ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

ประติมากรรมรูปสิงห์วัสดุ : ปูนปั้น อายุ/สมัย : ทวารวดี (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗) ขนาด : กว้าง ๙๖ เซนติเมตร สูง ๑๔๖ เซนติเมตร สถานที่พบ : ไปรษณีย์กลางอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ปัจจุบัน : จัดแสดง ณ ห้องศาสนาและความเชื่อทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _           ประติมากรรมรูปสิงห์ เป็นประติมากรรมรูปแบบหนึ่งที่พบมากในวัฒนธรรมทวารวดี นิยมนำมาใช้ประดับส่วนฐานและทางเข้าของสถาปัตยกรรมหรือสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา รวมทั้งยังนิยมทำเป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็ก เช่น ประติมากรรมนูนสูงประดับฐานเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม, ลวดลายสลักบนหินฐานเสาธรรมจักร จังหวัดนครปฐม, ประติมากรรมลอยตัวขนาบเจดีย์ทิศ วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ,ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ขนาดเล็ก พบที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น           ประติมากรรมรูปสิงห์ขนาดใหญ่ชิ้นนี้ เป็นประติมากรรมนูนสูงอยู่ในท่านั่ง อ้าปากกว้าง แสดงเขี้ยวขนาดใหญ่ ตากลมโต มีแผงคอเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีขนขมวดเป็นลอนเรียงต่อกันเต็มลำตัว ด้านหลังเรียบ คาดว่าได้รับแรงบันดาลใจจากอิทธิพลศิลปะเขมรในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ และน่าจะเคยใช้ประดับอยู่ที่ฐานเจดีย์ หรือ ด้านหน้าศาสนสถานในวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งอยู่บริเวณไปรษณีย์กลางอำเภอเมืองลพบุรี แต่ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยโบราณสถานแล้ว มีการศึกษาความหมายของสิงห์ไว้มากมาย เช่น การค้ำจุนศาสนา, การแสดงถึงอำนาจพละกำลัง เป็นตัวแทนของผู้พิทักษ์และความดี เป็นต้น          สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมประติมากรรมรูปสิงห์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ได้ทุกวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. + + + + + + + + + + + + ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์อ้างอิง ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารดี วัฒนธรรมทางศาสนา ยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ ครั้งที่ ๒ นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.



          สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดนิทรรศการ เรื่อง “๕ ทศวรรษหนังสือและการพิมพ์ พุทธศักราช ๒๕๐๐ – ๒๕๔๙” พบกับหนังสือเด่นจากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา จัดแสดงระหว่างวันที่ ๑๙ สิงหาคม - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ณ ห้องวชิรญาณ ๒ - ๓ ชั้น ๑ อาคาร ๒ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ           นิทรรศการนี้จัดขึ้นเพื่อจัดแสดงหนังสือในช่วงพุทธศักราช ๒๕๐๐ - ๒๕๔๙ ที่หอสมุดแห่งชาติได้จัดหารวบรวมไว้เพื่อบริการประชาชน เนื้อหานิทรรศการประกอบด้วย หนังสือทรงคุณค่า หนังสือน่าสนใจ หนังสือที่ตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่น หนังสือชนะการประกวด หนังสือยอดนิยม หนังสือภาษาต่างประเทศที่น่าสนใจจากสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงใน ๕ ทศวรรษดังกล่าว เป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านหนังสือและการพิมพ์ช่วงหนึ่งที่น่าสนใจของการพิมพ์ในประเทศไทย สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าชมเกิดความรู้ ความเข้าใจและเห็นคุณค่าของหนังสือ นักเขียน นักประพันธ์ สำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ในช่วง ๕ ทศวรรษที่ผ่านมา            ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการ เรื่อง “๕ ทศวรรษหนังสือและการพิมพ์ พุทธศักราช ๒๕๐๐ – ๒๕๔๙” ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ สามารถอ่านและดาวน์โหลดสูจิบัตรประกอบนิทรรศการฉบับเต็มได้ที่ http://164.115.27.97/digital/items/show/17727 และชมนิทรรศการออนไลน์เรื่อง “๕ ทศวรรษหนังสือและการพิมพ์ พุทธศักราช ๒๕๐๐ – ๒๕๔๙” ได้ที่ https://youtu.be/RFxIJpq5qq8 หรือติดตามข่าวสารกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์สำนักหอสมุดแห่งชาติ www.nlt.go.th และ Facebook: National Library of Thailand


ชื่อเรื่อง : พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวิจารณ์เทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่านหีนยานกับมหายาน และเรื่องสร้างพระบทหลวง ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวนหน้า : 210 หน้า สาระสังเขป : พระราชหัตถเลขา หรือจดหมายที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเขียนขึ้นและลงพระนามด้วยพระองค์เอง มีไปถึงเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรึกษาหารือและวิจารณ์เทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่านหีนยานกับมหายานโดยใช้การสังคายนาทางพุทธศาสนามาเป็นตัววิเคราะห์ และตอนท้ายได้จัดพิมพ์พระราชหัตถเลขา เรื่องสร้างพระบทหลวง อันเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องในมูลเหตุที่ทรงพระราชวิจารณ์เทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่ายหีนยานและมหายาน



วิธีการตรวจสอบรอยแตกร้าวบนพื้นผิวของโบราณสถานและการเคลื่อนตัวของโครงสร้างโบราณสถาน  ที่คาดว่าอาจจะเกิดความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว  ขอให้สังเกตุเบื้องต้นดังนี้ 1.เกิดรอยร้าวบนพื้นผิวขึ้นใหม่  โดยรอยร้าวนั้นจะมีลักษณะเกิดใหม่  ไม่มีรังของสัตว์หรือใยแมงมุม หรือ เชื้อราหรือคราบตะไคร่ หรือ คราบของเหลวซึมออกมาหรือ รอยร้าวที่เกิดจากรากของวัชพืช หรือรอยการซ่อมแต่งผิวที่มีมาก่อน 2.การทรุดตัวจะปรากฏให้เห็นชัดเจน  การเคลื่อนตัวของโบราณสถานในแนวราบ  ตามชิ้นส่วนโครงสร้างต่างๆของอาคารประเภทเครื่องมุง  จะปรากฏให้เห็นชัดเจน 3.ปรากฏลักษณะพังทลายของสิ่งก่อสร้างชัดเจน    โดยการสังเกตุและพิจารณาตามภาพดังนี้ครับ


ชื่อเรื่อง                           สังฮอมธาตุ (สังฮอมธาตุ)สพ.บ.                                  199/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           32 หน้า กว้าง 5.2 ซ.ม. ยาว 55.2 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


     พระราชอาสน์อย่างฝรั่งในรัชกาลที่ ๔      สูง ๑๔๐ เซนติเมตร กว้าง ๘๑ เซนติเมตร      รับมาจากกองทัพเรือ เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๐๑      ปัจจุบันจัดแสดงในพระที่นั่งวายุสถานอมเรศ ห้องเครื่องสูง พระแท่นราชบัลลังก์ และพระโธรน       พระราชอาสน์อย่างฝรั่ง   ลักษณะเป็นเก้าอี้จำหลักไม้แบบตะวันตก ท้าวแขนเก้าอี้ทั้งสองข้างจำหลักเป็นรูปหัวสิงโต  ขาเก้าอี้ทั้งสี่ขา จำหลักเป็นรูปเท้าสิงห์  เหนือพนักพิงประดับพระบรมราชสัญลักษณ์ รัชกาลที่ ๔  พระมหามงกุฎ ขนาบด้วยฉัตรเครื่องสูง ๕ ชั้น  ล้อมรอบด้วยสายเข็มขัดซึ่งบรรจุพระปรมาภิไธยย่ออักษรโรมัน  S.P.B.P.M.M.  ปิดทองลายบางส่วน      ตามธรรมเนียมไทยพระมหากษัตริย์ประทับพระแท่นราชบัลลังก์ ในการเสด็จออกว่าราชการ โดยเป็นแท่นไม้ยกพื้นสูงจำหลักลวดลายลงรักปิดทองประดับกระจก ต่อมาเมื่อสยามรับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงพบหลักฐานการทอดพระเก้าอี้ฝรั่ง  ในท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พุทธศักราช ๒๔๑๖ โปรดให้ข้าราชการยืนเข้าเฝ้าฯ  จึงโปรดให้สร้างพระโธรน  ลักษณะเป็นเก้าอี้แบบตะวันตกมีพนักสูง มีที่วางแขนสองข้าง เป็นครั้งแรก      รายละเอียดของพระบรมราชสัญลักษณ์ รัชกาลที่ ๔ และพระปรมาภิไธยย่ออักษรโรมัน S.P.B.P.M.M. เหนือพนักพิงพระราชอาสน์      รายละเอียดของท้าวแขนและขาของพระราชอาสน์อย่างฝรั่งในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งจำหลักเป็นรูปหัวสิงโต เท้าสิงโต ปัจจุบันจัดแสดงในพระที่นั่งวายุสถานอมเรศ ห้องเครื่องสูง พระแท่นราชบัลลังก์ และพระโธรน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร      ภาพด้านข้างของพระราชอาสน์อย่างฝรั่งในรัชกาลที่ ๔ ปัจจุบันจัดแสดงในพระที่นั่งวายุสถานอมเรศ ห้องเครื่องสูง พระแท่นราชบัลลังก์ และพระโธรน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


เลขทะเบียน : นพ.บ.85/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  42 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : อาการวตฺตสุตฺต (อาการวัตตสูตร) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




คาถาพระมโหสถ ชบ.ส. ๗๓ เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.28/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


วัวต่าง ต่าง คือภาชนะสำหรับบรรทุกสิ่งของ มีคานพาดไว้บนหลังสัตว์ เช่น วัว ม้า ลา มักสานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ เป็นรูปทรงกระบอกมีหูสำหรับสอดคานพาดบนหลังสัตว์ เรียกชื่อตามชนิดของสัตว์ที่ใช้บรรทุกสิ่งของ เช่น วัวต่าง ม้าต่าง ลาต่าง จากลักษณะภูมิประเทศแถบดินแดนล้านนาที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบหุบเขาขนาดเล็กซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนที่กระจายตัวกันอยู่ห่างๆ แม่น้ำส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำที่มีน้ำไหลเชี่ยวและมีเกาะแก่งจำนวนมาก ไม่สะดวกในการใช้ติดต่อสัญจรระหว่างชุมชน การเดินทางของผู้คนในดินแดนล้านนาในอดีตจึงใช้การเดินเท้าเป็นหลัก ส่วนการลำเลียงสิ่งของในการเดินทางนั้นนิยมใช้สัตว์ต่างบรรทุกสิ่งของ เนื่องจากสามารถเดินบนทางแคบๆ ทุรกันดารและปีนป่ายภูเขาได้สะดวกกว่าการใช้เกวียน อีกทั้งในอดีตไม่มีถนนเชื่อมต่อระหว่างเมือง การใช้สัตว์ต่างบรรทุกของทำให้สามารถลำเลียงสิ่งของได้มากกว่าการใช้แรงงานคน โดยชาวล้านนาและชาวไทใหญ่นิยมใช้วัวเป็นสัตว์พาหนะในการลำเลียงสิ่งของ ในขณะที่ชาวจีนฮ่อนิยมใช้ม้าและล่อในการบรรทุกสิ่งของ การบรรทุกสิ่งของโดยใช้วัวต่างนี้ เดิมน่าจะใช้เพื่อการขนสิ่งของในการเดินทางมากกว่าเพื่อการค้า เนื่องจากในอดีตผู้ที่ทำการค้าขายส่วนใหญ่เป็นเจ้านาย ขุนนาง หรือกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิพิเศษจากรัฐ สำหรับประชาชนทั่วไปมีการค้าขายไม่มากนักเนื่องจากวิถีชีวิตในอดีตเป็นการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองมากกว่าการผลิตเพื่อการค้า โดยสินค้าที่มีการซื้อขายในอดีตจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ประเภท เช่น เกลือ ปลาแห้ง เครื่องใช้ที่ทำจากโลหะ เมี่ยง จนกระทั่งกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมาจึงเริ่มมีการนำสินค้าอื่นๆ ที่ผลิตจากโรงงาน เช่น ผ้า ด้าย ไม้ขีดไฟ เทียนไข น้ำมันก๊าด เป็นต้น มาขายตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล โดยพ่อค้าจะนำสินค้าจากท้องถิ่น เช่น ผลไม้ ของป่า น้ำผึ้ง น้ำมันยาง ขี้ครั่ง หนังสัตว์ มาขายแล้วซื้อสินค้าสำเร็จรูปกลับไปขายในหมู่บ้านที่เดินทางผ่าน สำหรับเมืองน่านพ่อค้านิยมเดินทางไปซื้อสินค้าที่ท่าอิฐ ท่าเสา จ.อุตรดิตถ์ โดยท่าอิฐนี้เป็นที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่มีพ่อค้านำมาจากที่ต่างๆ เช่นจากมะละแหม่ง รวมถึงสินค้าจากเรือที่ล่องขึ้นมาตามลำน้ำน่าน กับสินค้าที่พ่อค้าวัวต่างนำมาจากหมู่บ้านต่างๆ  หลังจากปีพ.ศ.๒๔๕๗ เป็นต้นมา ได้เริ่มมีการสร้างได้เริ่มมีการสร้างทางเกวียนซึ่งภายหลังได้ขยายเป็นทางรถยนต์เชื่อมพื้นที่ระหว่างจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ ส่งผลให้การใช้วัวต่างในการขนส่งสินค้าค่อยๆ น้อยลงจนกระทั่งหมดไปในที่สุดเมื่อมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมได้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ  เอกสารอ้างอิง พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน : รศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ สนพ.เมืองโบราณ รายงานการวิจัยเรื่องพ่อค้าวัวต่าง : ชูสิทธิ์ ชูชาติ ศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น, ๒๕๔๕


