ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญทุกท่านร่วมกิจกรรม "Night at The Museum ยลพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" ภายใต้กิจกรรมจัดงาน ใต้ร่มพระบารมี ๒๔๑ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๕ เมษายน ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ - ๒๐.๐๐ น.
------------------------------------
ขอเชิญชม
- ความงดงามของโบราณสถาน (วังหน้า) ที่ประทับของพระมหาอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
- การจัดแสดงนิทรรศการโฉมใหม่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
- ชมการแสดงศิลปวัฒธรรม ณ เวทีสังคีตศาลา
------------------------------------
กิจกรรมนำชมเป็นรอบสำหรับชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยจัดนำชมในหัวข้อ "ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์" และหัวข้อ "ประณีตศิลป์ไทย" จำนวน ๓ รอบต่อวัน ได้แก่ รอบ ๑๗.๐๐ น. / รอบ ๑๘.๐๐ น. / รอบ ๑๙.๐๐ น. ผู้สนใจร่วมกิจกรรมนำชมเป็นรอบสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ ณ จุดลงทะเบียนด้านหน้าพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน (อาคารหมายเลข ๑) ตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ น. ของแต่ละวัน โดยไม่รับลงทะเบียนล่วงหน้า และรับจำนวนจำกัด
-----------------------------------
นอกจากนี้ ชวนมา "ช้อป ชิม ชิล" เลือกช้อปสินค้า ชิมอาหาร จากร้านค้า OTOP ชุมชน และสินค้าจากผู้ประกอบการ CPOT ชิลไปกับแสง สี เสียง ของพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
-----------------------------------
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02 224 1402, 02 224 1333
เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีรับและขึ้นระวางสมโภชช้างสำคัญ ณ พลับพลาหน้าโรงพระราชพิธีช้างต้น จังหวัดเพชรบุรี
(รหัสเอกสาร ฉ/ร/๖๕๑)
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เรื่อง “เหรียญเงินพระบรมรูป - ตราแผ่นดิน แรกเริ่มการประทับพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ไทยลงบนเหรียญกษาปณ์”
ชื่อเรื่อง: วัธนธัมไทย เรื่อง พระพุทธรูปสมัยต่างๆ ไนประเทสไทย ผู้แต่ง: บริบาล บริบาลบุรีภัณท์ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๘๖สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์พระจันทจำนวนหน้า: ๗๒ หน้า เนื้อหา: สำนักนายกรัถมนตรี จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่วัธนธัมของไทยในทุกสาขา อาทิ ประวัติศาสตร์ไทย พระราชสถาน การเล่นพื้นเมือง การดนตรี ละคอนไทย สิ่งของไนพิพิธภัณฑ์ พระพุทธรูป สมุดไทย ตู้พระธัม การอาชีพ ลายผ้า ความอุดมสมบูรน์ของประเทสบ้านเมืองไทย เป็นต้น เนื่องในโอกาสงานฉลองวันชาติ พ.ศ. ๒๔๘๖ เรื่อง พระพุทธรูปสมัยต่างๆ ไนประเทสไทย เป็นเรื่องหนึ่งของหนังสือชุด "วัธนธัมไทย" โดยกรมสิลปากรได้มอบหมายให้ นายบริบาล บริบาลบุรีภัณฑ์ หัวหน้ากองโบราณคดี เป็นผู้เรียบเรียง กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการก่อเกิดพระพุทธรูปขึ้นครั้งแรก วิวัฒนาการจนเป็นศิลปกรรมของชาติไทย พระพุทธรูปและลักษณะพระพทุธรูปไนประเทสไทยสมัยต่างๆ ได้แก่ สมัยทวาราวดี สรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย สรีอยุธยา และรัตนโกสินทร พร้อมภาพประกอบและคำอธิบาย ซึ่งนับว่าเป็นหนังสือที่มีทรงค่าและมีประโยชน์สำหรับใช้ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของชาติไทยเลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๒๘๒ เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๒๘หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (ไฟล์ดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์เท่านั้น)
โบราณสถานตึกแดง
โบราณสถานตึกแดงตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านปากน้ำแหลมสิงห์ ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นอาคารหลังหนึ่งของฐานบัญชาการกองทหารฝรั่งเศสบริเวณปากน้ำแหลมสิงห์ ที่สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เมื่อคราวที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีเป็นเมืองประกัน (วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒)
ตึกแดงเป็นอาคารที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบตะวันตกและพื้นถิ่นเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของบ้านเมืองในเขตร้อนชื้น โดยมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียววางตัวอยู่ในแนวตะวันตก-ตะวันออก ตัวอาคารหันหน้าไปทางด้านตะวันตกออกสู่ปากอ่าวแหลมสิงห์ มีขนาดความกว้างประมาณ ๗ เมตร ยาว ๓๒ เมตร มีประตูและหน้าต่างไม้แบบบานเปิด หลังคาทรงจั่วและมีหลังคากันสาดเป็นระเบียงทางเดินโดยรอบ โครงสร้างหลังคาเหล็กมุงด้วยกระเบื้องดินเผา บริเวณหน้าบันถูกแบ่งเป็น ๒ ส่วนด้วยเสา ซึ่งภายในพื้นที่ที่แบ่งนั้น ทำเป็นซุ้มโค้งรูปครึ่งวงกลม โดยภายในซุ้มเจาะเป็นช่องระบายอากาศรูปเครื่องหมายบวก ซุ้มละ ๖ ช่อง ภายในอาคารแบ่งเป็น ๖ ห้อง พื้นเดิมทั้งภายในและระเบียงทางเดินปูด้วยกระเบื้องดินเผา ซึ่งห้องทางด้านตะวันตกปรากฏหลักฐานการเทพื้นปูนซีเมนต์ขัดมันตีเป็นเส้นตารางเลียนแบบกระเบื้องปูพื้น
นอกจากนี้จากการขุดตรวจทางโบราณคดียังพบชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาที่มีลักษณะเหมือนกันกับกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาประทับตรารูปผึ้งและตัวอักษร MARSEILLE ที่พบอยู่บนพื้นภายในห้องของตึกแดง ซึ่งกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาดังกล่าว เป็นกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาที่ผลิตโดยบริษัท Guichard Carvin et Cie ที่ผลิตขึ้นที่เมือง Marseille ประเทศฝรั่งเศส โดยใช้ตราสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าเป็นตรารูปผึ้ง ทั้งนี้ ยังพบกระเบื้องรูปแบบดังกล่าวที่ค่ายตากสิน จังหวัดจันทบุรี อีกด้วย
ภายหลังจากที่กองทหารฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากเมืองจันทบุรีแล้ว ตึกแดงถูกใช้เป็นที่พักตากอากาศสำหรับเจ้านาย ข้าราชการ และชาวต่างชาติ โดยเฉพาะคณะทูตและชาวฝรั่งเศสจะใช้เป็นที่พักตากอากาศ และสถานที่พักฟื้น หรือที่เรียกว่า “แซนิตอเลียม” (Sanitarium) อีกทั้งต่อมายังมีการใช้เป็นห้องสมุดประชาชนและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ตลอดจนเป็นพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรี
โบราณสถานตึกแดงได้รับการบูรณะหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุด เป็นการบูรณะในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี กรมศิลปากร และในปัจจุบันกรมศิลปากรได้ถ่ายโอนภารกิจการดูแล บำรุงรักษา และบริหารจัดการอาคารโบราณสถานตึกแดงให้แก่เทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานตึกแดง อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๓๑ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๘ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร่ ๑ งาน ๑๑.๘๗ ตารางวา
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (๒๕๔๒). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการฯ.
ตรี อมาตยกุล. (๒๕๑๔). ประวัติเมืองจันทบุรี. ใน กรมศิลปากร (บ.ก.), ชุมนุมเรื่องจันทบุรี (น.๙ – ๓๘).กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี. (๒๕๕๒). รายงานการสำรวจตึกแดง ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. เอกสารอัดสำเนา.
หลวงสาครคชเขตต์. (๒๕๓๙). จดหมายเหตุความทรงจำสมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๗ (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด.
