ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ชื่อเรื่อง : พ่อของลูก พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเฉลิม วรรธนะพินทุ ท.ม.,ต.ช. ชื่อผู้แต่ง : กมล วรรธนะพินทุ เศวตามร์ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรสาสน์ จำนวนหน้า : 42 หน้า สาระสังเขป : หนังสือพ่อของลูก พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเฉลิม วรรธนะพินทุ ท.ม.,ต.ช. เล่มนี้ ได้รวบรวมการเขียนกลอนอวยพรวันคล้ายวันเกิดของนายเฉลิม วรรธนะพินทุ วันที่ 17 พฤศจิกายน ของทุกปี ซื่งได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ ศรีสัปดาห์
ชื่อเรื่อง : สมุดภูมิราชภักดี ราชานุสรณ์ ในรัชกาลที่ 9 พุทธศักราช 2497=In Commemoration of H.M. The King Bhumipol Adulyadej B.E. 2497
ชื่อผู้แต่ง : แสร์ ขจรศิลป์
ปีที่พิมพ์ : 2497
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จำนวนหน้า : 628 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่ถิ่นเดิมของชนชาติไทย ชาติไทยในสมัยต่าง ๆ ได้แก่สมัยสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ไทยทั้ง 9 รัชกาล ประวัติผู้นำของไทย วัฒนธรรมไทย และประวัติการค้าของไทยแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยบรรดาข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ร่วมใจพิมพ์น้อมเกล้าฯ ถวายด้วยความภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ปริวรรต/เรียบเรียง : ผศ.ดร.อธิราชย์ นันขันตี ห้องจัดเก็บ : กรมศิลปากรประเภทสื่อ : สิ่งพิมพ์ - หนังสือISBN/ISSN : 987-616-283-522-3ผู้จัดทำ : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนมหมวดหมู่ : พุทธศาสนาปีที่จัดทำ : 2563ลักษณะวัสดุ : 32 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม. ชื่อชุด : ฉบับหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนมหัวเรื่อง : อุรังคนิทานธาตุ--ตำนานการสร้างและบูรณะองค์พระธาตุพนมยุคโบราณ พระธาตุพนม--คัมภีร์ใบลาน พระธาตุพนม วรรณกรรมพุทธศาสนาบทคัดย่อ : อุรังคนิทานธาตุ ตำนานการสร้างและการบูรณะพระธาตุพนมยุคโบราณ ฉบับหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม เป็นการปริวรรตเอกสารโบราณจากอักษรธรรมอีสานเป็นอักษรไทยปัจจุบันที่มีอยู่ภายในหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ นครพนม เพื่อนำมาเผยแพร่เป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ทั้งได้อนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งเป็นสมบัติอันมีค่ายิ่งให้คงอยู่ต่อไป อุรังคนิทานธาตุ เป็นวรรณกรรมอิงเรื่องราาวในพุทธประวัติกล่าวถึงการเสด็จไปโปรดเวไนยสัตว์ในอาณาบริเวณอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ของพระสมณะโคดมพุทธเจ้า เมื่อครั้งปลายพระชนม์ชีพ เนื้อหาแสดงถึงมูลเหตุความเป็นมาของการประดิษฐานรอยพระพุทธบาท และการสร้างพระธาตุเจดีย์
มาชมภาพความเสียหายของปูนฉาบองค์ระฆังของเจดีย์วัดล่ามช้าง จ.เชียงใหม่ ที่ฉาบปูนและเสริมครอบองค์เจดีย์เก่าในปี2503 ติดประดับกระจกเพิ่มในปี2542 ความเสียหายในปัจจุบันปูนฉาบไม่ยึดเกาะกับผนังก่ออิฐองค์ระฆังที่เป็นของดั้งเดิม ตามภาพที่วงสีแดงไว้นะครับ จะเห็นว่าวัสดุแยกส่วนออกจากกันอย่างชัดเจนและรากต้นโพธิ์ที่ชอนไชใต้ผิวปูนฉาบองค์ระฆัง ผลักดันให้เกิดรอยร้าวจนทำให้น้ำฝนไหลซึมเข้าไปภายในจนมีสภาพหลวมและพังลงมาครับ
ชื่อเรื่อง สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 32-38ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง (หน), 2429-2503ผู้แต่งเพิ่ม กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณกรรมเลขหมู่ 895.13 ส645สตสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. แสงสว่างการพิมพ์ ปีที่พิมพ์ 2512ลักษณะวัสดุ 162 หน้า หัวเรื่อง หนังสืออนุสรณ์งานศพ นวนิยายจีน ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก หนังสือสามก๊กเป็นวรรณคดีประเภทความเรียงที่สำคัญเรื่องหนึ่งของไทยถ้าไม่นับหนังสือภาษาบาลีหรือมคธที่แปลเป็นไทย เช่นพวกนิทานชาดก และตำนานต่างๆ ก็อาจจะนับได้ว่าสามก๊กเป็นหนังสือบันเทิงคดีเล่มแรกที่ได้รับการแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย
ชื่อเรื่อง มงฺคลตฺถทีปนี (มงคลทีป)สพ.บ. 200/10ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 4.2 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
พระธาตุเชิงชุมจำลอง
สูง ๕๙ เซนติเมตร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕
พระธาตุเชิงชุมจำลองหล่อด้วยโลหะเงิน ประดับยอดด้วยฉัตรทองคำ จังหวัดสกลนครจำลองถวายเป็นที่ระลึกในคราวเสด็จตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๙
ที่ฐานพระธาตุเชิงชุมจำลองทั้ง ๔ ด้านมีจารึกข้อความด้วยอักษรต่างกัน ๔ อักษร ได้แก่ อักษรไทน้อย อักษรธรรมอีสาน อักษรไทย และอักษรขอมไทย โดยมีเนื้อความเดียวกันคือ “รูปธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร จำลอง เมื่อ พ,ศ,๒๔๖๙”
น่าสังเกตว่าช่างที่ทำได้ใส่ใจในรายละเอียด อาทิ ฉัตรทองคำ ๗ ชั้น มีการประดับขันรองต้นฉัตรชั้นล่างสุด ตามธรรมเนียมล้านช้าง เช่นเดียวกับพระธาตุองค์จริง หรือในส่วนของหน้าบันซุ้มทางเข้าคูหาภายในพระธาตุ มีการประดับลวดลายพรรณพฤกษาที่ดูแล้วก็ชวนให้นึกถึงลายปูนปั้นที่หน้าบันพระธาตุเชิงชุมองค์จริงเช่นกัน
อนึ่งการถวายรูปปูชนียสถานจำลองด้วยเงินเป็นที่ระลึกนี้ มีแบบอย่างมาแล้ว โดย คณะกรมการเมืองสกลนคร เคยถวาย พระธาตุนารายณ์เจงเวงจำลอง แด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๙
จารึกที่ฐานพระธาตุเชิงชุมจำลองทั้ง ๔ ด้าน จารึกด้วยอักษรต่างกัน ๔ อักษร ได้แก่ อักษรไทน้อย อักษรธรรมอีสาน อักษรไทย และอักษรขอมไทย โดยมีเนื้อความเดียวกันคือ “รูปธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร จำลอง เมื่อ พ,ศ,๒๔๖๙” ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเป็นที่ระลึกในคราวเสด็จตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๙
รายละเอียดของหน้าบันซุ้มทางเข้าคูหาภายในพระธาตุเชิงชุมจำลอง มีการประดับลวดลายพรรณพฤกษา
รายละเอียดฉัตรทองคำ ๗ ชั้น ของพระธาตุเชิงชุมจำลอง มีการประดับขันรองต้นฉัตรชั้นล่างสุด ตามธรรมเนียมล้านช้าง เช่นเดียวกับพระธาตุองค์จริง
พระธาตุเชิงชุม (ถ่ายพ.ศ. ๒๕๕๒) เป็นพระธาตุก่ออิฐถือปูน มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปจำนวน ๖ ชั้น ที่มุมของฐานล่างสุดประดับด้วยเสากลม บริเวณกึ่งกลางฐานล่างทำซุ้มประตูทรงหอปราสาท ๓ ด้าน ถัดขึ้นไปเป็นบัวปากระฆังและองค์ระฆังทรงสี่เหลี่ยมต่อด้วยบัลลังก์สี่เหลี่ยมรองรับยอดทรงบัวเหลี่ยม ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเจดีย์ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมอีสานมีฐานป่องตอนกลางโค้งเว้าชะลูดขึ้นไปเป็นคอให้กับส่วนบนที่บานออก และประดับส่วนบนสุดด้วยฉัตรทอง ๗ ชั้น
ฉัตรพระธาตุพนมองค์เดิม ซึ่งนำลงมาจากยอดพระธาตุพนมคราวยกฉัตรทองคำใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ปัจจุบันเก็บรักษาที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตบูร วัดพระธาตุพนม จะสังเกตเห็นธรรมเนียมการประดับขันหลายเหลี่ยมรองรับฉัตรชั้นล่างสุด
เลขทะเบียน : นพ.บ.86/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : มูลนิพพาน (มุลลนิพพาน) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง มงฺคลตฺถทีปนี (พระมังคลัตถทีปนีแปลตามอรรถกถา)สพ.บ. 153/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 58 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระสูตร อรรถกถา มงคลสูตร พุทธศาสนา--ปกรณ์วิเสส พุทธศาสนา--คัมภีร์
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
คำให้การ ชบ.ส. ๗๔
เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.28/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ปี้ เบี้ยบ่อน