“ชวนชม” โบราณวัตถุชิ้นเด่นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา วันนี้ขอนำเสนอ “ชุดจานเปลพร้อมฝา ภาชนะเครื่องเงินของพระยาสุนทรานุรักษ์”  .................................................................................... ชุดจานเปลพร้อมฝา  ภาชนะเครื่องเงินของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา)  วัสดุ  เงิน ขนาด  ปากกว้าง ๘.๒ เซนติเมตร  /  สูงพร้อมฝา ๘ เซนติเมตร  ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕  ที่มา พันเอกจินดา – นางพิมสิริ ณ สงขลา  มอบให้ ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา  .................................................................................... ชุดภาชนะเครื่องเงิน หรือชุดจานเปลพร้อมฝาครอบ ผลิตด้วยเงิน ตัวจานมีลักษณะเป็นทรงรี และทรงกลม ก้นลึก ใต้ก้นจานบางใบมีขาขนาดเล็กสำหรับรองจาน บริเวณขอบจานมีการสลัก ลวดลายต่าง ๆ อาทิ ลายเถาวัลย์พฤกษา ลายจุดไข่ปลา ฯลฯ และสลักชื่อภาษาอังกฤษ “Phya Sundra” และ “Singora”  ในส่วนของฝามีลักษณะคล้ายตัวจานที่คว่ำประกบกัน มีหูสำหรับจับทรงกลม และสลักลวดลายเรขาคณิตขนาดเล็ก ใต้ภาชนะปรากฏตราสัญลักษณ์ “TRIPLE DEPOSIT” ชุดภาชนะเครื่องเงินชุดนี้เป็นชุดเครื่องเงินที่สั่งผลิตขึ้นเป็นพิเศษสำหรับเป็นสมบัติส่วนตัวของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา ใต้ก้นภาชนะมีตรา TRIPLE DEPOSIT ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโรงงาน MEPPIN & WEBB’S PRINCE’S PLATE ซึ่งเป็นโรงงานที่มีชื่อเสียงในเรื่องการผลิตเครื่องประดับ และเครื่องเงินที่เก่าแก่ของประเทศอังกฤษ  ในส่วนของชื่อภาษาอังกฤษที่มีการสลักคำว่า “Phya Sundra” บริเวณขอบจาน หมายถึงชื่อของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) บุตรของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) เจ้าเมืองสงขลาคนที่ ๖ ซึ่งพระยาสุนทรานุรักษ์ในครั้งอดีตเคยดำรงค์ตำแหน่งเป็นผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา อีกทั้งยังเป็นผู้สร้างคฤหาสน์อันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา และคำว่า “Singora” ที่ปรากฏด้านล่างขอบจานนั้นเป็นชื่อเรียกเมืองสงขลาในครั้งอดีตก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น “สงขลา” ในปัจจุบัน โดยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ เป็นต้นมานั้น เมืองสงขลาภายใต้การปกครองของผู้นำชาวจีนตระกูล ณ สงขลา ได้เริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพัฒนาเมืองให้กลับสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลที่สำคัญของหัวเมืองปักษ์ใต้อีกครั้ง ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มีการซื้อขาย ตลอดจนการสั่งผลิตสินค้าจากตะวันตก เพื่อจำหน่ายให้แก่กลุ่มผู้ที่มีฐานะ และกลุ่มชนชั้นสูง จึงสันนิษฐานว่าชุดภาชนะเครื่องเงิน หรือชุดจานเปลพร้อมฝาครอบ ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับบรรจุอาหารคาว-หวาน ....................................................................................... เรียบเรียง : นางสาวอันดามัน เทพญา เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ กราฟฟิก : ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา  อ้างอิง ๑. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. “โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา.” กรุงเทพฯ  :  รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๔๙.


Messenger