ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 147/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/5 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : กำลังความคิด ชื่อผู้แต่ง : หลวงวิจิตรวาทการ ปีที่พิมพ์ : 2494สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : วรรธนะวิบูลย์ จำนวนหน้า : 552 หน้า สาระสังเขป : เป็นเรื่องราวของการสร้างสมรรถภาพของมันสมอง การฝึกประสาท ทางตา ทางหู ทางกาย ทางใจ สมาธิ ปฏิภาณ เหตุผล การตัดสินใจ ลักษณะของศิลปิน มโนคติ ความจำ ความเฉียบแหลมคมคาย ความสังเกต การเปรียบเทียบ การทอดถ่ายความรู้เปรียบเทียบกำลังความคิดกับหัวข้อธรรมทางพุทธศาสนา


สนามหลวง ชื่อผู้แต่ง          - ชื่อเรื่อง           สนามหลวง ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์        เมืองโบราณ ปีที่พิมพ์          ม.ป.ป. จำนวนหน้า      ๑ เล่ม : ภาพประกอบ หมายเหตุ         -                    สนามหลวงแปลว่า สนามของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นทุ่งโล่งมีอาณาเขตครึ่งเดียวของปัจจุบัน อีกฟากหนึ่งไปทางทิศเหนือเมื่อก่อนยังเป็นวังหน้า ทุ่งนี้ใช้เป็นที่ตั้งงานพระมุเผาศพเจ้านาย จึงเรียกว่าทุ่งพระเมรุ เป็นการเล่าเรื่องสนามหลวงด้วยภาพ          


ชื่อผู้แต่ง          -         ชื่อเรื่อง           วารสารคหเศรษฐศาสตร์( ปีที่ ๗  ฉบับที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๐๕) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      พระนคร สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์ของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ปีที่พิมพ์           ๒๕๐๕ ปีที่  ๗  ฉบับที่  ๓ ( พ.ค.๐๕ ) จำนวนหน้า      ๖๑  หน้า         หมายเหตุ         - รายละเอียด      วารสารของสมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยประกอบด้วยบทความเรื่องการใช้ความร้อนเพื่อรักษาปลาสด การเลี้ยงดูเด็กด้วยวินัย มีสลึงพึงบรรจงให้ครบบาท  การแนะแนวในการเลือกคู่ครอง  การเลือกภาชนะหุงต้มและการศึกษาหาตำหรับการใช้น้ำมันหมูแทนเนยในการทำขนมมเค้ก


ชื่อเรื่อง        วารสารคหเศรษฐศาสตร์  (ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 กรกฎาคม 2503) ชื่อผู้แต่ง       สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย  ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   ธนบุรี   สำนักพิมพ์     โรงเรียนช่างพิมพ์เพชรรัตน์ ปีที่พิมพ์        ๒๕๐๓ จำนวนหน้า    92 หน้า รายละเอียด                   เป็นวารสารวิชาการสำหรับชาวคหกรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวคิดทาง คหกรรมศาสตร์และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ภายในเล่มประกอบด้วย 9 บทความ เช่น ปลูกไม้ยืนต้นประดับบ้าน  อาหารตามฤดูกาล  ปัญหาการแพ้เครื่องสำอาง ฯลฯ


      พระวิษณุสี่กร       สมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔       พบที่เขาพระเหนอ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา        ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร       พระวิษณุสี่กร ทรงยืนตรง (สมภังค์) พระเศียรทรงหมวกทรงกระบอก (กิรีฏมกุฎ)* พระวรกายท่อนบนไม่แสดงการสวมเสื้อ พระอุระผึ่งผาย พระพาหาแสดงลักษณะกล้ามเนื้อชัดเจน พระหัตถ์ชำรุดหักหายไปทั้งหมด ทรงพระภูษาผ้ายาว คาดด้วยรัดพระองค์ ชายพระภูษาทบกันไปมาตกลงจรดระหว่างพระบาท ฐานสี่เหลี่ยมมีขนาดใหญ่ ช่องว่างระหว่างส้นพระบาทมีร่องรอยจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ปัจจุบันลบเลือนไม่สามารถอ่านแปลความได้       ความโดดเด่นของพระวิษณุสี่กรองค์นี้ คือความสามารถในฝีมือของช่างสลักประติมากรรม ที่สามารถแสดงลักษณะของกล้ามเนื้อ ลำตัวและแขนให้ใกล้เคียงกับหลักกายวิภาคของมนุษย์ และกล้าสลักเป็นรูปลอยตัว พระกรทั้งสี่นั้นไม่ได้สลักติดกับพระวรกาย  แต่ยังคงมีชายผ้าและกระบองในพระหัตถ์ซ้ายล่างช่วยยึดติดกับส่วนฐานเหมือนกับประติมากรรมพระวิษณุสี่กรรูปอื่น  ศ.ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้เคยเสนอว่า “อาจจะเป็นประติมากรรมที่แลดูมีอำนาจและน่าเกรงขามที่สุดในบรรดาประติมากรรมที่พบในประเทศไทย”       กิรีฏมกุฎที่เป็นหมวกทรงกระบอกเรียบ และการนุ่งผ้ายาว ขอบผ้าที่ระหว่างพระชงฆ์ (แข้ง) โค้งขึ้นไปคล้ายกับการถูกรั้งที่ชายพกคล้ายวิธีการนุ่งโจงกระเบนยาวแบบอินเดียใต้ สะท้อนถึงการรับอิทธิพลวัฒนธรรมการแต่งกายของศิลปะอินเดียแบบปัลลวะที่แพร่กระจายเข้ามาในพื้นที่คาบสมุทรมลายู (รวมถึงพื้นที่ของเขมร) ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ ซึ่งบริเวณเขาพระเหนอแหล่งที่พบพระวิษณุสี่กรนั้น ยังเป็นพื้นที่ที่พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ เช่น ร่องรอยของศาสนสถาน (สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์)  เศษภาชนะเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถังถึงราชวงศ์ซ้อง ลูกปัด เครื่องแก้วแบบอาหรับ โบราณวัตถุเหล่านี้แสดงถึงการติดต่อกับบ้านเมืองในภูมิภาคอื่น หรือเมืองท่าที่ห่างไกล สะท้อนให้เห็นว่าบริเวณนี้เป็นเสมือนชุมทางสินค้าในอดีต และสามารถเดินทางตัดข้ามคาบสมุทรไปยังชุมชนบริเวณพื้นที่แหลมโพธิ์ ในเขตอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี        พระวิษณุสี่กรองค์นี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เคยเสด็จทอดพระเนตร เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ระหว่างที่พระองค์เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ดังความในจดหมายเหตุตอนหนึ่งกล่าวว่า        “...เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรพระนารายณ์เทวรูปบนยอดเขาพระเหนอ เทวรูปองค์นี้ทำด้วยศิลาหินทราย บัดนี้หักเสียเป็นสองท่อน หักเฉพาะที่เอว ถ้าไม่หักคงสูงราว ๕ ศอก เครื่องสนิมพิมพ์พาภรณ์ไม่วิจิตรเหมือนองค์ที่เขาเวียง** แต่ฝีมือทำกล้ามเนื้อดีเหมือนคน เทวรูปนี้ยืนอยู่กลางฐานใหญ่ก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่... ”       ต่อมาเทวรูปองค์นี้ถูกทุบทำลายแตกหักเป็นหลายชิ้น บริเวณพระพักตร์ พระศอ พระกร พระวรกาย กระทั่งประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ พระวรคีรีรักษ์ นายอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ได้ส่งเทวรูป องค์นี้มาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในครั้งนั้นทะเบียนระบุว่ามีชิ้นส่วนของเทวรูปองค์นี้ถึง ๑๓ ชิ้น   *กิรีฏมกุฎ หมายถึง มกุฎที่แสดงถึงความเป็นกษัตริย์ **หมายถึงเทวรูปพระวิษณุ ที่เขาเวียง (หรือเขาพระนารายณ์) อำเภอกะปง จังหวัดพังงา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตร เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ปัจจุบันเทวรูป องค์นี้จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต   อ้างอิง เชษฐ์ ติงสัญชลี. บทบาทของศิลปะอินเดียต่อเครื่องแต่งกายประติมากรรมบุคคลในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๖๒. พิริยะ ไกรฤกษ์. ศิลปะทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๓. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๐๖. ศรีศักร วัลลิโภดม. อู่อารยธรรมแหลมทองคาบสมุทรไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๘. “แจ้งความราชบัณฑิตยสภา เรื่อง มีผู้ให้ของแก่พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๖ ตอนที่ ๐ง. (๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๒): ๑๒๗๘-๑๒๘๓.


เลขทะเบียน : นพ.บ.527/13ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 5 x 48 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 176  (267-279) ผูก 13 (2566)หัวเรื่อง : ลำสินไชย--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ “อาสาสมัครเครือข่ายโบราณคดีใต้น้ำ” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสอดส่องดูแลและแจ้งพบแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ โดยในปีนี้ กองโบราณคดีใต้น้ำจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 18 คน จากผู้สมัครทั้งหมด  กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ การทำงานโบราณคดีใต้น้ำ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดีใต้น้ำ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมนอกที่ตั้งโดยผู้เข้าอบรมจะร่วมเดินทางไปกับเรือสำรวจของเรา (เรือแววมยุรา) เพื่อชมและทดลองทำกิจกรรมสาธิตการเก็บข้อมูลทางโบราณคดีใต้น้ำเพื่อการแจ้งพบแหล่งโบราณคดี            กิจกรรมจะจัดระหว่างวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ 27-28 พฤษภาคม 2566 นี้ ณ สำนักงานกองโบราณคดีใต้น้ำ จังหวัดจันทบุรี และแหล่งดำน้ำหินบอยเซ็น จ.จันทบุรี  ผู้ที่ผ่านการอบรมจะได้รับการขึ้นบัญชีเป็นเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ (อส.มศ.) มีบัตรประจำตัว มีสิทธิเข้าชมแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร ฟรี รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรม อส.มศ.ในอนาคต ปิดรับสมัคร :         14 พฤษภาคม 2566 ประกาศรายชื่อ :   16 พฤษภาคม 2566 อบรม :                  27-28 พฤษภาคม 2566 คุณสมบัติผู้สมัคร :           1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย สุขภาพแข็งแรง มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง           2) มีความสนใจในเรื่องมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ           3) สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดโครงการ           ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนสมัครเพื่อเข้ารับการคัดเลือกผ่าน Google Forms ตามลิงค์นี้ได้เลย https://forms.gle/jRMbwSWuFLYa4bQC9


ชื่อเรื่อง                               เรื่องพระโพธิสัตว์ (โพธิสัตว์) อย.บ.                                  433/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                             พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                        32 หน้า : กว้าง 4.5 ซม.  ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                               ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน  เส้นจาร ฉบับลานดิบ ล่องชาด  ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร“หงส์” สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อ กับเมืองกำแพงเพชร...หงส์ เป็นสัตว์ที่ถูกนำมาใช้เชื่อมโยงกับคติความเชื่อผ่านทางศิลปกรรมในอดีต โบราณสถานของเมืองกำแพงเพชร พบร่องรอยของประติมากรรมดินเผารูปหงส์ประดับส่วนฐานเหนือฐานประทักษิณเจดีย์ประธานวัดช้างรอบ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาทางเหนือนอกเมืองกำแพงเพชร.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า “หงส์” หมายถึง นกในนิยาย ถือเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม ในทางวรรณคดี หมายถึง บุคคลที่มีชาติตระกูลสูง และเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าด้วยการเดินของหงส์ ..คติความเชื่อทางพุทธศาสนา หงส์เป็นตัวแทนของพระโพธิสัตว์ ปรากฏในชาดกหลายเรื่อง เช่น ปลาสชาดก โมรัจชาดก สุวรรณหงส์ชาดก ชวนหังสชาดก จุลหังสชาดก เนรุชาดก เป็นต้น .ในไตรภูมิพระร่วง บทพระราชนิพนธ์ของพญาลิไทย พระมหากษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัย ปรากฏข้อความเกี่ยวกับหงส์ใน ทุติยกัณฑ์ ติรัจฉานภูมิ ความว่า “...แต่ติรัจฉานคือราชหงส์อันอยู่ในเขาคิชฌกูฏและอยู่ในคูหาถ้ำก็ดี อันอยู่ในปราสาททั้งหลายด้วยฝูงนกก็ดี อยู่ด้วยหมู่สัตว์ในป่าพระหิมพานต์นั้นก็ดี ก็มีอยู่เป็นอันมากนักหนาแล...” ..นอกจากนี้ยังถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นเทพพาหนะของพระพรหม เทพเจ้าในศาสนาฮินดู ตัวอย่างเช่น แท่งหินทรายทรงสี่เหลี่ยมสลักภาพพระพรหมทรงหงส์ พบที่ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ และปรากฏหลักฐานยืนยันความเชื่อเรื่องพาหนะของเทพในศาสนาพราหมณ์ รวมถึงการเป็นสัตว์ชั้นสูงอยู่คู่กับกษัตริย์สมัยอยุธยา คือการสร้างเรือพระที่นั่งเป็นรูปหงส์ เรียกว่า เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ หรือสุวรรณหงส์ ดังที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศทรงพรรณนาถึงโดยเปรียบเทียบกับพาหนะของพระพรหม จากพระนิพนธ์กาพย์เห่เรือบางตอนไว้ว่า. “สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งอนชดช้อยลอยหลังสินธุ์เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม”.และยังคงสืบความนิยมต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ อาทิ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพระยุหยาตราทางชลมารคเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ปีพ.ศ. 2562 โดยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์นี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพ.ศ. 2454 มีลักษณะส่วนหัวเรือโขนเป็นรูปหัวของหงส์ จำหลักไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกมีพู่ห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือทาสีแดง ตอนกลางลำเรือมีที่ประทับเรียกว่า ราชบัลลังก์กัญญา สำหรับพระเจ้าอยู่หัวหรือราชวงศ์ชั้นสูง และตั้งชื่อตามเรือพระที่นั่งโบราณของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา อันมีชื่อว่า เรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ ดังข้อความปรากฏในพระราชพงศวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ความว่า.“...ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพ จึงให้หลวงราชนิกุล พระรักษ์มณเทียร และเจ้าพนักงานทั้งปวง เอาเรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ไปยังวัดราชประดิษฐานอัญเชิญพระเทียรราชาให้ปริวัตรลาผนวชแล้วเชิญเสด็จลงเรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์อลงการ ประดับด้วยเครื่องสูงมยุรฉัตรพัดโบกจามมรมาศดาษดาด้วยเรือดั้งกัน แห่เป็นขนัดแน่นด้วยชลมารควิถี เสด็จถึงประทับฉนวนน้ำแล้ว เชิญเสด็จเข้าสู่พระราชวัง...”.ที่เจดีย์ประธานวัดช้างรอบ บริเวณทิศเหนือนอกเมืองกำแพงเพชร พบประติมากรรมดินเผารูปหงส์ประดับที่เจดีย์ประธานของวัด บริเวณฐานกลมรองรับส่วนบัวถลาและองค์ระฆังด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นฐานที่อยู่ชั้นล่างของชั้นฐานประดับปูนปั้นทำภาพเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ ประติมากรรมรูปหงส์มีลักษณะทำท่าก้าวเดินเรียงต่อกันในทางทวนเข็มนาฬิกา ส่วนหางเป็นพุ่มลายกนก มีการทำเดือยสำหรับยึดติดตัวประติมากรรมเข้ากับฐานเจดีย์ และสันนิษฐานว่ามีการฉาบปูนทับประติมากรรมดังกล่าว..ประติมากรรมดินเผารูปหงส์ที่วัดช้างรอบ สามารถกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ด้วยการเปรียบเทียบรูปแบบศิลปกรรมกับประติมากรรมปูนปั้นรูปหงส์ที่วัดพระพายหลวง เมืองสุโขทัย และชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นลายกนกที่วัดนางพญา เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย รวมถึงประติมากรรมปูนปั้นรูปหงส์ประดับในชั้นเชิงบาตรของปรางค์ประธาน วัดจุฬามณี อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก...เอกสารอ้างอิง.กรมศิลปากร. เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พร้อมด้วยพระประวัติ และพระนิพนธ์บทร้อยกรอง ฉบับตรวจสอบชำระใหม่ มีภาพและแผนที่ประกอบเรื่อง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2505.กรมศิลปากร. ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์พระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไทย ฉบับตรวจสอบชำระใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526.กรมศิลปากร. เรือพระราชพิธี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2558.พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญาม, 2559.ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมาพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556.สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. ปราสาทพนมรุ้ง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2543.อนันต์ ชูโชติ. เจดีย์วัดช้างรอบ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2523.


กรมศิลปากร ร่วมกับ 7 จังหวัดภาคใต้ขยายเครือข่ายอนุรักษ์ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม คณะสงฆ์ ท้องถิ่น ชุมชน และภาคสังคมพร้อมใจปกป้องแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ หนุนเป็น SoftPower แหล่งศึกษา ท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่น จังหวัด และระดับประเทศ          เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๖  นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายอนุรักษ์ ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมเขตภาคใต้ตอนบน โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่และเครือข่ายดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมเขตภาคใต้ตอนบนในพื้นที่ ๗ จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช ชุมพร ภูเก็ต ระนอง พังงา กระบี่ สุราษฏร์ธานี ประกอบด้วย อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) พระสังฆาธิการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดและอำเภอ ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี          ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร มีภารกิจในการอนุรักษ์สืบสาน มรดกศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการปกป้องคุ้มครองและอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดจนสร้างคุณค่าเพิ่มจากมรดกศิลปวัฒนธรรม ซึ่งภาคใต้มีสถานที่ที่เป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติที่เก่าแก่และสำคัญ จึงเป็นที่มาของการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมในวันนี้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ช่วยกันปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์และรักษาไว้ให้มีความยั่งยืน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อเครือข่ายชุมชนสังคมและประเทศชาติที่จะช่วยไม่ใช่เพียงแต่ด้านวัฒนธรรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงภาคเศรษฐกิจที่จะสร้างรายได้ให้กับชุมชนและท้องถิ่นอีกด้วย และนอกจากนี้ กรมศิลปากรยังมีนโยบายในการทำงานที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ในการอนุรักษ์โบราณสถานและการจัดการโบราณวัตถุ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจกับภาครัฐภาค เอกชนและประชาชน เกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งนี้เพื่อช่วยกันอนุรักษ์โบราณสถานอันเป็นสาธารณสมบัติของชาติให้ดำรงอยู่สืบไป           ด้านนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า สำหรับกระบวนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายอาสาสมัครในเขตพื้นที่ ชุมชนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้อง คุ้มครอง ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติที่มีที่ตั้งในเขตพื้นที่หรือชุมชนนั้น โดยเฉพาะกับงานด้านโบราณสถาน ซึ่งเป็นสมบัติของชาติและชุมชน ผ่านกิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายอาสาสมัครดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ได้แก่ อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) พระสังฆาธิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคประชาชนอื่น ๆ โดยสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายอนุรักษ์ ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม นำร่องในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ๔ จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และล่าสุดวันที่ ๒๖ - ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี           นอกจากจะมีการบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ยังมีการศึกษาดูงานโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีในพื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ซึ่งพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นสถาปัตยกรรมศิลปะศรีวิชัยที่สมบูรณ์ที่สุดที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน และวัดโพธาราม ที่มีการขุดพบพานทองคำ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งกรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินโครงการขุดค้นทางโบราณคดีมาตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของเครือข่ายอนุรักษ์ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมด้วย           ทั้งนี้ เขตภาคใต้เป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติที่เก่าแก่สำคัญ และมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเป็น Soft Power ประการหนึ่งของชาติที่จะช่วยให้เกิดรายได้ของชุมชน ความร่วมมือร่วมใจของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งฝ่ายสงฆ์ ท้องถิ่น ชุมชน และภาคสังคมที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชนให้มีความยั่งยืน จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเครือข่าย ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ไม่ใช่เพียงด้านวัฒนธรรมอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงภาคเศรษฐกิจ ทั้งในระดับท้องถิ่น จังหวัด และระดับประเทศ


Messenger