ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ

          เขื่อนอุบลรัตน์ ตั้งอยู่ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว และเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างปิดกั้นแม่น้ำพอง ตรงบริเวณที่เรียกว่า "พองหนีบ" ตำบลโคกสูง อำเภอน้ำพอง (ปัจจุบันเป็นอำเภออุบลรัตน์) จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 50 กิโลเมตร           ความเป็นมาของเขื่อนอุบลรัตน์ ระหว่างวันที่ 20 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ผู้เชี่ยวชาญจาก 4 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามใต้ โดยความสนับสนุนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งเอเซียและตะวันออกไกล (ECAFE) ได้ประชุมหารือกันเกี่ยวกับการพัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่างเพื่อประโยชน์ในด้านการชลประทาน การผลิตกระแสไฟฟ้า การประมง และการป้องกันอุทกภัย ที่ประชุมได้ให้ผู้แทนทุกฝ่ายเสนอให้รัฐบาลทั้ง 4 ประเทศ ภายใต้ความอุปถัมภ์ของสหประชาชาติ (United Nations) คณะกรรมการฯได้ลงมติว่าใน 4 ประเทศ ที่ร่วมงานกันนี้ จะดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำประเทศละ 2 สาขา ซึ่งสำหรับประเทศไทยเราได้เสนอโครงการน้ำพอง (ปัจจุบันคือ เขื่อนอุบลรัตน์) และโครงการน้ำพุง (ปัจจุบันคือเขื่อนน้ำพุง) เป็นสาขาของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่าง           ปี พ.ศ. 2502 คณะกรรมการประสานงานการสำรวจลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้ดำเนินการสำรวจลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง อีกหนึ่งปีต่อมาคณะกรรมการประสานงานการสำรวจลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้เสนอให้มีการพิจารณาโครงการน้ำพองเป็นอันดับแรก เพราะโครงการนี้จะให้ประโยชน์แก่การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือนานัปการ           ปี พ.ศ. 2503 องค์การสหประชาชาติ ได้ทำการว่าจ้างบริษัท Rogers International Corporation จากสหรัฐอเมริกาให้มาดำเนินการสำรวจเบื้องต้นให้กับโครงการน้ำพอง โดยใช้เงินจากกองทุนพิเศษสหประชาชาติ (UN Special Fund) ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้นำรายงานการสำรวจเบื้องต้นเสนอต่อรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อขอกู้ยืมเงินมาเป็นค่าก่อสร้างโครงการ รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันได้ลงมติให้ความสนับสนุนโดยผ่านสถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (K.F.W. หรือ Kreditanstall fur Wiederaufbau)           ปี พ.ศ. 2506 การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัท Salzgitter Industriebau GmbH. แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา เพื่อสำรวจรายละเอียดออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง โครงการพัฒนาแม่น้ำพอง           ปี พ.ศ. 2507 ได้เริ่มก่อสร้างโครงการโดยการกู้เงินจาก สถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (K.F.W.) การก่อสร้างได้แล้วเสร็จเมื่อปลายปี พ.ศ. 2508 และเริ่มดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (ฐานันดรศักดิ์ในขณะนั้น) ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 ทรงพระราชทานชื่อเขื่อนนี้ว่า “เขื่อนอุบลรัตน์”           พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีเมือง พร้อมญาติโยมจากจังหวัดหนองคาย เดินทางไปทอดผ้าป่าที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2507 ระหว่างทางได้แวะชมการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ จากภาพถ่ายส่วนบุคคลของพระธรรมไตรโลกาจารย์ชุดนี้ ทำให้เห็นภาพการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ ในปี พ.ศ.2507 ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังเริ่มการก่อสร้าง มีการใช้แรงงานคนและเครื่องจักรในการก่อสร้าง แรงงานคนจึงมีความสำคัญในการก่อสร้างเขื่อน--------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวอุไรวรรณ แสงทอง นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี--------------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี ภาพถ่ายส่วนบุคคล พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต) (2) ภ หจช อบ สบ 8.3/1 เว็บไซต์ http://urdam.egat.co.th/



องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เรื่อง พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


เลขทะเบียน: กจ.บ.6/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมตฺถสงฺคิณี พระมหาปฏฺฐาน เผด็จ ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 144 หน้า



องค์ความรู้หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ห้ามไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ ผู้เรียบเรียงโดย นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์


ชื่อเรื่อง                                ภิกฺขุปาติโมกฺข (ปาติโมกข์)  สพ.บ.                                  365/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           74 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 


ซุ้มที่จัดสร้างถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวง เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคเหนือ ๑๑ จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ถึง ๑๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๑ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่


โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปกฺขิยธมฺม)  ชบ.บ.49/1-9  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.184/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า ; 5.5 x 54 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 106 (117-122) ผูก 10 (2565)หัวเรื่อง : ปาจิตฺติยปาลิ มหาริภงฺคปาลิ(พระปาจิตตีย์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.255/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 116 (217-225) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : วินัยสังฮอม--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ผีปู่แสะย่าแสะ​ กับ​ แหล่งทำ​เหล็ก​ ในมิติของการทับ​ซ้อน​พื้นที่​ทางวัฒนธรรม​**เรียบเรียง​โดย​ นายยอดดนัย​ สุขเกษม​ นัก​โบราณคดี​ปฏิบัติ​การ#โบราณโลหะวิทยาดินแดนล้านนา.- พื้นที่ทางด้านทิศใต้ของดอยสุเทพ​ มีภูเขาศักดิ์​สิทธิ์​นามว่า​ "ดอยคำ"  สันนิษฐาน​ว่ามีความสำคัญมาตั้งแต่ยุค​ก่อนรับพุทธศาสนาเข้ามา ดังสะท้อนผ่านตำนานเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้อง​กับผีบรรพชน​ดั้งเดิมอย่าง "ปู่แสะย่าแสะ".- ตำนานพระธาตุ​ดอยคำ​ ได้กล่าวถึงเรื่องราว​ของปู่แสะย่าแสะ​ ว่าเดิมพื้นที่บริเวณ​นี้เป็นที่อยู่​อาศัยของยักษ์​สามตน​ (ปู่แสะ​ ย่าแสะ​ และบุตร)​ ยังชีพด้วยการกินเนื้อสัตว์​และเนื้อมนุษย์​ ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้า​เสด็จ​มาถึง​ยักษ์​ทั้งสามตนได้ฟังเทศนาจึงเกิดความเลื่อมใส​ พระพุทธองค์​ขอให้เหล่ายักษ์​รักษา​ศีล​ เลิกกินเนื้อมนุษย์​ จนเกิดการต่อรอง​ สุดท้ายจบลงด้วยการไปขออนุญาต​เจ้าผู้ครองนครให้กินควายได้​ปีละ​ 1​ ครั้ง​ .- จากเรื่องราวข้างต้น​ เป็น​ที่มาของประเพณี​เลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะที่มีการกระทำพิธีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน​ โดยจะมีการสังเวยควายให้แก่ผีปู่แสะย่าแสะ​ในช่วงเดือนมิถุนา​ยน​ของทุกปี ที่บริเวณ​หน่วยพิทักษ์​อุทยาน​แห่งชาติ​ ทป.4​ (แม่เหียะ)​ ตำ​บล​แม่เหียะ อำเภอเมือง​ จังหวัด​เชียงใหม่.-  พื้นที่บริเวณ​ดังกล่าวนอกจากจะเป็น​พื้นที่ศักดิ์​สิทธิ์​สำหรับประกอบพิธีกรรมเลี้ยงดงผีปู่แสะ​ย่า​แสะ​แล้ว​ ใต้พื้นดินลงไปยังเป็นพื้นที่ทับซ้อนกับแหล่งถลุงเหล็กโบราณ​ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่​  นับเป็นแหล่งทำเหล็ก​โบราณ​ตั้งอยู่​ใกล้เมืองเชียงใหม่มากที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบในปัจจุบัน.- การศึกษา​โดยสำนัก​ศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่​ ทำให้พบว่าร่องรอยแหล่งถลุงเหล็กโบราณ​แห่งนี้​ ครอบคลุม​พื้นที่ราว​ 15,000 ตารางเมตร​ ปรากฏ​หลักฐาน​เป็นเนินตะกรันจากการถลุงเหล็ก​ (Slag),  ตะกรันจากเตาตีเหล็ก, ท่อเติมอากาศ​ (Tuyere), ก้อนแร่เหล็ก​ (Iron​ Ore)​ และชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาล้านนาจำนวนมาก.- การวิเคราะห์​หลักฐานทางโบราณคดี​ ทำให้ตั้งข้อสันนิษฐาน​ได้ว่า​ เดิมพื้นที่บริเวณ​นี้น่าจะเป็น​ที่ตั้งของชุมชน​ ที่มีกิจกรรมการถลุงเหล็ก​ด้วยกรรมวิธีทางตรง และมีเตาตีเครื่องมือ​เหล็ก​อยู่​ภายในชุมชน​ นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วน​ภาชนะ​ดินเผา​จากแหล่งเตาบ่อสวก​ แหล่งเตาพาน​ แหล่งเตาสันกำแพง​ และแหล่งเตาเวียงกาหลง​ ปะปนอยู่ในชั้นกิจกรรมการถลุงเหล็ก​ ซึ่งสอดคล้องกับค่าอายุ​ทางวิทยา​ศาสตร์​ (AMS)​ ที่มีอายุกิจกรรม​อยู่ในราว พ.ศ.​ 2080  จึงสามารถสรุปเบื้องต้นได้ว่า​ ชุมชนทำเหล็ก​แห่งนี้น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษ​ที่​ 20​ -​ 21​ ร่วมสมัยกับช่วงราชวงศ์​มังรายปกครอง​เมืองเชียงใหม่.- นอกจากนี้หากวิเคราะห์​เปรียบเทียบ​หลักฐาน​จะพบว่าแหล่งถลุง​เหล็ก​ที่แม่เหียะแห่ง​นี้​ มีรูปแบบเตา​ เทคนิค​ และกรรมวิธี​ที่เหมือนกับแหล่งถลุงเหล็ก​โบราณ​แม่โถ​ อำเภอฮอด​ จังหวัด​เชียงใหม่​ ที่มีชนกลุ่มลัวะเป็น​เจ้าของ​ จึงทำให้ตั้งข้อสันนิษฐาน​ได้ว่ากลุ่มชนดั้งเดิมที่เคยตั้งชุมชนถลุง​เหล็กอยู่ในพื้นที่แม่เหียะแห่งนี้น่าจะเป็น​กลุ่มชาวลัวะด้วยเช่นกัน​ ซึ่ง​สอดคล้อง​กับความทรงจำในท้องถิ่นที่ระบุว่าเคยมีชุมชนลัวะตั้งถิ่นฐาน​อยู่​ในพื้นที่​ใกล้เคียง​แถบนี้​ ก่อนที่จะคลี่คลาย​ไป​เป็น​ชุมชน​เมืองดังเช่นปัจจุบัน.- ท้ายที่สุด​นี้​ ถึงแม้ปัจจุบัน​จะยังไม่พบหลักฐาน​ที่บ่งชี้ชัด​ว่า​ การจัดพิธีกรรมเลี้ยงดงผีปู่แสะย่าแสะบนพื้นที่ร่องรอยชุมชนถลุง​เหล็ก​โบราณ​จะมีนัยยะที่เกี่ยวข้อง​กันหรือไม่​ แต่อย่างน้อยก็​เป็น​สิ่งที่น่าประหลาด​ใจที่มรดกวัฒนธรรม​ทั้ง​ประเภท​ Tangible​ และ​ Intangible ของ​กลุ่ม​ชนดั้งเดิม​ยังคงอยู่ร่วมกันในพื้นที่ป่าใกล้เมืองแห่งนี้​ คู่เมืองเชียงใหม่​สืบไป



ชื่อผู้แต่ง        - ชื่อเรื่อง         ยันต์และตำราห่วง ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์    - สำนักพิมพ์      - ปีที่พิมพ์         - จำนวนหน้า    ๑๕๔ หน้า หมายเหตุ.      - (เนื้อหา)            ลักษณะและรูปแบบยันต์ประเภทต่างๆ เช่นยันต์มหาเสน่ห์ ยันต์ลงผ้าประเจียด ยันต์พิสมร ยันต์ลงแผ่นทอง แผ่นเงิน ใช้เมื่อเข้าหาศัตรูไปในศึกสงครามหรือใช้เมื่อเป็นคดีความกัน ยันต์ลงผ้าและเสื้อกันศัตรู และยันต์เขียนที่เสาบ้าน ยันต์ทำเสน่ห์เป็นต้น ส่วนโหราศาสตร์ กล่าวถึง การดูฤกษ์ยามด้วยตำราห่วง



Messenger