ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ด้วยภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู (Malay Peninsula) เริ่มที่บริเวณคอคอดกระที่ประมาณละติจูด ๑๐ องศาเหนือ ยื่นยาวลงไปทางใต้จนถึงประเทศมาเลเซีย มีชายฝั่งทะเลขนาบอยู่ ๒ ด้าน คือ ด้านตะวันตกติดทะเลอันดามัน มีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งแบบยุบตัว แคบ เว้าแหว่ง บางแห่งมีภูเขาจดชายฝั่งทำให้เกิดเป็นหน้าผาชันตามแนวชายฝั่งทะเล ด้วยเหตุนี้จึงมีพื้นที่จำกัดและขยายตัวยากจึงเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดเล็ก แต่ด้วยความที่อยู่ด้านตรงข้ามกับอินเดียจึงมีความเหมาะสมต่อการเดินเรือมาขึ้นบกของพ่อค้าชาวต่างชาติ ดังปรากฏหลักฐานว่ามีชุมชนโบราณฝั่งตะวันตกได้พัฒนาขึ้นและมีบทบาทเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลอันดามันอย่างชัดเจนในเวลาต่อมา ส่วนด้านตะวันออกติดทะเลอ่าวไทย มีลักษณะเป็นชายฝั่งแบบยกตัวมีการทับถมของโคลนตะกอนที่แม่น้ำและกระแสน้ำในทะเลพัดพามาทำให้เกิดเป็นที่ราบกว้างขึ้นมีสันทรายปรากฏอยู่ทั้งบนหาดและในพื้นน้ำนอกฝั่ง มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานและการเพาะปลูกจึงพบร่องรอยชุมชนโบราณอยู่บริเวณเชิงเขาและที่ราบริมฝั่งทะเล ในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ ในเวลาต่อมา ชุมชนโบราณฝั่งตะวันตก (ทะเลอันดามัน) : ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ - จังหวัดระนอง เช่น แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง แหล่งเรือโบราณคลองกล้วย เป็นต้น - จังหวัดพังงา เช่น แหล่งโบราณคดีนางย่อน ชุมชนโบราณตะกั่วป่า ประกอบด้วย แหล่งโบราณคดีเขาพระเหนอ แหล่งโบราณคดีเหมืองทอง-เกาะคอเขา (ทุ่งตึก) แหล่งโบราณคดีเขาพระนารายณ์ (เขาเวียง) - จังหวัดกระบี่ เช่น แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) เป็นต้น - จังหวัดตรัง เช่น แหล่งโบราณคดีนาพละ เป็นต้น ชุมชนโบราณฝั่งตะวันออก (อ่าวไทย) : ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ - จังหวัดชุมพร เช่น แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว แหล่งโบราณคดีเขาเสก เป็นต้น - จังหวัดสุราษฏร์ธานี เช่น แหล่งโบราณคดีวัดอัมพาวาส แหล่งโบราณคดีวัดศาลาทึง แหล่งโบราณคดีท่าชนะ แหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ แหล่งโบราณคดีไชยา แหล่งโบราณคดีพุนพิน แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย แหล่งโบราณคดีเวียงสระ เป็นต้น - จังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น แหล่งโบราณคดีริมคลองท่าเรือและบ้านเกตกาย แหล่งโบราณคดีเขาคา แหล่งโบราณคดีท่าศาลา-สิชล แหล่งโบราณคดีโมคลาน แหล่งโบราณคดีตุมปัง เป็นต้น - จังหวัดสงขลา เช่น แหล่งโบราณคดีสทิงพระ แหล่งเตาปะโอ เป็นต้น - จังหวัดปัตตานี เช่น แหล่งโบราณคดียะรัง เป็นต้น ภาพ : แหล่งเรือโบราณคลองกล้วย จังหวัดระนอง (ปัจจุบันกองโบราณคดีใต้น้ำได้นำชิ้นส่วนไม้ที่คาดว่าเป็นส่วนประกอบของเรือไปศึกษาและดำเนินการอนุรักษ์ต่อไป) ภาพโดย : กลุ่มโบราณคดีและอนุรักษ์โบราณสถาน สาขาภูเก็ต ภาพ : โบราณสถานหมายเลข ๑๒ แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฏร์ธานี ภาพโดย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช แหล่งโบราณคดีและชุมชนโบราณต่างๆ เหล่านี้ พบหลักฐานทางโบราณคดีหลายประเภทที่สัมพันธ์กับการติดต่อค้าขายกับอินเดีย เช่น ลูกปัดชนิดต่างๆ เครื่องประดับทองคำ ตราประทับ หัวแหวนหรือจี้สลักจากหินมีค่า เหรียญโลหะ เศษภาชนะดินเผาแบบอินเดีย และบางแหล่งพบหลักฐานทางศาสนา เช่น ประติมากรรมรูปเคารพทั้งในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โบราณสถาน และจารึก -------------------------------------ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ -------------------------------------อ้างอิง : - ผาสุข อินทราวุธ, “ร่อยรอยวัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”, โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ฉบับครูสังคม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี, ๒๕๔๕. - มหาวิทยาลัย,จุฬาลงกรณ์. ภูมิลักษณ์ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๓๔.
ผู้แต่ง : พระรัตนปัญญาเถระ, แสง มนวิทูร, แปล.
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2501
หมายเหตุ : กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในการบูรณะโบราณสถาน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาบาลี เป็นหนังสือใบลานจารอักษรขอม จารครั้งแรกสมัยกรุงศรีอยุธยา แปลโดย ร.ต.ท.แสง มนวิทูร เนื้อหากล่าวถึงประวัติของพระพุทธเจ้า พระผู้ซึ่งมีพระนามว่า พระศากยโคดม เป็นลำดับ จนกระทั่งพระชาติสุดท้ายที่เสด็จมาเป็นมนุษย์ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธ แล้วทรงบำเพ็ญพุทธกิจ จนกระทั่งเสด็จดับขันธปรินิพพาน และคำสั่งสอนของพระองค์ที่เรียกว่า ธรรมวินัย
ชื่อเรื่อง : สรรพสิทธิ์คำฉันท์
ชื่อผู้แต่ง : ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ
ปีที่พิมพ์ : 2511
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : ศิวพร
จำนวนหน้า : 170 หน้า
สาระสังเขป : สรรพสิทธิ์คำฉันท์ เรื่องเดิมเป็นนิทานอยู่ในปัญญาสชาดก กล่าวถึง พระโพธิสัตว์มาประสูติเป็นเจ้าชายสรรพสิทธิ์แห่งเมืองอลิกนครผู้มีความสามารถถอดหัวใจคนได้ และเจ้าหญิงสุพรรณโสภาแห่งเมืองคีริพัชรนครผู้งดงาม พระบิดากำหนดพิธีการอภิเษกเจ้าหญิงไว้ว่าหากมีชายใดทำให้นางพูดคุยด้วยได้จะยกเจ้าหญิงให้ มีชายหนุ่มคนมาทดสอบมากมายแต่ไม่มีใครสามารถทำให้เจ้าหญิงพูดโต้ตอบได้เลย เจ้าชายสรรพสิทธิ์ทราบกิตติศัพท์จึงไปขอลองวิชา โดยถอดหัวใจจิตรเสนไปไว้ในที่ต่าง ๆ แล้วเล่านิทานถามจิตรเสนเป็นทำนองปริศนาและไขปัญหาเหล่านั้นด้วย คำตอบของจิตรเสนไม่ถูกใจเจ้าหญิงสุพรรณโสภานางจึงกล่าวแย้งขึ้น เจ้าชายสรรพสิทธิ์จึงได้แต่งงานกับเจ้าหญิงตามสัญญา
ปริวรรต/เรียบเรียง : ผศ.ดร.อธิราชย์ นันขันตี และ นางสาวเอกสุดา ไชยวงศ์คตห้องจัดเก็บ : กรมศิลปากรประเภทสื่อ : สิ่งพิมพ์ - หนังสือISBN/ISSN : 978-616-283-523-0ผู้จัดทำ : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนมหมวดหมู่ : พุทธศาสนาปีที่จัดทำ : 2563ลักษณะวัสดุ : 219 หน้า : ภาพประกอบ ; 25.5 ซม. ชื่อชุด : ฉบับหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนมหัวเรื่อง : ลำเซียงโจระโต--วรรณกรรมชาดกนอกนิบาต การเสวยชาติของพระโพธิสัตว์เป็นเซียงโจระโต ลำเซียงโจระโต--คัมภีร์ใบลาน วรรณกรรมพุทธศาสนาบทคัดย่อ : ลำเซียงโจระโต ฉบับนี้แปลปริวรรตจากเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลานฉบับลานดิบทะเบียนเลขที่ นพ.บ.1542/1-6 ของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม จำนวน 6 ผูก 16 ลาน 122 หน้าลาน จารด้วยอักษรธรรมอีสาน เป็นวรรณกรรมประเภทนิทาน ลักษณะเป็นวรรณกรรมชาดกนอกนิบาต คือเป็นวรรณกรรมที่แต่งเลียนแบบวรรณกรรมนิบาตชาดก โดยให้ยกเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า ผู้แต่งได้ยกอดีตชาติของพระพุทธเจ้าที่ทรงเสวยชาติเป็นคนเกียจคร้านมาเป็นมูลเหตุของการผูกเรื่อง
++ขุดค้นศึกษากำแพงเมืองเชียงใหม่ชั้นนอก++
--เมื่อ พ.ศ.2561 กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างก้อนอิฐที่ก่ออยู่แนวกำแพงเมืองเชียงใหม่ชั้นนอก(กำแพงดิน) ไปศึกษาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (TL) พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 หรือราว 700-800 ปีมาแล้ว
