ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

  ในปี​ พ.ศ.2561​ ที่ผ่านมา​ ส​ำ​นัก​ศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่​ และ​ มหาวิทยาลัย​เกษตร​ศาสตร์​ ร่วมกันจัดทำแบบจำลองสามมิติโบราณสถานในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์​เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับงานทางวิชาการและประโยชน์ในการอนุรักษ์​งานศิลปกรรมต่อไปในอนาคต การดำเนินการครั้งนั้น​ สามารถจัดทำแบบจำลองสามมิติโบราณ​สถานได้มากกว่า​ 60​ แห่ง​ ข้อมูลส่วนหนึ่งได้จัดพิมพ์ออกมาในรูปแบบของหนังสือพร้อมข้อมูลของตัวโบราณสถาน​ หากสถานศึกษา​ หรือบุคคลใดสนใจศึกษาข้อมูลดังกล่าว​ สามารถติดต่อได้ที่ห้องสมุด​กลุ่มโบราณคดี​ สำนัก​ศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่ สำหรับแนวทางในอนาคต​ แบบจำลองสามมิติในรูปแบบดิจิตอล​ จะถูกนำไปใช้เพื่อการศึกษาและอธิบายพัฒนาการของรูปแบบงานศิลปกรรมเมืองเชียงใหม่ต่อไป


ชื่อเรื่อง                           เทศนาธัมมสังคิณี-มหาปัฏฐานสพ.บ.                                  198/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           60 หน้า กว้าง 4.3 ซ.ม. ยาว 56.4 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี     


ชื่อเรื่อง                                ภิกฺขุปาติโมกฺข (ปาติโมกข์)สพ.บ.                                  228/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           64 หน้า กว้าง 5.1 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พระปาติโมกข์                                           พระพุทธศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


วัจจกุฎี : สุขอนามัยของสงฆ์แห่งเมืองกำแพงเพชร พื้นที่ในเขตศาสนสถานทั่วไป สามารถแบ่งออกได้ ๒ พื้นที่ ได้แก่  ๑. เขตพุทธาวาส เป็นพื้นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ประทับของพระพุทธเจ้า ปรากฏสถาปัตยกรรมสำคัญ เช่น เจดีย์ วิหาร อุโบสถ  ๒. เขตสังฆาวาส เป็นพื้นที่ที่กำหนดไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมทางศาสนาโดยตรง ซึ่งมีอาคารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและวัตรปฏิบัติของสงฆ์ เช่น กุฏิ ศาลาการเปรียญ วัจจกุฎี ห้องสรงน้ำ เป็นต้น “วัจจกุฎี” เป็นอาคารสำหรับขับถ่ายหรือห้องส้วมสำหรับพระสงฆ์ในสมัยโบราณ โดยปรากฏในพระวินัยปิฎก จุลวรรค มีเนื้อความที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดเกี่ยวกับที่สำหรับขับถ่ายไว้ดังนี้ เรื่องปัสสาวะ ทรงอนุญาตให้ถ่ายในที่ที่จัดไว้ ทรงอนุญาตหม้อปัสสาวะ  เขียงรองเท้าถ่ายปัสสาวะ ทรงอนุญาตเครื่องล้อม ๓ ชนิด และฝาปิดหม้อปัสสาวะ ส่วนเรื่องอุจจาระ ทรงอนุญาตให้ถ่ายในที่ที่จัดไว้ ให้มีหลุมอุจจาระ อนุญาตก่อพื้นยกสูง มีบันไดและราวบันได ให้ลาดพื้นเจาะช่องตรงกลางหลุม ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าถ่ายอุจจาระ ทรงอนุญาตรางรองปัสสาวะ  ไม้ชำระ และฝาปิดหลุมอุจจาระ และทรงมีพุทธานุญาตในการสร้างวัจจกุฎีด้วย นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังทรงกำหนด “วัจจกุฎีวัตร” หรือท่าทางปฏิบัติในการใช้วัจจกุฎีของพระสงฆ์ให้มีความเรียบร้อย นอกเหนือไปจากงานศิลปกรรมที่ปรากฏในเมืองกำแพงเพชรผ่านการรับอิทธิพลศิลปะผ่านพุทธศาสนาแล้ว วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในเมืองกำแพงเพชรเป็นไปตามพระวินัยปิฎกเช่นเดียวกับพระสงฆ์ในศรีลังกา ดังนั้นในพื้นที่เขตอรัญญิก โบราณสถานหลายแห่งสามารถแบ่งเขตสังฆาวาสออกจากเขตพุทธาวาสได้อย่างชัดเจน โดยตำแหน่งเขตสังฆาวาสในเมืองกำแพงเพชรจะไม่ปรากฏตำแหน่งที่แน่นอนแต่ส่วนใหญ่จะพบว่ามีแนวเขตของกำแพงแก้วแบ่งพื้นที่ทั้งสองออกจากกัน และในเขตสังฆาวาสจะปรากกฏหลักฐานอาคารที่ใช้ในกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์ ทั้งกุฏิ อาคารประเภทศาลา และวัจจกุฎี วัจจกุฎีที่เมืองกำแพงเพชรเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสุขอนามัยที่ดีของพระสงฆ์ พบได้ตามเขตสังฆาวาสของโบราณสถานหลายแห่ง เช่น วัดอาวาสใหญ่ วัดกรุสี่ห้อง วัดพระนอน โดยเฉพาะที่วัดอาวาสใหญ่ พบเขตสังฆาวาสบริเวณด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือของวัด แบ่งแยกออกจากเขตพุทธาวาสอย่างชัดเจน พบฐานอาคารที่ก่อด้วยศิลาแลงกระจายตัวในบริเวณดังกล่าว และยังพบลักษณะอาคารที่สันนิษฐานว่าเป็นวัจจกุฎีด้วย เป็นอาคารในแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อศิลาแลงเป็นฐานอาคารให้สูงขึ้นมาประมาณ ๑ เมตร มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก ภายในเป็นบ่อเกรอะ ใช้ดินลูกรังอัดโดยรอบ มีแผ่นปิดหลุมส้วมวางบนบ่อเกรอะเป็นแผ่นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมมีช่องตรงกลางและมีรางน้ำยื่นยาวออกมาจากแผ่นสี่เหลี่ยมดังกล่าว โดยมีช่องสี่เหลี่ยมที่อยู่ตรงกลางแผ่นศิลาแลงเป็นช่องสำหรับอุจจาระให้ตกลงไปในบ่อเกรอะด้านล่าง และรางที่ต่อออกมาน่าจะเป็นรางที่รับปัสสาวะแล้วไหลตามรางออกมาสู่ภาชนะรองรับด้านนอกอาคารต่อไป สำหรับโบราณสถานวัดกรุสี่ห้อง พบเขตสังฆาวาสตั้งอยู่โดยรอบนอกเขตกำแพงแก้ว พบวัจจกุฎีหรือห้องส้วมสำหรับพระสงฆ์ด้วยเช่นกัน พบทั้งแยกออกมาเป็นห้องส้วมแบบอาคารเดี่ยวและเป็นห้องส้วมภายในกุฏิ อาคารที่พบร่องรอยว่าเป็นวัจจกุฎีจะมีการก่อศิลาแลงสูงจากพื้นดินประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีการขุดบ่อเกรอะขนาดเล็กภายในอาคาร บางหลังพบแผ่นปิดหลุมส้วม โดยพบว่ามีความแตกต่างจากแผ่นปิดหลุมส้วมที่วัดอาวาสใหญ่ คือ มีลักษณะเป็นก้อนศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปวงรีแล้วมีการเจาะช่องตรงกลางให้ตรงกับบ่อเกรอะภายในอาคารดังกล่าว