ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
...เกาะต่างๆ ในอ่าวพังงา ที่เราแล่นเรือผ่านนั้น หากสังเกตบริเวณผนังเพิงผาหรือถ้ำ อาจพบภาพเขียนสีหรือศิลปะถ้ำ ที่มนุษย์ในอดีตได้เขียนหรือวาดเอาไว้ เมื่อครั้งที่แวะเข้ามาพักพิงและใช้พื้นที่เพื่อวัตถุประสงค์ในหลายๆประการ ที่เกาะยางแดงแห่งนี้ แม้จะไม่ปรากฏภาพบุคคลและสัตว์ประเภทต่างๆ ดังที่พบที่เกาะอื่นๆ แต่ที่นี่ปรากฏภาพที่อาจสื่อถึงพืชพันธุ์ธรรมชาติที่อาจเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคนั้นได้... ที่ตั้งและสภาพทั่วไป แหล่งภาพเขียนสีเกาะยางแดง ตั้งอยู่ที่ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อยู่บนเกาะซึ่งไม่ปรากฏชื่อในแผนที่ทหาร ใกล้กับเกาะทะลุใต้ เป็นเขาหินปูนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะที่อยู่ติดกัน ตัวเกาะมีรูปร่างยาวรี วางตัวตามแนวแกนทิศเหนือ – ใต้ มีความยาวประมาณ ๒๕๐ เมตร กว้างประมาณ ๘๐ เมตร การเข้าถึงแหล่ง จากอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เดินทางโดยเรือระยะทางประมาณ ๑๗.๒ กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ ๒๐ – ๒๕ นาที โดยผ่านคลองเกาะปันหยี เกาะปันหยี มาทางทิศใต้ผ่านเขาพิงกัน และมุ่งหน้าทางตะวันตก มุ่งสู่เกาะทะลุใต้ ทางด้านซ้ายหรือด้านทิศใต้เป็นที่ตั้งของเกาะยางแดง ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขาพิงกัน และควรเดินทางมาถึงช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูง เพื่อให้เรือสามารถแล่นเลาะเลียบเกาะทางฝั่งด้านทิศตะวันออกที่มีลักษณะเป็นอ่าวขนาดเล็กที่มีสภาพค่อนข้างตื้น ไปยังตำแหน่งทางขึ้นสู่เพิงผาที่ปรากฏภาพเขียนสีได้ ลักษณะและรูปแบบ บริเวณที่ปรากฏภาพเขียนสี เป็นเพิงผาขนาดเล็กและแคบ หันไปทางทิศตะวันออก ลักษณะเป็นโพรงถ้ำขนาดเล็กในแนวนอน ขนาดกว้างประมาณ ๒ เมตร ยาวประมาณ ๗ เมตร และสูงประมาณ ๑ เมตร ทางขึ้นค่อนข้างชันมาก เพิงผาอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓ – ๕ เมตร มีหินงอกหินย้อย และสามารถเข้าไปอยู่ในโพรงถ้ำได้เพียงครั้งละ ๑ – ๒ คนเท่านั้น ที่ผนังของเพิงผาปรากฏกลุ่มภาพเขียนสีแดงเข้ม เป็นภาพลายเส้นคล้ายดอกไม้ ลายเส้นอื่นๆ และร่องรอยภาพสีแดงที่ค่อนข้างลบเลือน ภาพที่ปรากฏชัดเจนเป็นกลุ่มภาพลายเส้นสีแดงเข้ม มีจำนวน ๕ – ๖ ภาพ อยู่ใกล้กัน ขนาดกลุ่มภาพโดยรวมกว้างประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๖๐ –๗๐ เซนติเมตร ภาพที่ปรากฏชัดเจนที่สุด อยู่ด้านล่างสุดของกลุ่มภาพ เป็นภาพลายเส้นโค้งและเส้นตรงประกอบกันคล้ายรูปดอกไม้หรือดอกหญ้าชูขึ้น ขนาดภาพกว้างและยาวด้านละประมาณ ๑๕ เซนติเมตร สูงจากพื้นเพิงผา ๔๐ เซนติเมตร ส่วนภาพอื่นๆ เป็นภาพลายเส้นตรง เส้นตรงปลายแหลม และเส้นโค้งต่างๆ ซึ่งบางภาพเขียนประกอบกันคล้ายภาพเรขาคณิต แต่ไม่มีรูปทรงที่ชัดเจน และที่ผนังด้านในปรากฏร่องรอยสีแดง สาระสำคัญ เกาะยางแดง มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่กลางทะเลในอ่าวพังงา โดยด้านทิศตะวันออกของเกาะเป็นอ่าวขนาดเล็ก ซึ่งมนุษย์ในอดีตสามารถใช้จอดเรือและหลบคลื่นลม และสามารถใช้เพิงผาและถ้ำขนาดเล็กเป็นแหล่งพักพิงชั่วคราว ทั้งนี้สภาพภูมิประเทศในอดีต เพิงผานี้อาจมีสภาพที่เหมาะสมและมีขนาดใหญ่มากพอที่มนุษย์จะสามารถเข้าไปใช้พื้นที่ด้านในเพื่อประกอบกิจกรรม หรือพิธีกรรม ซึ่งอาจมีการขีดเขียนวาดภาพบนผนังเพิงผาเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมรอบตัว ซึ่งสันนิษฐานว่าอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว กลุ่มภาพสีแดงเข้มที่ปรากฏบนผนังเพิงผา สันนิษฐานว่าอาจเป็นกลุ่มภาพเล่าเรื่องแสดงเหตุการณ์หรือบอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต โดยมีภาพที่สำคัญเป็นภาพลายเส้นคล้ายดอกไม้ ดอกหญ้า หรือพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้พบเห็นมา หรือเขียนบอกเล่าชนิดของพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภคและบริโภคได้ ส่วนภาพลายเส้นอื่นๆ ที่บางภาพเขียนประกอบกันคล้ายภาพเรขาคณิต อาจเป็นการขีดเขียนเพื่อสื่อสาร เขียนภาพประกอบ หรืออาจเป็นภาพที่ยังเขียนไม่แล้วเสร็จ -------------------------------------------------------สำรวจ/เรียบเรียง/กราฟิก : นายธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง ภิกฺขุปาติโมกฺข (ปาติโมกข์)
สพ.บ. 365/1คประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 116 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ คาถาพัน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปกฺขิยธมฺม)
ชบ.บ.49/1-12
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 307/6ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 4.8 ซม. ยาว 54.3 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.256/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 116 (217-225) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : นิพฺพานสุตฺต(มหามูลนิพพาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พระอัฏฐารส ณ วัดพระแก้ว เมืองกำแพงเพชร“พระพุทธรูป” เป็นถาวรวัตถุ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสดาในพระพุทธศาสนา และหลักพระธรรมคำสอนอันประเสริฐ ภายหลังการเสด็จดับขันธเข้าสู่ปรินิพพานของพระองค์ วัดพระแก้ว เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตกำแพงเมืองโบราณกำแพงเพชร ตั้งอยู่บริเวณกลางเมือง ลักษณะผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของวัดใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง เจดีย์ช้างเผือก เป็นกลุ่มโบราณสถานที่ตั้งอยู่ตอนหลังสุดทางด้านทิศตะวันตกของวัดพระแก้วเป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานสี่เหลี่ยม มีเจดีย์บริวารทรงระฆังอยู่ที่มุมทั้ง ๔ ของฐาน โดยรอบฐานสี่เหลี่ยม มีการประดับประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว จำนวน ๓๒ เชือก แบบศิลปะสุโขทัย มีระเบียงคตล้อมรอบเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบ ทางด้านทิศตะวันออกของเจดีย์เป็นวิหาร สามารถศึกษาเปรียบเทียบทางศิลปะเทียบเคียงได้กับเจดีย์ประธานแห่งวัดช้างล้อมแห่งเมืองศรีสัชนาลัย และเจดีย์วัดช้างล้อมแห่งเมืองสุโขทัย บริเวณระหว่างวิหารและระเบียงคตที่ล้อมรอบเจดีย์ช้างเผือก เป็นมณฑป ขนาดกว้าง ๑๐.๖๐ เมตร ยาว ๑๒.๕๐ เมตร มีเสาอาคารสร้างด้วยศิลาแลง จำนวน ๑๒ ต้น ตรงกลางของอาคารปรากฏหลักฐานการประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถยืน สร้างจากศิลาแลงชิ้นเดียว โกลนให้เป็นแท่นฐานสี่เหลี่ยมขนาดความกว้าง ๒.๐๐ เมตร ยาว ๒.๑๐ เมตร สูง ๐.๖๐ เมตร ส่วนของพระพุทธรูปคงเหลือเฉพาะแกนศิลาแลงที่โกลนให้เป็นพระบาทถึงข้อพระบาททั้ง ๒ ข้าง ส่วนบนขึ้นไปหักหาย ขนาดความยาวพระบาทแต่ละข้างยาว ๑.๗๐ เมตร กว้าง ๐.๖๐ เมตร สูงถึงข้อพระบาท ๐.๕๗ เมตร สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปในอิริยาบถยืนดังกล่าวคือ “พระอัฏฐารส” คำว่าอัฏฐารสในความหมายตามรากศัพท์ของภาษาบาลีนั้น เป็นคำที่ใช้ในการนับจำนวน ที่เรียกว่าคำสังขยา แบบปกติสังขยา (Cardinals) โดยมีความหมายว่าเป็นจำนวนนับที่ ๑๘ สันนิษฐานว่าพระอัฏฐารส มีความหมาย ๒ แนวทาง คือ แนวทางที่ ๑ หมายถึงความสูงของพระวรกายของพระพุทธเจ้าสมณโคดม ดังปรากฏข้อความในพระไตรปิฏก พระสุตันตปิฎก อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ พุทธปกิรณกกัณฑ์ ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ตอน ปมาณเวมัตตะ ได้อธิบายถึงความสูงของพระวรกาย พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ในรูปประโยคของภาษาบาลี ดังนี้ “…กกุสนฺธโกณาคมนกสฺสปา ยถากฺกเมน จตฺตาลีสตึสวีสติหตฺถุพฺเพธา อเหสุ ํ อมฺหากํ ภควา อฏฺฐารสหตฺถุพฺเพโธ”แปลว่า “พระพุทธเจ้าคือพระกกุสันธะ พระโกนาคมนะและพระกัสสปะ พระวรกายสูง ๔๐ ศอก ๓๐ ศอก ๒๐ ศอก ตามลำดับ ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา สูง ๑๘ ศอก…” แนวทางที่ ๒ หมายถึงจำนวน ๑๘ ประการ ของพุทธธรรม หรือคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ดังปรากฏข้อความในบทสวดมหาราชปริตร หรือปริตรหลวงชุดใหญ่ อาฏานาฏิยปริตร ดังนี้“…อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา ทวัตติงสะลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา พยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา…”แปลว่า “…พระพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงประกอบด้วยพุทธธรรม ๑๘ ประการ มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ ทรงไว้ซึ่งอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ มีพระรัศมีอันงามผุดผ่องประมาณวาหนึ่งเป็นปริมณฑล ทุกพระองค์ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ ปานว่าพญากุญชรชาติอันมีตระกูล…” คำว่า “พระอัฏฐารส” ได้ปรากฏหลักฐานข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๔ โดยระบุถึงพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระอัฏฐารส ที่ประดิษฐานอยู่บริเวณกลางเมืองสุโขทัย ดังนี้ “…กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่…” สันนิษฐานว่า “พระอัฏฐารส” ที่ปรากฏข้อความดังกล่าว คือพระพุทธรูปในอิริยาบถยืนที่ประดิษฐานภายในมณฑปทางด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ของเจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๔ ระบุถึงพระอัฏฐารสที่ประดิษฐานอยู่ในเขตอรัญญิก นอกกำแพงเมืองสุโขทัย ด้านทิศตะวันตก ดังนี้ “…ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันณึ่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฎฐารศอันณึ่ง ลุกยืน…” สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถยืนที่ประดิษฐานภายในวิหารวัดสะพานหิน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยพระอัฏฐารศที่ประดิษฐานภายในมณฑป วัดพระแก้ว เมืองกำแพงเพชรสามารถเปรียบเทียบรูปแบบทางคติและความนิยมในการสร้างเทียบเคียงได้กับพระอัฏฐารสแห่งวัดมหาธาตุและวัดสะพานหิน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และสันนิษฐานได้ว่ามีอายุในสมัยสุโขทัยราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐เอกสารอ้างอิงกรมการศาสนา. การอ่านภาษาบาลีเบื้องต้น . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๕๑.กรมการศาสนา. พระไตรปิฏกฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), ๒๕๔๘.กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอกอินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑.กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘.กรมศิลปากร. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ. นครปฐม: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๕๘.กรมศิลปากร. รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดพระแก้ว จังหวัดกำแพงเพชร . กำแพงเพชร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร, ๒๕๔๓.บุณยกร วชิระเธียรชัย. “ศึกษาวิเคราะห์คติความเชื่อเรื่องพระอัฏฐารสที่มี อิทธิพลต่องานพุทธศิลป์” วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๔.มหามกุฏราชวิทยาลัย.พระไตรปิฏกและอรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราช วิทยาลัย, ๒๕๔๘.มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์. หนังสือที่ระลึกงานสวดพระปริตรถวายพระกุศลแด่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประธานมูลนิธิร่วมจิตต์ น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์. (กรุงเทพฯ: บริษัท มาสเตอร์ คีย์ จำกัด, ๒๕๕๓.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑.