ปี้ คือสิ่งที่ใช้แทนเงินตราในบ่อนเบี้ย ทำจากวัสดุต่าง ๆ เช่น กระเบื้อง ทองเหลือง แก้ว มีรูปร่างและลวดลายหลากหลายแบบ กล่าวกันว่ามีมากกว่า ๕,๐๐๐ แบบ
ในช่วงปีพ.ศ. ๒๓๑๖ สยามประสบปัญหาการขาดแคลนเงินปลีก ประชาชนได้นำปี้มาใช้แทนเงินปลีก จนกระทั่งในปีพ.ศ.๒๔๑๗ ทางการได้พิมพ์อัฐกระดาษขึ้นใช้แทนเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว
บ่อนเบี้ย เป็นสถานที่สำหรับเล่นถั่วโป ไม่แน่ชัดว่าเริ่มมีในไทยเมื่อใด สันนิษฐานว่าเริ่มมีในชุมชนที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากเป็นการพนันประเภทที่ชาวจีนในอดีตนิยมเล่น การเล่นถั่วโปนั้นสามารถเล่นได้เฉพาะผู้ที่รัฐอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตต้องเสียเงินเข้าท้องพระคลัง จึงเกิดขึ้นเป็นอากรบ่อนเบี้ยขึ้น
ในสมัยอยุธยากำหนดให้สามารถเล่นถั่วโปได้เฉพาะชาวจีนเท่านั้น พบว่ามีการขอตั้งบ่อนเบี้ยขึ้นในพื้นที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก ต่อมาในสมัยธนบุรีจึงอนุญาตให้คนไทสามารถเล่นถั่วโปได้ อาจเนื่องจากว่าเป็นช่วงศึกสงครามจึงผ่อนปรนให้ไพร่พลได้เล่นเพื่อผ่อนคลาย และอนุญาตให้เล่นต่อมาเรื่อย ๆ
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ มีรายได้จากอากรบ่อนเบี้ยเพิ่มขึ้น มีการแบ่งแขวงอากรบ่อนเบี้ย โดยบ่อนเบี้ยได้แพร่หลายออกไปตามหัวเมืองมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๓ การค้าเจริญขึ้นมีการจัดระเบียบภาษีอากรต่าง ๆ และมีการตั้งอากรหวยเพิ่มขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการตั้งอากรการพนันขึ้นโดยกำหนดประเภทการพนันที่จะต้องเสียภาษีให้แก่อากรบ่อนเบี้ย ในช่วงรัชกาลที่ ๔ จึงมีรายได้จากการจัดเก็บอากรบ่อนเบี้ยในแต่ละปีเพิ่มขึ้น จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้ลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นต้นมา โดยค่อย ๆ ลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ โปรดให้เลิกบ่อนเบี้ยที่อยู่ตามหัวเมืองทั้งหมดทุกมณฑล และค่อย ๆ ลดจำนวนบ่อนที่เหลือในกรุงเทพฯ ลง ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้เลิกหวยและบ่อนเบี้ยทั้งหมด และทรงตั้งพระราชบัญญัติห้ามเล่นหวยเล่นถั่วโปในพระราชอาณาจักรโดยมีพระราชประสงค์ให้ไพร่บ้านพลเมืองได้มีเงินไว้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพให้เป็นประโยชน์แก่ตน
สำหรับการตั้งนายอากรบ่อนเบี้ยนั้น รัฐเป็นผู้กำหนดแขวงสำหรับทำอากร ในช่วงสิ้นปีผู้ที่ประสงค์จะเป็นนายอากรจะต้องยื่นเรื่องต่อเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติว่าจะขอผูกอากรในพื้นที่แขวงใด หากแขวงนั้นมีผู้ยื่นหลายรายจะมีการประมูล ผู้ที่ประมูลได้ต้องมีผู้รับรองจากนั้นต้องส่งเงินงวดล่วงหน้า ๒ เดือน หากสิ้นปีไม่มีผู้ใดประมูลต่อนายอากรคนเดิมก็จะได้ทำต่อไป
ในการเปิดบ่อนเบี้ยนายอากรได้ผลิตปี้ขึ้นใช้แทนเงินปลีก ในระยะแรกปี้ผลิตขึ้นจากโลหะหรือแก้ว ต่อมาจึงเริ่มใช้ปี้ที่ผลิตจากกระเบื้องเคลือบซึ่งสั่งผลิตจากจีน โดยนายอากรแต่ละคนใช้ปี้ที่มีลวดลายต่างกันไป แต่กำหนดมูลค่าปี้เป็นมาตรฐานที่ราคาปี้ละ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง และ ๒ ไพ เวลาคนเข้าไปเล่นเบี้ยจะต้องนำเงินไปแลกปี้ เมื่อเล่นเสร็จจึงนำเงินที่มีอยู่ไปแลกเป็นเงินกลับไป แต่บางครั้งผู้เล่นยังไม่นำปี้ไปแลกเป็นเงิน เนื่องจากเชื่อว่าจะนำมาแลกเป็นเงินเมื่อไหร่ก็ได้ จึงเริ่มมีการชำระหนี้หรือซื้อสินค้าโดยใช้ปี้แทนเงินตรา เมื่อมีการเปลี่ยนนายอากรหรือมีผู้ทำปี้ปลอมขึ้นนายอากรสามารถยกเลิกปี้แบบเดิม โดยประกาศว่าจะยกเลิกปี้แบบเดิมให้ผู้ที่มีปี้แบบเดิมนำปี้มาแลกเงินคืนในระยะเวลาที่กำหนด นายอากรจึงมักได้กำไรจากปี้ที่ไม่มีผู้นำกลับมาแลกอีกด้วย
เอกสารประกอบ
เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗
ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๗ ตำนานเรื่องเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยในกรุงสยาม
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ ตอน ๓๖ ประกาศวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๓๐ หน้า ๒๘๘