หรือบางก้อนพบลักษณะที่เจาะช่องตรงกลางเป็นช่องสำหรับอุจจาระและมีการเซาะเป็นรางที่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรางสำหรับน้ำชำระหรือปัสสาวะให้ไหลแยกออกมา ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชรยังพบอาคารที่สันนิษฐานว่าเป็นวัจจกุฎีอีกหลายแห่งทั้งที่วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ วัดป่าแฝก วัดมะเคล็ด  แผ่นปิดหลุมส้วมที่เมืองกำแพงเพชรนั้นทำมาจากแผ่นศิลาแลงที่เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่หาได้ง่ายในบริเวณนี้ แตกต่างจากแผ่นปิดหลุมส้วมหรือเขียงหินที่พบในพื้นที่อื่นเช่นที่ประเทศศรีลังกา และในประเทศไทยที่เมืองสุโขทัย เมืองพะเยา หรือเมืองลำพูน ซึ่งล้วนแต่ทำขึ้นมาจากแผ่นหินทั้งสิ้น  บรรณานุกรม พีรพน พิสณุพงศ์. (๒๕๓๖). ส้วมสมัยโบราณที่อรัญญิกเมืองกำแพงเพชร. เมืองโบราณ. ปีที่ ๑๙ (ฉบับที่ ๒)๖๙-๘๑. สมคิด จิระทัศนกุล. รู้เรื่อง วัด วิหาร โบสถ์ เจดีย์ พุทธสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๔. อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (๒๕๓๘). “วัจจกุฎี” ในประเทศศรีลังกาโบราณ : ศึกษาเฉพาะกรณีเขียงหินสำหรับวางเท้าในแง่ประโยชน์การใช้สอย. ศิลปากร. ปีที่ ๓๗ (ฉบับที่ ๓), ๖๓-๘๔. อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (๒๕๕๕). “วัจจกุฎีสมัยโบราณ : เขียงหินของศรีลังกาและไทย”. ในความสัมพันธ์ทางพุทธศาสน์และพุทธศิลป์ ระหว่างศรีลังกา พม่า และไทย. ๑๔๙-๑๘๒. กรุงเทพฯ : เอราวัณการพิมพ์, ๒๕๕๕.


เลขทะเบียน : นพ.บ.82/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  20 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : อานิสงส์แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม





ทำวัตรเย็น ชบ.ส. ๗๐ เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.27/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ผางลาง เครื่องทำเสียงสัญญาณสำหรับแขวนคอวัวควาย ทำด้วยโลหะ รูปร่างคล้ายระฆังแต่เป็นสี่เหลี่ยม ด้านบนโค้งมน มีหูสำรับสอดไม้แขวนลอยอยู่ระหว่างขาไม้โค้ง ซึ่งตั้งอยู่บนฐานไม้  ผางลางใช้วางไว้บนหลังวัวหรือเกวียนเล่มแรกของขบวนขนส่งสินค้า เพื่อให้เกิดเสียงดัง เช่นเดียวกับกระดิ่งหรือกะลอที่แขวนคอวัว แต่ผางลางจะมีเสียงก้องกังวานไปไกล เป็นสัญญาณให้ขบวนวัวที่อยู่ถัดไปตามได้ถูกทางและรู้ตำแหน่งของหัวหน้าขบวนหรือผู้นำทางของตน  ในกองคาราวานของพ่อค้าวัวต่างมักประกอบด้วยพ่อค้าวัวต่าง ๓-๕ คน พ่อค้าแต่ละคนอาจมีวัวต่างของตัวเอง ๑๐-๖๐ ตัวโดยอาจว่าจ้างคนในหมู่บ้านหรือพี่น้องเครือญาติช่วยควบคุมวัวของตนเอง ในการเดินทางขบวนวัวต่างมักเดินตามกันเป็นแถว โดยวัวตัวที่นำหน้าอาจมีผางลางวางบนหลัง หรือมีกระดิ่งแขวนไว้ที่คอ เพื่อเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากองคาราวานเดินทางไปถึงไหน และยังเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากองคาราวานได้เดินทางมาถึงหมู่บ้านแล้ว หลังเสร็จสิ้นภารกิจในการเดินทางแต่ละวัน พ่อค้าวัวต่างต้องหยุดพักที่ปาง โดยต้องเลือกทำเลที่มีหญ้า มีน้ำ อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ราบหรือพื้นที่ที่ค่อนข้างโล่งปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายและสัตว์ป่า มีการจัดเวรยามเพื่อเฝ้าระวังอันตราย  เอกสารอ้างอิง พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน : รศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ สนพ.เมืองโบราณ รายงานการวิจัยเรื่องพ่อค้าวัวต่าง : ชูสิทธิ์ ชูชาติ ศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น, ๒๕๔๕


ขุนสารกิจรือเซาะ ขุนสารกิจรือเซาะเดิมชื่อหะยีมะห์มุด ซันดือเร๊ะโซ๊ะ หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า "เวาะโต๊ะคุง" ซึ่งเป็นการเรียกตามบรรดาศักดิ์ของท่าน โดยขุนสารกิจรือเซาะ ได้รับพระราชทานให้ดำรงตำแหน่งกำนันในเมืองระแงะ ในพ.ศ.๒๔๕๒ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า "ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กระทรวงมหาดไทย ทำประทวนตราพระราชสีห์ตั้งข้าราชการในมณฑลปัตตานีรวม ๓๐ นาย คือ...ให้แขกหามุด เป็นขุนสารกิจรือเซาะ ตำแหน่งกำนันในเมืองระแงะ ถือศักดินา ๔๐๐...แจ้งความมาณวันที่ ๑๓ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๘..." แต่ในทางปฏิบัติแล้วตำแหน่งกำนันในเมืองระแงะที่ได้รับประทวนตราพระราชสีห์นั้นคือตำแหน่งกำนันตำบลตะมะหงัน แขวงเมืองระแงะ (ขณะนั้นรือเสาะหรือญาบะยังเป็นส่วนหนึ่งของเมืองระแงะ) ขุนสารกิจรือเซาะนับเป็นปูชนียบุคคลผู้มีส่วนร่วมในการวางรากฐานเมืองรือเสาะร่วมกันกับขุนอุปการประชากร โดยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างมัสยิดประจำเมืองคือมัสยิดยุมอียะห์ และถือเป็นต้นตระกูลซันดือเร๊ะโซ๊ะ ในขณะที่ขุนอุปการประชากร ปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่งอำเภอตำมะหงันคนแรก และเป็นชาวพุทธเป็นผู้ก่อสร้างวัดราษฎร์สโมสร และสละทรัพย์สินที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนบ้านยะบะ(อุปการวิทยา) ถนน และสถานที่ราชการต่างๆ และถือเป็นต้นตระกูลอัครมาส  มัสยิดยุมอียะห์ มัสยิดกลางอำเภอรือเสาะ  ขุนสารกิจรือเซาะเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการสร้างมัสยิดไม้ขนาดใหญ่หลังแรกในเมืองรือเสาะ โดยก่อสร้างตามรูปแบบของศิลปกรรมแบบชวา ซึ่งก็คือมัสยิดยุมอียะห์(มัสยิดกลางอำเภอรือเสาะ)ในปัจจุบัน ต่อมาราวพ.ศ.