ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,341 รายการ
พระมนเทียรถ้าเทิด แถวถงัน
ขวาสุทธาสวรรย์พรรณ เพริศแพร้ว
ซ้ายจันทรพิศาลวรรณ เวจมาศ
พรายแพร่งสุริยแล้ว ส่องสู้แสงจันทร์
โครงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช, หลวงศรีมโหสถ
....................................................................................
พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นหนึ่งในพระที่นั่งองค์สำคัญภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน อันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์และข้าราชบริพารฝ่ายใน สร้างขึ้นในคราวเดียวกับการสร้างพระราชวังเมืองละโว้ ราว พ.ศ.2209 ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงการสร้างรวมถึงการพระราชทานนามของพระที่นั่งองค์นี้ในพงศาวดารความว่า
.
“...จึงสมเด็จบรมบาทพระนารายณ์ราชบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชดำรัสสั่งช่างพนักงานจับการก่อพระมหาปราสาทสองพระองค์ ครั้นเสด็จแล้วก็พระราชทานนามบัญญัติชื่อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์องค์หนึ่ง พระที่นั่งธัญญมหาปราสาทองค์หนึ่ง...”
.
ซึ่งสอดคล้องกับโครงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประพันธ์โดยหลวงศรีมโหสถ กวีร่วมสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่กล่าวถึงพระที่นั่งต่าง ๆ ภายในพระราชวังเมืองละโว้ โดยได้พรรณนาถึงพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทที่ขนาบข้างซ้ายขวาด้วยพระที่นั่งจันทรพิศาล และพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
ชื่อ “พระที่นั่งสุทธาสวรรย์” จึงเป็นชื่อเดิมของพระที่นั่งองค์นี้ที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาตั้งแต่ครั้งแรกสร้าง
ข้อมูลจากหลักฐานทั้งพงศาวดารและบันทึกของชาวต่างชาติต่างระบุไว้ในทำนองเดียวกันคือ พระองค์ทรงโปรดที่จะประทับ ณ เมืองลพบุรี มากกว่าที่พระนครศรีอยุธยา
.
“...เมืองละโว้เป็นที่ประทับในชนบทของพระนารายณ์มหาราช ตามปกติประทับอยู่ที่เมืองนั้นเป็นนิตย์ เสด็จไปพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณเจ็ดร้อยเส้นนานๆ ครั้งหนึ่งและเมื่อมีงานพระราชพิธี...” – จดหมายเหตุฟอร์บัง (เชวาลอเอร์ เดอะ ฟอร์บัง)
.
“...พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ทรงโปรดปรานเมืองนี้มาก ประทับที่อยู่ที่นั่นเกือบตลอดปี และทรงเอาพระทัยใส่สร้างให้สวยงามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทรงตั้งพระทัยจะขยายอาณาบริเวณออกไปอีก...” – นิโกลาส์ แชร์แวส
.
“...และพระองค์เสด็จอยู่ ณ เมืองลพบุรีในเหมันตฤดู และคิมหันตฤดู และเสด็จลงมาอยู่ ณ กรุงเทพมหานครแต่เทศกาลวสันตฤดู...” “...ขณะนั้นสมเด็จบรมบพิตรพระนารายณ์เป็นเจ้า ทรงพระนามปรากฏว่า #สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมืองลพบุรี เหตุว่าพระองค์เสด็จขึ้นไปเสวยราชสมบัติเมืองลพบุรี...” - พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
.
จึงอาจกล่าวได้ว่านอกจากพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะเป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ยังเป็นพระที่นั่งที่พระองค์เสด็จมาประทับมากที่สุดตลอดรัชกาลของพระองค์
สำหรับเขตพระราชฐานชั้นในแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือบริเวณพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อนุญาตให้เฉพาะเหล่ามหาดเล็กในพระองค์ กับขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยเข้าเฝ้าเท่านั้น และส่วนที่สองเป็นที่อยู่ของเหล่าสนมกำนัล โดยมีที่พักอาศัยงดงามเป็นตึกแถว ยาวขนานไปกับพระตำหนักที่ประทับของพระองค์ การเข้า-ออกบริเวณนี้ทำได้ยากมาก แม้กระทั่งพระราชโอรสก็ไม่อนุญาตให้เข้ามีแต่พวกขันทีเท่านั้น ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปถวายการปรนนิบัติได้
ในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ประชวรอย่างหนักจนมิอาจว่าราชการได้ จึงโปรดให้พระเพทราชาออกว่าราชการแทนพระองค์ ขณะที่ทรงพระประชวรได้ประทับ ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ก่อนการสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น คือเหตุการณ์การรัฐประหารของพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์ หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ คือการจับกุมตัวพระปีย์ผู้เปรียบเสมือนพระโอรสบุญธรรม และเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยปรากฏข้อความในพงศาวดารเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวความว่า
.
“...พระปีย์กอปรด้วยสวามิภักดิ์นอนอยู่ปลายฝ่าพระบาท คอยปฏิบัติพยุงพระองค์ลุกนั่งอยู่ ครั้นรุ่งเพลาเช้าพระปีย์ลุกออกมาบ้วนปากล้างหน้า ณ ประตูกำแพงแก้ว จึงหลวงสรศักดิ์ผู้สำเร็จราชการ ณ ที่มหาอุปราช สั่งให้ขุนพิพิธรักษาชาวที่ผลักพระปีย์ตกลงไปจากประตูกำแพงแก้ว และพระปีย์ร้องขึ้นได้คำว่า ทูลกระหม่อมแก้วช่วยด้วย พอขาดคำลงคนทั้งหลายก็กุมเอาตัวพระปีย์ไปประหารชีวิตตายในขณะนั้น...”
.
หลังจากการจับกุมตัวพระปีย์ไปสำเร็จโทษ อาการประชวรของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็รุนแรงขึ้นจนเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระราชวังเมืองละโว้ก็ถูกทิ้งร้างให้โรยราไปตามกาลเวลาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
.................................................................................
ติดตามตอนต่อไปของ #สุทธาสวรรย์พรรณเพริศแพร้ว ได้ในวันพุธ ที่ 22 มิถุนายน 2565 และเตรียมพบกับมิติใหม่ของการท่องเที่ยวโบราณสถานในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จะเป็นอะไร มีรูปร่างหน้าตาแบบไหน ติดตามได้ที่นี่ เร็วๆ นี้ค่ะ
………………………..........................................................
อ้างอิง
กรมศิลปากร. หนังสือนำชมพระนารายณ์ราชนิเวศน์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท นะรุจ จำกัด, 2560.
____________. ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ 50 ภาค 80 จดหมายเหตุฟอร์บัง. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, 2527.
____________. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2516.
นิโกลาส์ แชร์แวส. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม : ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. สันต์ ท. โกมลบุตร แปล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ก้าวหน้า, 2506.
หลวงศรีมโหสถ. โครงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. กรุงเทพฯ : โสภณพิพรรฒธนาการ, 2478.
...............................................................................
เรียบเรียงโดย นางสาววสุนธรา ยืนยง นักวิชาการวัฒนธรรม
วัดสุริโย หรือ วัดสุริโยกำแมด หมู่ที่ ๑ บ้านกำแมด ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ตามประวัติระบุว่าตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๓ ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ อุโบสถ (สิม) หลังเก่า
อุโบสถ (สิม) หลังเก่า ตามประวัติระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ โดยพระปลัดสี ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น พร้อมคณะศิษย์และชาวบ้าน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมได้รับอิทธิพลญวน ดังจะเห็นได้จากเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทำวงโค้งประดับระหว่างช่วงเสาและเหนือขอบหน้าต่าง ระหว่างช่วงเสาผนังด้านนอกทำปูนปั้นลายท่อนพวงมาลัยห้อยอุบะประดับ ทาสีน้ำเงิน สีเหลืองสีแดง ตกแต่งปูนปั้นเป็นหลัก
ตัวอาคารมีขนาด ๓ ห้อง ทำมุขด้านหน้าทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นที่กึ่งกลางด้านผายออก หัวเสาประดับด้านหน้าทำเป็นบัวแวงทาสี ถัดขึ้นไปเป็นขอบหน้าบันมีข้อความเขียนด้วยสีน้ำเงินว่า “ต่อมา (อ.จ.ท พันธ์) ทำลาย พ.ศ. ๒๔๙๐ สิมานี้ (พระปลัดสี) พร้อมศิษย์และชาวบ้าน สร้าง พ.ศ. ๒๔๘๒” ถัดขึ้นไปเป็นหน้าบันประดับปูนปั้นรูปเทพเทวาผุดจากดอกบัว มือทั้งสองข้างถือเครื่องสูง และทำลายเครือเถาประดับทั้งสองข้าง หน้าบันด้านหลังทำเป็นปูนปั้นรูปหนุมาน ไม่มีลายอื่นใดประกอบ ในอดีตน่าจะมุงด้วยแป้นเกล็ดหรือกระเบื้องดินเผา ปัจจุบันมุงด้วยสังกะสี