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕ ตอน ๓๗ ประกาศวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๓๑ หน้า ๓๑๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ตอน ๓๘ ประกาศวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๒ หน้า ๓๓๑
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ตอน ๕๐ ประกาศวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๓๒ หน้า ๔๓๖
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘ ตอน ๔๐ ประกาศวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๓๘ หน้า ๓๖๔
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐ ตอน ๘ ประกาศวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๓๖ หน้า ๙๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๕ ตอน ๑๒ ประกาศวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๔๑ หน้า ๑๒๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๑ ตอน ๔๘ ประกาศวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ หน้า ๘๗๕
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ หน้า ๒๔๙๕
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๕๔ หน้า ๒๗๓๓
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๐ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๕๖ หน้า ๒๘๐๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗ หน้า ๒๗๙๘
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๒ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๕๘ หน้า ๓๑๐๖
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๔ ตอน ๐ก ประกาศวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๐ หน้า ๔
"ชวนชม" โบราณวัตถุสวย ๆ งาม ๆ ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
..................................................................................
ชามเบญจรงค์พร้อมฝา
วัสดุ: ดินเผาเคลือบ
ขนาด: ปากกว้าง 20 เซนติเมตร สูง 12.5 เซนติเมตร
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25
..................................................................................
ชามเบญจรงค์พร้อมฝาลักษณะเป็นเครื่องถ้วยประเภทเนื้อดินเผาเคลือบสีขาว ตัวชามปากกว้าง ขอบปากผาย ก้นลึก ใต้ก้นมีเชิงสั้นตัวฝาปิดมีลักษณะคล้ายชาม และมีขอบเชิงสำหรับจับ เมื่อนำฝามาครอบ ตัวฝาจะต่ำกว่าขอบปากเล็กน้อยด้านในชามสีขาวไม่มีลวดลาย ด้านนอกตกแต่งด้วยการเขียนสีลายน้ำทองรูปดอกเหมยสีชมพู และเขียนอักษรจีนในวงกลม บริเวณด้านข้างของชามและฝา สภาพขอบปากบิ่น และมีรอยร้าว
อักษรจีนดังปรากฏบนชามเบญจรงค์พร้อมฝาชุดนี้ คือตัวอักษรซิ่ว (Shou) เป็นการเขียนลายแบบสัญลักษณ์อักษรภาพโบราณ สื่อถึงการอวยพรให้มีอายุวัฒนะ และลายดอกเหมยที่ปรากฏบนชามฝาเบญจรงค์ตามความเชื่อของชาวจีนนั้น เป็นดอกไม้ที่มีความสวยงามอีกทั้งยังทนต่อสภาพอากาศ เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่ผลิบานในช่วงฤดูหนาว จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของความคงทน และความยั่งยืน
โดยปกติแล้วตัวอักษรจีนไม่ค่อยเป็นที่นิยมนำมาใช้ตกแต่งบนเครื่องถ้วยเบญจรงค์ กระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ 25 เป็นต้นมา เริ่มมีการปรับเปลี่ยนลวดลายให้เหมาะสมตามยุคสมัย ชามจำนวนหนึ่งที่ผลิตในช่วงระยะหลัง ๆ จึงเริ่มปรากฏลายอักษรภาพโบราณตามภาชนะหรือก้นภาชนะ ซึ่งจะเขียนลายในรูปแบบสัญลักษณ์มงคลจีน
..................................................................................
เรียบเรียง/กราฟฟิก : ฝ่ายวิชาการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
..................................................................................
อ้างอิง: ดอว์น เอฟ. รูนีย์. “เครื่องถ้วยเบญจรงค์และลายน้ำทอง.” กรุงเทพฯ : ริเวอร์บุ๊คส์, 2560.