๒๕๐๒ ในช่วงที่หะยีสุหลง ซันดือเร๊ะโซ๊ะ บุตรชายของขุนสารกิจรือเซาะเป็นอิหม่ามประจำมัสยิดยุมอียะห์ ได้มีการรื้อมัสยิดไม้หลังเดิมและสร้างมัสยิดปูนคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นมาทดแทน  วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร(รัชกาลที่๙) เสด็จพระราชดำเนินมายังมัสยิดยุมอียะห์เป็นการส่วนพระองค์ เนื่องจากพระองค์ท่านได้รับหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชทรัพย์สำหรับจัดซื้ออุปกรณ์และหินอ่อนในการปูพื้นมัสยิดแห่งนี้ ในคราวนั้นทรงพระราชทานเงินส่วนพระองค์จำนวน ๑๔,๐๐๐ บาท ให้นายหะยีอาหะมะ อาแวบือซา นายกสมาคมอิสลามรือเสาะ เพื่อดำเนินการปูพื้นภายในมัสยิดให้แล้วเสร็จ  กูโบร์ขุนสารกิจรือเซาะ  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑ บ้านตลาดรือเสาะ ตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ในบริเวณหลังมัสยิดยุมอียะห์ (มัสยิดกลางอำเภอรือเสาะ) อาคารคลุมหลุมฝังศพมีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีต มุงกระเบื้องดินเผา ขนาดกว้าง ๕.๕๒ เมตร ยาว ๕.๕๘ เมตร มีประตูทางเข้าด้านทิศใต้ ๑ ประตู ภายในอาคารมีการฝังศพของผู้วายชนม์ ๓ ท่านคือ  ๑.ขุนสารกิจรือเซาะ(หะยีมะห์มุด ซันดือเร๊ะโซ๊ะ)  ๒.หะยีสุหลง ซันดือเร๊ะโซ๊ะ บุตรชายของขุนสารกิจรือเซาะ  ๓.หะยีอาหะมะ เจ๊ะโวะ หลานเขยของขุนสารกิจรือเซาะ





ร่องรอย อวโลกิเตศวร แห่งเมืองชัยนาท ณ วัดโพธาราม ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ได้ปรากฎพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ที่ประดิษฐานอยู่ในมณฑปของวัด เป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถสมาธิ อยู่ในท่านั่งขัดสมาธิราบ ครองจีวรห่มเฉียง มีการปิดทองทั้งองค์ ซึ่งเมื่อดูผิวเผินก็คือพระพุทธรูปในอิริยาบถสมาธิทั่วไป แต่เมื่อสังเกตเพิ่มเติมจะพบว่า เศียรของพระพุทธรูปองค์นี้ มีลักษณะแปลกจากเศียรพระพุทธรูปทั่วไป คือ ถ้าเป็นเศียรพระพุทธรูปโดยทั่วไป จะประกอบไปด้วยเม็ดพระศก และรัศมีเป็นยอดแหลม แต่พระพุทธรูปองค์นี้กลับปรากฏลักษณะของมวยผมที่เรียกว่า “ชฎามงกุฎ” คือการมัดรวบเส้นผมเป็นมวยทรงกระบอกเหนือศีรษะ อันเป็นทรงผมที่มักปรากฏในพระโพธิสัตว์ มิใช่พระพุทธรูป เมื่อสังเกตุบริเวณมวยผมของพระพุทธรูปองค์นี้ ก็พบว่ามีการประดับตกแต่งพระพุทธรูปสมาธิอยู่ที่มวยผมด้วย ด้วยลักษณะเช่นนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่เศียรของพระพุทธรูปองค์นี้จะเป็นเศียรพระพุทธรูปเฉกเช่นพระพุทธรูปทั่วไป แต่รูปแบบของเศียรที่ปรากฎดังกล่าวมาข้างต้น กลับไปสอดคล้องกับลักษณะของเศียรพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร ที่มีทรงผมแบบ “ชฎามงกุฎ” และมีพระอมิตาภะประดับอยู่ที่มวยผมนั่นเอง จึงทำให้ทราบว่า แท้จริงแล้วนั้นพระพุทธรูปในอิริยาบถสมาธิองค์นี้ เป็นพระพระพุทธรูปที่มีเศียรเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อันเป็นพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธแบบมหายาน ซึ่งเป็นไปได้ว่าผู้สร้างได้สร้างองค์พระสมาธิขึ้นมาใหม่และนำเศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่มีมาแต่เดิม มาต่อเป็นพระเศียรเพื่อเป็นรูปเคารพ ให้กับชาวบ้านย่านนี้ได้เคารพบูชา แต่เนื่องด้วยความผิดฝาผิดตัวในการซ่อมรูปเคารพดังกล่าว เลยทำให้พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่มักจะปรากฎในอิริยาบถยืนนั้น กลับกลายเป็นปรากฏในรูปแบบนั่งสมาธิ เฉกเช่นพระพุทธรูปที่เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปเสียได้ แต่อย่างไรก็ตามถ้ามองในแง่ของการอนุรักษ์ให้เศียรของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนี้ คงอยู่ ในฐานะที่เป็นรูปเคารพที่ชาวบ้านบูชา ไม่สูญหายไปตามกาลเวลา ก็นับว่าดีไม่น้อย ในท้ายที่สุดก็ยังเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแห่งเมืองชัยนาท ที่เป็นรูปเคารพในวัฒนธรรมลพบุรี ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะบายน ในย่านนี้


         สวนโมกขพลาราม หรือชื่อเรียกทางการว่า “วัดธารน้ำไหล”  จัดตั้งขึ้นโดยพระธรรมโกศาจารย์   (พุทธทาสภิกขุ) ตั้งอยู่ที่เขาพุทธทอง ริมทางหลวงหมายเลข 41 บริเวณกิโลเมตรที่ 134 อำเภอไชยา จังหวัด           สุราษฎร์ธานี เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงในประเทศและไปทั่วโลก .  ตามประวัติการก่อตั้ง สวนโมกขพลาราม เดิมที่ได้สร้างขึ้นในวัดตระพังจิก ซึ่งเป็นวัดร้าง ณ หมู่บ้านพุมเรียง ต. พุมเรียง อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี ท่านเข้ามาอยู่ที่นี้เมื่อวันวิสาขบูชา วันที่ 12 พฤษภาคม 2548 ต่อมาได้ย้ายเข้ามาสร้างใหม่ที่เขาพุทธทอง (จุดที่ตั้งปัจจุบัน) มีเนื้อที่ประมาณ 375 ไร่ วัดแห่งนี้ผู้คนนิยมเรียกสั้น ๆ ว่าสวนโมกข์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลารามตามความหมายที่ปรากฏบนแผ่นป้ายของวัด อธิบายว่า “ต้นโมก ต้นพลา มีชื่อพ้องกับสวนโมกขพลาราม โมกะ แปลว่าหลุดพ้น , พละ แปลว่า กำลัง , อาราม แปลว่า ที่ร่มรื่น ที่รื่นรมย์ สวนป่าอันเป็นกำลังหลุดพ้น”     จุดสำคัญที่อธิบายอยู่ในแผนที่บริเวณวัด ได้แก่  1. กุฎิอาจริยบูชาท่านพุทธทาส หรือเรียกว่ากุฎท่านอาจารย์ ปัจจุบันเป็นหลังที่ 3 มีรูปหล่อพุทธทาสภิกขุให้ผู้ศรัทธาได้เคารพระลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านมีต่อพุทธศาสนา ถัดออกมาเป็นรูปปั้นพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร ประดิษฐานหน้าลานหญ้า “พระพุทธทาสได้จัดสร้างจากต้นแบบที่เป็นรูปปั้นสัมฤทธิ์เก่าแก่  ซึ่งพบที่เมืองไชยา เป็นสัญลักษณ์ของสุทธิ ปัญญา เมตตาและขันติ     2. ลานหินโค้ง เป็นที่ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์และผู้มาปฏิบัติธรรม ซึ่งในแผนที่บริเวณวัดได้อธิบายเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้ไว้ว่า “เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสวนโมกข์ ที่เอื้อต่อการศึกษาปฏิบัติธรรมมากที่สุด สะท้อนแนวคิดของพุทธทาสภิกขุว่า มาสวนโมกข์ต้องได้พูดคุยกับต้นไม้ ก้อนหิน