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร นำนักเรียนชั้นประถมปีที่ ๑-๖ จำนวน ๑๕๐ คนพร้อมคณะครู ๑๕ ท่าน เข้าชมศูนย์บริการข้อมูลและโบราณสถานต่างๆ ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อาทิ วัดช้างรอบ วัดพระสี่อิริยาบถ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราชเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน กราบสักการะพระพุทธสิหิงค์ เพื่อความเป็นศิริมงคล เนื่องในวันวิสาขบูชา ตั้งแต่วันที่29 พฤษภาคม ถึงวันที่9 มิถุนายน นี้ เปิดบริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่9.00~16.00 น.
อธิบดีกรมศิลปากร (นายบวรเวท รุ่งรุจี)
เป็นประธานพิธีเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘
"ศรีสวรินทิราราชกรณียานุกิจ สิรินธรพินิจราชกรณียานุการ"
ในวันจันทร์ที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
ณ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา