ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,648 รายการ

กรมกำลังพลทหารอากาศ กรุงเทพ ฯ  (เวลา 09.00 น.) จำนวน 40 คนวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. กรมกำลังพลทหารอากาศ นำคณะผู้เข้ารับการศึกษาเป็นนายทหารประทวนชั้นยศจ่าอากาศตรี ถึง พันจ่าอากาศ จำนวน ๓๐ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่งพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้


ภาชนะดินเผา Knobbed Wares ภาชนะนำเข้าจากต่างประเทศ  สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ 2,100 – 2,000 ปีมาแล้ว ภาชนะดินเผาแบบมีปุ่มนูนที่ก้นด้านในภาชนะ มีลักษณะเทียบได้กับภาชนะแบบมีปุ่มในอารยธรรมอินเดีย สันนิษฐานว่าเป็นสินค้านำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันรับวัฒนธรรมจากต่างประเทศตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ พบจากแหล่งโบราณคดีถ้ำเสือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง Imported pottery (Knobbed-Base Bowl)  Early historic period. 2,100-2,000 B.P. This pottery has embossed button at the base inside bowl. Its pattern comparable with the same pattern pottery in Indian civilization. Assume that imported from oversea which show that Andaman coast area exchange cultural with oversea since early historic period. Found at Sua cave, La-un district, Ranong province. อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :  https://www.facebook.com/photo/?fbid=1836834539736087&set=a.1836561556430052 https://www.facebook.com/ThalangNationalMuseum/posts/pfbid038A3fm8yxwrGCfXazveUcSnqudWoQfVBDFwBRejSHTubrqA2sHXKkfjGiN1jVQY9xl


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม Workshop เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 “DIY การดุนลายบนแผ่นเงิน” โดย วิทยากรจากวิสาหกิจชุมชนวัดศรีสุพรรณ (กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนา) วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 เวลา 09:00 -12:00 น. ณ ห้องประชุม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ รับจำนวนจำกัดเพียง 50 คน (*อายุ 10 ปีขึ้นไป) ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ link นี้ https://forms.gle/8n7X9iW1w1rwwoNUA ร่วมกิจกรรมได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ inbox Facebook: Chiang Mai National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ หรือ โทร. 0 5322 1308


“สุดาวรรณ” ห่วงสถานการณ์น้ำท่วมขังโบราณสถานน่าน พะเยา เชียงราย -กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานแพร่ มอบ สป.วธ. - กรมศิลปากรติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด พร้อมตั้งศูนย์ประสานงาน ผลกระทบจากน้ำท่วมผ่านสายด่วนวัฒนธรรม 1765             นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด กรมศิลปากรรายงานว่าจากกรณีฝนตกต่อเนื่องหลายวันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง น้ำหลากท่วมทุ่งในหลายพื้นที่ของจังหวัดน่าน พะเยาและเชียงราย ขณะนี้กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ได้ลงพื้นที่และประสานงานกับเครือข่ายอาสาสมัครในการดูแลมรดกศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ดังกล่าว               รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ได้รับรายงานเกี่ยวกับผลกระทบต่อโบราณสถานในพื้นที่ 3 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดน่าน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.วัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งมีโบราณสถานคือ วิหารที่ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังน้ำท่วมขึ้นถึงภายในวิหาร แต่ยังไม่ถึงภาพจิตรกรรมซึ่งสูงกว่าระดับน้ำท่วมประมาณ 50 ซม ดังนั้น ภาพจิตรกรรม จึงไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากน้ำท่วม 2.วัดภูมินทร์ อำเภอ เมือง จังหวัดน่าน โบราณสถานคือวิหารจตุรมุขที่ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนัง (ปู่ม่านย่าม่าน) ปัจจุบันน้ำยังท่วมไม่ถึงด้านบนวิหาร เนื่องจากอาคารนี้เป็นอาคารที่มีฐานสูงและบันไดสูงไปถึงพื้นด้านบนวิหารน้ำจึงท่วมเพียงบันไดเท่านั้น และ 3.พิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ปัจจุบันน้ำยังไม่ท่วมเข้ามาในพื้นที่เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณที่สูงที่สุดของเมืองน่าน เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอดเวลาและให้นำรถยนต์เข้ามาจอดภายในได้ในช่วงนี้เพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินประชาชน            ขณะที่จังหวัดพระเยามีโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบคือ เมืองโบราณเวียงลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เมืองนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำอิง น้ำจึงล้นฝั่งท่วมทั้งเมืองโบราณสถานจึงมีน้ำท่วมขังหลายแห่งแต่ไม่พบความเสียหายของตัวอาคาร ส่วนที่จังหวัดเชียงราย โบราณสถานที่ได้รับผลกระทบ คือวัดเสาหิน เป็น วิหารและเจดีย์ขนาดใหญ่ มีน้ำท่วมขังในพื้นที่รอบอาคารแต่ยังไม่ได้รับรายงานความเสียหายของตัวอาคาร           นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่า กรมศิลปากร ได้วางแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1.ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 2.รับฟังข้อมูลจากอาสาสมัครฯ ของกรมศิลปากรที่อยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 3.หลังจากน้ำลดให้เข้าพื้นที่สำรวจตรวจสอบสภาพและความเสียหายโดยด่วน โดยเฉพาะงานศิลปกรรมที่ได้รับความเสียหายต้องได้รับการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน 4.วางมาตรการลดความเสี่ยงของโบราณสถานในช่วงฤดูฝนนี้ หากมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องครั้งต่อไป เช่น ปกป้องน้ำไม่ให้ท่วมเข้าไปในอาคารโบราณสถานอีก หรืออื่น ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และ 5.หากพบความเสียหายต่ออาคารโบราณสถานให้รีบแจ้งกรมศิลปากรเพื่อดำเนินการฉุกเฉินเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมในส่วนกระทรวงวัฒนธรรม รู้สึกเป็นห่วงและขอเป็นกำลังใจให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกคน จึงได้ สั่งการให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย โดยใช้สายด่วนวัฒนธรรม 1765 ในการรับแจ้งข้อมูลและรวบรวมข้อมูลหน่วยงานในสังกัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน รวมไปถึงแหล่งโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย เพื่อสรุปข้อมูลสำหรับลงพื้นที่สำรวจและตรวจสอบสภาพความเสียหายหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย รวมถึงจัดทำแผนช่วยเหลือเบื้องต้น และบูรณะซ่อมแซมในอนาคตต่อไป


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชวนทุกท่านเตรียมพบกับงาน Bangkok Art Biennale 2024 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ครั้งที่ 4 โดยในปีนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เป็น 1 ในสถานที่จัดแสดงผลงานจากศิลปินชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศกว่า 14 ท่าน อาทิ Agnes Arellano, Aideen Barry, Lena Bui, Guerreiro do Divino Amor, Chitra Ganesh, Mella Jaarsma(in collaboration with Agus Ongge), George K., Kira O'Reilly, Som Supaparinya, Deneth Piumakshi Veda Arachchige, Supawich Weesapen, Wishulada และ Pokchat Worasab              มาร่วมค้นหาความหมายที่แตกต่างของ “ไกอา” (Gaia) ภายใต้แนวคิด “รักษา กายา” (Nurture Gaia) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อของเทพี “ไกอา” หนึ่งในร่างของพระแม่ธรณี ซึ่งเป็นตัวแทนของแม่ผู้ให้กำเนิด และหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต ที่ถูกกล่าวถึงมาเป็นเวลานานในหลากหลายช่วงเวลาและวัฒนธรรม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้จะทำให้ผู้ชมตระหนักถึงความสำคัญของไกอาในฐานะที่เป็นแม่ของแผ่นดิน ที่ถูกถ่ายทอดในรูปลักษณ์ที่หลากหลายตามบริบททางวัฒนธรรม ไปจนถึงตระหนักถึงการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน              นิทรรศการเปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม 2567 – 25 กุมภาพันธ์ 2568 วันพุธ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท I ชาวต่างชาติ 200 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/bkkartbiennale?mibextid=LQQJ4d



ศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๙ ปีวอก นี้ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดพิมพ์หนังสือ “พระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : ศุภวารกราบกรานพุทธบูชา วัสสวานร ๒๕๕๙”โดยคัดสรรพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม สร้างขึ้นด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนแต่อดีตกาล มีตำนานการสร้างและคติบูชาแตกต่างกันไป ควรแก่การจัดพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้ประชาชนตระหนักรู้ในคุณค่าความสำคัญและร่วมกันดูแลปกป้องมรดกเนื่องในพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู่กับประเทศไทยสืบไป   ภายในหนังสือประกอบด้วยภาพพระพุทธรูปที่งดงาม จำนวน ๙ องค์ พร้อมเนื้อหาคำอธิบายภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดหนังสือ A5 พิมพ์สี่สี ทั้งเล่ม จำนวน ๕๖ หน้า จำหน่ายราคาเล่มละ ๖๕ บาท   ผู้สนใจสามารถซื้อได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร หรือ โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๗๐ วันพุธ - วันอาทิตย์ ในเวลาราชการ (ปิดทำการวันจันทร์และอังคาร)


ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ :ม.ป.ป.สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ช้างเผือกคอมพิวกราฟฟิค      ประวัติวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เป็นหนังสือที่ น.ส.เยาวลักษณ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา จัดพิมพ์ขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ คุณแม่สุนีย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ในหนังสือจะเล่าประวัติของวัดร่ำเปิง วัดร่ำเปิงหรือวัดตะโปทาราม ได้อยู่ในสภาพวัดร้างมาหลายยุคหลายสมัย หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลงแล้ว พระครูพิพัฒน์ คณาภิบาล เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองมางได้ปฏิบัติธุดงควัตร มาถึงวัดร่ำเปิง จึงได้ชักชวนชาวบ้านในท้องถิ่น ตลอดจนผู้ใจบุญทั้งหลายช่วยกันบุรณะสังขรณ์ฟื้นฟูขึ้นและได้เปิดป้ายสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดร่ำเปิง เมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ.2518 โดยมีพระครูพิพัฒน์คณาภิบาล รักษาการเจ้าอาวาสวัดตโปทาราม (ร่ำเปิง)


นิทรรศการเรือพนมสุรินทร์จากอารเบียสู่เอเชีย เรื่องราวของเรืออาหรับโบราณถูกที่ค้นพบบริเวณบ่อกุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร เหตุใดและทำไมเรือลำนี้จึงมาอยุ่ที่นี่ หาคำตอบได้ในนิทรรศการบัดนี้เป็นต้นไป



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์   จัดตั้งขึ้นตามโครงการพิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี  อนุสรณ์ โดยความร่วมมือระหว่างบรรดาลูกศิษย์และผู้ใกล้ชิดศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี  เพื่อรำลึกถึงเกียรติคุณของท่านในฐานะผู้ให้กำเนิดการศึกษาศิลปะสมัยใหม่ ศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2527 ซึ่งตรงกับวาระวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 92 ปี ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี โดยฯพณฯ ชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นให้เกียรติมาเป็นประธาน  จากนั้นจึงมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบและบริหารจัดการ จนกระทั่งได้รับการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ เมื่อพ.ศ.2530 ปัจจุบัน สังกัดสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ในเครือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป  ภายในจัดแสดงนิทรรศการถาวร โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ห้องชั้นนอก (บริเวณประตูทางเข้า) จัดแสดงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ของบรรดาลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด  เช่น นายเฟื้อ หริพิทักษ์ นายประยูร อุลุชาฎะ นายชลูด นิ่มเสมอ นายจำรัส เกียรติก้อง นายเขียน ยิ้มศิริ นายสวัสดิ์ ตันติสุข นายทวี นันทขว้าง เป็นต้น ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานศิลปกรรมในยุคเริ่มแรกของศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย ซึ่งดำเนินรอยตามแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะตามหลักวิชาการที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้วางรากฐาน             ส่วนที่สอง ห้องชั้นใน จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งประกอบไปด้วย โต๊ะทำงาน เก้าอี้ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องมือปั้น ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว โดยจำลองบรรยากาศโต๊ะทำงานดั้งเดิมเช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ยังมีชีวิตอยู่ ตลอดจนแบบร่างอนุสาวรีย์และประติมากรรมชิ้นสำคัญ เช่น แบบร่างพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 แบบร่างพระศรีศากยทศพลญาณ พระประธานพุทธมณฑล และต้นแบบพระเศียรรัชกาลที่ 8 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหนังสือหายากซึ่งเป็นหนังสือที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี  ใช้สำหรับค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะตะวันตก ให้บริการแก่ผู้มาเยี่ยมชมภายในห้องจัดแสดง


วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายพิจิตร วัฒนศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานการประชุมคณะทำงานกลั่นกรองและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารภายในบริเวณขอบเขตเมืองเก่ากำแพงเพชร ครั้งที่ ๕/๒๕๖๐ โดยมีนางธาดา สังข์ทอง หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรในฐานะเลขานุการคณะทำงานกล่าวรายงานต่อประธานในที่ประชุม ณ ห้องประชุมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร



อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ 


วันอาสาฬหบูชา             หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกได้เพียง ๖๐ วัน คือ ตรัสรู้ได้เพียง ๖๐ วัน      ก็ได้เกิดวันสำคัญในพระพุทธศาสนาขึ้นมาอีกวันหนึ่ง คือ วันที่พระพุทธองค์ได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาขึ้นในโลก ในวันเพ็ญเดือน ๘ ซึ่งในกาลต่อมาเราเรียกวันสำคัญนี้ว่า             “วันอาสาฬหบูชา” นั่นเอง             เทศน์กัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า มีชื่อเต็มว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” แยกออกเป็นคำศัพท์ได้ ๓ คำ คือ             ๑) ธัมมจักกะ แปลว่า “กงล้อคือพระธรรม” ซึ่งได้แก่อริยสัจ ๔ ที่พระองค์ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ นั่นเอง เฉพาะคำว่า “จักกะ” หรือ “จักร” ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ท่านได้ให้ความหมายได้ ๑๐ อย่าง คือ                     ๑.๑) สมบัติ ได้แก่ จักรธรรม ๔ อันเป็นดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ (อยู่ในประเทศอันสมควร-คบสัตบุรุษ-ตั้งตนไว้ชอบ และความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน)                     ๑.๒) รูปที่ปรากฏในกาย เป็นเครื่องหมายบอกว่าเป็นคนมีบุญหรือไม่มีบุญ                     ๑.๓) ล้อ เครื่องประกอบรถ                     ๑.๔) อิริยาบถ โดยพิสดารมี ๘ คือ ยืน, เดิน, นั่ง, นอน, คู้, เหยียด, เคลื่อน, ไหว                     ๑.๕) ทาน การบริจาค                     ๑.๖) จักรรัตนะ จักรของพระเจ้าจักรพรรดิราช                     ๑.๗) ธรรม ที่เรียกว่า ธรรมจักร (ล้อคือพระธรรม)                     ๑.๘) จักรกรด ที่เรียกว่า ขุรจักร                     ๑.๙) เครื่องประหาร ที่เรียกว่า ปหรณจักร หรือ กงจักร                     ๑.๑๐) สายฟ้า ที่เรียกว่า อสนีจักร คำว่า “จักกะ” ในคำว่า “ธรรมจักกะ” นี้ หมายเอา ข้อ ๑.๗ คือ ธรรม           ๒) ปวัตตนะ แปลว่า “ให้เป็นไปทั่ว” หรือ “ให้หมุนไปทั่ว”           ๓) สูตร ได้แก่ พระธรรมเทศนา หรือ ธรรมกถา เรื่องหนึ่งๆ ที่แสดงเรื่องต่างๆ โดยยกบุคคลเป็นที่ตั้ง             ทั้ง ๓ คำ รวมกันเป็น “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” แปลว่า “พระธรรมเทศนาว่าด้วยการหมุนล้อคือพระธรรมให้เป็นไปทั่ว”           วัน “อาสาฬหบูชา” (อา-สาน-หะ-บู-ชา) นักปราชญ์จึงจัดว่าเป็น วันพระธรรม   วันเข้าพรรษา (ตรงกับแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘)             สำหรับปีนี้ เป็นปีมหามงคล เนื่องด้วยเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา อาตมาภาพขอเชิญชวน ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้บำเพ็ญมหาทาน ๕ คือ อริยธรรม ๕ หรือ ศีล ๕ เพื่อน้อมเกล้าฯ อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เพราะถ้ารักษาได้ทั้ง ๕ ข้อ จะเป็นหลักประกันชีวิต – ทรัพย์สิน ครอบครัว – เครดิต และสุขภาพ ทั้งของตนเองและผู้อื่นได้โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไร กับขอวิงวอนให้ชาวไทยทุกหมู่เหล่าจงมีเมตตาให้แก่กันและกัน สร้างความรัก ความสามัคคี ให้เกิดขึ้นในชาติบ้านเมืองของเราตลอดไป             ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดอภิบาลดลบัลดาลให้ท่านทั้งหลายจงประสบแด่ความสุข ความเจริญด้วย จตุรพิธพรชัย คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติจงทุกประการทุกท่านเทอญ     ขอเจริญพร พระธรรมโสภณ   เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา  


Messenger