--เพื่อสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับอายุสมัยและพัฒนาการของกำแพงเมืองเชียงใหม่ชั้นนอก (กำแพงดิน) ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ จึงได้ดำเนินการขุดค้นตัดแนวกำแพงฯ เพื่อศึกษาชั้นดินทับถมทางโบราณคดี โบราณวัตถุ และเตรียมนำตัวอย่างดินแต่ละชั้นไปศึกษาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับกำแพงเมืองเชียงใหม่ชั้นนอกมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อันจะนำมาสู่การอธิบายพัฒนาการทางสังคม วัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ต่อไป
--ปล.ความคืบหน้าเป็นอย่างไร แอดมินจะรายงานให้ทราบเป็นระยะ
ชื่อเรื่อง กายนคร (กายนคร)สพ.บ. 102/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.8 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกาย-ฎฐกถา (มโหสถ)สพ.บ. 201/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า กว้าง 4.2 ซ.ม. ยาว 56.8 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
การจัดแสดงพระที่นั่งพรหมพักตร์ ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๖๓)
พระที่นั่งพรหมพักตร์ ไม้แกะสลัก ลงรักปิดทองประดับกระจก
กว้าง ๑๗๐ เซนติเมตร ยาว ๓๓๔ เซนติเมตร
พระที่นั่งทรงบุษบก ยอดหน้าพระพรหม มีมุขลด ๒ ข้าง สร้างในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าใช้เป็นพระที่นั่งราชบัลลังก์สำหรับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเสด็จออกฝ่ายใน ให้สตรีมีบรรดาศักดิ์เฝ้าในงานพิธี มุขลดข้างหนึ่งเป็นที่ประทับของเจ้าศิริรจจาพระอัครชายา ข้างหนึ่งเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้าพิกุลทอง (เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทร) พระราชธิดา
กล่าวกันว่าเดิมพระที่นั่งทรงบุษบกองค์นี้อยู่ที่พระที่นั่งพรหมเมศธาดา และย้ายมาไว้ในพระที่นั่งวายุสถานอมเรศสำหรับประดิษฐานพระอัฐิในสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิกรมพระราชวังบวรที่ล่วงมาแล้ว ๓ พระองค์ องค์กลางเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท องค์เหนือเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ และองค์ใต้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จนถึงในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานในหอพระนาก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สำหรับพระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระวิมานองค์ใหญ่ซึ่งอยู่ใจกลางหมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล เป็นพระที่นั่งสำหรับฤดูหนาว สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประทับและสวรรคตในพระวิมานองค์นี้
รายละเอียดของยอดพระที่นั่งพรหมพักตร์ ในพระที่นั่งวายุสถานอมเรศ
รายละเอียดของเครื่องลำยอง พระที่นั่งพรหมพักตร์ ในพระที่นั่งวายุสถานอมเรศการประกอบพระที่นั่งพรหมพักตร์ โดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรภาพถ่ายเครื่องยอดพระที่นั่งพรหมพักตร์ ระหว่างการบูรณะ ณ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรภาพถ่ายพระที่นั่งพรหมพักตร์ ก่อนการบูรณะใน พ.ศ. ๒๕๕๙ภาพถ่ายพระที่นั่งพรหมพักตร์ ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ ในรัชกาลที่ ๘
เลขทะเบียน : นพ.บ.87/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : จุนฺทสูกสุตตฺ (จุนทสูกริกสูตร) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ปพฺพชฺชานิสํสกถา (อานิสงส์บวช)สพ.บ. 156/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนา พุทธศาสนา อานิสงส์ การบวช
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี