ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ


     เทวดารักษากำพูฉัตร      ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๒๐๐ ปีมาแล้ว)      โลหะผสม กะไหล่ทอง      สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        สันนิษฐานว่าเดิมเป็นเครื่องประกอบพระบวรเศวตฉัตรในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้คติการประดิษฐานรูปเทวดาประจำกำพูฉัตร เป็นพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และคงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาอุปราชซึ่งดำรงพระอิสริยยศเสมอด้วยพระมหากษัตริย์ด้วยในคราวเดียวกัน


เลขทะเบียน : นพ.บ.81/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8หมื่น) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



เลขทะเบียน : นพ.บ.139/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า ; 4.5 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 83 (330-333) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ตำรายาแผนโบราณและบทสวดมนต์ ชบ.ส.๖๙ เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.27/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



เขานางชี  : จิตรกรรมศิลปะพม่าสมัยอังวะบนแผ่นดินพัทลุงสมัยอยุธยา   ที่ตั้งเขานางชี           เขานางชี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ บ้านทุ่งข่า ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง  กำเนิดเขานางชี           เขานางชีเป็นเขาหินปูนในหมวดหินชัยบุรี ถือกำเนิดขึ้นในช่วงยุคไทรแอสซิกซึ่งมีอายุราว ๒๑๐ - ๒๔๕ ล้านปีมาแล้ว เขานางชีวางตัวในแนวทิศเหนือ – ทิศใต้ มีความยาวประมาณ ๙๘๐ เมตร กว้างประมาณ ๔๗๐ เมตร จุดสูงสุดสูง ๑๓๖ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตำนานเขานางชี           มีตำนานในท้องถิ่นเล่าสืบกันมาว่า เขานางชีมีถ้ำซึ่งเป็นที่อาศัยของนางชีซึ่งเป็นคนธรรพ์ ทำหน้าที่ดูแลมนุษย์ และทอผ้ารอถวายพระศรีอาริย์ ทุกวันขึ้นและวันแรม ๑๕ ค่ำ จะได้ยินเสียงดังคล้ายเสียงคนกำลังทอผ้าลอยแว่วมา ในสมัยก่อนเมื่อเด็กเลี้ยงวัว นำวัวมาเลี้ยงใกล้ถ้ำ นางชีจะหย่อนอาหารถาดทองเหลืองให้เด็กๆได้กินเป็นประจำ แต่เนื่องจากความซุกซนของเด็กซึ่งไปร้องเพลงว่า "...แม่ชี แม่ชี หมียิก แล่นขึ้นปลายจิก หมียิกแม่ชี..." และมีเด็กคนหนึ่งถ่ายอุจจาระใส่ถาดทองเหลืองของแม่ชี ทำให้แม่ชีไม่พอใจ จึงปิดประตูถ้ำ และไม่ออกมาทอผ้า และนำอาหารออกมาให้เด็กๆกินอีกเลย ถ้ำพระเขานางชี           บริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันตกค่อนไปทางใต้ ปรากฏ "ถ้ำพระเขานางชี" มีลักษณะเป็นถ้ำหินปูน ภายในถ้ำประกอบด้วยคูหาถ้ำ ๒ คูหาซึ่งมีทางเชื่อมต่อกัน คูหาแรกมีปากถ้ำอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปากถ้ำกว้างประมาณ ๖ เมตร สูงประมาณ ๑๐ เมตร และมีความลึกถึงก้นถ้ำประมาณ ๔๓ เมตร ส่วนคูหาที่สองมีปากถ้ำอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ปากถ้ำกว้างประมาณ ๓ เมตร สูงประมาณ ๕ เมตร มีความลึกถึงจุดเชื่อมต่อภายในถ้ำประมาณ ๑๐ เมตร  จิตรกรรมศิลปะอังวะ   ภายในถ้ำพระเขานางชีพบภาพจิตรกรรมบนผนังจำนวน ๑๐ จุด เขียนภาพด้วยสีแดง เหลือง และตัดเส้นด้วยสีดำ คิดเป็นพื้นที่ ๒๔.๐๖๕ ตารางเมตร ภาพเหล่านี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดเขียนขึ้น แต่มีปรากฏมาตั้งแต่ก่อนรุ่นปู่ย่าตายายแล้ว จากการศึกษาพบว่าภาพที่ปรากฏเหล่านี้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตพุทธเจ้า และพระไสยาสน์ ซึ่งแสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะพม่าสมัยอังวะตอนปลาย ซึ่งร่วมสมัยกับสมัยอยุธยาตอนกลาง  จารึกบนผนังถ้ำ           ที่ผนังถ้ำพระเขานางชี พบจารึกอักษรไทย ภาษาไทย สมัยอยุธยาเขียนคำว่า “โนกรรม” ซึ่งสันนิษฐานว่าย่อมาจากคำว่า “มโนกรรม” ซึ่งเป็นหลักธรรมใน “กุศลกรรมบถ” และคำว่า “พระพุทธเจ้าห่อนรู้ผู้ชำนะมาร” โบราณสถานของชาติ    พ.ศ.๒๕๖๔ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเขานางชี พื้นที่โบราณสถาน ๑๕๔ ไร่ ๑๔.๙๘ ตารางวา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๘ง หน้า ๒๓ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๔ นับเป็นโบราณสถานที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนพร้อมกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานแห่งล่าสุดของจังหวัดพัทลุง





กรมศิลปากร.  นำชมห้องแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525.         ห้องแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร จัดแสดงวัตถุและหลักฐานประวัติศาสตร์ เช่น ศิลาจารึก เอกสารประวัติศาสตร์ และโบราณวัตถุ ตลอดจนภาพเขียนและสร้างฉากเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชาติไทยในอดีต


ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของค่ำคืนทั้ง 10 ของเดือนรอมาฏอน ความพิเศษในค่ำคืน (ลัยละตุลก็อดรฺ)  เรามาทำความรู้จัก ที่มาและความสำคัญของเดือนรอมาฏอน จัดทำโดย นางสาวฤทัยรัตน์ เส้งสุวรรณ์ เอกปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นักศึกษาฝึกงาน



          พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มีความรักและใส่ใจเรื่องภาษาไทยอย่างยิ่ง ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ใช้ภาษาไทยที่ดีทั้งการพูดและการเขียน ในการแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับภาษาไทยแต่ละครั้ง ท่านจะเน้นย้ำให้ทุกคนตระหนักในคุณค่า และ ความสำคัญของภาษาไทยเสมอ ดังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ภาษาไทย ภาษาแม่” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ความว่า “คนไทยที่เกิดและอาศัยอยู่ในแผ่นดินนี้ ย่อมรักและหวงแหนแผ่นดินเกิดของตน มีหน้าที่ทำความดีเพื่อทดแทนบุญคุณของแผ่นดิน การหวงแหนรักษาภาษาไทย ก็เป็นหน้าที่และเป็นการทดแทนบุญคุณอันยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน” และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ภาษาไทย ของเรา” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ความว่า “ภาษาไทยเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นเครื่องแสดงความเป็นเอกราช แสดงวัฒนธรรมของชาติที่ได้สั่งสมมานานหลายศตวรรษ และเป็นสมบัติล้ำค่าซึ่งคนไทยต้องรักษา ดูแล และพัฒนาให้รุ่งเรืองอย่างมั่นคงตลอดไป”          นอกจากนี้ ท่านยังเห็นว่าภาษาถิ่นและประเพณีของภาคต่าง ๆ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ดังปรากฏในปาฐกถาพิเศษเรื่อง “วัฒนธรรมไทย สมบัติไทย” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ความว่า “ สำหรับบ้านเรากล่าวได้ว่า ภาษาถิ่นบ้านเรามีอยู่สามภาษาด้วยกัน คือ ภาษาเหนือ ภาษาอีสาน และ ภาษาใต้ ภาษาถิ่นเป็นเรื่องที่บ่งบอกถึงสภาพสังคม ลักษณะนิสัยตลอดจนประเพณีการละเล่นของถิ่นนั้น ๆ ได้ชัดเจน ภาษาถิ่นเป็นภาษาที่น่าสนใจมาก ควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง เพราะเป็นภาษาที่เราน่าจะอนุรักษ์และดำรงไว้ให้ยั่งยืนควบคู่กับภาษากลาง ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ...” ประการสำคัญ ท่านเห็นว่าการรักษาภาษานอกจากเป็นการรักษาชาติแล้ว ยังแสดงถึงการสืบสาน พระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยภาษาของชาติว่าเป็นวัฒนธรรมสำคัญที่จะต้องทำนุบำรุงและรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป           ทั้งนี้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ แนะนำว่าการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนั้น ผู้ใช้ภาษาควรศึกษาภาษาไทยให้เข้าใจและหมั่นฝึกฝนทั้งการพูดและการเขียน โดยออกเสียงให้ถูกต้อง ใช้คำให้ถูกความหมาย เรียงคำให้ถูกหลักไวยากรณ์ ฯลฯ เพื่อให้สื่อสารเข้าใจตรงกันและใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการดำรงตนเป็นคนไทย ------------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นายบัณฑิต พูนสุข นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์------------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง- กระทรวงวัฒนธรรม. จารึกไว้ในแผ่นดิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธาน องคมนตรีและรัฐบุรุษ. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๖๒. มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. วัฒนธรรมไทย สมบัติไทย - ปาฐกถาพิเศษของ มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ โดยฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ ประธาน กิตติมศักดิ์ มูลนิธิ. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการส่งเสริมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์, ๒๕๓๗. มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. ความสำคัญของภาษาไทยในรายการโทรทัศน์ ปาฐกถาพิเศษโดย ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลา นนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการ ส่งเสริมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์, ๒๕๓๘.


Messenger