ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
เศียร พระบรมรูปรัชกาลที่ 9 (พระพักตร์) (Head of King Rama IX)
ศิลปิน : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (Silpa Bhirasri)
ปีพุทธศักราช: ปี พ.ศ. 2505 (1962)
เทคนิค: หล่อปลาสเตอร์ (Plaster)
ขนาด : สูง 35 เซนติเมตร (H.35 cm)
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s15ok
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri
ชื่อเรื่อง นิพฺพานสุตฺต (นิพพานสุด)สพ.บ. 471/1หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 4.4 ซม. ยาว 58 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเข้าร่วมโครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ “กิจกรรมทวีปัญญา” ประจำปี ๒๕๖๘ ครั้งที่ ๑ รับฟังการบรรยายเรื่อง “หนึ่งศตวรรษตำนานดอกกุหลาบ พระอัจฉริยภาพอันพิศิษฐ์” วิทยากรโดย ดร.ใกล้รุ่ง อามระดิษ (อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ และยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติได้ในวันและเวลาดังกล่าว ทางเพจ National Library of Thailand ผู้สนใจสามารถสำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๘๒ ๓๒๖๔ (ในวันและเวลาราชการ)
ครั้งแรกที่มีการจัดแสดงโบราณวัตถุจากสุสานจิ๋นซีในประเทศไทย โดยกรมศิลปากรได้มีการประสานขอยืมโบราณวัตถุจากสุสานจักรพรรดิจิ๋นซี เพื่อมาจัดแสดงในประเทศไทย ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ ด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายไทยโดยรัฐบาลและภาคเอกชน และหน่วยงานหลักในสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ สำนักงานมรดกทางวัฒนธรรมมณฑลส่านซี สำนักงานแลกเปลี่ยนวัตถุโบราณ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์มณฑลส่านซี และพิพิธภัณฑ์สุสานจิ๋นซีซึ่งโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมที่นำมาจัดแสดงประกอบด้วย หุ่นทหารดินเผา ๔ ตัว รถม้าจำลอง ๑ ชุดและโบราณวัตถุอันเป็นสิ่งของเครื่องใช้มีค่าสำหรับจักรพรรดิในสุสาน รวมทั้งสิ้นจำนวน ๘๖ รายการ ๑๓๓ ชิ้น แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น ๔ หัวเรื่อง คือ
๑.พัฒนาการก่อนการรวมชาติ : ยุคราชวงศ์โจวตะวันออก นำเสนอความเป็นแคว้นต่าง ๆ ที่มีการปกครองเป็นเอกเทศ แต่ก็ได้มีพัฒนาการ การสั่งสมทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรม อันเป็นปัจจัยส่งเสริมให้แคว้นฉินกลายเป็นจักรวรรดิที่แข็งแกร่งและสามารถผนวกแคว้นต่าง ๆ เข้าเป็นอาณาจักรเดียวกันในกาลต่อมา ซึ่งโบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดง ก็ทำให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางด้านโลหกรรมเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ภาชนะสำริด อาวุธและเงินตรา
ภาพ : เครื่องประดับรูปเสือ
ภาพ : จับประตูรูปสิงห์โตคาบห่วง
ภาพ : หู ภาชนะในพิธีกรรมสำหรับใส่ของเหลวสำหรับบรรจุเหล้า
ภาพ : เหอ ใช้สำหรับใส่ของเหลว
๒.จิ๋นซีฮ่องเต้: จักรพรรดิองค์แรกของจีน ผู้ผนวกโลกมนุษย์และสวรรค์ จัดแสดงความสำเร็จในการรวมรัฐทั้ง ๗ ให้เป็นอาณาจักรหรือจักรวรรดิหนึ่งเดียว เป็นปึกแผ่นเดียวกัน พร้อมกับการปฏิรูประบบการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง พัฒนาเทคโนโลยีการสงคราม มีการกำหนดมาตรฐานหน่วยชั่ง ตวง วัด ระบบเงินตรา ภาษาเขียน และพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ รวมถึงทำการเชื่อมต่อแนวกำแพงดินอัดของแคว้นต่างๆ เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึกศัตรูจนกลายเป็นกำแพงเมืองจีนที่มีความยิ่งใหญ่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
ภาพ : ไกหน้าไม้
๓.สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ มหาอาณาจักรใต้พิภพด้วยความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะมีชีวิตเป็นอมตะ ทำให้จิ๋นซีฮ่องเต้เสาะแสวงหายาอายุวัฒนะและสร้างสุสานเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตหลังความตายหรือโลกหน้า เรื่องราวของจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้รับการบันทึกไว้โดย “ซือหม่าเฉียน” อาลักษณ์สมัยราชวงศ์ฮั่น ได้พรรณนารายละเอียดอันน่าทึ่งของมหาสุสานจักรพรรดิจิ๋นซี และปริศนานี้ได้กระจ่างขึ้น เมื่อมีการค้นพบหุ่นทหารดินเผาครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗ หรือคริสต์ศักราช ๑๙๗๔ นับเป็นการค้นพบทางโบราณคดีครั้งสำคัญแห่งศตวรรษที่ ๒๐ซึ่งองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ยกย่องและประกาศให้สุสานจักรพรรดิจิ๋นซีเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๐โบราณวัตถุในส่วนจัดแสดงนี้ จะเป็นส่วนสำคัญของนิทรรศการ เช่น หุ่นดินเผาทหารแม่ทัพแม่ทัพสวมชุดเกราะ พลธนูสวมชุดเกราะนั่งชันเข่า นักรบสวมชุดเกราะ และม้าประกอบรถม้า สมัยราชวงศ์ฉิน พุทธศักราช ๓๒๒ – ๓๓๗ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถขั้นสูงของช่างและเทคโนโลยีในสมัยนั้น
ภาพ : หุ่นทหาร (ระดับสูง)
๔.สืบสานความรุ่งโรจน์: ยุคราชวงศ์ฮั่นแสดงถึงการต่อยอดความรู้มรดกภูมิปัญญาจากราชวงศ์ฉินมาสู่ราชวงศ์ฮั่น ปรากฏผ่านความรุ่งเรืองทางด้านวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง สังคม เกษตรกรรม และเทคโนโลยีทางการทหาร ตลอดจนด้านเศรษฐกิจการค้าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างชาวจีนโบราณกับชาวต่างชาติอีกซีกโลกบนเส้นทางสายแพรไหม จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของงานศิลปกรรมและอารยธรรมจีนโบราณอย่างแท้จริง
ภาพ : หุ่นทหารพลธนู
ภาพ : ตุ๊กตารูปสัตว์
ขอเชิญชวนประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ เข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “จิ๋นซีฮ่องเต้: จักรพรรดิองค์แรกของแผ่นดินจีนกับกองทัพทหารดินเผา” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยจะมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๒ และเปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นพิเศษในวันจันทร์ที่ ๑๖ และวันอังคารที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๒ จากนั้นจะเปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ – อาทิตย์ จนถึงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ค่าธรรมเนียมเข้าชม คนไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒
วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือ วัดพระแก้ววังหน้า เป็นวัดประจำพระบวรมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง ภายในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์และอดีตพระพุทธเจ้า ซึ่งมีคุณค่ายิ่ง สามารถสะท้อนรากฐานทางวัฒนธรรมของสังคมไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์หลายประการ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ พุทธศาสตร์ และจิตรกรรมไทยได้เป็นอย่างดี
หนังสือเรื่อง “จิตรกรรมฝาผนังวัดบวรสถานสุทธาวาส” มีเนื้อหาว่าด้วยการอธิบายความหมายของภาพจิตรกรรมฝาผนังแต่ละตอนและวิเคราะห์รายละเอียดในการเขียนภาพบางภาพ ซึ่งมีการใช้กลวิธีเขียนภาพทั้งแบบจิตรกรรมไทยประเพณีและกลวิธีในการเขียนภาพสมัยใหม่แบบสมจริงปะปนกันอยู่ตามอิทธิพลวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งหลั่งไหลเข้ามาสู่สังคมไทยในสมัยนั้น นับว่าเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้าด้านจิตรกรรมไทยได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน
หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์สี่สีสวยงาม จำหน่ายราคาเล่มละ ๘๘๐ บาท ติดต่อสั่งซื้อได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ สอบถามเพิ่มเติมได้ โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๐๙๓๔, ๐ ๒๒๒๒ ๓๕๖๙
ผู้แต่ง : วัชรี ชมพู และเบญจวรรณ พลประเสริฐ ปีที่พิมพ์ : 2547 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เรื่อง สมบัติใต้พิภพเวียงกุมกาม ซึ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูล หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ของเมืองโบราณแห่งนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จึงได้จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ เรื่องโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ เวียงกุมกาม เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า รวมถึงการปลูกฝังให้ชาวไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญ และร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ดำรงสืบไป
๑. อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี การขุดแต่งโบราณสถานในจังหวัดสุโขทัยและโบราณสถานในจังหวัดใกล้เคียงเขตภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ เพชรบูรณ์และตาก รวมทั้งโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่เคยเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดราชธานี ตำบลธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย นอกจากนั้นแล้วยังจัดแสดงโบราณวัตถุจากโบราณสถานอื่นๆที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมในอดีตบนผืนแผ่นดินไทย ๒. อาคารอนุสรณ์ลายสือไท จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองสุโขทัยในด้านต่างๆ ตั้งแต่ก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงการพัฒนาเมืองสุโขทัยให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ กระทั่งได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ร่วมกับเมืองโบราณศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชร ๓. อาคารปูนปั้นประติมาคาร จัดแสดงประติมากรรมปูนปั้น ที่ใช้สำหรับประดับตกแต่งปราสาท เจดีย์ วิหารและอาคารต่างๆที่พบจากโบราณสถานในเขตจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้มีการจัดแสดงไว้เป็นหมวดหมู่ สามารถศึกษารูปแบบศิลปะ ศาสนาและวิถีชีวิตของชาวสุโขทัยที่สะท้อนจากงานศิลปกรรมประเภทนี้ได้เป็นอย่างดี ๔. ส่วนจัดแสดงกลางแจ้ง จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุขนาดใหญ่ โบราณสถานที่เหลือเพียงส่วนฐานที่ได้รับการขุดแต่งและบูรณะ เมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ ซึ่งได้พบพระธาตุและสิ่งของต่างๆเป็นจำนวนมาก ที่บรรจุในเครื่องสังคโลกและเครื่องถ้วยจีน อีกทั้งยังได้จำลองเตาเผาเครื่องสังคโลกแสดงให้เห็นรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเครื่องสังคโลกสุโขทัย เป็นต้น ๕. อาคารไม้โถง จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ วัตถุทางชาติพันธุ์ เช่น วิหารจำลอง เกวียน เรือสำปั้น อุปกรณ์เกี่ยวกับการทำนา เช่น เครื่องสีข้าว คันไถ เป็นต้น
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทิศตะวันตก
ชื่อโบราณสถาน วัดนครชุม
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองบริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและอยู่ห่างจาก ประตูอ้อไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร หรือ ห่างจากวัดศรีชุมไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๑.๒ กิโลเมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๒ ลิปดา ๓ พิลิปดาเหนือ แวง ๙๙ องศา ๔๐ ลิปดา ๔๔ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย สุโขทัย
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถานที่มีคูน้ำล้อมรอบอยู่ทั้งสี่ด้าน ลักษณะของเนิน โบราณสถานยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ มีร่องรอยของการก่ออิฐและศิลาแลง ที่ถูกปกคลุมด้วยดิน วัชพืชและต้นไม้โดยทั่วไป มีลักษณะคล้ายฐานเจดีย์ และ วิหาร ปัจจุบันถูกขุดทำลายเสียหายเป็นอันมาก มีรูปร่างที่ไม่ชัดเจน พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งกลุ่มเนินโบราณสถาน มีขนาดกว้าง ประมาณ ๒๐ เมตร ยาว ๓๕ เมตร
คูน้ำที่ล้อมรอบมีอยู่ ๒ ชั้น คูชั้นนอกล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ ๕๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร คูชั้นในล้อมรอบกลุ่มเนิน โบราณสถานในพื้นที่กว้างประมาณ ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ๑. ขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
๒. ขุดแต่ง พ.ศ.2556
ชื่อโบราณสถาน โบราณสถานร้าง ต.ต.๒วัดทับกระสา
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองบริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและอยู่ห่างจาก ประตูอ้อไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๑.๑ กิโลเมตร หรือ ห่างจากวัดศรีชุมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๕๐๐ เมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๓๙ พิลิปดาเหนือ แวง ๙๙ องศา ๔๑ ลิปดา ๑๔ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย สุโขทัย
