ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ





องค์ความรู้ เรื่อง จิตรกรรมชิ้นเยี่ยมสมัยหินเก่า จากถ้ำอัลตามีรา (Altamira Cave)เรียบเรียงโดย : นางสาวเบญจพร สารพรม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี




1. ชื่อโครงการ  THE ART OF LIVING 1981-2016 WORLD CULTURE FESTIVAL (เทศกาลวัฒนธรรมโลก)   2. วัตถุประสงค์           2.1 เพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในมวลหมู่นานาอารยประเทศทั่วโลกผ่านการแสดงทางวัฒนธรรม           2.2 เพื่อแสดงถึงความมีสันติภาพ การสร้างสันติภาพ การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขของมวลมนุษย์โดยมีวัฒนธรรมเป็นสื่อในการสร้างสันติภาพ           2.3 เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทยในด้านนาฏศิลป์โขนให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น   3. กำหนดเวลา           ระหว่างวันที่ 10 – 14 มีนาคม 2559   4. สถานที่  เมืองนิวเดลี  สาธารณรัฐอินเดีย   5. หน่วยงานผู้จัด           สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุณค่าความเป็นมนุษย์ (ประเทศไทย)   6. หน่วยงานสนับสนุน           สำนักการสังคีต  กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม   7. กิจกรรม             วันที่ 9 มีนาคม 2559 นายประสาท  ทองอร่าม ผู้ชำนาญการด้านนาฏศิลป์ไทย ซึ่งเป็น ผู้ประสานงานระหว่างสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กับสมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุณค่าความเป็นมนุษย์ (ประเทศไทย) ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิโดยเที่ยวบิน TG 331 เวลา 23.25 น. พร้อมกับ นายนุกูล  แซ่ลี นายกสมาคมฯ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการแสดง ถึงสนามบินเมืองนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เวลา 00.30 น. (เวลาช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง 30 นาที) เดินทางจากสนามบินไปยังโรงแรม ที่พัก GRAND VENIZIA  6 Bhama Shal Marg Delhi             วันที่ 10 มีนาคม 2559 คณะผู้ปฏิบัติงานจากสำนักการสังคีต ชุดที่ 1 ประกอบด้วย           1. นายสุรัตน์  เอี่ยมสะอาด           2. นายศิริพงษ์  ทวีทรัพย์           3. นายสุรศักดิ์  กิ่งไทร           4. นายกิตติศักดิ์  อยู่สุข           5. นายปิยะ  แสวงทรัพย์           6. นายถาวร  ภาสดา           7. นายรณภัทร  นามดี           8. นายศุภโชค  ยอดประเสริฐกุล           9. นางอัญชิษฐา  บุญเพ็ง 10. นางสาวสุภาภรณ์  ลาสะอาด ออกเดินทางจากสำนักการสังคีต เวลา 16.00 น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 17.30 น. เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเที่ยวบิน TG 315 เวลา 20.00 น. ถึงสนามบินเมืองนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เวลา 22.00 น. เดินทางจากสนามบินไปยังโรงแรมที่พัก GRAND VENIZIA  6 Bhama Shal Marg Delhi เวลา 01.00 น.             วันที่ 11 มีนาคม 2559 คณะผู้ปฏิบัติงานจากสำนักการสังคีต ชุดที่ 2 ประกอบด้วย           1. นายเจตน์  ศรีอ่ำอ่วม           2. นางนพวรรณ  จันทรักษา           3. นางพรทิพย์  ทองคำ           4. นางอัญชลิกา  หนอสิงหา           5. นายเสกสม  พานทอง           6. นางสาวเพ็ญศิริ  โกมลวัจนะ           7. นางสุมาลี  เรืองศิลป์           8. นางสาวชริตา  ธนัทกุลภักดี           9. นายสามารถ  สุทธิกิตติวงศ์ 10. นายสิทธิพร  พันทะสา ออกเดินทางจากสำนักการสังคีต เวลา 05.00 น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 06.00 น. เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ โดยสายการบิน JET AIRWAYS เที่ยวบินที่ 9W 61 (BKK-BOM) เวลา 08.55 น. ถึงเมืองมุมไบ เวลา 11.55 น. เดินทางต่อโดยเที่ยวบิน 9W 305 (BOM-DEL) เวลา 15.00 น. ถึงสนามบินเมืองนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เวลา 17.05 น. และเดินทางจากสนามบินไปยังโรงแรมที่พัก GRAND VENIZIA  6 Bhama Shal Marg Delhi เวลา 22.00 น.             วันที่ 11 มีนาคม 2559           เวลา 08.00 น.   คณะผู้ปฏิบัติงานจากสำนักการสังคีต ชุดที่ 1 รับประทานอาหารเช้าแล้วพักผ่อน ตามอัธยาศัย           เวลา 12.00 น.   คณะผู้ปฏิบัติงานจากสำนักการสังคีต รับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรม           เวลา 14.00 น.   คณะผู้ปฏิบัติงานจากสำนักการสังคีต ออกจากโรงแรมที่พักไปยังสถานที่จัดงาน           เวลา 16.00 น.   ถึงสถานที่จัดงาน ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน และเข้าชมงาน           เวลา 19.00 น.   คณะผู้ปฏิบัติงาน เดินทางกลับโรงแรมที่พัก           เวลา 21.30 น.   ถึงโรงแรมที่พัก และรับประทานอาหารเย็น             วันที่ 12 มีนาคม 2559           เวลา 07.00 น.   รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก           เวลา 10.00 น.   คณะผู้ปฏิบัติงานออกจากโรงแรมที่พัก เดินทางไปยังสถานที่จัดงาน เวลา 11.00 น.   ถึงสถานที่จัดงาน รับประทานอาหารกลางวัน           เวลา 13.00 น.   คณะผู้ปฏิบัติงาน แต่งหน้า – แต่งกาย ณ ที่พักผู้แสดงภายในบริเวณงาน           เวลา 16.00 น.   คณะผู้ปฏิบัติงาน ออกจากที่พักผู้แสดง ไปยังเวทีการแสดง           เวลา 18.30 น.   การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน ยกรบ-สีดาคืนนคร           เวลา 18.40 น.   เสร็จสิ้นการแสดง คณะผู้ปฏิบัติงานกลับมายังที่พักผู้แสดง           เวลา 19.30 น.   คณะผู้ปฏิบัติงาน เดินทางกลับโรงแรมที่พัก           เวลา 20.30 น.   ถึงโรงแรมที่พัก และรับประทานอาหารเย็น และพักผ่อนตามอัธยาศัย             วันที่ 13 มีนาคม 2559           เวลา 07.00-10.00 น.    รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก และพักผ่อนตามอัธยาศัย           เวลา 12.00-14.00 น.    รับประทานอาหารกลางวัน และพักผ่อนตามอัธยาศัย           เวลา 18.00-20.00 น.    รับประทานอาหารเย็น และพักผ่อนตามอัธยาศัย             วันที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 07.00-09.00 น.    รับประทานอาหารเช้า เวลา 07.30 น.   นายประสาท  ทองอร่าม พร้อมด้วยนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบัน                    บัณฑิตพัฒนศิลป์ ออกเดินทางจากโรงแรมที่พักไปยังสนามบินเมืองนิวเดลี           เวลา 08.30 น.   ถึงสนามบินเมืองนิวเดลี เดินทางกลับโดยเที่ยวบิน TG 324 เวลา 11.10 น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 16.40 น.           เวลา 14.00 น.   คณะผู้ปฏิบัติงานจากสำนักการสังคีต ออกจากโรงแรมที่พักไปยังสนามบิน           เวลา 15.30 น.   คณะผู้ปฏิบัติงาน เดินทางถึงสนามบิน           เวลา 21.50 น.   คณะผู้ปฏิบัติงาน ชุดที่ 2 ออกเดินทางโดยเที่ยวบินที่ 9W 384 (DEL-BOM)                              เวลา 21.50 – 23.50 น. และเดินทางต่อโดยเที่ยวบิน 9W 62 (BOM-BKK) เวลา 01.35 ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ วันที่ 15 มีนาคม 2559 เวลา 07.15 น. เดินทางกลับสำนักการสังคีตเวลา 09.30 น.             วันที่ 15 มีนาคม 2559           เวลา 00.15 น.   คณะผู้ปฏิบัติงาน ชุดที่ 1 ออกเดินทางจาก สนามบินนิวเดลี  เที่ยวบิน TG 316 (DEL-BKK) ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ วันที่ 15 มีนาคม 2559 เวลา 05.40 น. เดินทางกลับถึงสำนักการสังคีตเวลา 08.30 น.           เวลา 07.30 น.   8. คณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยข้าราชการและบุคลากรของสำนักการสังคีต จำนวน 21 คน คือ   ที่ ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง ปฏิบัติหน้าที่ 1 นายประสาท  ทองอร่าม ผู้ชำนาญการด้านนาฏศิลป์ไทย หัวหน้าคณะ กำกับการแสดง 2 นายสุรัตน์  เอี่ยมสะอาด นาฏศิลปินอาวุโส ช่วยกำกับการแสดง 3 นายเจตน์  ศรีอ่ำอ่วม นาฏศิลปินอาวุโส ช่วยกำกับการแสดง 4 นายศิริพงษ์  ทวีทรัพย์ นาฏศิลปินชำนาญงาน ผู้แสดง และเลขาคณะ 5 นางนพวรรณ  จันทรักษา นาฏศิลปินชำนาญงาน ผู้แสดง 6 นางพรทิพย์  ทองคำ นาฏศิลปินชำนาญงาน ผู้แสดง ที่ ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง ปฏิบัติหน้าที่ 7 นางอัญชลิกา  หนอสิงหา นาฏศิลปินชำนาญงาน ผู้แสดง 8 นายเสกสม  พานทอง นาฏศิลปินชำนาญงาน ผู้แสดง 9 นางอัญชิษฐา  บุญเพ็ง ดุริยางคศิลปินอาวุโส ผู้บรรเลง 10 นายสุรศักดิ์  กิ่งไทร ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน ผู้บรรเลง 11 นายกิตติศักดิ์  อยู่สุข ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน ผู้บรรเลง 12 นายปิยะ  แสวงทรัพย์ ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน ผู้บรรเลง 13 นายถาวร  ภาสดา ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน ผู้บรรเลง 14 นายรณภัทร  นามดี พนักงานราชการ ผู้บรรเลง 15 นายศุภโชค  ยอดประเสริฐกุล พนักงานราชการ ผู้บรรเลง 16 นางสาวสุภาภรณ์  ลาสอาด พนักงานราชการ ผู้ขับร้อง 17 นางสาวเพ็ญศิริ  โกมลวัจนะ นาฏศิลปินปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่แต่งกาย 18 นางสาวชริตา  ธนัทกุลภักดี พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่แต่งกาย 19 นางสุมาลี  เรืองศิลป์ ช่างตัดเย็บผ้า ช.2 เจ้าหน้าที่แต่งกาย 20 นายสิทธิพร  พันทะสา ช่างอาภรณ์ เจ้าหน้าที่แต่งกาย 21 นายสามารถ  สุทธิกิตติวงศ์ พนักงานจัดเครื่องโขนละคร เจ้าหน้าที่แต่งกาย   9. สรุปสาระของกิจกรรม             สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุณค่าความเป็นมนุษย์ (ประเทศไทย) ได้ประสานในรายละเอียดเบื้องต้น เพื่อจัดการแสดงโขนเข้าร่วมในงาน “เทศกาลวัฒนธรรมโลก” WORLD CULTURE FESTIVAL เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย กับนายประสาท  ทองอร่าม ผู้ชำนาญการด้านนาฏศิลป์ไทย สำนักการสังคีต           นายประสาท  ทองอร่าม ได้เรียนปรึกษาผู้อำนวยการสำนักการสังคีต เพื่อจัดบุคลากรเข้าร่วมในงานดังกล่าว โดยมีนักเรียน นักศึกษา จากวิทยาลัยนาฏศิลป์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เข้าร่วมแสดงในครั้งนี้ด้วย           สมาคมฯ ได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักการสังคีต ขอความอนุเคราะห์เชิญบุคลากรเข้าร่วมแสดงในงาน “เทศกาลวัฒนธรรมโลก” WORLD CULTURE FESTIVAL ณ เมืองนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย โดยสมาคมฯ ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องตามระเบียบราชการดังนี้           ค่าบัตรโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศ ค่าขนส่งสัมภาระระหว่างประเทศ ค่าที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าอาหาร และค่าธรรมเนียมอื่นๆ พาหนะรับ – ส่ง ระหว่างสำนักการสังคีต และสนามบินสุวรรณภูมิทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ           สำนักการสังคีตได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร เพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการ และบุคลากรของสำนักการสังคีต จำนวน 21 คน ไปร่วมปฏิบัติงานดังกล่าว ระหว่างวันที่ 10 – 14 มีนาคม 2559 เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยในด้านการแสดงโขนให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น           สมาคมฯ ได้จัดงานแถลงข่าวการจัดงานในครั้งนี้ที่โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) ในวันที่ 2 มีนาคม 2559 มีการเชิญสื่อมวลชนมาทำข่าว โดยมีการแสดงโขนชุดยกรบ เป็นตัวอย่างของการแสดงที่จะนำไปแสดง เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การจัดงานในครั้งนี้           การแสดงโขนในครั้งนี่ จัดการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนยกรบ – สีดาคืนนคร โดยกำหนดจัดการแสดงในวันที่ 12 มีนาคม 2559 ใช้เวลาในการแสดงทั้งหมด 7 นาที โดยเริ่มการแสดงตั้งแต่เวลาประมาณ 18.30 น. และเสร็จสิ้นการแสดงเวลา 18.40 น. ตามกำหนดเวลาซึ่งทางผู้จัดงาน (ประเทศอินเดีย) ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานการแสดงได้กำหนดไว้ ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติที่เดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้เป็นอย่างมาก   10. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม             การเดินทางไปปฏิบัติงานครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผู้ชมจากชาติต่างๆ ให้ความสนใจในการแสดงโขนจากประเทศไทยเป็นอย่างมาก           สำหรับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นอันได้แก่           การเดินทางของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องเดินทาง 2 เที่ยวบิน เนื่องจากสมาคมฯ ได้ประสานงานขอความอนุเคราะห์เชิญบุคลากรมาในระยะเวลาอันสั้น การซื้อบัตรโดยสารเครื่องบิน ซึ่งทางสมาคมฯ เป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อ จึงไม่สามารถเดินทางไปพร้อมกันได้ สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเดินทางด้วยการไปต่อเที่ยวบินอื่น มีเวลาในการเดินทางระหว่างท่าอากาศยานภายในประเทศของอินเดียน้อยมาก แต่ผู้ปฏิบัติงานก็สารถเดินทางไปได้ทันเวลาเที่ยวบิน ทั้งนี้ เนื่องจาก ผู้เดินทางไปปฏิบัติงานจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร มีประสบการณ์ในการเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศเป็นอย่างดี จึงทำให้ผ่านพ้นปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ไปด้วยดี           อาหาร ซึ่งทางสมาคมฯ เป็นผู้จัดให้ และได้แจ้งไว้ให้ทราบเบื้องต้นก่อนเดินทางว่าส่วนใหญ่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดีย ซึ่งเป็นอาหารมังสวิรัติ ผู้ไปปฏิบัติงานสามารถทานได้ และได้เตรียมอาหารไปทานเองในการปฏิบัติงานครั้งนี้           การเดินทางในเมืองนิวเดลี ซึ่งเป็นเมืองที่มีการจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก ทำให้การนัดหมายในแต่ละครั้งของเจ้าหน้าที่ประสานงานฝ่ายอินเดียส่วนใหญ่จะไม่ตรงตามเวลานัด แต่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานได้ทันเวลา และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี           การปฏิบัติงานในครั้งนี้ สมาคมฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนเห็นการทำงานของคณะผู้ปฏิบัติงานจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากรว่าเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีระบบการทำงานที่ดี บุคลากรมีศักยภาในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานด้านการแสดงเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทยให้กับหน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือภาคเอกชน     ........................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ  


