ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.527/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 5 x 48 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 176  (267-279) ผูก 7 (2566)หัวเรื่อง : ลำสินไชย--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญรับฟังการบรรเลงและขับร้อง วงออเคสตราเพลงไทยและสากล ในงานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๑ ปีกรุงรัตนโกสินทร์  วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๙.๐๐ - ๒๐.๓๐ น. ณ เวทีใหญ่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีศิลปินรับเชิญ ดังนี้           - สุทธิพงษ์ วัฒนจัง (ชมพู ฟรุตตี้)           - กัณพล ปรีดามาโนช (ปิง ฟรุตตี้)           - กิตติธัช แก้วอุทัย (ธัช)           - เฉลิมรัฐ จุลโลบล (แบงค์)           - ธนัชศลักษณ์ ฮัดสัน (อลิศ) อำนวยเพลงโดย ธนู รักษาราษฎร์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต   * ชมฟรี *สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑


ชื่อเรื่อง                              มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์) อย.บ.                                 423/10ประเภทวัสดุ/มีเดีย           คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                            พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                       32 หน้า : กว้าง 4.5 ซม.  ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง                               พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                              ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน  เส้นจาร ฉบับล่องชาด ทองทึบ รักทึบ ลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  


เมืองโบราณยะรัง EP.3 : การดำเนินงานทางโบราณคดี   องค์ความรู้ตอนที่ 3 ที่นำเสนอในวันนี้มีชื่อว่า "เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางโบราณคดี”   การสำรวจ   การสำรวจของนายอนันต์ วัฒนานิกร พ.ศ.2505 นายอนันต์ วัฒนานิกร ศึกษาธิการอำเภอยะรังในสมัยนั้น เริ่มเข้าสำรวจร่องรอยของโคกเนินต่างๆที่สันนิษฐานว่าจะเป็นโบราณสถาน โดยมีผู้ช่วย 2 คนคือนายเจิม ชูมณี และนายพรหม ทุเรศพล “...ขณะนั้นยังสังเกตเห็นแนวกำแพงเมืองเป็นเนินดินสูง 2-3 เมตร ขนานไปกับคูน้ำ กำแพงชั้นในวัดขนาดได้ 590 เมตร ชั้นนอก 860 เมตร มีป้อมตรงมุมทั้งสี่ ซากโบราณสถานมีกระจายไปทั่วอยู่ในเขตที่ทำกินของราษฎร...”  นายพิพัฒน์ พงศ์รพีพร ได้สัมภาษณ์นายอนันต์ วัฒนานิกร ในระหว่างพ.ศ.2525-2528 และได้จดบันทึกเรื่องตำแหน่งของโบราณสถานจากการสำรวจของนายอนันต์ วัฒนานิกร ระหว่างพ.ศ.2505-2516 ซึ่งได้กำหนดที่ตั้งของโบราณสถานไว้เป็นหมายเลขจำนวน 31 แห่ง การสำรวจของ Stewart Wavell ในช่วงฤดูร้อนของพ.ศ.2505 Stewart Wavell นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้เดินทางไปสำรวจเมืองโบราณยะรังซึ่งปรากฎข้อมูลว่ามีผู้ร้ายทำการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุตามเนินโบราณสถาน โดยในขณะที่เขาอยู่ในเมืองปัตตานีได้มีผู้นำเทวรูปพระวิษณุสำริดซึ่งอ้างว่าขุดได้จากเนินโบราณสถานในเมืองโบราณยะรังมาให้ชม และต่อมาเขาได้เดินทางไปยังเมืองยะรัง การสำรวจของนายมานิต วัลภิโภดม และนายจำรัส เกียรติก้อง พ.ศ.2507 นายมานิต วัลภิโภดม นายจำรัส เกียรติก้อง และคณะสำรวจจากกองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้เข้ามาทำการสำรวจและจัดทำแผนผังเมืองโบราณยะรังในบริเวณบ้านประแว โดยแผนผังที่เขียนขึ้นแสดงภาพของเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 300 เมตร ยาว 340 เมตร มีกำแพงดินและคูน้ำล้อมรอบสามชั้น และในแผนผังยังแสดงตำแหน่งของ “ซากเจดีย์” ซึ่งปรากฏกระจายอยู่ทางด้านทิศใต้ของบ้านประแว และกระจุกตัวหนาแน่นเป็นกลุ่มใหญ่ในบริเวณบ้านวัด  การสำรวจของ H.G.Quaritch Wales ในพ.ศ.2517 H.G.Quaritch Wales ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “ลังกาสุกะและตามพรลิงค์และการจดบันทึกบางสิ่งทางโบราณคดี” โดยกล่าวว่าเขาและภรรยา ได้เดินทางมายังเมืองโบราณยะรัง พร้อมกับนายบันเทิง พูลศิลป์ เจ้าหน้าที่จากหน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา กรมศิลปากร โดยมีนายอนันต์ วัฒนานิกร ศึกษาธิการอำเภอยะรังในขณะนั้นเป็นผู้นำทาง การสำรวจของชูสิริ จามรมาน นางสาวชูสิริ จามรมาน อาจารย์ในภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับทุนจากมูลนิธิจิม ทอมป์สัน เพื่อทำการวิจัยเรื่อง “การวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์” ได้ทำการวิจัยระหว่างพ.