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถาน ฐานวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง เสาศิลาแลง กลมขนาดใหญ่ ขนาดของเนินฐานวิหารที่ปรากฏนั้น มีความกว้าง ประมาณ ๒๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร
ด้านทิศตะวันตกของฐานวิหาร เป็นเนินโบราณสถานก่ออิฐ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ เมตร มีลักษณะเป็นฐานเจดีย์แต่ไม่ทราบ รูปทรงชัดเจน
กลุ่มโบราณสถานนี้ ตั้งอยู่กลางป่าไผ่ สภาพที่เหลืออยู่ ไม่สมบูรณ์นัก เนื่องจากถูกขุดทำลายไปเป็นอันมาก
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ขุดแต่ง พ.ศ. 2555
ชื่อโบราณสถาน วัดยายชี
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองบริเวณด้านทิศตะวันตก ติดถนนทางเข้าวัดศรีชุม ด้านทิศตะวันตกห่างจากประตูอ้อไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ ๗๐๐ เมตร หรืออยู่ห่างทางทิศใต้วัดศรีชุมประมาณ ๖๐๐ เมตร โดยอยู่ห่างจากกำแพงเมืองด้านตะวันตกไม่มากนัก ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๑๓ พิลิปดาเหนือ แวง ๙๙ องศา ๔๑ ลิปดา ๔๕ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย -
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถานร้าง ที่มีร่องรอยของการก่ออิฐและเสาศิลาแลง มีลักษณะเป็นฐานวิหารและเจดีย์ ซึ่งมีเนินดิน ต้นไม้และวัชพืช ปกคลุม โดยทั่วไป ขนาดของเนินโบราณสถานกว้างโดยประมาณ ๒๐ เมตร ยาวประมาณ ๔๐ เมตร
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ขุดแต่ง พ.ศ.2555
ชื่อโบราณสถาน วัดสะพานหิน
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองบริเวณด้านทิศตะวันตก และตั้งอยู่บนยอดภูเขาลูกเตี้ยๆ สูงประมาณ ๒๐๐ เมตร บรเวณอรัญญิก โดยห่างจากประตูอ้อมาทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๒.๓ กิโลเมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๓๕ พิลิปดาเหนือ แวง ๙๙ องศา ๔๐ ลิปดา ๓๐ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย สุโขทัย
ลักษณะและสภาพ เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนภูเขาลูกเตี้ย ๆ นอกกำแพงเมืองบริเวณอรัญญิก ทางขึ้นไปวัดที่อยู่บนยอดเขา เป็นทางเดินปูด้วยหินขึ้นจากด้านทิศตะวันออก จนถึงบริเวณลานวัดบนภูเขา บนลานวัดมีกลุ่มโบราณสถานที่ประกอบด้วย สิ่งก่อสร้างดังต่อไปนี้ ๑. ฐานวิหาร ๕ ห้อง ก่ออิฐ เสาทำด้วยศิลาแลง หันหน้าไป ทางทิศตะวันออก ฐานกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๖ เมตร ภายในวิหาร มีพระพุทธรูปปูนปั้นยืน ปางประทานอภัย ยกพระหัตถ์ขวา สูง ๑๒.๕๐ เมตร เรียกว่า พระอัฏฐารศ
๒. ฐานเจดีย์ขนาดเล็ก ๖ ฐาน กระจายทั่วไปบนลานวัด มีอยู่องค์หนึ่ง มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานกว้าง ๔x๔ เมตร อยู่ตรงเชิงบันไดด้านทิศตะวันออก
๓. สะพานหิน ที่เป็นทางขึ้นอยู่ด้านทิศตะวันออก ทอดยาวจากถนน เชิงภูเขาจนถึงลานวัด ปูด้วยหิน ยาวประมาณ ๓๐๐ เมตร นอกจากนี้ ทางด้านทิศเหนือมีทางขึ้นอ้อมเขา เข้าใจว่าเป็นทางช้างขึ้นอีกด้วย
ประวัติ วัดสะพานหินมีประวัติเกี่ยวข้องที่กล่าวถึงในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พุทธศักราช ๑๘๓๕ ความว่า
“...เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้ มีอไรญิก พ่อขุนรามคำแหง กระทำโอยทานแก่มหาเถร สังฆราชปราชญ์ เรียนจบปิฎกไตร หลวกกว่า ปู่ครู ในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิก มีพิหาร อันณื่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐารศอันณื่งลุกยืน...”
ข้อสังเกตทั่วไป ที่ปรากฏในศิลาจารึกว่า พระอัฏฐารศ เข้าใจว่าหมายถึง พระพุทธรูปยืน ปางประธานอภัยที่วัดสะพานหินนี่เอง และวัดนี้ คงจะมีความสำคัญ และ เป็นที่นับถือของชาวเมืองสุโขทัยในสมัยโบราณโดยทั่วไป ดังปรากฏ ข้อความในศิลาจารึกหลักเดียวกันนี้กล่าวว่า
“...วันเดือนดับเดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือกกระพัดลยาง เที้ยร ย่อมทองงา...ขวา ชื่อรูจาครี พ่อขุนรามคำแหง ขึ้นขี่ไปนบพระ (เถิง) อรัญญิกแล้วเข้ามา...”
การดำเนินการ ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
๒. บูรณะครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลก ประชานาถ ได้โปรดให้กำนันชื่อจ้อง ทำการบูรณะ โดยการก่อบันได ยันผนังหลังองค์พระพุทธรูปองค์ใหญ่ไว้
๓. ขุดแต่งและบูรณะครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๘
๔. ขุดแต่งและบูรณะต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๘
ชื่อโบราณสถาน วัดจรเข้ร้อง
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองบริเวณด้านทิศตะวันตก และอยู่ห่างจากประตูอ้อ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๑ กิโลเมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๕ พิลิปดาเหนือ แวง ๙๙ องศา ๔๑ ลิปดา ๕ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย สุโขทัย
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถานที่มีร่องรอยการก่ออิฐและศิลาแลง ตลอดจน เสาศิลาแลงกลมขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นเนินโบราณสถาน ที่ยังไม่ได้ ขุดแต่งและบูรณะมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมโดยทั่วไป ลักษณะของเนิน โบราณสถานประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างดังต่อไปนี้ คือ
๑. เนินฐานวิหาร ก่ออิฐ เสาศิลาแลงกลม ขนาดฐานกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๕ เมตร
๒. เนินฐานเจดีย์ประธาน ก่ออิฐ อยู่ด้านหลังหรือทิศตะวันตกของวิหาร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเนินประมาณ ๑๐ เมตร
๓. กลุ่มฐานเจดีย์รายขนาดเล็ก ตั้งกระจายอยู่ด้านหน้าหรือทิศตะวันออก ของฐานวิหาร เป็นเนินดินมีร่องรอยก่ออิฐขนาดต่างๆ กัน ๒-๓ กลุ่ม
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ยังไม่ได้มีการขุดแต่งและบูรณ
ห้องบริการชั้น ๑ห้องโสตทัศนวัสดุ
ให้บริการเพื่อการศึกษาและบันเทิงจากข้อมูลที่อยู่ในสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ภาพนิ่ง แผนที่ วีดิทัศน์ซีดีรอมนอกจากนั้นยังมีบริการฉายวีดิทัศน์สารคดีต่างๆมีการฉายภาพยนตร์ในทุกวันเสาร์ที่ ๒ ของเดือน
ห้องหนังสือทั่วไป ๑
ให้บริการหนังสือทั่วไป โดยจัดหมวดหมู่ หนังสือ ระบบทศนิยมดิวอี้ หมวด ๐๐๐ - ๔๐๐ซึ่งแยกตามสาขาวิชา คือ ความรู้ทั่วไป ปรัชญา ศาสนา สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์
ห้องหนังสือทั่วไป ๒
ให้บริการหนังสือหมวดหมู่ ๕๐๐ - ๙๐๐ ซึ่งแยกตามสาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี ศิลปะวรรณคดี ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์รวมถึง นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือแปล หนังสือภาษาต่างประเทศ
ชั้น ๒ห้องเกียรติยศ
ห้องเกียรติยศ ประกอบด้วย ภาพถ่ายประวัติ ผลงาน ประมวลสุนทรพจน์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญตราไทยของ พณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ห้องประชุม
จัดเป็นห้องประชุมสัมมนา ทางวิชาการหรือกิจกรรมโครงการต่างๆ(ขนาด ๑๐๐ - ๑๕๐ ที่นั่ง)
ห้องเด็กและเยาวชน
เป็นห้องหนังสือเด็ก ให้บริการหนังสือเด็ก ของเล่นเด็ก นิทรรศการอาเซียน ประกอบด้วย เปิดโลกความรู้สู่…ASEAN ธง ๑๐ ประเทศ, มุมหนังสืออาเซียน
ห้องวารสารและหนังสือพิมพ์
ให้บริการวารสารแลหนังสือพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ฉบับปัจจุบันและฉบับล่วงเวลา นอกจากนั้น ยังมีมุมวารสารเย็บเล่ม จุลสาร กฤตภาค ตลอดจนดรรชนีวารสาร
ห้องหนังสืออ้างอิงและหนังสือท้องถิ่น
ให้บริการเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยจากหนังสือประเภทต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม วิทยานิพนธ์ ราชกิจจานุเบกษา และสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นภาคใต้
ห้องเอกสารโบราณ
ห้องเอกสารโบราณ ได้รวบรวมและให้บริการ เกี่ยวกับเอกสารโบราณอาทิเช่น หนังสือบุดดำ บุดขาว คัมภีร์ใบลานบริการอินเตอร์เน็ต ฟรี WiFi ให้บริการสืบค้น หาข้อมูล ทางอินเตอร์เน็ตบริการถ่ายเอกสาร
วันศุกร์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ นางสาวอรุณี แซ่เล้า หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ทุกคน ร่วมกันจัดกิจกรรม " Big Cleaning Day " ทำความสะอาดภายในห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร และบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เพื่อเป็นการการป้องกันโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่