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 38 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 64) พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 348 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 38 ภาคที่ 64 กล่าวถึง แรกสร้างกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ถึงรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยบรรยายถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น อาทิ การสถาปนาวัดพุทไธสวรรย์ การสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ การเสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ การสถาปนาวัดราชบุรณะ การสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี พระราชพิธีปฐมกรรม การแต่งตั้งขุนพิเรนทรเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองเมืองพิษณุโลก และการตั้งเมืองนครชัยศรี เป็นต้น
ภูเขานับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาบรรดาพื้นที่ส่วนต่าง ๆ บนพื้นโลกนั้น พื้นที่ส่วนที่เป็น ภูเขา นั้นนับเป็นพื้นที่ ที่มักถูกยึดโยงทางความเชื่อและวัฒนธรรมให้เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ โดยถือว่าเป็นอำนาจจากเบื้องบน โดยมีน้ำและแผ่นดินเป็นอำนาจพื้นล่างที่รองลงมา ภูเขาในพื้นที่ต่าง ๆ มักจะถูกกำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่สถิตของอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งความเชื่อนี้ก็พบโดยทั่วไปในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพื้นที่อื่น ๆ อีก เช่น จีน ทิเบต และอินเดีย
..
ในจังหวัดชัยนาทนั้นปรากฎภูเขาอยู่หลายลูก เช่น เขาแหลม เขาพลอง เขาขยาย เขาท่าพระ เขาสรรพยา และเขาธรรมามูล เป็นต้น แต่ภูเขาที่ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฎในตราประจำจังหวัดชัยนาทมีด้วยกันอยู่ 2 ลูก อันได้แก่ เขาสรรพยา ในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และ เขาธรรมามูล ในอำเภอเมืองฯ จังหวัดชัยนาท โดยความสำคัญของภูเขา 2 ลูกนี้นั้นถึงขนาดที่มีผลให้ กรมศิลปากร ในสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นั้น เห็นควรทำตราประจำจังหวัดชัยนาท เป็นรูปธรรมจักรกับภูเขา โดย ธรรมจักร มีความหมายถึง วัดธรรมามูล ส่วนภูเขา มีความหมายถึง เขาธรรมามูล หรือเขาสรรพยาก็ได้ เลยทีเดียว
..
เมื่อภูเขาถูกยึดโยงเข้ากับความเชื่อที่ว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจศักดิ์สิทธิ์จากเบื้องบนแล้วนั้น ภูเขาในหลาย ๆ ที่จึงมักถูกชาวบ้านและชาวเมืองนั้น ๆ ใช้เป็นพื้นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนหรือบ้านเมืองนั้น ๆ นับถือ เฉกเช่น บนเขาธรรมามูล ของเมืองชัยนาท ที่ปรากฎการสร้างวิหารประดิษฐานรูปเคารพบนเขา
..
เมื่อเดินเท้าขึ้นไปตามบันไดขึ้นเขาที่ทอดตัวตามแนวเชิงเขาอยู่ จำนวน 565 ขั้น ที่เริ่มขั้นแรกอยู่บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถวัดธรรมามูลวรวิหาร ก็จะพบลานพื้นที่ราบบนเขาธรรมามูล หลังจากนั้นเดินเท้าไปตามทางราบสลับที่สูงอีกราว 500 เมตร ก็จะพบกับวิหารหลวงพ่อนาค ที่เป็นศาสนสถานบนเขาธรรมามูลแห่งนี้ วิหารแห่งนี้เป็นศาสนสถานที่ค่อนข้างเล็ก เป็นวิหารก่ออิฐถือปูนและฉาบผนังอาคารด้วยปูนตำโบราณที่มีทางเข้าทางเดียวทางด้านหน้า ผนังด้านข้างทั้ง 2 และผนังด้านหลังพระประธาน ทึบไม่มีช่องหน้าต่าง ฐานวิหารปรากฎการทำฐานบัว ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวน 3 องค์ โดยองค์กลางเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาบด้านข้างทั้ง 2 ด้วยพระพุทธรูปนาคปรก ส่วนหลังคาของวิหารดั้งเดิมน่าจะผุพังไป มีการสร้างหลังคากระเบื้องลอนแบบปัจจุบันทดแทนไว้
..
จากร่องรอยดังกล่าวจึงแสดงให้เห็นถึงความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้าน ชาวเมือง ต่อภูเขาจนทำให้เกิดการสร้างศาสนสถานบนเขา เพื่อเชื่อมโยงอำนาจศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนกับความศรัทธาของชาวพื้นราบ ให้สอดประสานทางใจอันเป็นที่พึ่งอีกทางของชาวบ้านชาวเมืองชัยนาทนั่นเอง
ชื่อเรื่อง สพ.ส.13 แผนภูมิของร่างกายและตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 134; หน้า : มีภาพประกอบหัวเรื่อง เวชศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดชายทุ่ง ต.ท่าระหัด อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 10 ส.ค.2538
องค์ความรู้จากสำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี เรื่อง พระโคตะโม แลพระศิรอะริโย : ร่มโพธิ์แห่งศรัทธาของชาวเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี www.facebook.com
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2544 นิยามความหมายของยาม นอกจากแปลว่า ช่วงเวลาแห่งวันแล้ว ยังมีความหมายว่า “คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม”
จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูล พบเอกสารที่แสดงถึงคุณความดีของคนยามหอพระสมุด ได้กล่าวไว้ ดังนี้
“ว่าด้วยแขกแชเบอร์ โจวทุรี รับราชการรักษายามที่หอพระสมุดแห่งพระนคร ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2463 เป็นเวลาสามปีหกเดือน รักษาหน้าที่เรียบร้อยตลอด มีความชอบพิเศษ 3 ครั้ง จับได้คนร้ายพยายามลักทรัพย์ สภานายกหอพระสมุดฯ ประทานรางวัล 1 ครั้ง ส่วนอีก 2 ครั้งไม่ได้ให้ จึงระบุความดีไว้ในหนังสือนี้ด้วย และลาจากหน้าที่รักษายามหอพระสมุด เพื่อกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองบิดร จึงได้ทำหนังสือแสดงคุณความดี ฉบับนี้ไว้เป็นสำคัญ” ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2466”
ช่วงเวลานั้นแขกมาเป็นนายยามที่หอพระสมุดฯในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่เสมอ เช่น ในปีพ.ศ. 2460 มีคนยาม 3 คน ได้แก่ แขกสรัส (ชาติฮินดู แผลต้นนิ้วชี้ซ้าย) , แขกเชอดิเซ็ง (ชาติฮินดู แผลที่จมูกข้างขวา) และแขกพรหมหลัด(ชาติฮินดู แผลหลังมือซ้าย) ทั้งสามได้เงินเดือนเดือนละ 24 บาท แต่ไม่พบข้อมูลของแขกโจวทุรี ในเอกสารอื่น ทราบแต่ว่าได้รับเงินเดือนเดือนละ 25 บาท จากเอกสารปี พ.ศ. 2464 มีนายยาม 1 คน คือ แขกเซอร์ดิเซง และ คนยาม 2 คน คือ แขกแชเบอร์โจวทุรี (ในต้นฉบับสะกด โจวุดรี) และแขกงังเงอบีซน ระบุได้เงินเดือนปีละ 300 บาท เฉลี่ยเดือนละ 25 บาท
แม้ว่าจะไม่ได้ทราบประวัติหรือรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับแขกโจวทุรี แต่ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญที่ตนทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดด้วยความสุจริต นั่นคือเกียรติของตนเอง และทำให้ได้ตระหนักว่า ความดีไม่มีวันสูญหาย เอกสารยังปรากฏคุณความดีจนถึงทุกวันนี้ร่วมศตวรรษ ความดีจะเป็นนิรันดร์
-----------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
ศธ 0701.6/220 ตัวอย่างแสดงคุณความดีของคนยามหอพระสมุดฯ
ศธ 0701.6/189 ค่าใช้สอยต่างๆ พ.ศ.2464
ศธ 0701.6/107 ขอรับยกเว้นเงินค่าราชการ พ.ศ. 2460
-----------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นายบารมี สมาธิปัญญา นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