ศ.2521-2523 โดยทำการสำรวจใน 2 ช่วงเวลา ดังนี้ การสำรวจระยะที่ 1 เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2521 โดยร่วมสำรวจกับเจ้าหน้าที่กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากร ได้ทำการสำรวจที่บ้านปาละแว และบ้านวัด เพื่อเลือกจุดที่จะตรวจสอบหลักฐานบนดินและใต้ดินด้านการเจาะสำรวจ และได้เดินทางไปกิ่งอำเภอไม้แก่น เพื่อเลือกจุดสำรวจและเจาะสำรวจในบริเวณที่มีโคกดินลักษณะคล้ายๆกันกับที่อำเภอยะรัง  การสำรวจระยะที่ 2 เริ่มขึ้นในช่วงเดือนเมษายน 2523 เป็นการเดินสำรวจอย่างละเอียดด้วยการเดินทั้งในและนอกบริเวณที่มีคันดินซึ่งเคยเป็นกำแพงเมืองโบราณ จากนั้นจึงทำการสำรวจในบริเวณนอกเมืองโบราณที่บ้านปาละแว การสำรวจของนายศรีศักร วัลลิโภดม เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2521 นายศรีศักร วัลลิโภดม เดินทางไปสำรวจเมืองโบราณยะรังบริเวณบ้านประแว โดยมีนายอนันต์ วัฒนานิกร เป็นผู้นำทางไปยังตำแหน่งโบราณสถานต่างๆทั้งในและนอกเมือง “...ก็พบความจริงอย่างหนึ่งว่าเมืองประแวที่ทางกรมศิลปากรเคยสำรวจไว้ว่าเป็นเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบสามชั้นนั้น เป็นสิ่งที่คลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง เมืองนี้ตัวเมืองมีขนาดเล็กเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงและคูน้ำชั้นเดียว ไม่มีล้อมรอบสามชั้นแต่อย่างใด แต่เผอิญทางด้านทิศใต้นั้นเกิดมีคันดินสองเส้นตัดผ่านจากทางตะวันตกไปทางตะวันออก ขวางหน้าก่อนที่จะเข้าไปถึงกำแพงเมือง คันดินสองสายนี้ดูเชื่อมกับลำน้ำเขาที่ไหลเลียบตัวเมืองลงมาทางตะวันตก เพื่อระบายน้ำผ่านไปลงที่ลุ่มต่ำทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ทางกรมศิลปากรเดินสำรวจเพียงด้านเดียวคือด้านใต้จึงมองเห็นเป็นว่าเมืองนี้มีคันกำแพงดินล้อมรอบสามชั้นไป…” “...ข้าพเจ้าจัดกลุ่มโบราณสถานที่พบในเขตอำเภอยะรังนี้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือกลุ่มที่อยู่ในเขตบ้านประแว หรือที่เรียกว่าเมืองประแวนั่นเอง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือเขตบ้านวัด ซึ่งห่างจากกลุ่มแรกไปประมาณ 3-4 ก.ม....” การสำรวจของโครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) กรมศิลปากร ดำเนินการสำรวจพื้นที่เมืองโบราณยะรังในพ.ศ.2528 โดยใช้วิธีเดินสำรวจภาคพื้นดิน ประกอบกับแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ และจัดทำแผนผังโดยใช้กล้องธีโอโดไลห์ ผลการดำเนินงานได้กำหนดตำแหน่งที่ตั้งพร้อมระบุเลขประจำเนินโบราณสถานจำนวน 30 แห่ง “...ลักษณะของเมืองโบราณนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หันไปตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ขนาดกว้าง 550 เมตร ยาว 710 เมตร กำแพงเมืองชั้นเดียวทำด้วยดินและมีคูน้ำล้อมรอบ ที่มุมทั้ง 4 มีป้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในเมืองยังมีแนวกำแพงและคูน้ำ จากแนวกำแพงเมืองทางด้านตะวันตกและทางทิศใต้ไปบรรจบกันภายในเมืองอีกด้วย ทางด้านทิศใต้เป็นแนวคันดินและคูภายในเมืองเชื่อมต่อกับทางน้ำเก่า ซึ่งปัจจุบันปรากฏเพียงด้านเดียวเท่านั้น ส่วนด้านอื่นๆมีทางน้ำเก่าและได้ถูกปรับพื้นที่เป็นที่นาเสียส่วนใหญ่ คันดินนี้นี่เองทำให้หลายคนเข้าใจว่าเมืองโบราณยะรังเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีกำแพงและคูเมือง 3 ชั้น ระหว่างคันดินกำแพงเมืองมีหนองน้ำขนาดใหญ่และโบราณสถานอยู่ 2 แห่ง ส่วนภายในเมืองนั้นมีบ้านราษฎรอยู่ประมาณ 40 หลังคาเรือน มีบ่อน้ำโบราณอยู่ 7 แห่ง ทางด้านทิศใต้นอกกำแพงเมืองมีสระน้ำขนาดใหญ่จำนวน 1 สระ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างยาว 70 เมตร สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของเมืองโบราณยะรังนั้น เป็นที่ทำสวนเสียส่วนมาก โดยเฉพาะสวนยาง สวนส้ม สวนเงาะ สวนทุเรียน และสวนกล้วย เป็นต้น โบราณสถานบริเวณเมืองโบราณยะรังและใกล้เคียงนั้นมีด้วยกัน 29 แห่ง อยู่ในเขตบ้านประแว 11 แห่ง เขตตำบลวัด 11 แห่ง และเขตตำบลปิตูมุดี 7 แห่ง...”  การสำรวจของโครงการวิจัยเกี่ยวกับรัฐพาณิชย์นาวีสมัยศรีวิชัยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปัตตานี ศึกษากรณีชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบในเขตเมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ระยะที่ 1 โครงการสำรวจนี้เป็นการดำเนินการภายใต้หน่วยงานคือศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทเอสโซ่สแตนดาร์ตประเทศไทย จำกัด ดำเนินการสำรวจโดยสว่าง เลิศฤทธิ์ นายเดวิด เจ เวลซ์ นางจูดิท มิกนีลล์ และนางสาวนันทิยา หนูสอน David J. Welch ระหว่างเดือนเมษายน 2529 ถึงเดือนเมษายน 2530 โดยทำการสำรวจด้วยกล้องธีโอโดไลท์และเทปวัดระยะในพื้นที่บ้านประแวและบ้านวัด การสำรวจของโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี โครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ตั้งขึ้นในพ.ศ.2531 เป็นโครงการในความรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา กองโบราณคดี กรมศิลปากร การสำรวจโดยโครงการฯได้ดำเนินการสำรวจโดยการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและดำเนินการสำรวจภาคพื้นดิน ในระหว่างพ.ศ.2531-2532 และในพ.ศ.2535 ได้จัดพิมพ์หนังสือ “การสำรวจโบราณสถานเมืองยะรัง” นำเสนอผลการสำรวจและรายละเอียดของโบราณสถานที่สำรวจพบทุกแหล่ง ทั้งในเขตบ้านประแว บ้านจาเละ และบ้านวัด  เนินโบราณสถานจากการสำรวจของโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง (พ.ศ.2531-2532) โครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ดำเนินการสำรวจเมืองโบราณ ยะรังอีกครั้งในระหว่างพ.ศ.2531 – 2532 ในครั้งนี้ได้กำหนดการเรียกชื่อเนินโบราณสถานใหม่ โดยจำแนกเนินโบราณสถานออกเป็น 3 กลุ่มตามตำแหน่งที่ตั้ง คือ กลุ่มโบราณสถานบ้านวัด กลุ่มโบราณสถานบ้านจาเละ และกลุ่มโบราณสถานบ้านประแว กลุ่มโบราณสถานบ้านวัด ใช้อักษรย่อว่า บว.บ. มีเนินโบราณสถานจำนวน 20 แห่ง กลุ่มโบราณสถานบ้านจาเละ ใช้อักษรย่อว่า จล.บ. มีเนินโบราณสถานจำนวน 11 แห่ง กลุ่มโบราณสถานบ้านประแว ใช้อักษรย่อว่า บว.บ. มีเนินโบราณสถานจำนวน 2 แห่ง การขุดค้นทางโบราณคดี ----------------------------------- พื้นที่เมืองโบราณยะรัง ได้รับการขุดค้นทางโบราณคดีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากนักวิชาการชาวไทย และชาวต่างประเทศ โดยในระยะแรกการขุดค้นมักอยู่ในลักษณะของการขุดตรวจหรือขุดทดสอบ รวมถึงการขุดสำรวจโดยใช้เครื่องมือเจาะดินที่เรียกว่าออเกอร์  ส่วนการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณที่เป็นเนินโบราณสถานขนาดใหญ่นั้น เริ่มดำเนินการในพ.ศ.2531 โดยโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ของกรมศิลปากร โดยเริ่มทำการขุดค้นเนินโบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 3 เป็นแห่งแรกในพ.ศ.2531 ขุดค้นเนินโบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 2 และหมายเลข 8 ในพ.ศ.2535 และขุดค้นเนินโบราณสถานบ้านวัดหมายเลข 9 ในพ.ศ.2546 การขุดค้นของ H.G.Quaritch Wales ในพ.ศ.2517 บทความเรื่อง “ลังกาสุกะและตามพรลิงค์และการจดบันทึกบางสิ่งทางโบราณคดี” ของ H.G.Quaritch Wales กล่าวถึงการขุดค้นทางโบราณคดีในลักษณะของหลุมยาว (Trench) จำนวน 2 หลุม ในพื้นที่ภายในเมืองประแวด้านทิศใต้ ผลการขุดค้นไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ การขุดค้นของชูสิริ จามรมานและคณะ เป็นการดำเนินการของนางสาวชูสิริ จามรมาน อาจารย์ในภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ ซึ่งได้รับทุนจากมูลนิธิจิม ทอมป์สัน เพื่อทำการวิจัยเรื่อง “การวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์” ซึ่งทำการวิจัยระหว่างพ.ศ.2521-2523 และการวิจัยเรื่อง “สมัยศิลปะที่ยะรัง เมืองโบราณในจังหวัดปัตตานี” ซึ่งทำการวิจัยระหว่างพ.ศ.2523-2524 การขุดค้นของโครงการวิจัยเกี่ยวกับรัฐพาณิชย์นาวีสมัยศรีวิชัยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปัตตานี ศึกษากรณีชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบในเขตเมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ระยะที่ 1 การขุดค้นทางโบราณคดีในระหว่างพ.ศ.2529 – 2530 นี้เป็นการดำเนินการในโครงการโครงการวิจัยเกี่ยวกับรัฐพาณิชย์นาวีสมัยศรีวิชัยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปัตตานีฯ ภายใต้หน่วยงานคือศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมีนายสว่าง เลิศฤทธิ์ Dr.David J. Welch และ Ms.Judith R.Mcniell เป็นผู้ดำเนินโครงการ สรุปผลการศึกษา 1.บ้านประแว ผลการการขุดค้นและขุดตรวจด้วยออเกอร์แสดงให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีบ้านประแวมีอายุไม่มากนักดังที่ศรีศักร วัลลิโภดม เคยกล่าวไว้ โบราณวัตถุที่พอจะกำหนดอายุได้ก็มีเศษเครื่องถ้วยสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงและเศษเครื่องปั้นดินเผาเนื้อดินที่มีลวดลายประดับสมัยอยุธยา หลังจากส่งตัวอย่างถ่านไปหาอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14 ที่สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติพบว่าโบราณวัตถุในชั้นดินที่ 2 มีอายุประมาณ 300 ปี ชั้นดินที่ 3 มีอายุประมาณ 500 ปี ในขณะที่ชั้นดินที่ 4 ซึ่งอยู่ล่างสุดพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินสีเทาดังเช่นที่พบที่สทิงพระ แสดงให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีบ้านประแวมีอายุเก่าสุดอยู่ที่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11-13 จึงสรุปได้ว่าเมืองแห่งนี้เป็นเมืองขนาดเล็ก ไม่มีฐานะหรือบทบาทสำคัญนัก โดยมีกลุ่มชนเข้ามาอยู่อาศัยครั้งแรกประมาณสมัยศรีวิชัยตอนปลาย และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการสร้างป้อมที่มุมเมือง ซึ่งหลักฐานต่างๆแสดงให้เห็นถูกสร้างขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์ราวปี 1790-1791 ซึ่งสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ระบุว่าปัตตานีมีการย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่บ้านประแวในสมัยรัชกาลที่ 1 2.บ้านวัด จากการศึกษาพบว่าเมืองแห่งนี้มีขนาดใหญ่ (อย่างน้อย 60 ตารางเมตร) และมีคูเมืองซับซ้อนมาก มีเนินเจดีย์ 16 แห่ง มีเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 แห่ง ผลการขุดค้นของนักโบราณคดีจากกรมศิลปากรได้พบโบราณวัตถุหนาแน่นกว่าที่บ้านประแว จากการขุดค้นยังทำให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีผ่านการใช้งานมาอย่างน้อย 2 ช่วง เพราะชั้นดินทางโบราณคดีจะเห็นถึงความแตกต่างได้ชัด โบราณวัตถุที่พบก็ต่างสมัยกันด้วย โบราณวัตถุในชั้นดินล่างสุดอาจจะเป็นของสมัยทวารวดีส่วนโบราณวัตถุในชั้นดินบนอยู่ในสมัยหลังก็เป็นได้ และการขุดค้นที่หลุมขุดค้นแห่งหนึ่งบนเนินดินชั้นในพบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะเศษอิฐและเศษภาชนะดินเผา ชั้นดินชั้นล่างสุดที่ทำการขุดค้นอาจจะเป็นฐานเจดีย์เพราะพบแนวอิฐและก้อนอิฐมีรู โบราณวัตถุที่พบร่วมกับแนวอิฐคือเศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง? อย่างไรก็ตามเมื่อผลการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายออกมา ก็คงจะทราบอายุของโครงสร้างแนวอิฐนี้ แต่สันนิษฐานว่าอาจจะมีอายุอย่างน้อย 1,000 ปี มาแล้ว  การขุดค้นของโครงการศึกษาการตั้งถิ่นฐานเมืองปัตตานีโบราณ (The old settlement of The Pattani Region) โครงการศึกษาการตั้งถิ่นฐานเมืองปัตตานีโบราณเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรโดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 10 สงขลา กับสถาบันฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ(Ecole Francaise d’Etreme-Orient) และสถาบันวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยกำหนดเป็นโครงการต่อเนื่อง 5 ปี โดยเริ่มต้นโครงการในพ.ศ.2540 สำหรับการศึกษาในพ.ศ. 2541 เป็นการดำเนินการในปีที่ 2 ของโครงการ ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณบ้านประแว โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาถึงความต่อเนื่องของการอยู่อาศัยของชุมชนโบราณบ้านประแวกับชุมชนโบราณบ้านกรือเซะว่ามีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันหรือไม่อย่างไร ตามสมมุติฐานที่เชื่อว่ากลุ่มชนบริเวณบ้านกรือเซะนั้นย้ายมาจากบ้านประแว  สรุปผลการขุดค้น ผลของการขุดค้นทางโบราณคดีในพ.ศ.2541 ทำให้เห็นถึงพื้นดินที่ถูกรบกวนในทุกๆหลุมขุดค้น ยกเว้นในหลุมขุดค้น PW.3 ซึ่งพบเศษภาชนะดินเผาซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเศษภาชนะดินเผาที่พบในหลุมขุดค้นอื่นๆ ซึ่งก็เป็นได้ว่าอาจเป็นเพราะเศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มาจากช่วงเวลาที่ต่างกัน และการวิเคราะห์โดย Mrs.M.F.Dupoizat พบว่า เศษภาชนะดินเผาที่พบเกือบทั้งหมดนี้กำหนดอายุในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 . . . ในส่วนของ Ep.4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ โปรดติดตามในตอนต่อไป.. --------------------------- Ep.1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/628320109334790 Ep.2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ? https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid023vs8jRqA2iqonHKfjBgCMWEC6GfQLWyYHFy8ogMX3RVt1UG1uy2pSNVxkd2s9BT6l Ep.3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี Ep.4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ EP.5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR) Ep.6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี -------------------- เอกสารอ้างอิง หน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา, ความเป็นมาของเมืองโบราณยะรังโดยสังเขป, 2531 หน้า 7 (อัดสำเนา) เขมชาติ เทพไชย, รายงานการสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดี บริเวณเมืองโบราณยะรังและใกล้เคียง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, (สงขลา : โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2528), 9-10 (เอกสารอัดสำเนา) ชูสิริ จามรมาน, รายงานผลการวิจัยเรื่องการวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์, (นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม, 2528), 6 ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้, “บันทึกเรื่องเมืองโบราณที่อำเภอยะรัง” ใน แลหลังเมืองตานี, (ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2528), 18 Stewart Wavell, “The Lady from Langkasuka” in The Naga King’s Daughter, (London : George Allen & Unwin Ltd., 1964), 15 Ibid, 158  ศรีศักร วัลลิโภดม, “ชุมชนโบราณในสี่จังหวัดภาคใต้”, เมืองโบราณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (ธันวาคม2521-มกราคม2522) หน้า 49 เรื่องเดียวกัน, 48



หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการจัดกิจกรรม “๑๒๑ ปี ครูบาเจ้าศรีวิชัยกับเมืองเชียงใหม่” ภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต (ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) ประจำปี ๒๕๖๖  ในวันเสาร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม รับจำนวน ๕๐ คน  (นั่งรถราง)  ** สิทธิ์การเข้าร่วมกิจกรรม พิจารณาตามลำดับการลงทะเบียน **


แนะนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญนิทรรศการ “เงินตราในประเทศไทย : วิวัฒน์เงินตราไทย จากสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์” เหรียญพระบรมรูป – ตราแผ่นดินเหรียญพระบรมรูป – ตราแผ่นดิน ชนิดราคา ๑ บาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓.๑ เซนติเมตร สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ พระครูวาปีปทุมรักษ์ เจ้าอาวาสวัดหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๕ มีลักษณะเป็นเหรียญกลมแบน ขอบมีเฟือง ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย ริมขอบเหรียญมีพระปรมาภิไธยว่า “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ด้านหลังเป็นตราแผ่นดิน ซึ่งด้านบนเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ เปล่งรัศมีครอบพระแสงจักรและพระแสงตรี ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรแห่งราชวงศ์จักรี ถัดลงมาเป็นรูปอาร์ม แบ่งออกเป็น ๓ ช่อง ช่องบนเป็นรูปช้างสามเศียร ช่องล่างซ้ายเป็นรูปช้างยืนหันหน้าไปทางซ้าย ช่องล่างขวาเป็นรูปกริชไขว้ มีคชสีห์และราชสีห์ถือฉัตรกระหนาบสองข้าง ใต้รูปอาร์มมีพระสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ เบื้องหลังเป็นเครื่องราชูปโภค มีฉลองพระองค์ครุยเป็นพื้นอย่างม่าน ธารพระกรและพระแส้อยู่ด้านซ้าย ฉลองพระบาทอยู่ริมฐานฉัตร ริมขอบซ้ายมีคำว่า “กรุงสยาม” ริมขอบขวามีคำว่า “รัชกาลที่ ๕” ริมขอบล่างมีข้อความบอกราคา “บาทหนึ่ง” บนเหรียญไม่ระบุศักราช ซึ่งเริ่มผลิตครั้งแรก ร.ศ. ๙๕ หรือ พ.ศ. ๒๔๑๙ นับเป็นครั้งแรกที่มีการอัญเชิญพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ประทับบนหน้าเหรียญ


          วันอังคารที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้แทนร่วมแสดงความยินดีกับ นางทัศนีย์ ผลชานิโก รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ครบรอบ ๓๕ ปี โอกาสนี้ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้นายบพิตร วิทยาวิโรจน์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้แทนกรมศิลปากร มอบหนังสือที่ระลึกร่วมแสดงความยินดี ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ


ชื่อเรื่อง: การสร้างพระพุทธรูป พระบูชา, พระประจำวันเกิด, และพระเครื่อง ผู้แต่ง: คณะกรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๙๙สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: ประชาช่าง จำนวนหน้า: ๒๖ หน้า เนื้อหา: การสร้างพระพุทธรูป พระบูชา, พระประจำวันเกิด, และพระเครื่องของคณะกรรมการสร้างพระพุทธรูปของคณะ กรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระพุทธศาสนายุกาลครบ ๒๕๐๐ ปี โดยคณะกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกอบพิธีสร้างพระพุทธรูปบูชา, พระประจำวันเกิด, และพระเครื่องหลายชนิด โดยจัดพิธีการสร้างอย่างถูกต้องครบถ้วนตามตำรา เพื่อเป็นที่ระลึกแห่งปีอันสำคัญของพระพุทธศาสนา กล่าวถึงวัตถุประสงค์ พิธีกรรม รายละเอียดการดำเนินงานสร้าง ประเภทพระพุทธรูปที่จะสร้าง พิธีพุทธาภิเษกการฉลอง และการบริจาคโลหะเพื่อสร้างพระพุทธรูป พร้อมภาพประกอบหุ่นพระพุทธรูปบูชาซึ่งจะจำลองสร้างในครั้งนี้ด้วยเลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๔๐๘เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๒๙หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖


ใบเสมาที่พบที่บ้านกุดโง้ง ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีทั้งใบเสมาที่สลักลวดลายที่ไม่ใช่ภาพเล่าเรื่อง เช่น ลวดลายรูปสถูป ใบเสมาที่สลักลวดลายเป็นภาพเล่าเรื่องในชาดกทางพุทธศาสนา และใบเสมาที่ไม่มีการสลักลวดลายใดๆ ใบเสมาที่สำคัญที่บ้านกุดโง้ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มของใบเสมาที่มีการสลักลวดลายประดับเป็นภาพพระพุทธเจ้า ได้แก่ ภาพพระพุทธเจ้าหรือพระศรีศากยมุนี ภาพพระศรีอริยเมตไตย และภาพเล่าเรื่องราวชาดกตอนต่างๆ ในพุทธศาสนา


         กลักแปดเหลี่ยม          สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕          จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทานยืม          ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          กลักทรงกระบอกแปดเหลี่ยมตกแต่งด้วยการประดับมุก ขนาดยาวรวมฝา ๒๑ เซนติเมตร ตัวกลักยาว ๑๘.๓ เซนติเมตร ปากกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร ส่วนฝาด้านบนประดับมุกลายก้านขดใบเทศ ตัวฝาตกแต่งลายเกลียวใบเทศ ตัวกลักตกแต่งเป็นแถบลายเกลียวใบเทศคั่นด้วยดอกไม้ บริเวณปากกลักเป็นแถบลายดอกไม้สี่กลีบ ส่วนปลายกลักเป็นแถบลายกรวยเชิง ดอกไม้สี่กลีบ และจุดไข่ปลา          “กลัก” ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ระบุว่า “สิ่งที่ทำเป็นรูปคล้ายกระบอกสำหรับบรรจุของเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ, ซองยาสูบทำด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สำหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กลักไม้ขีดไฟ กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก”          ทั้งนี้เอกสารทะเบียนเดิมเรียกกลักประดับมุกชิ้นนี้ว่า “กลักสารตรา ๘ เหลี่ยม” เนื่องด้วยขนาดที่ค่อนข้างเล็กจึงน่าเป็นกลักที่จะใส่กระดาษ ในอดีตการเขียนเอกสารราชการต่าง ๆ จะเขียนบนกระดาษเพลา (กระดาษสาชนิดบาง เขียนด้วยดินสอดำ) เมื่อจะส่งเอกสารจะม้วนใส่กระบอกเอกสารที่ทำจากไม้ไผ่ (หรือบางท้องที่เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก “บั้งจุ้ม” เป็นต้น) ตัวอย่างที่กล่าวถึงการใช้กลักเป็นที่เก็บเอกสารนั้นปรากฏใน มหาชาติคำหลวง กัณฑ์จุลพน ในตอนที่ชูชกพบกับพรานเจตบุตรได้ลวงว่ากลักในย่ามที่ใส่ของแห้ง (พริก และงา) นั้นเป็นกลักพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสญชัย ซึ่งตนกำลังไปหาพระเวสสันดร ดังความว่า          “...เจตบุตรเห็นก็ขู่ว่าจะยิงด้วยหน้าไม้ ชูชกไหวดีแก้ว่า เป็นทูตของพระเจ้ากรุงสญชัย เจตบุตรเชื่อ ผูกสุนัขเข้ากับโคนไม้ ต้อนรับชูชก ถามว่าอะไรอยู่ในย่าม ชูชกชี้ไปที่กลักพลิกกลักงาว่า นี่คือกลักพระราชสาส์น เจตบุตรเชิญชูชกขึ้นไปบนเรือน ให้กินเนื้อย่างจิ้มนํ้าผึ้ง แล้วก็พาออกไปชี้มรรคา เจตบุตรพรรณนาพรรณไม้ อันมีในป่าหิมพานต์แล้วบอกทางที่จะไปสู่เขาวงกต...”          นอกจากนี้ในพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง นิทานโบราณคดี ตอน นิทานที่ ๑๓ เรื่องอนามัย ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงการใช้กลักบรรจุยาฝรั่ง (ขณะนั้นคือยาควินิน (quinine) เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย) แจกจ่ายไปตามหัวเมือง แต่จำเป็นต้องแปลงชื่อเพื่อไม่ให้ประชาชนตามหัวเมืองรังเกียจเนื่องด้วยเป็นยาฝรั่งไม่คุ้นเคยเหมือนยาพื้นเมืองดังความว่า          “...การที่กระทรวงมหาดไทยทำยาตามตำราฝรั่ง สำหรับจ่ายไปตามหัวเมือง จึงต้องคิดอุบายแก้ไขความรังเกียจด้วยให้เรียกชื่อยาที่ทำขึ้นใหม่ว่า “ยาโอสถศาลา” แต่ละขนานใส่กลักเล็ก ๆ กลักละ (ดูเหมือน) ๒๐ เม็ด พิมพ์หนังสือปิดข้างนอกกลักเอาแต่ชื่อโรคเรียก เช่นว่า “ยาแก้ไข้จับ, ยาแก้ลงท้อง, ยาแก้บิด” เป็นต้น ข้างในกลักมีกระดาษใบปลิวบอกวิธีที่จะใช้ยานั้น แล้วรวมกลักยาห่อเป็นชุด ๆ มีใบปลิวโฆษณาคุณของยาโอสถศาลาสอดไปด้วย ส่งไปให้หมอตำบลเป็นผู้จำหน่าย (ดูเหมือน) ราคากลักละ ๑๐ สตางค์ จำหน่ายได้เงินเท่าใด ให้ค่าขายแก่หมอตำบลเป็นส่วนลดร้อยละ ๑๐ แม้ใช้อุบายกันคนรังเกียจอย่างนั้นแล้ว กว่าจะได้ผลดังประสงค์ก็ยังนาน เพราะเป็นของแปลก แม้หมอตำบลเองก็รับไว้จำหน่ายด้วยเกรงใจโดยมาก ตัวเองยังชอบใช้ยาสมุนไพรอยู่ตามเคย ต่อบางคนจึงทดลองใช้ยาโอสถศาลา แต่ต่อมาก็ปรากฏคุณขึ้นโดยลำดับ เมื่อยาโอสถศาลาจำหน่ายได้แพร่หลายจนเห็นว่าจะทำจำหน่ายได้ยั่งยืนต่อไป กระทรวงมหาดไทยจึงได้ตั้งสถานโอสถศาลาที่โรงพยาบาลเทพศิรินทร์ แล้วรัฐบาลทำยาโอสถศาลาจำหน่ายเองสืบมา…”     อ้างอิง ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. นิทานโบราณคดี. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร,๒๕๔๓. มหาชาติคำหลวงฉบับกรมศิลปากร. กรุงเทพฯ: มหามกุฏ, ๒๔๙๖. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖.


พาชม….โซนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ณ งานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ปี 2566 งานลอยกระทงปีนี้ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมีนิทรรศการ เรื่อง การเดินทางของสังคโลก The Journey of Sangkhalok ให้ทุกท่านมาเยี่ยมชม  และนอกเหนือจากนิทรรศการให้ความรู้แล้วนั้น ยังมีกิจกรรมสนุกๆให้นักท่องเที่ยวทุกท่านได้ร่วมสนุกกับทางอุทยานฯ ทั้งFreeกิจกรรม work shop เพ้นท์กระเป๋าผ้ารักษ์โลกFreeกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลตุ๊กตาสังคโลก หรือท่านใดอยากได้ของที่ระลึกเกร๋ๆ ไม่ซ้ำใคร ก็มีผลิตภัณฑ์ Handmade จำหน่าย หนังสือของกรมศิลปากรถุงผ้ารักษ์โลก (ลายนี้มีเฉพาะที่นี่เท่านั้น)โปสการ์ดอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (ภาพมุมลับๆ ไม่ซ้ำใคร)ต่างหูสังคโลก (ลายไม่ซ้ำ ทำเหมือนเดิมไม่ได้)ผลิตภัณฑ์สังคโลก จากชุมชนชาวสุโขทัย


วันที่ ๑ ธันวาคมตรงกับ “วันดำรงราชานุภาพ” อันเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แอดมินจึงขอเล่าเรื่องราวจากโบราณวัตถุศิลปวัตถุ คือ ชุดไม้กอล์ฟ (มือซ้าย) ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานมา ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๔๗๔ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๔๘ เรื่อง "แจ้งความราชบัณฑิตยสภาเรื่องมีผู้ให้ของแก่พิพิธภัณฑ์สถานสำหรับพระนคร" ______________________ กีฬากอล์ฟ เริ่มมาจากชาวต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจการค้าในสยามสมัยรัชกาลที่ ๕ นำมาเล่นและได้รับความนิยมแพร่หลาย จนกลายเป็นกีฬาสำหรับการพักผ่อนของเชื้อพระวงศ์และขุนนางสยาม ช่วงแรกมีการจัดตั้งสโมสรบางกอกกอล์ฟ (The Bangkok Golf Club) เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชบรมราชานุญาตให้เปิดสนามกอล์ฟแห่งแรก บริเวณ “สนามหลวง” หรือทุ่งพระสุเมรุ สำหรับจัดการแข่งขัน ทั้งนี้ยังมีการก่อตั้งสโมสรเชียงใหม่ “ยิมคานา” ของกลุ่มพ่อค้าและนักธุรกิจชาวอังกฤษที่เข้ามาทำสัมปทานป่าไม้อีกด้วย กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๔๔ จึงได้มีการจัดตั้งสโมสร “รอแยลสปอร์ตคลับ” และเริ่มก่อสร้างราชกรีฑาสโมสรกรุงเทพ เป็นสถานที่พักผ่อนและจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับรับรองสมาชิกชนชั้นสูงสยามและชาวต่างชาติ โดยเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับใช้บริการพื้นที่สาธารณะ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการขยายพื้นที่ของสนามกอล์ฟไปตั้งอยู่นอกเมืองสำหรับพักผ่อนตากอากาศคือ สนามกอล์ฟหัวหิน และเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพร้อมกับทรงเล่นเป็นปฐมฤกษ์ ต่อมาพ.ศ ๒๔๖๘ เจ้าพระยารามราฆพ ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก ได้เล็งเห็นว่าพื้นที่ของราชกรีฑาสโมสรและสนามกอล์ฟหัวหินไม่สะดวกต่อการเดินทาง จึงทูลขอพระบรมราชานุญาตสร้างสนามกอล์ฟบริเวณที่ตั้งกรมอัศวราช และมีนายเอ.โอ.โรบิน ชาวสก็อตแลนด์เป็นผู้ออกแบบ เรียกว่า “สนามกอล์ฟมหาดเล็ก” พร้อมทั้งจัดการแข่งขันตีกอล์ฟและขอพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงโปรดกีฬาชนิดนี้อย่างมาก ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ สนามกอล์ฟมหาดเล็กได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมสโมสรกอล์ฟดุสิต ในพระบรมราชูปถัมภ์” โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นนายกสโมสร อีกทั้งยังทรงได้รับเชิญเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสโมสรอีกหลายแห่ง หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศสมัย ดิศกุล ก็หัดกอล์ฟตามพระบิดา ทั้งทรงอธิบายในหนังสือสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ความว่า “... ส่วนความสัมพันธ์ทางส่วนพระองค์ ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯกับเสด็จพ่อก็กลมเกลียวกันดี แม้เสด็จพ่อทรงแนะนำว่าเล่นกอล์ฟดี ก็ทรงเล่นจนติด...” และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีก็เล่นกอล์ฟด้วย แม้ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ยังคงมีลายพระหัตถ์ (จดหมาย) ถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เกี่ยวกับเรื่องราวกิจวัตรต่างๆ อยู่เสมอ “...