ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,251 รายการ

"เอาผ้าขาวมาวัดตัดสบง เย็บลงฝีเข็มเหมือนเล็มเลี่ยน ตัดจีวรสไบตะไกรเจียน เย็บทับจับเนียนเป็นเนื้อเดียว” จากขุนช้างขุนแผน ตอน พลายแก้วบวชเณร ไตรจีวร ถือเป็นปัจจัยเครื่องอัฏฐบริขารที่พระภิกษุใช้สอย โดยพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐาน คือ ตั้งไว้เป็นของประจำตัว ประกอบด้วย อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) และสังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนนอก) ในต้นพุทธกาลพระภิกษุคงใช้ผ้านุ่งห่มตามที่หามาได้ โดยเก็บเอาผ้าที่ถูกทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ ผ้าคลุกฝุ่น และผ้าห่อศพ เรียกว่า “ผ้าบังสกุล” ต่อมาพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาตให้รับผ้าจากฆราวาส ตามศรัทธาของอุบาสกอุบาสิกา และเพื่อบรรเทาความยากลำบากของพระภิกษุ รูปแบบของสีจีวรตามพระอรรถกถาจารย์ กล่าวว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้า... ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประเสริฐสีแดง มีวรรณะละม้ายยอดอ่อนแห่งต้นไทร (นิโครธ)” และ “..แม้พระมหาเถระทั้งหลาย มีท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะเปนต้น ก็ห่มบังสุกุลจีวรมีสีแดงเหมือนเมฆ” แสดงให้เห็นว่าน้ำย้อมจีวรที่ได้จากการเคี่ยวสีย้อมจากธรรมชาติ ทำให้มีความเข้มอ่อนแตกต่างกัน แต่ยังคงเป็นโทนสีแดงหรือเรียกว่าสีกรักแดง พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตใช้น้ำย้อมสำหรับผ้ากาสาวพัสตร์ คือ ผ้าจีวรที่ย้อมด้วยน้ำฝาด ๖ ชนิด อันเป็นการรักษาคุณภาพของผ้า เนื่องจากยางไม้บางประเภทมีคุณสมบัติทางยา ทำให้เชื้อราไม่เจริญเติบโต มีสีเข้มไม่เปื้อน และไม่เก็บความชื้น ทั้งนี้ยังกำหนดข้อห้ามใช้จีวรบางสีเพื่อให้เกิดความแตกต่างจากนักบวชของสำนักอื่นๆ การเย็บจีวรของพระภิกษุยังไม่มีรูปแบบชัดเจน โดยนำเศษผ้ามาเย็บต่อกันตามความสามารถของพระภิกษุสำหรับพอนุ่งหุ่มได้ แต่ยังดูไม่เป็นระเบียบ พระพุทธเจ้าจึงได้มอบให้พระอานนท์กำหนดการตัดเย็บจีวรตามรูปร่างผืนนาข้าวสำหรับเป็นแบบแผนเดียวกัน เรียกว่า ผ้าขัณฑ์ คือ ผ้าที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้พระสงฆ์ตัดจีวรเป็นกระทง มีลักษณะการตัดผ้าเป็นชิ้นๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกระทงนา แล้วเย็บติดกัน แต่ละชิ้นเรียกว่าขัณฑ์ โดยต้องตัดผ้าตามจำนวนเลขคี่ เรียกว่า ขัณฑ์ขอน พระธรรมวินัยได้บัญญัติขนาดของจีวร ในรตนวรรคสิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า “อนึ่งภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวรหรือยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคตในคำนั้น โดยยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต” หากจีวรมีขนาดย่อมกว่า แล้วพอดีกับบุคคลผู้ครองนั้นไม่มีข้อห้าม สำหรับพระภิกษุไทยนั้น ประมาณความยาวไม่เกิน ๖ ศอก กว้างไม่เกิน ๔ ศอกของผู้ครอง จีวรสีแก่นขนุน ๕ ขัณฑ์ นี้ ปักอักษรบริเวณกระทงความว่า “ผ้าผืนนี้ของสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริยรักธอเมื่อจุลสักราชได ๑๑๖๔ ปีจอจัตวาศก ด้ายหนักเขดลสลึงสองไพธอเป็นเนื้อเอกมือ ๛” โดยสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินีในรัชกาลที่ ๑) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน มีบทบาทเกี่ยวกับการสงคราม โขน-ละคร และการปฏิสังขรณ์วัดเลียบ ภายหลังพระราชทานนามว่า “วัดราชบูรณะ” จากลักษณะการเย็บทับจับเนียนเป็นเนื้อเดียว แสดงให้เห็นฝีมือการทอผ้าเนื้อละเอียดและการเย็บที่ต้องอาศัยความประณีตบรรจง มีขนาดต้องตามพระธรรมวินัย และอาจพอเหมาะกับรูปร่างของบุคคลผู้ครองจีวรด้วย จีวรผืนนี้ตามประวัติระบุว่า พระอาจารย์รวม วัดยาง ตำบลคลองกระแซง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มอบให้เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๗ . . อ้างอิง กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔. สุนทรี สุริยะรังษี. จีวร : การตัดเย็บจากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ ๓,๒(พฤษภาคม-สิงหาคม) ๒๕๕๙ พระสมุห์จักรพงศ์ จนฺทสีโล. ศึกษาการทรงผ้าจีวรของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาในเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑ ถมรัตน์ สีต์วรานนท์. ปทานุกรมผ้าไทย ใน “วารสารฝ้ายและสิ่งทอ” ๕,๙ (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ๒๕๒๕ ยิ้ม ปัณฑยางกูร. ประชุมหมายรับสั่ง ภาคที่ ๒ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, ๒๕๒๕


ชื่อเรื่อง                     เมืองพิษณุโลก และพระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราชผู้แต่ง                       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้แต่งเพิ่ม                  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยาเลขหมู่                      398.329593 ด495มพสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 กรมแผนที่ทหารบกปีที่พิมพ์                    2504ลักษณะวัสดุ               106 หน้า หัวเรื่อง                     พระพุทธชินราช                              พิษณุโลก – ประวัติ                              พิษณุโลก – ภูมิประเทศ – นำเที่ยว                              พิษณุโลก – โบราณสถานภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเล่มนี้รวบรวมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองพิษณุโลก




ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.45 คาถาอาคมและตำรายาประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ              49; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    คาถาอาคมและตำรายา                     ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัตินายดิเรก ทัศนพันธ์ ต.ดอนตาล  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 6 ต.ค..2538


           นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยกองโบราณคดี ได้ดำเนิน “โครงการศึกษาโบราณคดีวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร และพัฒนาการชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์” โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณและความร่วมมือในการดำเนินงานจาก “มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา”              อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การดำเนินงานในระยะแรก จะเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีภายในพื้นที่โบราณสถานหรือเขตพุทธาวาสของวัดจักรวรรดิราชาวาส ระหว่างวันที่ 19 มีนาคม – 12 เมษายน 2567    ซึ่งทางวัดจักรวรรดิได้ขอให้กรมศิลปากรเข้ามาดำเนินงานโบราณคดี เพื่อนำข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีไปใช้ในการออกแบบบูรณะโบราณสถานและการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในพื้นที่โบราณสถานวัดจักรวรรดิราชาวาส เพื่อรักษาศาสนสมบัติและมรดกวัฒนธรรมให้ยั่งยืน โดยรูปแบบการดำเนินงานทางโบราณคดีของโครงการ จะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและการแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคมในวงกว้าง เปิดโอกาสให้อาสาสมัคร ซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาร่วมสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยให้นักโบราณคดีรุ่นใหม่ได้เข้ามาฝึกฝนและเรียนรู้ประสบการณ์จริงในการทำงานภาคสนามทางโบราณคดี ส่วนการสำรวจชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์ มุ่งเน้นศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนประวัติศาสตร์เมืองบางกอก โดยเฉพาะชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลย่านสำเพ็ง เยาวราช และตลาดน้อย เพื่อเป็นทุนทางวัฒนธรรมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณภาพของสังคมในย่านประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน              วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร หรือวัดสามปลื้ม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร มีประวัติว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวง เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ควบคู่กับชุมชนบางกอกและสำเพ็งมายาวนาน มีปูชนียวัตถุสถานที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์หลายประการ เช่น วิหารพระนาก พระอุโบสถ พระวิหารกลาง พระปรางค์และมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาท รวมถึงรูปเหมือนพระพุฒาจารย์มา หรือท่านเจ้ามา และรูปเหมือนเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นต้น 


         ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี (Prof. Silpa Bhirasri)          ศิลปิน : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (Silpa Bhirasri)          ปีพุทธศักราช: ปี พ.ศ.2499 (1956))          เทคนิค: สำริด ( Bronze)          ขนาด : สูง 22 เซนติเมตร ( H. 22 cm.)          ประวัติ : นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2465 เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญในด้านประติมกรรม ที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะและทั่วไป ได้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมทั้งที่เป็นงานศิลปะแบบปัจจุบันและประเพณีไว้มากมาย ได้ส่งผลงานเข้าร่วมแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ได้รับรางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองหลายครั้งและได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าปฏิบัติราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณ ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อพุทธศักราช 2508 ได้รับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณจนเกษียณอายุราชการ ผลงาน   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s01ok/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri


#รีวิวซ่องนครโสเภณี #โรงรับชำเราบุรุษ เมื่อซีรีส์ที่ร้อนแรงแห่งปีอย่าง #บางกอกคณิกา ได้หยิบยกเรื่องราวของหญิงนครโสเภณีขึ้นมา ผลิตเป็นละครอิงประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในช่วงปี 2435 หรือในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการพัฒนาของบ้านเมือง และโสเภณีอาชีพ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคที่มีการเลิกทาสด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มอรรถรสในการชมละคร วันนี้ พี่บรรณฯ จึงขอนำเรื่องราวของโรงรับชำเราบุรุษ หรือหญิงนครโสเภณี ที่ครั้งหนึ่ง ในสังคมไทยได้เป็นอาชีพที่ถูกกฎหมาย และมีการเสียภาษีอย่างถูกต้อง จนเงินเหล่านี้ได้มาสร้างความเจริญแก่บ้านเมือง สร้างถนนหนทางให้ได้ใช้กันจนถึงปัจจุบัน จัดทำโดย นางรสสุคนธ์ ตั้งนภากร บรรณารักษ์ชำนาญการ



ชื่อเรื่อง                     พระพุทธรูปศิลาขาวสมัยทวารวดีผู้แต่ง                        ธนิต  อยู่โพธิ์ครั้งที่พิมพ์                  4ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนา เลขหมู่                      294สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร ปีที่พิมพ์                    2510ลักษณะวัสดุ               46 หน้า หัวเรื่อง                     ศาสนาภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือพระพุทธรูปศิลาขาว สมัยทวารวดีเล่มนี้ กล่าวถึงพระพุทธรูปศิลาขาวสมัยทวารวดี ณ วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ปางประทานปฐมเทศนา นักปราชญ์ทางโบราณคดียกย่องว่า พระพุทธองค์นี้มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมาก เพราะเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี มีอายุกว่าพันปีมาแล้ว