เรียบเรียง : นางสาวเลิศลักษณ์ สุริมานนท์ นักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี #สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม
งาช้างประหลาด
พุทธศตวรรษที่ ๒๔
สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
นำมาจัดแสดงในนิทรรศการ “Museum Unveiling” เรื่องลึก เบื้องหลังพิพิธภัณฑ์ไทย ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
งาช้างประหลาดกิ่งนี้ มีผิวหยักเป็นปล้อง ๆ เกิดจากความผิดปกติทางธรรมชาติของช้าง ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของงาช้างที่พบได้ยาก และถูกนำมาจัดเก็บและแสดงในหอพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๕ จากบัญชีรายการโบราณวัตถุที่เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถาน พ.ศ. ๒๔๔๐ ระบุว่า รายการที่ ๒๗๘๖ ชื่อวัตถุ “งาช้างปล้อง” จำนวน ๑ กิ่ง
นอกจากนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยังเก็บรวบรวมงาประหลาดแบบต่าง ๆ ไว้อีกหลายกิ่ง อาทิ งาช้างบิดเกลียวจำหลักพระพุทธรูปห้าพระองค์ งาช้างบิดแตกออกเป็นห้ากิ่งพันกัน งาช้างคุด โดยแนวคิดการรวบรวมวัตถุที่เป็นของประหลาดเหล่านี้ปรากฏชัดเจนใน ประกาศเรื่องให้เอาของต่าง ๆ มาตั้งหอมิวเซียม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...ผู้หนึ่งผู้ใดมีของประหลาด ที่จะเอามาตั้งในหอมิวเซียมนี้ ขอให้เอามา ณ วันพุธ เดือนสิบ แรมสามค่ำ จนถึง ณ วันอาทิตย์ เดือนสิบ แรมสิบสี่ค่ำ จะให้มีพนักงานรับแลลงเลขนำเบอร์ ทุก ๆ สิ่งของผู้ที่เอามาแล้วจะให้ตั๋วพิมพ์ใบเสร็จให้กับผู้ที่เอาของมาให้...”
ครั้นต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๗ นายแฮร์มูนนิค เดอ จองก์ห์ (H. Munniks de Jongh) ได้ส่งรูปงาช้างปล้องและจดหมายสอบถามเกี่ยวกับงาช้างปล้องในสยามมาถึงเจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น และกระทรวงเกษตราธิการได้สอบถามมายังราชบัณฑิตยสภา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีลายพระหัตถ์ตอบกลับลงวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะตอบได้ว่างาเปนปล้อง ๆ เช่นนี้เปนเอง ที่ในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร กรุงเทพฯ นี้ก็มีงาเหมือนเช่นนั้นอยู่กิ่งหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าได้ให้ถ่ายรูปฉายาลักษณ์ส่งมายังเจ้าคุณพร้อมกับจดหมายฉะบับนี้เพื่อจะได้ส่งไปยังนายแฮร์มูนนิคเดอจองก์ห์เปนสำคัญ งาที่ผิดธรรมดานอกจากที่เปนปล้อง ๆ อย่างนี้ยังมีอีกหลายอย่าง บางทีกิ่งเปน ๓ กิ่งพันพันก็มี ดังได้ถ่ายรูปมาให้ดูด้วยอีกแผ่น ๑ ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่าเกิดแต่โรคของช้างบางตัวที่ทำให้งางอกวิปริตผิดธรรมดาไปเช่นนั้น...”
อ้างอิง
กรมศิลปากร. สมเด็จพระปิยมหราช พระผู้พระราชทานกำเนิดพิพิธภัณฑสถานเพื่อประชา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๗.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔) ศธ.๒.๑.๑/๑๖๔. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง ขอให้ช่วยพิจารณางาช้างซึ่งเปนปล้อง ๆ (๗ มี.ค. ๒๔๗๒ - ๓๐ ก.พ. ๒๔๗๔).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ น.๔๙.๒/เอกสารกระทรวงนครบาล รัชกาลที่ ๕. เรื่อง บัญชีสิ่งของพิพิธภัณฑ์ (๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๐).
"ย้อนอดีตงานลอยกระทงสุโขทัยผ่านฟิล์มภาพเก่า"
.
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยขอนำทุกท่านย้อนอดีตไปชมภาพบรรยายความทรงจำที่งดงามของงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ผ่านฟิล์มภาพเก่าซึ่งถ่ายไว้เมื่อราวปี พ.ศ.๒๕๒๖ อันเป็นช่วงเวลาที่งานลอยกระทงสุโขทัยเริ่มเป็นที่รู้จักแล้ว ทำให้มีผู้คนมาเที่ยวชมมากมายดังที่ปรากฏในภาพเก่า
.
สำหรับในปี พ.ศ.๒๕๖๖ นี้ งานประเพณีงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “อยากรู้เรื่องเมืองน่าน ต้องมาเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน” วิทยากร นางสาวชลลดา สังวร หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง พระนิพนธ์บางเรื่องของ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรผู้แต่ง กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ รวมเรื่องทั่วไปเลขหมู่ 089.95911 พ669พสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ตีรณสารปีที่พิมพ์ 2512ลักษณะวัสดุ 124 หน้า หัวเรื่อง รวมเรื่องภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเกี่ยวกับ ต้นเหตุของนามว่านครชัยศรี วัดพระเชตุพนในรัชกาลที่ 2 ปัญหาไทยกับต่างชาติประเพณีบวชในพระพุทธศาสนา คิดย้อนหลังไปปีหนึ่ง วิวัฒนาการแห่งภาษาไทย และปัญหาวรรณคดี เรื่อง ต้นแม่น้ำคงคา ฯลฯ
ชื่อเรื่อง สพ.ส.43 กฏหมาย_กฏหมายพระธรรมศาสตร์ประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ กฏหมายลักษณะวัสดุ 19; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง กฏหมายพระธรรมศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัตินายดิเรก ทัศนพันธ์ ต.ดอนตาล อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 6 ต.ค..2538
มาลินี พีระศรี (Malini Bhirasri)
ศิลปิน : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (Silpa Bhirasri)
ปีพุทธศักราช: ปี พ.ศ.2502 (1959)
เทคนิค: หล่อปลาสเตอร์ (Plaster)
ขนาด : สูง 38 เซนติเมตร (H.38 cm.)
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s12ok/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri
สำนักช่างสิบหมู่ ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม Workshop เนื่องในงานนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ “สิปปกรวรราชสามิภักดิ์” ระหว่างวันที่ 9 - 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม โดยมีรายละเอียดวันและเวลา ดังนี้
วันพุธที่ 9 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น.
- "การเขียนสีบนกระเบื้องเคลือบ" โดยวิทยากร กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องดินเผา ณ อาคารเครื่องเคลือบดินเผา
- "การเขียนถุงผ้า" โดยวิทยากร กลุ่มจิตรกรรม ณ อาคารเขียนสีจิตรกรรม
วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น.
- "การเขียนสีบนกระเบื้องเคลือบ" โดยวิทยากร กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องดินเผา ณ อาคารเครื่องเคลือบดินเผา
- "การเขียนเสื้อ" โดยวิทยากร กลุ่มจิตรกรรม ณ อาคารเขียนสีจิตรกรรม
- "การปั้นปูนน้ำมัน" โดยวิทยากร กลุ่มงานช่างหุ่นปั้นลายและช่างมุก ณ อาคารเขียนสีจิตรกรรม
วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น.
"การเขียนลายรดน้ำ" โดยวิทยากร กลุ่มงานช่างเขียนและช่างลายรดน้ำ ณ อาคารเขียนสีจิตรกรรม
วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น.
- "การเขียนสีบนกระเบื้องเคลือบ" โดยวิทยากร กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องดินเผา ณ อาคารเครื่องเคลือบดินเผา
- "การเขียนถุงผ้า" วิทยากร กลุ่มจิตรกรรม ณ อาคารเขียนสีจิตรกรรม
- "การเขียนหัวเขนยักษ์และลิง" โดยวิทยากร กลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์ ณ อาคารเขียนสีจิตรกรรม
นอกจากนั้น ภายในงานพบกับการจัดแสดงผลงานศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ การบรรยายพิเศษ การสาธิตงานศิลปกรรม การเสวนาทางวิชาการ และ Art Market ติดต่อสอบถามรายละเอียดการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไป โทร. 0 2482 1362 ต่อ 108 ในวันและเวลาราชการ