แม้จนมีหอสมุดสำหรับหาหนังสืออ่านและมีที่ตีกอล์ฟด้วยสโมรสรที่เขาเชิญเปนสมาชิกกิตติมศักดิ์ ไม่ขาดแคลนอันใด ตัดไม่ได้แต่ความคิดถึงญาติและมิตรอย่างเดียวเท่านั้น” หากท่านมีโอกาสได้เข้าไปภายในห้องเกียรติสถิตของวังวรดิศ อาจเคยเห็นมีชุดไม้กอล์ฟอีกชุดหนึ่ง ซึ่งความน่าสนใจของเครื่องกีฬานั้น คือชุดไม้กอล์ฟสำหรับผู้ถนัดมือซ้าย อันเป็นสินค้าคุณภาพดีที่นำเข้าจากต่างประเทศ ______________________ ชุดไม้กอล์ฟ (มือซ้าย) นี้ เป็นเครื่องกีฬานำเข้าจากต่างประเทศ ครั้งแรกที่เข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ ๒๔๓๗ เล่นบริเวณท้องสนามหลวง มีชุดไม้กอล์ฟและแท่นวาง ประกอบด้วย หัวไม้หนึ่ง หัวไม้แฟร์เวย์ หัวไม้เหล็ก หัวไม้พัตเตอร์ และหัวไม้เวดจ์ รวมจำนวน ๘ ไม้ พร้อมลูกกอล์ฟ มีรายละเอียดดังนี้ หัวไม้หนึ่งประทับอักษร คำว่า “ARMY&NAVY C.S.L LONDON” เป็นสินค้าของบริษัทสัญชาติอังกฤษคือ The Army & Navy Store Co-Operative Society Limited เน้นส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้ ช่วงปี พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๗๗ ภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทผู้ผลิตและเจ้าของกิจการ หัวไม้แฟร์เวย์ประทับอักษร คำว่า “G.FORRESTER” สินค้าของบริษัทสัญชาติสก๊อตแลนด์นามว่า Geoge Forrester & Son Golf Club and Ball Markers ที่มีร้านค้าปลีกในประเทศอังกฤษ มีการจดสิทธิบัตรสินค้าและเปิดสโมสรกอล์ฟระหว่างปี ๒๔๑๔-๒๔๖๙ ก่อนปิดกิจการภายหลังเกษียณอายุ หัวไม้พัตเตอร์ มีลักษณะหัวไม้แบนยาวทำจากโลหะ ก้านทำจากไม้ และกริพเป็นเชือกหนังแบน มีตราประทับอักษร P มาจากคำว่า “PUTTER” และสัญลักษณ์วงกลม พร้อมข้อความ A&NCS (Army & Navy Cooperative Stores) หัวไม้เหล็ก และหัวไม้เวดจ์ มีลักษณะเป็นหัวไม้แบนยาวมุมมน มีกริพทำจากเชือกหนังพันแกนไม้ ตราประทับค่อนข้างเลือนลางจากการใช้งาน . . อ้างอิง แจ้งความราชบัณฑิตยสภา เรื่องมีผู้ให้ของแก่พิพิธภัณฑ์สถานสำหรับพระนคร. (๑๖ สิงหาคม ๒๔๗๔). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๔๘ หน้า ๑๗๖๓. พูนพิศมัย ดิศกุล, มจ. สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น. กรุงเทพฯ : มติชน ๒๕๕๗. สบ ๒.๔๙/๔๙ เรื่องขอพระราชทานด้วยเงินในการแข่งขันตีกอล์ฟ ณ สนามมหาดเล็ก พ.ศ.๒๔๖๘ สบ ๒.๔๐/๖ กำหนดการประชุมกรรมการสโมสรกอล์ฟดุสิตในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ศิลปวัฒนธรรม. ส่องการพักผ่อนแบบชนชั้นสูงสยาม อิทธิพลจากฝรั่ง ดูยุคเริ่มยอมถ่ายรูป สู่ฮิตพักตากอากาศ. เข้าถึงเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_29754... ศิลปวัฒนธรรม. จริงหรือไม่? “สนามหลวง” เคยเป็น “สนามกอล์ฟ” ของฝรั่งและไฮโซไทย สมัย ร.5 เข้าถึงเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/old-photos-tell.../article_1265 หอสมุดวชิรญาณ. สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๗๖. เข้าถึงเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/ab03K Antique Golf Clubs from Scotland. Scottish Golf History เข้าถึงเมื่อ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://www.antiquegolfscotland.com/antiq.../history.php3... Christopher Clarke Antiques. ARMY&NAVY C.S.L เข้าถึงเมื่อ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://campaignfurniture.com/artists/army-navy-csl




ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.44 โกมนทิราชประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  วรรณคดีลักษณะวัสดุ              29; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    โกมนทิราช                      ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัตินายดิเรก ทัศนพันธ์ ต.ดอนตาล  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 6 ต.ค..2538


Messenger