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานวัดสุริโย (วัดกำแมด) ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๒๐ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒ ไร่ ๑ งาน ๒๐ ตารางวา
------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
กองพุทธศาสนสถาน, กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๔. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา,
๒๕๓๘. หน้า ๔๕๒
------------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 146/7เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/4ฌเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : กำลังความคิดชื่อผู้แต่ง : หลวงวิจิตรวาทการ ปีที่พิมพ์ : 2494 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : วรรธนะวิบูลย์ จำนวนหน้า : 552 หน้า สาระสังเขป : เป็นเรื่องราวของการสร้างสมรรถภาพของมันสมอง การฝึกประสาท ทางตา ทางหู ทางกาย ทางใจ สมาธิ ปฏิภาณ เหตุผล การตัดสินใจ ลักษณะของศิลปิน มโนคติ ความจำ ความเฉียบแหลมคมคาย ความสังเกต การเปรียบเทียบ การทอดถ่ายความรู้เปรียบเทียบกำลังความคิดกับหัวข้อธรรมทางพุทธศาสนา
สมุดภาพพุทธจริยาประวัติ
ชื่อผู้แต่ง พระวชิรญาณ, สมเด็จพระ.
ชื่อเรื่อง สมุดภาพพุทธจริยาประวัติ
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ ม.ป.พ.
ปีที่พิมพ์ ม.ป.ป.
จำนวนหน้า ๑๘๔ หน้า : ภาพประกอบ.
หมายเหตุ สำนักข่าวอเมริกัน ได้รวบรวมภาพอันเกี่ยวกับพุทธประวัติซึ่งมีอยู่ในประเทศไทยจัดพิมพ์ขึ้นนั้น ผู้ทราบประวัติของพระพุทธเจ้าย่อมเกิด ศรัทธา ความเชื่อ ผู้ปฎิบัติธรรมจึงเป็นผู้สงบปราศจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน อันอำนวยสันติสุขให้แก่โลก
ชื่อเรื่อง : นิบาตชาดก เล่ม ๕ เอกนิบาต สามวรรค ภาคที่ ๕ ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2463 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร จำนวนหน้า : 196 หน้า สาระสังเขป : นิบาตชาดกมีเนื้อหากล่าวถึงพระอดีตชาติของพระพุทธเจ้าที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับภูมิหลังและการกลับชาติมาเกิดของบุคคลในสมัยพุทธกาล เล่ม ๕ รวม ชาดก ๔๕ เรื่อง ดังนี้ นตํทัฬหวรรค ที่ ๖ มีชาดก ๑๐ เรื่อง วีรณัตภัมภวรรคที่ ๗ มีชาดก ๑๐ เรื่อง กาสาวรรคที่ ๘ มีชาดก ๑๐ เรื่อง เรียบเรียงโดย หลวงราชาภิรมย์ (แจ่ม บุรณนนท์) อุปหนวรรคที่ ๙ มีชาดก ๕ เรื่อง และ สิงคาวรรคที่ ๑๐ มีชาดก ๑๐ เรื่อง เรียบเรียงโดยหลวงธำรงเจดีย์รัฐ (เทศ วิริยรัต)
ชื่อเรื่อง วิศวกรรมสาร (ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 เมษายน 2521)
ชื่อผู้แต่ง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
พิมพ์ครั้งที่ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ สหมิตรการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2521
จำนวนหน้า 64 หน้า
รายละเอียด
เป็นวารสารส่งเสริมความรู้ทางวิชาการในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการแสดง ความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ อันจะนำไปสู่ความริเริ่มเพื่อขยายงานที่กระทำอยู่ให้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ เนื้อหาภายในประกอบด้วย 5 บทความ เช่น การใช้ DISPERSED FLOW MODEL ในงานจำกัดน้ำเสีย การวางแผนผังโรงงานโดยวิธีปริมาณ ฯลฯ