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          ธรรมเทศนา                                    ชาดก                                    นิทานคติธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    32 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534  




ชื่อเรื่อง : ตำนานพระธาตุดอยคำ และประวัติดอยคำ ผู้แต่ง : สุทธวารี สุวรรณภาชน์ ปีที่พิมพ์ : 2533 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : บุญไชยการพิมพ์


ครูโป๊ะ ชยาภา อานามวัฒน์.มีความสุข ดี และเก่ง.จันท์ยิ้ม.(3):1;ตุลาคม-พฤศจิกายน 2560             เราคงเคยได้ยินคําว่า อีคิว (EQ) และไอคิว (IQ) ไอคิวนั้น คือความฉลาดทางสติปัญญา การเรียน การทําคะแนนวิชาการต่างๆ ความเป็นเลิศด้านสมอง พูดง่ายๆคือ เด็กเรียนเก่ง สอบได้คะแนนดี ถ้าได้รับการเสริมด้านวิชาการมากๆก็จะยิ่งเก่งยิ่งๆ ขึ้นไป แต่สําหรับ อีคิวนั้น เป็นเรื่องของความฉลาดเช่นกัน แต่เป็นความฉลาดทางอารมณ์ อารมณ์จะถูกพัฒนาให้เจริญเติบโต และได้รับการส่งเสริมผ่านกิจกรรม ที่เด็กจะต้องใช้จินตนาการ การถูกฝึกให้เป็นคนที่รู้จักควบคุมอารมณ์ และปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี เป็นเด็กที่รู้จักว่าอะไรดีไม่ดี มีความพึงพอใจ ในตัวเองมากกว่าจะต้องเป็นเด็กที่สอบผ่านในคะแนนสูงๆ หรือเรียนเก่ง เป็นตัวแทนแข่งขันวิชาการของโรงเรียน สอบติดคณะที่ยาก คะแนนสูงๆ จบมาทํางานมีรายได้สูงๆ แต่ไม่มีความสุขทั้งนี้ เมื่อเราเข้าใจถึงความสําคัญ ของอีศิว ก็จะส่งเสริมให้เด็กๆ เป็นไปในลักษณะนั้น แต่จะสอนกันอย่างไร ?           การสอนให้เด็กมีอีคิวอาจจะไม่มีรูปธรรม แต่แฝงอยู่ในทุกๆ ศาสตร์และศิลป์ การเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ความสามารถด้านอื่นๆ อาทิ ดนตรี กีฬา ศิลปะ ที่สําคัญ ต้องเป็นสิ่งที่เด็กทําและมีความสุข ไม่กดดัน เป็นสภาวะที่พร้อมต่อการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เป็นจุดที่เด็กจะได้ใช้จินตนาการ อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้าใจแก่เด็กๆด้วยว่า เวลาที่เรา จะต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อนๆ ครู และคนที่อาจไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่ เด็กสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ได้ไหม เราอาจจะพบว่า เด็กบางคน เรียนเก่ง แต่เข้ากับเพื่อนๆ ไม่ได้ ทํางานเป็นทีมไม่ได้ แต่ขณะเดียวกัน เด็กที่รองลงมาอาจจะเป็นที่รักของเพื่อนฝูง มีน้ําใจและประนีประนอม การจะทําอย่างไรให้เด็กๆ มีอีคิวที่ดี ก็คงจะต้องเริ่มต้นที่ครอบครัว ที่ต้องเข้าใจก่อนว่า เรียนเก่งก็ดีนะ แต่มีความสุข ดีกว่า สังเกตว่าเด็ก ขอบอะไร เข้าใจ และสนับสนุนพวกเค้า พยายามอย่างสบายใจ ไม่เคร่งเครียด บังคับ กติต้น หรือตามกระแสสังคมมากเกินไป พยายามทํากิจกรรมร่วมกันในเชิงสร้างสรรค์อยู่เสมอ เด็กๆ ก็จะมี ความสุข เป็นคนดี และเก่งแน่นอน


1. เวทย์มนต์คาถา เช่น เสกน้ำลูบหน้า, เสกน้ำมันเดือด, เสกสารพัดคงทน, เสกขี้ผึ้งทาปาก ฯลฯ 2. ยันต์และคาถาอาคม เช่น ยันต์เขียนสไบ, ยันต์เขียนใส่ใบตาล, ยันต์หัวกะได ฯลฯ 3. ว่าด้วยดำเนินพระราม 4. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาปลูกเลือด, ปลูกธาตุทั้งสี่, ยา กวาด, ยาแก้ไข้ป่า, ยาดับพยาธิ, ยาแก้ราก, ยาสะอึก ฯลฯ 5. บทไหว้ครู อักษรขอม – ไทย ภาษาบาลี


ประวัติวัดอรุณราชวราราม. พระนคร : โรงพิมพ์ภักดีประดิษฐ์, 2497.               เนื้อหากล่าวถึงเรื่องรายงานการสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม รายงานการสร้างท่าเรือวัดอรุณฯ และการสร้างวัดอรุณราชวราราม




Messenger