และได้เรียนรู้เรื่องธรรมะที่ปรุงแต่งและไม่ปรุงแต่ง ปัจจุบันเป็นที่ตักบาตรสาธิต ทำวัตรสวดมนต์ แสดงธรรม นั่งวิปัสสนา กิจธรรมเริ่มตั้งแต่ตีสี่ครึ่ง”     3. โรงมหรสพทางวิญญาณ ภายในมีสองชั้น กว้างประมาณ 10 เมตร ยาว 100 เมตร ภายนอกอาคารเป็นภาพแกะสลักชุดพุทธประวัติรอบอาคาร บริเวณด้านข้างอาคารมีก้อนหินวางเป็นระยะ บนผนังและเสาของอาคารมีภาพปริศนาธรรมมากมาย และภาพของท่านพุทธทาสเมื่อครั้งเดินทางไปอินเดีย เมื่อ ปี พ.ศ. 2498     4. สระนาฬิเกร์ และธารน้ำไหล บนเกาะกลางสระน้ำภายในวัด ที่แห่งนี้เป็นสระน้ำขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 100 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร กลางสระเป็นเกาะเล็กๆ เนื้อที่ประมาณ 5 ตารางเมตร มีต้นมะพร้าวเล็กๆ ปลูกอยู่หนึ่งต้น ท่านพุทธทาสตั้งใจให้สระนาฬิเกร์นี้ เป็นสื่อในการสอนธรรมะอีกอย่างหนึ่งว่า “นิพพนานนั้นอยู่ท่ามกลางวัฏฏะสงสาร”    5. โบสถ์บนเขาพุทธทอง ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่กลางแจ้งบนเขาพุทธทอง เป็นที่ตั้งอุโบสถแบบสวนโมกข์ เป็นโบสถ์พื้นดินตามธรรมชาติอย่างที่เคยมีในครั้งพุทธกาล ธรรมชาติที่มีอยู่โดยรอบบริเวณ เปรียบเสมือนอาคารของโบสถ์ มีเสาปักไว้โดยรอบกำหนดเขต เพื่อใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม    6. อาคารสร้างคล้ายเรือสำเภาขนาดใหญ่ 2 ลำ ลำแรกชื่อว่า ธรรมวารีนาวาอิสรกุลนฤมิต เป็นอาคารอเนกประสงค์ “อุปมาเหมือนเป็นเรือข้ามฟากหรือข้ามวัฏสงสารให้พ้นจากความทุกข์ ข้ามฟากจากความมีทุกข์ไปสู่ความไม่มีทุกข์ จากความโง่ไปสู่ความฉลาดอิงกับพุทธปรัชญา นาวาแห่งธรรมนำสรรพสัตว์ข้ามห้วงแห่งทุกข์” ลำที่ 2 ชื่อว่า เรือใหญ่หรือธรรมวารีนาวา อธิบายว่า “ชั้นล่างเป็นที่เก็บน้ำฝน ชั้นบนเป็นศาลาอเนกประสงค์สำหรับประชุม ฟังเทศน์เวลาฝนตก ที่หัวเรือเป็นที่ตั้งของห้องสมุดโมกขบรรลัย”    “สวนโมกขพลาราม” นี้ ถือเป็นสถานปฏิบัติธรรมชั้นแนวหน้าของเมืองไทยเป็นแหล่งบ่มเพาะเรียนรู้พระพุทธศาสนา ที่มีผู้ศรัทธามากแห่งหนึ่ง ด้วยภายในอาณาบริเวณของสวนโมกข์ มีความร่มรื่น  สงบ เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม กล่อมเกลาจิตใจและศึกษาพระพุทธศาสนา มีโรงมหรสพทางวิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยภาพศิลป์ บทกวี คติธรรมคำสอนในพุทธศาสนานิกายต่างๆ รวมถึงพุทธประวัติ และภาพจำลองจากภาพหินสลักเกี่ยวกับพุทธประวัติในอินเดีย และบริเวณไม่ไกลจากสวนโมกข์ มีส่วนรุกขชาติเขาพุทธทอง ซึ่งเป็นสถานที่รวบรวมพันธ์ไม้ที่มีค่าไว้มากมาย   อ้างอิง - พระมหาสุรชัย ชยาภิวฑฺฒโน (พุดชู), พุทธปรัชญาเซนในสวนโมกขพลาราม (วิทยานิพนธ์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563), หน้า 39-40. - Surat vans. (2564). สวนโมกขพลาราม, สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2564. จาก. https://www.suratvans.com/suan-mokh/


Messenger