พระพิมพ์ภาพพระพุทธเจ้าและพระโพธิ์สัตว์ในวิมาน
สมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๔
พบที่เขาอกทะลุ จังหวัดพัทลุง
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระพิมพ์ทรงกลม ทำจากดินดิบสีขาวนวล กึ่งกลางเป็นรูปพระพุทธเจ้าแสดงปางมารวิชัยประทับในพระวิมาน ขนาบข้างด้วยพระโพธิ์สัตว์ประทับภายในพระวิมานองค์ละหลัง ด้านขวาของพระวิมานมีรูปเสาธรรมจักรหันข้าง ส่วนด้านซ้ายพระวิมานมีรูปสถูป
ลักษณะวิมานทำเป็นหลังคาชั้นซ้อน กึ่งกลางเป็นกุฑุรูปวงโค้งคล้ายเกือกม้า ส่วนยอดบนสุดประดับด้วยชิ้นส่วนรูปทรงคล้ายกลีบมะเฟืองที่เรียกว่า อามลกะ (ตามแบบสถาปัตยกรรมของศิลปะอินเดียภาคเหนือ) ใต้พระวิมานมีจารึกคาถา เย ธมฺมาฯ อักษรเทวนาครี เบื้องล่างสุดเป็นรูปสรรพสัตว์ทั้งหลาย
พระพิมพ์ชิ้นนี้ได้รับการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาองค์ประกอบทางเคมีของแร่ธาตุ พบว่ามีส่วนผสมของแร่แคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งน่าจะเป็นเศษกระดูกหรืออัฐิธาตุที่มาจากร่างของผู้วายชนม์นำมาผสมกับดินสร้างเป็นพระพิมพ์ชิ้นนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงให้ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างพระพิมพ์ในพื้นที่ภาคใต้ไว้ว่า
“...คิดดูก็เห็นว่าพระพิมพ์ดินดิบนี้จะเป็นของสร้างบรรจุอัฐิธาตุของพระสงฆ์เถระแต่โบราณจริง จึงทำเป็นดินดิบ เพราะอัฐิธาตุนั้นได้เผาครั้งหนึ่งแล้วและการที่สร้างพระพิมพ์บรรจุอัฐิธาตุ เป็นแต่เพื่อปรมัตถประโยชน์* ของผู้มรณภาพ...”
ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับพระพิมพ์ที่เขาอกทะลุ จังหวัดพัทลุงนั้น จากเอกสาร “จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. ๑๒๑” ของ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงบันทึกไว้ว่า วันเสาร์ที่ ๗ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) พระอธิการได้นำเอาพระพิมพ์จากถ้ำเขาอกทะลุมาให้พระองค์ได้ทอดพระเนตร พระองค์จึงตัดสินใจเดินทางไปถึงถ้ำเขาอกทะลุ ดังความตอนหนึ่งว่า
“...ถึงถ้ำมีรูปพระประกับฝังดินอยู่มากกว่ามาก ขุดอยู่จนบ่าย ๒.๓๕ จึงกลับขึ้นช้างไป ได้พระพิมพ์มามาก แต่ยังไม่รู้ว่ารูปอะไรต่ออะไร เพราะเปียก ชำระดูไม่ได้...”
*ปรมัตถประโยชน์ หมายถึง ประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์อันสูงสุด
อ้างอิง
กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔.
นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. ๑๒๑.พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๐.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สบ.๒.๕๖/๒๔. เอกสารส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง อธิบายเรื่องพระพิมพ์ดินดิบในพิพิธภัณฑ์ พระนคร (๑๐ พฤษภาคม ๒๔๗๒).
เลขทะเบียน : นพ.บ.387/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 5 x 53.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 144 (40-47) ผูก 7 (2566)หัวเรื่อง : พระมหาปัฏฐาน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.527/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 48 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 176 (267-279) ผูก 11 (2566)หัวเรื่อง : ลำสินไชย--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง พระเจ้าห้าสิบชาติ (ห้าสิบชาติ)อย.บ. 424/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4.8 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี