ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ชื่อเรื่อง : นิบาตชาดก เล่ม ๕ เอกนิบาต สามวรรค ภาคที่ ๕ ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2463 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร จำนวนหน้า : 196 หน้า สาระสังเขป : นิบาตชาดกมีเนื้อหากล่าวถึงพระอดีตชาติของพระพุทธเจ้าที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับภูมิหลังและการกลับชาติมาเกิดของบุคคลในสมัยพุทธกาล เล่ม ๕ รวม ชาดก ๔๕ เรื่อง ดังนี้ นตํทัฬหวรรค ที่ ๖ มีชาดก ๑๐ เรื่อง วีรณัตภัมภวรรคที่ ๗ มีชาดก ๑๐ เรื่อง กาสาวรรคที่ ๘ มีชาดก ๑๐ เรื่อง เรียบเรียงโดย หลวงราชาภิรมย์ (แจ่ม บุรณนนท์) อุปหนวรรคที่ ๙ มีชาดก ๕ เรื่อง และ สิงคาวรรคที่ ๑๐ มีชาดก ๑๐ เรื่อง เรียบเรียงโดยหลวงธำรงเจดีย์รัฐ (เทศ วิริยรัต)
ชื่อเรื่อง วิศวกรรมสาร (ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 เมษายน 2521)
ชื่อผู้แต่ง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
พิมพ์ครั้งที่ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ สหมิตรการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2521
จำนวนหน้า 64 หน้า
รายละเอียด
เป็นวารสารส่งเสริมความรู้ทางวิชาการในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการแสดง ความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ อันจะนำไปสู่ความริเริ่มเพื่อขยายงานที่กระทำอยู่ให้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ เนื้อหาภายในประกอบด้วย 5 บทความ เช่น การใช้ DISPERSED FLOW MODEL ในงานจำกัดน้ำเสีย การวางแผนผังโรงงานโดยวิธีปริมาณ ฯลฯ
พระพิมพ์ภาพพระพุทธเจ้าและพระโพธิ์สัตว์ในวิมาน
สมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๔
พบที่เขาอกทะลุ จังหวัดพัทลุง
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระพิมพ์ทรงกลม ทำจากดินดิบสีขาวนวล กึ่งกลางเป็นรูปพระพุทธเจ้าแสดงปางมารวิชัยประทับในพระวิมาน ขนาบข้างด้วยพระโพธิ์สัตว์ประทับภายในพระวิมานองค์ละหลัง ด้านขวาของพระวิมานมีรูปเสาธรรมจักรหันข้าง ส่วนด้านซ้ายพระวิมานมีรูปสถูป
ลักษณะวิมานทำเป็นหลังคาชั้นซ้อน กึ่งกลางเป็นกุฑุรูปวงโค้งคล้ายเกือกม้า ส่วนยอดบนสุดประดับด้วยชิ้นส่วนรูปทรงคล้ายกลีบมะเฟืองที่เรียกว่า อามลกะ (ตามแบบสถาปัตยกรรมของศิลปะอินเดียภาคเหนือ) ใต้พระวิมานมีจารึกคาถา เย ธมฺมาฯ อักษรเทวนาครี เบื้องล่างสุดเป็นรูปสรรพสัตว์ทั้งหลาย
พระพิมพ์ชิ้นนี้ได้รับการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาองค์ประกอบทางเคมีของแร่ธาตุ พบว่ามีส่วนผสมของแร่แคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งน่าจะเป็นเศษกระดูกหรืออัฐิธาตุที่มาจากร่างของผู้วายชนม์นำมาผสมกับดินสร้างเป็นพระพิมพ์ชิ้นนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงให้ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างพระพิมพ์ในพื้นที่ภาคใต้ไว้ว่า
“...คิดดูก็เห็นว่าพระพิมพ์ดินดิบนี้จะเป็นของสร้างบรรจุอัฐิธาตุของพระสงฆ์เถระแต่โบราณจริง จึงทำเป็นดินดิบ เพราะอัฐิธาตุนั้นได้เผาครั้งหนึ่งแล้วและการที่สร้างพระพิมพ์บรรจุอัฐิธาตุ เป็นแต่เพื่อปรมัตถประโยชน์* ของผู้มรณภาพ...”
ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับพระพิมพ์ที่เขาอกทะลุ จังหวัดพัทลุงนั้น จากเอกสาร “จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. ๑๒๑” ของ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงบันทึกไว้ว่า วันเสาร์ที่ ๗ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) พระอธิการได้นำเอาพระพิมพ์จากถ้ำเขาอกทะลุมาให้พระองค์ได้ทอดพระเนตร พระองค์จึงตัดสินใจเดินทางไปถึงถ้ำเขาอกทะลุ ดังความตอนหนึ่งว่า
“...ถึงถ้ำมีรูปพระประกับฝังดินอยู่มากกว่ามาก ขุดอยู่จนบ่าย ๒.๓๕ จึงกลับขึ้นช้างไป ได้พระพิมพ์มามาก แต่ยังไม่รู้ว่ารูปอะไรต่ออะไร เพราะเปียก ชำระดูไม่ได้...”
*ปรมัตถประโยชน์ หมายถึง ประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์อันสูงสุด
อ้างอิง
กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔.
นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. ๑๒๑.พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๐.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สบ.๒.๕๖/๒๔. เอกสารส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง อธิบายเรื่องพระพิมพ์ดินดิบในพิพิธภัณฑ์ พระนคร (๑๐ พฤษภาคม ๒๔๗๒).
เลขทะเบียน : นพ.บ.387/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 5 x 53.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 144 (40-47) ผูก 7 (2566)หัวเรื่อง : พระมหาปัฏฐาน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.527/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 48 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 176 (267-279) ผูก 11 (2566)หัวเรื่อง : ลำสินไชย--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง พระเจ้าห้าสิบชาติ (ห้าสิบชาติ)อย.บ. 424/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4.8 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
วันนี้ในอดีต 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคต (วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)
11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ปราสาททอง กรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศ เมืองลพบุรี หลังจากประชวรหนักในช่วงที่ พระเพทราชา กระทำการชิงราชสมบัติ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 4 ของราชวงศ์ปราสาททอง ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าปราสาททองและพระนางเจ้าสิริกัลยานี พระราชสมภพในปี 2175 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2199 มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะทรงมีพระชนมายุ 25 พรรษา
หลังจากประทับที่กรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 ในปี 2209 และเสด็จไปประทับทุก ๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน กระทั่งเสด็จสวรรคตในปี 2231 ขณะพระชนมายุได้ 56 พรรษา รวมเวลาที่ทรงครองราชสมบัติ 32 ปี
วันจันทร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยนางรักชนก โคจรานนท์ รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร ผู้อำนวยการสำนัก ข้าราชการกรมศิลปากร และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ร่วมกันถวายเทียนพรรษา ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ อุโบสถวัดเทวราชกุญชร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขอเชิญชมการประดับไฟส่องสว่างซุ้มอุโมงค์ลีลาวดี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ในยามค่ำคืน ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เวลา 19.00 - 22.00 น. กิจกรรมนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการขับเคลื่อนเมืองน่านสู่เมืองอัจฉริยะเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว สนับสนุนโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เทศบาลเมืองน่านและหน่วยงานพันธมิตร
นักท่องเที่ยวทุกท่านสามารถแวะเข้ามาเดินเยี่ยมชมและถ่ายรูปเช็คอินบริเวณซุ้มอุโมงค์ลีลาวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และวัดอื่น ๆ ที่มีการประดับระบบไฟส่องสว่าง ได้แก่ วัดมิ่งเมือง วัดศรีพันต้น และวัดสวนตาล
เหรียญรูปปูรณฆฏะและศรีวัตสะ สมัยทวารวดี
เหรียญรูปปูรณฆฏะและศรีวัตสะ จัดแสดงอาคารจัดแสดง ๒ ชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
เหรียญเงินกลมแบน เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒.๕ เซนติเมตร มีรูปสัญลักษณ์มงคลทั้ง ๒ ด้าน แต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้
ด้านที่ ๑ มีรูปปูรณฆฏะขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ตรงกึ่งกลางเหรียญ โดยมีลักษณะเป็นหม้อทรงกลม ป่องกลาง คอคอด ปากกว้างผายออก มีลายพันธุ์พฤกษาห้อยลงมาทั้งสองข้าง ใต้หม้อมีสิ่งรองรับอาจเป็นใบไม้หรือดอกไม้ ขอบด้านนอกตกแต่งด้วยลายจุดกลมโดยรอบ
ด้านที่ ๒ มีรูปศรีวัตสะ และสัญลักษณ์มงคลอื่นๆ ประกอบ โดยมีศรีวัตสะอยู่ตรงกึ่งกลาง ลักษณะเป็นโครงลายเส้น โดยเส้นฐานล่างเป็นเส้นตรง เส้นด้านข้างทั้งสองด้านเชื่อมกับเส้นฐานล่าง ส่วนด้านบนตรงกึ่งกลางมีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านในมีรูปวัชระ ลักษณะเป็นอาวุธมีปลายแฉกทั้ง ๒ ด้าน ส่วนบนด้านขวาเป็นรูปพระอาทิตย์ และด้านซ้ายเป็นรูปพระจันทร์ ถัดลงมาด้านขวามีรูปอังกุศ (ขอสับช้าง) ลักษณะเป็นแท่งยาวมีปลายแหลมยื่นออกมาที่ด้านข้าง ส่วนด้านซ้ายสันนิษฐานว่าเป็นภาพจามร (แส้) ลักษณะเป็นแท่งยาวมีพู่ ใต้ศรีวัตสะมีรูปปลาหันไปทางขวา
ลวดลายที่ปรากฏบนเหรียญเป็นสัญลักษณ์มงคลที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์และความอุดมสมบูรณ์ พบเหรียญตราในลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ตามแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี แต่มีรายละเอียดสัญลักษณ์มงคลบางประการแตกต่างกันออกไป ได้แก่ เหรียญรูปสังข์และศรีวัตสะ เหรียญรูปพระอาทิตย์และศรีวัตสะ เหรียญรูปภัทรบิฐและศรีวัตสะ เหรียญรูปสัตว์และศรีวัตสะ เป็นต้น
นอกจากเหรียญตราชิ้นนี้แล้ว ยังพบเหรียญรูปปูรณฆฏะและศรีวัตสะที่มีรายละเอียดของลวดลายแตกต่างกันบางประการอีกจำนวนหนึ่ง ที่เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม และแหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทิน จังหวัดลพบุรี กำหนดอายุเหรียญตราชิ้นนี้ในสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง
วิภาดา อ่อนวิมล. “เหรียญตราในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๖”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๑.
องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนาตอน "ข่วงหลวง"--- คำว่า "ข่วง" หมายถึง บริเวณลานหรือที่โล่ง และคำว่า "ข่วงหลวง" หมายถึง สนามหลวง หรือที่โล่งเมืองต่างๆในดินแดนล้านนา ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมหรือกิจกรรมประจำเมือง บางแห่งเรียก "ข่วงเมือง"ข่วงเมืองที่มีหลักฐานปรากฎเป็นแบบแผนชัดเจนในปัจจุบัน ได้แก่ เมืองเชียงใหม่และเมืองน่าน ส่วนเมืองอื่นๆในดินแดนล้านนา เช่น เมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) เมืองแพร่ เมืองพะเยา มีร่องรอยที่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นข่วงเมืองปรากฎอยู่เช่นกัน--- ข่วงเมืองของเมืองน่านตั้งอยู่บริเวณกลางเวียง หรือพื้นที่ใจกลางเมืองน่าน ซึ่งในอดีตเป็นสนามโล่งกว้างที่มีพื้นที่อยู่ระหว่างด้านหน้าหอคำกับวัดหลวงกลางเวียงหรือวัดพระธาตุช้างค้ำฯ ทางด้านทิศเหนือมีวัดหัวข่วงตั้งอยู่ ส่วนทางด้านทิศใต้จรดกับวัดภูมินทร์ ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ยังคงเป็นพื้นที่โล่งกว้างอยู่ด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน รวมทั้งพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณวัดภูมินทร์ ที่ปัจจุบันมีการจัดถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ อีกด้วย--- ข่วงเมืองหรือข่วงหลวงกลางเวียงน่าน สันนิษฐานว่าคงมีมาตั้งแต่เริ่มสร้างเมืองน่านในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ โดยปรากฎคำว่า "ข่วงหลวง" อยู่ในเอกสารราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๓๕๑ สมัยเจ้าอัตถวรปัญโญเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน (ครองเมืองพุทธศักราช ๒๓๒๙ - ๒๓๕๓) ได้ปรากฎชื่อในเอกสารอีกครั้ง เรียกว่า "ท้องข่วงสนาม" โดยใช้เป็นสถานที่จัดงานมหรสพ และในพุทธศักราช ๒๓๕๙ สมัยเจ้าสุมนเทวราช (ครองเมืองพุทธศักราช ๒๓๕๓ - ๒๓๖๘) เรียกว่า "ข่วงสนามหลวง" และนับตั้งแต่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช (ครองเมืองพุทธศักราช ๒๓๙๕ - ๒๔๓๔) เป็นต้นมา จนถึงสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย (ครองเมืองพุทธศักราช ๒๔๖๑ - ๒๔๗๔) ปรากฎชื่อเรียกในพงศาวดารเมืองน่าน ต่างๆกันว่า "ท้องข่วงสนาม" "ท้องข่วงสนามหลวง" และ "ข่วงสนามหลวง" เป็นต้น บริเวณข่วงเมืองหรือข่วงสนามหลวงนี้ ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี และงานประเพณีต่างๆของเมือง การต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง การจัดขบวนเสด็จออกนอกเมือง การตั้งศพเจ้านายก่อนนำไปปลงหรือไปเผานอกเมือง การทำพิธีพุทธาภิเษก ธรรมทาน และฟังเทศน์ การแห่ครัวทาน และจัดแสดงมหรสพ พิธีสมโภชช้างเผือก พิธีสวนสนาม ฝึกซ้อมทหาร และจัดกระบวนทัพ ตลอดจนเป็นตลาดนัดและที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง โดยมีตัวอย่างปรากฎข้อความในพงศาวดารเมืองน่านที่กล่าวถึงท้องข่วงสนามหลวง ความว่า "เถิงจุลศักราชได้ ๑๒๒๒ ตัว (พุทธศักราช ๒๔๐๓) ปีกดสัน เดือนยี่ ขึ้น ๓ ค่ำ ท่านก็ได้ปกเตินแก่มหาขัติยวงษาเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลาย สร้างแปงยังมหามณฑปหลวงที่ข่วงสนามหลวง แปงเป็นจตุรมุข ๔ ด้าน มุงด้วยเสตฉัตรวัตถาผ้าขาว และห้างสรรพเยื่่องเครื่องครัวทานทั้งหลายพร้อมแล้ว ท่านก็ได้กระทำเบิกบายฉลองทาน ทำตั้งแต่เดือนยี่ขึ้น ๓ ค่ำ ไปจนเถิงเดือนยี่ลงค่ำ ๑ จึงเป็นที่เลิกแล้วบริบวรณ์หั้นแล รวมทั้งท่านได้ตั้งขันบูชาธรรมแลหื้อทาน มี ๔๒๓ กันแล"-- ปัจจุบัน ข่วงหลวงด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และข่วงเมืองบริเวณวัดภูมินทร์ ก็ยังคงเป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านวัฒนธรรมประเพณี และการท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน ในวาระโอกาสต่างๆตลอดมาเอกสารอ้างอิง: - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. มรดกท้องถิ่นน่าน. น่าน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน. ๒๕๕๒.