                   เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ๒๕๖๒ กรมศิลากร ได้จัดกิจกรรมสักการะพระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน :นพปฏิมารัตนมารวิชัย ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๑ ถึงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๒ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีพระพุทธสิหิงค์เป็นประธาน และอัญเชิญพระแก้วปางมารวิชัย ซึ่งทำจากรัตนชาติวรรณะต่าง ๆ ๙ องค์ ประกอบด้วย พระพุทธรูปรัตนชาติมงคลโบราณ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระพุทธรูปรัตนชาติ ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือโบสถ์พระแก้ววังหน้าเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๗ และพระพุทธรูปรัตนชาติศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มาแต่เดิมอีก ๗ องค์ นำมาให้ประชาชนได้สักการะในคราวเดียวกันเพื่อประทานพรให้เกิดสวัสดิมงคลในการเริ่มต้นสู่ศักราชใหม่ พระพุทธสิหิงค์  ปางสมาธิ แบบศิลปะ/อายุสมัย       ศิลปะสุโขทัย-ล้านนา ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ ประวัติ                          สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้ารัชกาลที่ ๑)                                     ทรงอัญเชิญมาจากเมืองเชียงใหม่เมื่อประมาณ พุทธศักราช ๒๓๓๘  ปัจจุบันประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร             ในสมัยโบราณมักเรียกรัตนชาติเหล่านี้ว่า “แก้ว” เปรียบดุจพระรัตนตรัยอันประกอบด้วยแก้วทั้งสาม ทั้งยังเป็นอัญมณีสูงค่าอันหาได้ยาก ถือว่ามีค่ามากดุจแก้วสารพัดนึก แม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็มีค่ากว่าพระพุทธรูปที่หล่อด้วยโลหะ ซึ่งแต่ละสีจะมีชื่อและความหมายที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้พระพุทธรูปรัตนชาติทั้ง ๙ องค์ ยังแสดงปางมารวิชัย อันเป็นภาวะที่มั่นคงไม่ไหวติงต่อภยันอันตรายทั้งปวง   “นพปฏิมารัตนมารวิชัย” หมายถึง พระแก้วปางมารวิชัย ทั้ง ๙ องค์   ๑. พระแก้วน้ำค้าง ให้คุณด้านอยู่เย็นเป็นสุข สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕ เจ้าพรหมสุรธาดา เจ้านครเมืองน่าน ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗     โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   ๒. พระแก้วกาบมรกตอ่อน สมัยรัตนโกสินทร์พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๐๗   ๓. พระแก้วน้ำค้าง ให้คุณด้านอยู่เย็นเป็นสุข สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  มาแต่เดิม   ๔. พระแก้วน้ำค้าง ให้คุณด้านอยู่เย็นเป็นสุข สมัยรัตนโกสินทร์พุทธศตวรรษที่ ๒๕ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  มาแต่เดิม   ๕. พระแก้วกาบมรกต ให้คุณด้านปลอดภัย แคล้วคลาด และยศตำแหน่ง สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  มาแต่เดิม   ๖. พระแก้วน้ำหาย ให้คุณด้านอยู่เย็นเป็นสุข สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  มาแต่เดิม   ๗. พระแก้ววิฑูรย์น้ำผึ้ง ให้คุณด้านเมตตามหานิยม และป้องกันอัคคีภัย สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  มาแต่เดิม   ๘. พระแก้วจันทรกานต์ ให้คุณด้านโชคลาภ และการติดต่อค้าขาย สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  มาแต่เดิม   ๙. พระแก้ววิฑูรย์น้ำผึ้ง ให้คุณด้านโชคลาภทวีคูณ ชื่อเสียงและอำนาจ สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  มาแต่เดิม  


ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เขียนขึ้นราวปี พ.ศ. ๒๓๓๘ ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการสร้างบ้านสร้างเมือง ผู้คนล้วนอพยพมาจากฝั่งธนบุรีซึ่งเดิมก็เป็นชาวอยุธยา แม้แต่ช่างเขียนภาพก็เช่นเดียวกัน ย่อมเป็นช่างที่ตกค้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์จึงถือได้ว่าเป็นยุคฟื้นฟูงานจิตรกรรมไทย ซึ่งก่อนหน้านั้นมีแต่เรื่องของการรบทัพจับศึก การสร้างผลงานจึงมีลักษณะความอัดอั้นตันใจที่จะแสดงออกถึงฝีมือและการสร้างสรรค์ใหม่แต่แฝงด้วยคตินิยมสมัยเก่า ปัจจุบันภาพเขียนยุคเริ่มแรกเหลือน้อยมาก เนื่องจากสภาพอากาศและภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งเป็นเขตร้อนชื้นทำให้ภาพจิตรกรรมฯ ชำรุดไปตามกาลเวลา ประกอบกับเทคนิคนิยมในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทยที่สืบทอดกันมาเป็นการเขียนแบบปูนแห้ง ซึ่งแตกต่างจากเทคนิคการเขียนแบบปูนเปียกที่นิยมเขียนกันในแถบยุโรปซึ่งมีความคงทนมากกว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์จึงเกิดความชำรุดอย่างรุนแรง แต่ก็ได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่องในยุคหลัง สันนิษฐานว่าเขียนซ่อมมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งปรากฏเทคนิคการเขียนภาพแบบตะวันตกทำให้ภาพมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้ว่าในความจริงศิลปะแบบดั้งเดิมของเรามีลักษณะพื้นฐานไม่สามารถเข้ากันได้กับศิลปะคลาสสิคแบบตะวันตก แต่ถือได้ว่าภาพที่เขียนซ่อมในสมัยรัชกาลที่ ๔ ย่อมมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างน่าสนใจ   หนังสือเรื่อง “จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์” ได้อธิบายเนื้อหาของภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ โดยเฉพาะผนังที่เขียนเรื่องพุทธประวัติ ซึ่งมีทั้งหมด ๓๒ ผนัง ยกตัวอย่าง ผนังที่ ๑ พระราชพิธีอภิเษกสมรสพระเจ้าสุทโธทนะ ผนังที่ ๓๒ ถวายพระเพลิง พระมหากัสสปะกราบพระยุคลบาท ฯลฯ   กรมศิลปากรหวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะเสริมสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมไทย และอำนวยประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วกัน   จัดพิมพ์สี่สีสวยงาม จำหน่ายราคาเล่มละ ๗๖๐ บาท ติดต่อสั่งซื้อได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ สอบถามเพิ่มเติมได้ โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๐๙๓๔, ๐ ๒๒๒๒ ๓๕๖๙  



รายชื่อโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย           อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมีการสำรวจโบราณสถานมาตั้งแต่พ.ศ.๒๔๗๘ พบโบราณสถานทั้งสิ้น ๑๙๓ แห่ง  ได้ประกาศขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน ๕๘ แห่ง คือ 1. วัดมหาธาตุ ๒. เนินปราสาท ๓. วัดศรีสวาย ๔. วัดสระศรี ๕. วัดตระพังเงิน ๖. หลักเมือง ๗. วัดชนะสงคราม ๘. วัดตระพังทอง ๙. วัดใหม่ ๑๐. วัดตระกวน ๑๑. วัดตระพังสอ ๑๒. วัดซ่อนข้าว ๑๓. ศาลตาผาแดง (ศาลพระเสื้อเมือง) ๑๔. วัดมุมเมือง ๑๕. วัดข้าวสาร ๑๖. วัดกำแพงแลง ๑๗. กำแพงเมืองและคูเมือง ๑๘. วัดหนองปรือ ๑๙. วัดศรีชุม ๒๐. วัดอ้อมรอบ ๒๑. วัดพระพายหลวง ๒๒. วัดผีดิบ ๒๓. วัดเตาทุเรียง ๒๔. วัดสังฆาวาส ๒๕. วัดคุ้งหวาย ๒๖. วัดหินตั้ง ๒๗. วัดลาวพันลำ ๒๘. กลุ่มโบราณสถาน เตาเผาเครื่องเคลือบดินเผา ๒๙. วัดตระพังนาค ๓๐. วัดมุมลังกา ๓๑. วัดอโสการาม ๓๒. วัดตระพังน้ำชวด ๓๓. วัดต้นจันทร์ ๓๔. วัดเชตุพน ๓๕. วัดเจดีย์สี่ห้อง ๓๖. วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม ๓๗. วัดยายชี(ใต้) 38. วัดคลองป่าลาน 39. วัดตระพังช้าง 40. วัดโบสถ์ 41. วัดอีฝ้าย 42. วัดหญ้ากร่อน 43. วัดช้างล้อม 44. วัดเจดีย์ยอดหัก 45. วัดตระพังทองหลาง 46. วัดเจดีย์สูง 47. วัดเกาะไม้แดง 48. วัดนครชุม 49. วัดสะพานหิน 50. วัดพระบาทน้อย 51. วัดป่ามะม่วง 52. วัดศรีโทน 53. วัดตึก 54. หอเทวาลัยเกษตรพิมาน 55. วัดมังกร 56. วัดเจดีย์งาม 57. วัดเขาพระบาทใหญ่ 58. วัดช้างรอบ




Messenger