ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 44,148 รายการ

          กรมศิลปากร ขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังกิจกรรมเสวนาทางวิชาการ เนื่องในโอกาส ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๒๘ - ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ โดยมีการเสวนาดังนี้ วันอังคารที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น. - เสวนาทางวิชาการ เรื่อง โบราณคดีเมือง : การดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบด้านโบราณคดีจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน  วิทยากร   - นายบวรเวท รุ่งรุจี อดีตอธิบดีกรมศิลปากร - นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร - รองศาสตราจารย์วิเชษฐ์ สุวิสิทฐ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - นายพรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิกชำนาญการพิเศษ สำนักสถาปัตยกรรม ผู้ดำเนินรายการ   นางสาวมนัชญา วาจก์วิศุทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักสถาปัตยกรรม  เวลา ๑๓.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. - เสวนาทางวิชาการ เรื่อง แนวทางการขออนุญาตสร้างอนุสาวรีย์  วิทยากร    - นายสุรัฐกิจ พีรพงษ์ศิลป ผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่  - นายพรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิกชำนาญการพิเศษ สำนักสถาปัตยกรรม - นายอภิศักดิ์ ทองอินทร์ ประติมากรปฏิบัติการ สำนักช่างสิบหมู่ ผู้ดำเนินรายการ   นายธีรชาติ วีรยุทธานนท์ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม+++++++++++++++++++++++++++++++++++ วันพุธที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น. - เสวนาทางวิชาการ เรื่อง “นาค : ความเชื่อความศรัทธาในวัฒนธรรมไทย” วิทยากร    - ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ - นางสาวเอมอร เชาวน์สวน ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ผู้ดำเนินรายการ  นายชญานิน นุ้ยสินธุ์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์     เวลา ๑๓.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.   - เสวนาทางวิชาการ เรื่อง สังคีตปริทัศน์ วิทยากร    - นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต - นายจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ สำนักการสังคีต - อาจารย์ยุทธนา อัคเดชานัฎ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ผู้ดำเนินรายการ   นายธำมรงค์ บุญราช นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ สำนักการสังคีต ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนา โดยการสแกนคิวร์อาร์โค้ด  หรือสามารถติดตามรับชมผ่านทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร  


  ชื่อเรื่อง           อนุสรณ์พิธีบรรจุศพ ศาสนาจารย์ทองสุก มังกรพันธุ์ (อยู่ใกล้พระเจ้า อยู่ใต้ร่มเงา                      พระศาสนา ยามทุกข์ ยามป่วย ม้วยมรณา มั่นศรัทธา แนบจิต พระคริสต์องค์) ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       ห้างหุ้นส่วนจำกัด รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๗ จำนวนหน้า      ๗๐ หน้า รายละเอียด                     อนุสรณ์พิธีบรรจุศพ ศาสนาจารย์ทองสุก มังกรพันธุ์ ประกอบด้วย ชีวประวัติ บทเพลงในงานศพ คำไว้อาลัยต่างๆ จากครอบครัว เพื่อนๆและลูกศิษย์ ส่วนหนึ่งของคำเทศนาและคำประพันธ์จากข้อพระธรรมของศาสนาจารย์ทองสุก มังกรพันธุ์ พร้อมภาพประกอบ  


เลขทะเบียน : นพ.บ.378/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4.5 x 52.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 143  (26-39) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : จีรธารกถา --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.518/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 173  (254-258) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ.                            241/3หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา



          พลับพลาที่ประทับ สถานีรถไฟบางปะอิน ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงราวปี พ.ศ.2434-2439 ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างทางรถไฟสายเหนือ กรุงเทพ-โคราช ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟสายแรกในประเทศไทยไม่เพียงแต่รูปแบบของสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นแล้ว ภายในยังถูกประดับดับตกแต่งด้วยงานศิลปกรรมที่สวยงามและประณีต ประกอบด้วย งานแกะสลักไม้ งานปิดทอง และงานกระจกเขียนสี หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่ากระจกสเตนกลาส ณ เวลานี้ อาคารหลังนี้มีอายุราว 130 กว่าปี ซึ่งควรถึงแก่เวลาในการอนุรักษ์ตัวอาคารและกระจกสเตนกลาส ซึ่งเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานของวัสดุ รวมถึงปัจจัยภายนอก          เมื่อวันที่ 12-16 มิถุนายน 2566 สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยาจึงได้ดำเนินการสำรวจและบันทึกสภาพความเสียหายอย่างครบถ้วนโดยวิเคราะห์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ก่อนดำเนินการรื้อถอนกระจกสเตนกลาสถอดเก็บเพื่อดำเนินการอนุรักษ์ตัวอาคารและกระจกสเตนกลาสต่อไป การดำเนินงานในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย - สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา -  การรถไฟแห่งประเทศไทย - รองศาสตราจารย์ จักรพันธ์ วิลาสินิกุล และอาจารย์สวรรยา จันทรสมัยสตูดิโอแก้ว คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร - Jerry Cummins & Jill Stehn Pty. Ltd.           จากการตรวจสอบสภาพของกระจกสเตนกลาสโดยสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา และผู้เชี่ยวชาญด้านงานอนุรักษ์กระจกสเตนกลาสจากประเทศออสเตรเลีย สตูดิโอแก้ว จากคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาศิลปากร พบว่า รางตะกั่วซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญที่จะประคองชิ้นกระจกให้ยึดติดบนผนังได้นั้นเสื่อมสภาพลง รวมถึงชิ้นกระจกบางส่วนได้แตกและหลุดหาย จึงทำให้น้ำฝนสามารถไหลผ่านเข้าตัวอาคารได้ และมีโอกาสที่งานศิลปกรรมจะเสืยหายโดยง่ายในอนาคตที่มาของข้อมูล : Facebook สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา https://www.facebook.com/100064413381094/posts/pfbid0DvgL3Yve5YBBjdcENx3VqkZ1zhCAHrGLBptM1uVmkZ3ZiA3ig5YdxcEqp382W9eKl/


        องค์พระเจดีย์ยอดเหล็ก         ผู้เรียบเรียง  นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ         เมื่อเอ่ยถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่โบราณคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุพรรณบุรีและชาวสุพรรณบุรีนับถือมาอย่างยาวนาน นั้นคือ องค์พระเจดีย์ยอดเหล็ก ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรี บริเวณด้านข้างธนาคารกรุงเทพ สาขาสุพรรณบุรี  ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี สร้างมาแต่สมัยใดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัด



ชื่อเรื่อง: ทำเนียบสมณะศักดิ์ แล การศึกษาพระปริยัติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แต่ง: พระอภัยสารทะ ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๗๕สถานที่พิมพ์: เชียงใหม่สำนักพิมพ์: โรงพิมพ์อเมริกันจำนวนหน้า: ๓๐ หน้า เนื้อหา: "ทำเนียบสมณะศักดิ์ แล การศึกษาพระปริยัติธรรม ในจังหวัดเชียงใหม่" พระอภัยสารทะ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เรียบเรียงและพิมพ์สำหรับแจกแก่เจ้าคณะและครูสอนพระปริยัติธรรม พุทธศักราช ๒๔๗๕ โดยเป็นการรวบรวมไว้ในช่วงปี ร.ศ. ๑๒๙ จุลศักราช ๑๒๗๒ เมื่อยังเป็นพระครูญาณลังการ และรับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นเจ้าคณะจังหวัดเมื่อ พ.ศ. ๑๔๗๔ เนื้อหาว่าด้วย การศึกษาพระธรรมวินัยและบาลี ทำเนียบสมณะศักดิ์ เชียงใหม่ และการศึกษาพระปริยัติธรรม ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕   เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๖๕๓เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๑๐หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖


องค์ความรู้ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันรพี 7 สิงหาคม” วันรพี ตรงกับวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นนักนิติศาสตร์และทรงวางระบบแบบแผนศาลยุติธรรม รวมถึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยประสูติจากเจ้าจอมมารดาตลับ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 ทรงเข้าศึกษา ในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ แล้วเสด็จไปศึกษาต่อ ณ โรงเรียนมัธยมกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมแล้ว ทรงสอบเรียนต่อกฎหมายที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ด้วยพระชนมายุเพียงแค่ 14 ชันษา ได้ศึกษาต่อ จนจบหลักสูตรปริญญาตรีด้านกฎหมาย ชั้นเกียรตินิยม โดยใช้เวลาศึกษาเพียงแค่ 3 ปี ด้วยพระชันษาเพียง 20 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2439 ทรงเข้ารับราชการในกรมเลขานุการ ทรงปฏิบัติงานเป็นที่พอพระราชหฤทัยในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ เป็นอย่างยิ่ง พระภารกิจของพระองคืนับได้ว่าเป็นภาระที่หนักยิ่ง ทรงเสียสละทุกอย่าง คิดถึงแต่งานเป็นใหญ่ ทรงยึดหลักที่ว่า “คนทุกคนต้องเคารพเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะทำอะไรต้องคิดถึง คนอื่น” ทรงยึดหลักความยุติธรรม และหลักที่ว่า “My life is service” คือ ชีวิตของข้าพเจ้าเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ ปี พ.ศ. 2462 ทรงประชวรด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะ (ไต) ไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระอาการ ก็ไม่ทุเลา และพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 รวมพระชนมายุได้ 47 พรรษา ในวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี วงการนักกฎหมายได้ถือเอาวันที่พระองค์สิ้นพระชนม์ เป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่มีต่อวงการกฎหมายไทย โดยใช้ชื่อว่า “วันรพี” ขนานนามพระองค์ว่า “พระบิดาและปฐมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย” โดยจะมีการจัดกิจกรรมวันรพี วางพวงมาลาถวายราชสักการะเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่อนุสาวรีย์พระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หน้าสำนักงานศาลยุติธรรม ศาลที่เป็นสถานที่ราชการทั่วประเทศ และคณะนิติศาสตร์ของทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยมีการจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์ ผศ., อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. ธวัลกร ฉัตราธรรม. วันสำคัญในรอบ 1 ปี ที่คนไทยต้องรู้. กรุงเทพฯ : แพรธรรม, ม.ป.ป.. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


ชื่อเรื่อง                     ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ.2438-2500ผู้แต่ง                       เกื้อกูล  ยืนยงอนันต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากISBN/ISSN                 9745706124หมวดหมู่                   สังคมศาสตร์ เลขหมู่                      301.24 ก862คสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปีที่พิมพ์                    2529ลักษณะวัสดุ               124 หน้าหัวเรื่อง                     พระนครศรีอยุธยา – ภาวะสังคม                              การเปลี่ยนแปลงทางสังคมภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา รวบรวมค้นคว้าทางประวัติศาสตร์  การเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมือง ด้านผังเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ การแระกอบอาชีพ การศึกษา การมคมนาคม การสาธารณูปโภค โบราณสถาน และฐานะของเมืองทางการปกครอง ตั้งแต่ พ.ศ.2438 จนกระทั่งถึง พ.ศ.2500


          กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี  ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ตามรอยศรีเทพ เมืองมรดกโลก” ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2567 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่เมืองโบราณศรีเทพได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม จากองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566            นิทรรศการพิเศษ “ตามรอยศรีเทพ เมืองมรดกโลก” บอกเล่าเรื่องราวของเมืองโบราณศรีเทพผ่านโบราณวัตถุชิ้นสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ โดยได้รวบรวมโบราณวัตถุจากเมืองโบราณศรีเทพที่จัดแสดงอยู่ในนิทรรศการถาวรมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ตามรอยศรีเทพ เมืองมรดกโลก” เช่น พระพุทธรูปปางแสดงธรรมจากโบราณสถานเขาคลังนอก ศิวลึงค์จากโบราณสถานปรางค์สองพี่น้อง พระพิมพ์ที่มีจารึกอักษรจีน  นอกจากนี้ยังได้นำโบราณวัตถุจากเมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งเก็บรักษาอยู่ในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ เศียรพระพุทธรูปจากโบราณสถานถ้ำเขาถมอรัตน์ จำนวน 2 รายการ และชิ้นส่วนจารึกภาษาสันสกฤต จำนวน 1 รายการ ออกมาจัดแสดงครั้งนี้ด้วย            ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการพิเศษ “ตามรอยศรีเทพ เมืองมรดกโลก” ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2567  เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0 3641 1458 ภาพ : พระพุทธรูปปางแสดงธรรมจากโบราณสถานเขาคลังนอก    ภาพ : ศิวลึงค์จากโบราณสถานปรางค์สองพี่น้อง    ภาพ : พระพิมพ์ที่มีจารึกอักษรจีน     ภาพ : เศียรพระพุทธรูปจากโบราณสถานถ้ำเขาถมอรัตน์ จำนวน 2 รายการ    ภาพ : ชิ้นส่วนจารึกภาษาสันสกฤต จำนวน 1 รายการ