- รองศาสตราจารย์สุรพล ดำริห์กุล. รายงานการวิจัย เรื่อง ข่วงเมืองและวัดหัวข่วง กับแบบแผนของเมืองในดินแดนล้านนา. เชียงใหม่, ๒๕๔๕.- สุรศักดิ์ ศรีสำอางและคณะ. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร และศิลปะ. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, ๒๕๓๗.- ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี. พจนานุกรมล้านนา - ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่; โครงการสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. ปรับปรุงครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗, หน้า ๘๑๗.#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #อักษรธรรมล้านนา #ข่วงเมืองน่าน
ชื่อเรื่อง หลักราชการประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม ลัทธิเอาอย่าง ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ จริยศาสตร์ จริยธรรม ศีลธรรมเลขหมู่ 172.2 ม113หกสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2507ลักษณะวัสดุ 90 หน้า หัวเรื่อง รวมเรื่องภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเล่มนี้เป็นบทพระราชนิพนธ์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้ง 4 เรื่อง และในท้ายเล่มยังมีการรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับประเพณีประจำชีวิตไว้ด้วย
ขอฉาย / คันฉาย
ขอฉายหรือคันฉาย เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ของชาวนา ใช้สำหรับสงฟางในขณะนวดข้าว ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกแยกออกจากเศษฟาง “สง” เป็นคำกริยา หมายถึงการหย่ง, ทำให้สิ่งที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนให้กระจายตัวหรือแยกออกจากกัน ดังนั้น การสงฟางจึงหมายถึงการแยกหรือเกลี่ยหรือเขี่ยเศษฟางออกจากเมล็ดข้าว ลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้นี้ส่วนใหญ่ทำด้วยไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและมีน้ำหนักเบา ด้ามยาวประมาณ 150-200 เซนติเมตร ส่วนปลายมีแขนงที่มีลักษณะโค้งงอนคล้ายตะขอสำหรับเกี่ยวหญ้าหรือฟาง ในบางท้องถิ่นขอฉายหรือคันฉายทำด้วยไม้จริง หรือบางทีมีตะขอเป็นเหล็ก
ขอฉาย / คันฉาย เป็นคำประสมระหว่างภาษาไทยและภาษาเขมร คำว่า “ขอ” คงมีที่มาจากคำว่า ตะขอ เป็นการสื่อให้เห็นรูปร่างเครื่องมือที่มีลักษณะโค้งงอ คำว่า “คัน” เป็นลักษณะนามที่เป็นคำไทย แปลว่า ด้าม ส่วนคำว่า “ฉาย” เป็นภาษาเขมร แปลว่า สง หรือแยก กระจายออกจากกัน
ขอฉายหรือคันฉายได้มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น กระดองฉาย (ดอง มาจากคำในภาษาเขมร แปลว่า ด้าม) ดองฉาย กระดองหาย ดองหาย ดองไห ไม้สงฟาง ส่วนทางภาคอีสานเรียกกันว่า เก๊าะฉาย
อ้างอิง
- วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรมหัตถกรรมและอุตสาหกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, 2532.
- ราชบัณฑิตยสภา. คันฉาย [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=คันฉาย-๒๔-ธันวาคม-๒๕๕๓
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ขอฉาย - ฐานข้อมูลพจนานุกรมภาษาโคราช [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://nm.sut.ac.th/korat_dic/?m=detail&vocab_id=468&search_type=
ชื่อเรื่อง สพ.ส.48 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยดำISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 8; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง ตำรายาแผนโบราณ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค..2538