        หนังสือ : ประวัติศาสตร์อยุธยา ห้าศตวรรษสู่โลกใหม่         ผู้เขียน :  คริส เบเคอร์, ผาสุก พงษ์ไพจิตร         อาณาจักรอยุธยา สามารถดำรงอยู่ยาวนานได้ถึง 5 ศตวรรษ หรือ 500 ปี ซึ่งแม้จะล่มสลายไปแล้วในคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 แต่อยุธยายังคงส่งต่อวัฒนธรรม ศิลปกรรม การเมืองการปกครองไปสู่กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) ได้อีกด้วย         "ประวัติศาสตร์อยุธยา ห้าศตวรรษสู่โลกใหม่" เล่มนี้ คือการเขียนประวัติศาสตร์ตามลูกศรของเวลา ที่จะมุ่งสู่อดีตไปหาปัจจุบันเสมอ ซึ่งทำให้เราได้เห็นภาพของอยุธยา ตั้งแต่ก่อนที่จะกลายเป็นรัฐ เห็นพัฒนาของสังคมมนุษย์ เริ่มจากอดีตเมื่อภูมิประเทศว่างเปล่า แล้วตามลูกศรของเวลาดูว่ามนุษยชนใช้ทรัพยากรเพื่อทำมาหากิน สร้างสังคม จัดตั้งสถาบันได้อย่างไร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์สังคม-สามัญชน จนกระทั่งเป็นรัฐ-อาณาจักร การสงคราม การค้าซึ่งเป็นหัวใจหลักในการดำรงความยิ่งใหญ่ของอยุธยา ความสัมพันธ์กับจีน เพื่อนบ้าน และชาติตะวันตก การล่มสลาย และการกำเนิดกรุงเทพฯ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 500 ปี ดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้ผู้อ่านจะได้เห็นภาพทั้งในเชิงกว้าง และเชิงลึกของอาณาจักรอยุธยาได้สมบูรณ์แบบและครบถ้วนที่สุด   ห้องบริการ 2 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เลขหมู่ : 959.303 บ779ป


            นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากรเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวโบราณสถานเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ต่อยอดความสำเร็จของโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในปีที่ผ่านมา กรมศิลปากรจึงได้จัดทัวร์นำเที่ยวโบราณสถานภายใต้กิจกรรม “ศิลปากรสัญจร” นำผู้สนใจเดินทางท่องเที่ยวไปกับกรมศิลปากรในราคาย่อมเยา โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำเข้าสมทบกองทุนโบราณคดี เพื่อบูรณะโบราณสถานและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ     สำหรับเส้นทางแรก "ไหว้พระ ชมโขน ยลศิลป์ ถิ่นพิมาย" จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๑ มกราคม ๒๕๖๗ ด้วยเส้นทางปราสาทหิน และโบราณสถานสำคัญในจังหวัดนครราชสีมา เช่น พระนอนทวารวดีเมืองเสมา โบราณสถานกลุ่มปราสาทเมืองแขก โดยเฉพาะปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บูรณาการงานนาฏศิลป์ ชมการแสดงโขนกรมศิลป์ ภายในปราสาทหินพิมาย ในบรรยากาศโบราณสถานที่งดงามยามค่ำคืน โดยได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม มีผู้สนใจร่วมเดินทางท่องเที่ยวเต็มทุกที่นั่งอย่างรวดเร็ว โดยหลังจากนี้จะมีการเปิดเส้นทางท่องเที่ยวอีก ๒ เส้นทาง ได้แก่ “๒ นครา มรดกโลก” ชมโบราณสถาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก และ “เส้นทางวัฒนธรรมวงแหวนตะวันตก : ต้นธารแห่งอารยธรรมไทย” นำเที่ยวแหล่งโบราณสถานและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในพื้นที่ภาคตะวันตกของไทย ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม              อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า การจัดนำเที่ยวของกรมศิลปากรได้เตรียมวิทยากรมากประสบการณ์ รวมทั้งนักโบราณคดีที่ได้ทำงานในแต่ละพื้นที่ ร่วมเป็นมัคคุเทศก์เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจในประวัติศาสตร์อย่างสนุกสนาน และรับทราบความเป็นมาของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และยังช่วยให้ร้านอาหาร ที่พัก มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการทำงานด้านวัฒนธรรม  สอดรับกับนโยบาย “Soft Power” ของรัฐบาล ภาพ : โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาภาพ : โบราณสถานเขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหงัดเพชรบูรณ์ภาพ : อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรีภาพ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรีภาพ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีภาพ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี