ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ชื่อเรื่อง สพ.ส.42 ไสยศาสตร์_ยันต์และคาถาอาคมประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยดำISBN/ISSN -หมวดหมู่ ไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ 32; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง ยันต์และคาถาอาคม ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 9 ส.ค.2538
มาลินี พีระศรี (Malini Bhirasri)
ศิลปิน : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (Silpa Bhirasri)
ปีพุทธศักราช: ปี พ.ศ.2502 (1959)
เทคนิค: หล่อปลาสเตอร์ (Plaster)
ขนาด : สูง 40 เซนติเมตร (H.40 cm.)
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s13ok/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri
เบอร์โทรศัพท์กลาง 02-1642501-2กลุ่มงานอัตราฯ ต่อ 4022กลุ่มงานสรรหาฯ ต่อ 4021กลุ่มงานพัฒนาฯ ต่อ 4042กลุ่มงานทะเบียนฯ ต่อ 4045 หรือเบอร์ตรง 02-1266562งานธุรการ ต่อ 4014
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก) สพ.บ. 469/2 หมวดหมู่ พุทธศาสนา ภาษา บาลี-ไทยอีสาน หัวเรื่อง ทสชาติ พุทธศาสนา ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ 44 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57.3 ซม. บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
กรมศิลปากรขอเชิญชมความงามของโบราณวัตถุ จำนวน ๒ รายการ ที่ได้รับคืนพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน สหรัฐอเมริกา ทั้งประติมากรรมสำริดรูปพระศิวะ (The Standing Shiva) หรือ ที่รู้จักกันในนาม โกลเด้นบอย (Golden Boy) และประติมากรรมรูปสตรีพนมมือ (The Kneeling Female) พร้อมทั้งเคลื่อนย้ายประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่ขุดพบจากปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับประติมากรรมโกลเด้นบอย จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย มาจัดแสดงร่วมกัน ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สามารถเข้าชมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “รัชกาลที่ ๕ กับพระบรมราโชบายในการว่าจ้างชาวต่างชาติ” วิทยากร นางสาวนันทพร บรรลือสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ และนางสาวปภัชกร ศรีบุญเรือง นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ - กันยายน ๒๕๖๘
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระราชหฤทัยงานด้านจดหมายเหตุมาตั้งแต่ครั้งยังทรงศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาเอกประวัติศาสตร์ และทรงให้ความสำคัญกับเอกสารจดหมายเหตุในฐานะเป็นเอกสารชั้นต้นที่สะท้อนถึงภารกิจของหน่วยงานเจ้าของเอกสาร ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ได้ในทุกสาขาวิชา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีสายพระเนตรที่กว้างไกล พระองค์มีพระราชปรารภถึงความจำเป็นที่ควรจัดให้มีหลักสูตรการศึกษาวิชาการจดหมายเหตุในระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาวิชาชีพจดหมายเหตุในประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือจากนานาอารยประเทศ อีกทั้งเพื่อปลูกฝังให้ประเทศไทยได้รู้จักงานจดหมายเหตุ เข้าใจถึงคุณค่าและมีความหวงแหนเอกสารประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ในชั้นแรกหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้มอบหมายให้นักวิชาการที่มีความรู้และประสบการณ์ในงานจดหมายเหตุ ร่วมกันจัดทำเอกสารเรื่อง “วิชาการพื้นฐานการบริหารและจัดการจดหมายเหตุ” เพื่อเป็นเอกสารทางวิชาการสำหรับผู้ปฏิบัติงานจดหมายเหตุและผู้สนใจทั่วไป และได้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พร้อมทั้งจัดทำคู่มือเทคนิควิธีเกี่ยวกับกระบวนงานจดหมายเหตุ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องออกเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติยังจัดหลักสูตรการฝึกอบรมความรู้ด้านกระบวนงานจดหมายเหตุ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวตามความประสงค์ของผู้ขอรับการฝึกอบรม ทั้งที่เป็นหน่วยงาน ผู้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และผู้สนใจทั่วไปด้วย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระราชหฤทัยและทรงให้ความสำคัญในขั้นตอนการซ่อมอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุมากเป็นพิเศษ เพราะทรงเข้าพระราชหฤทัยในธรรมชาติของเอกสารจดหมายเหตุซึ่งเป็นของเก่า และมีอยู่เพียงชุดเดียวหรือมีเพียงจำนวนจำกัด แต่ต้องเก็บรักษาให้คงอยู่ตลอดไป จึงโปรดให้ผู้มีหน้าที่ดูแลหอพระสมุดส่วนพระองค์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มาเรียนวิธีซ่อมอนุรักษ์เอกสาร และหนังสือส่วนพระองค์อย่างง่ายๆ เพื่อนำความรู้ไปใช้ที่หอพระสมุดดังกล่าว ทรงแนะนำให้บรรณารักษ์หอสมุดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มาเรียนวิธีซ่อมอนุรักษ์เอกสารที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ รวมทั้งทรงนำนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ามาศึกษาดูงานที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติและหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติดำเนินการอนุรักษ์และซ่อมสงวนรักษาแผนที่โบราณในหอพระสมุดส่วนพระองค์ และพระราชทานความเห็นในการซ่อมเอกสารของหอจดหมายเหตุแห่งชาติว่า “หนังสือซ่อมแล้วทำให้เอกสารอ่านยาก เพราะกระดาษสาใช้เสริมความแข็งแรงของเอกสารเป็นกระดาษสาที่ผลิตในประเทศ กระดาษสามีความหนากว่ากระดาษสาของญี่ปุ่น แต่กระดาษสาของญี่ปุ่นมีราคาสูง”หอจดหมายเหตุแห่งชาติจึงได้ประสานกับบริษัทผู้ผลิตกระดาษสาให้พัฒนาปรับปรุงการผลิตกระดาษสาให้บางลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อีกทั้งให้มีสีหลากหลาย เพื่อให้พนักงานซ่อมเอกสารสามารถเลือกสีที่ใกล้เคียงกับสีของกระดาษของเอกสารที่จะซ่อมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้เอกสารที่ซ่อมแล้วอ่านได้ง่ายขึ้น และนำตัวอย่างกระดาษสาไทยไปให้หน่วยงานที่ผลิตกระดาษสาสำหรับการซ่อมอนุรักษ์ของญี่ปุ่นวิเคราะห์ ซึ่งทางหน่วยงานของญี่ปุ่นชื่นชมบริษัทผลิตกระดาษสาของไทยที่ผลิตกระดาษสาได้บางมาก แม้จะยังไม่เหนียวเท่ากระดาษสาของญี่ปุ่น เพราะกระดาษสาของญี่ปุ่นมีเยื่อกระดาษมากและยาวกว่ากระดาษสาของไทย ซึ่งอาจเนื่องมาจากดินที่ปลูกต้นปอสาที่ใช้ผลิต
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดนิทรรศการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติไม่น้อยกว่า ๑๑ ครั้ง ซึ่งทุกครั้งจะทรงตรัสถามถึงความเป็นอยู่ สุขภาพพลานามัยของเจ้าหน้าที่ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติด้วยความห่วงใย และมีพระเมตตาให้คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จัดทำโครงการตรวจและรักษาสุขภาพเจ้าหน้าที่ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๐ นอกจากนี้ ในการเสด็จพระราชดำเนินมาแต่ละครั้งได้มีพระราชดำริพร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานจดหมายเหตุอยู่เสมอ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้สนองพระราชดำริในด้านนี้ โดยได้จัดทำโครงการอ่านภาพเก่า โครงการประกวดภาพเก่า โครงการอวดภาพเก่า โครงการรวบรวมและรับบริจาคภาพจากบุคคลสำคัญ รวมทั้งการรับมอบภาพจากการประกวดภาพถ่ายของหน่วยงานต่างๆ
นอกจากเสด็จพระราชดำเนินเปิดนิทรรศการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และทรงประกอบพิธีเปิดหอจดหมายเหตุแห่งชาติในส่วนภูมิภาค เช่น ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอจดหมายเหตุนายรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๙ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๖ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิม พระเกียรติฯ ตรัง เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๖ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๖ และทรงประกอบพิธีเปิดหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓
ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะทรงกำหนดให้มีการศึกษาดูงานด้านจดหมายเหตุในหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินในแต่ละครั้งด้วยเสมอ ซึ่งเป็นการขยายองค์ความรู้ด้านจดหมายเหตุในพระองค์ และพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนางานจดหมายเหตุในประเทศไทย อาทิ ทรงเสนอให้จัดทำโครงการรวบรวมศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับประเทศไทยในต่างประเทศ หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้สนองแนวพระราชดำริในเรื่องนี้ ซึ่งในปัจจุบัน หอจดหมายเหตุแห่งชาติมีเอกสารที่เกี่ยวกับประเทศไทยจากประเทศต่างๆ อาทิ ประเทศออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โปรตุเกส ฝรั่งเศส เดนมาร์ก เบลเยี่ยม ไว้ให้บริการค้นคว้า
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนับสนุนและพระราชทานคำแนะนำในการปฏิบัติงานด้านจดหมายเหตุเสมอมา ซึ่งบรรดาข้าราชการและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทุกคนของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และซาบซึ้งในน้ำพระราชหฤทัยที่พระองค์ทรงห่วงใยอาทรบุคลากรและงานจดหมายเหตุ บุคลากรของ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทุกคนจึงร่วมใจกันมุ่งมั่นพัฒนาการบริหารจัดการงานจดหมายเหตุ การปฏิบัติงาน รวมทั้งให้การบริการเอกสารจดหมายเหตุให้ผู้มาใช้บริการได้รับความพึงพอใจและได้รับประโยชน์สูงสุด เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณอย่างเต็มกำลังความสามารถตลอดไป
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา เกิดขึ้นจากกรมศิลปากรขยายงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติออกไปสู่ส่วนภูมิภาคทั้ง ๑๒ เขตการศึกษา การจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติในเขตการศึกษาที่ ๓ ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา กรมศิลปากรพิจารณาว่าควรจัดตั้งขึ้นที่จังหวัดสงขลา และได้รับความร่วมมือจากนายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ (นายเคร่ง สุวรรณวงศ์) อนุญาตให้ใช้ที่ดินในบริเวณสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวน ๓ ไร่ เพื่อก่อสร้างอาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในการนี้ กรมศิลปากรได้รับพระมหากรุณาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้ชื่ออาคารนี้ว่า “หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา” เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารแห่งนี้เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๖
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลาปฏิบัติงานตามภารกิจหลักในการรับมอบ ติดตาม เเสวงหา และประเมินคุณค่าเพื่อการจัดเก็บ พัฒนา อนุรักษ์ เผยเเพร่เเละให้บริการเอกสารจดหมายเหตุประเภทต่าง ๆ บันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติ ภารกิจดังกล่าว หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ได้น้อมนำพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาใช้ปฏิบัติงาน ดังกระแสพระราชดำรัสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากภาพถ่ายเก่าและจัดทำคำบรรยายภาพที่เก็บรักษาเป็นหลักฐานด้านจดหมายเหตุในพิธีเปิดนิทรรศการ เรื่อง “สังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕” เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ ความว่า
“การจัดนิทรรศการอย่างนี้เป็นผลดีแน่ ภาพจดหมายเหตุจะสามารถเล่าเรื่องต่างๆ ได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยคำบรรยายมากนัก ขอแสดงความคิดเห็นบางประการ (เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ คงกำลังกระทำอยู่บ้างแล้ว)ถ้าทำได้ควรจะคอยสอดส่องหาภาพต่างๆ ในอดีตทั้งใกล้และไกลมาเก็บไว้อีก พยายามขอจากคนที่มีภาพ ถ้าเจ้าของไม่มอบให้เป็นสมบัติของหอจดหมายเหตุแห่งชาติก็พยายามขอยืมมาก๊อบปี้เอาไว้ ค่อยๆ ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภาพให้ดีที่สุด โดยค้นจากเอกสารและสอบถามจากผู้รู้เรื่องหลายๆ ท่าน สอบทานกัน”
ผู้แต่ง/ผู้แปล/ผู้เรียบเรียง : Author:
นายพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งแรก พุทธศักราช ๒๕๕๕ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม
ผู้พิมพ์ : Publisher:
กรมศิลปากร
ISBN:
978-616-283-026-6
ราคา : Price:
130
กรมศิลปากร จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง เมืองราดของพ่อขุนผาเมืองกรุงสุโขทัยและรอยเชื่อมในประวัติศาสตร์ไทย โดย มีนายพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากร เป็นบรรณาธิการและผู้เขียน พิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก พุทธศักราช ๒๕๕๕ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม จำหน่ายในราคาเล่มละ ๑๓๐ บาท เนื้อหาภายในหนังสือประกอบไปด้วยบทวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์สั้นๆใน ประเด็นที่ไม่ค่อยมีนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สนใจที่จะทำการศึกษาไว้ อย่างจริงจัง ซึ่งผู้เขียนก็ได้พยายามตั้งกรอบการศึกษาขึ้นมาโดยอ้างอิงหลักฐานทั้งทาง ด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์เป็นไปอย่างมีระเบียบและวิธีการ
เรื่องของพ่อขุนผาเมืองที่ยังมีความคลุมเครือว่าเคยมีอำนาจ อยู่ในดินแดนที่ต่อมาเป็นแคว้นสุโขทัยและต่อมาภายหลังตระกูลนี้หายไปอยู่ ที่ไหน รวมถึงเรื่องของสมเด็จพระรามาธิบดี (ที่ ๑) ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยานั้นมีเชื้อสายสืบมาจากที่ใด หนังสือเล่มนี้มีคำตอบที่ได้รับการวิเคราะห์และชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ของทั้งสองเรื่องไว้อย่างสมเหตุสมผล นอกจากนี้ในหนังสือเล่มนี้ยังได้วิเคราะห์ถึงที่ตั้งของเมืองราด หรือเมือง ทุ่งยั้งจากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการเป็นที่ตั้งของเมือง รวมไปถึงเรื่องเมืองราดและความเกี่ยวข้องกับการสถาปนากรุงศรีอยุธยา พร้อมภาพประกอบสี่สีของโบราณวัตถุรวมทั้งแผนที่แสดงที่ตั้งเมืองสำคัญใน ประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหนังสือเล่มนี้ ชวนให้น่าอ่าน น่าศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ที่สำคัญเมื่อได้อ่านแล้วลองพิจารณาร่วมกันว่าเมืองราดในบทวิเคราะห์ของผู้ เขียนนั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร
ผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อได้ ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ พระนคร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๐๙๓๔, ๐ ๒๒๒๔ ๒๐๕๐
ผู้แต่ง : ชฎารัตน์ สุนทรธรรม ปีที่พิมพ์ : 2541 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : นันทกานต์ กราฟฟิค ศิลปะการแต่งกาย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตของชาวเชียงใหม่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และรูปแบบการแต่งกายของเจ้านายฝ่ายเหนือในอดีต แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการการแต่งกายของชาวล้านนา ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาตามยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน และด้วยความวิริยะอุตสาหะของผู้รู้ นักวิชาการที่สนใจหลายท่านได้พยายามศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการแต่งกายแบบพื้นเมืองเชียงใหม่ และได้ดำเนินการรณรงค์การแต่งกายอย่างถูกต้องและเหมาะสมมาโดยตลอด
ขั้นตอนการส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์และขอทำลายเอกสารราชการ
การส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์และการทำลายข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่มีคุณค่า ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ ในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในวันหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงาน โดยเริ่มตั้งแต่การควบคุมการผลิตข้อมูลข่าวสารของราชการเท่าที่จำเป็น พร้อมทั้งจัดให้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารของราชการที่ดี สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารของราชการที่หมดความจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน และสามารถคัดเลือกเอกสารประวัติศาสตร์เพื่อส่งมอบให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ตลอดจนคัดเลือกเอกสารที่ไม่มีคุณค่าเพื่อขออนุมัติทำลายตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดได้อย่างเป็นระบบ
เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารงาน หน่วยงานของรัฐควรสำรวจข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษา เนื่องจากหมดความจำเป็นในการปฏิบัติงานและครบอายุการเก็บตามที่กฎหมายและระเบียบได้กำหนดไว้ โดยสำรวจทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรืออย่างน้อยทุก 6 เดือน ในกรณีข้อมูลข่าวสารลับ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐว่าจะดำเนินการสำรวจข้อมูลข่าวสารราชการในครั้งเดียวให้เสร็จสิ้นทั้งหน่วยงานหรือทยอยสำรวจทีละสำนัก กอง ฝ่าย งาน ก็ได้
การสำรวจข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยลดภาระการจัดเก็บและสถานที่เก็บ ตลอดจนการสิ้นเปลืองงบประมาณและบุคลากรโดยไม่จำเป็น หากหน่วยงานของรัฐดำเนินการสำรวจข้อมูลข่าวสารของราชการที่ครอบครองอยู่อย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการเพิ่มประสิทธิ์ภาพการทำงานและช่วยให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่สถานที่ทำงานด้วย
ในปัจจุบัน หน่วยงานของรัฐหลายแห่งไม่ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลข่าวสารของราชการที่หมดความจำเป็นในการใช้ปฏิบัติงานและครบอายุการเก็บตามที่กฎหมายและระเบียบได้กำหนดไว้ อาจเนื่องมาจากประเด็นปัญหาดังต่อไปนี้
กฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์ให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติ
หัวหน้าหน่วยงานของรัฐไม่ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารของราชการและไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์ให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
หน่วยงานของรัฐไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารของราชการโดยเฉพาะ และเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารของราชการ รวมถึงไม่ทราบอายุการเก็บข้อมูลข่าวสารของราชการแต่ละประเภท จึงไม่กล้าตัดสินใจด้วยเกรงความผิด ตลอดจนไม่เข้าใจขั้นตอนการดำเนินการที่ถูกต้อง
ดังนั้น นับจากวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี หน่วยงานของรัฐควรสำรวจข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานไม่ประสงค์จะเก็บรักษา เนื่องจากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เพื่อการปฏิบัติงาน เพื่อคัดแยกและจัดการข้อมูลข่าวสารของราชการที่หมดความจำเป็นต้องใช้เพื่อการปฏิบัติงานออกไปจากวัสดุครุภัณฑ์ที่เก็บเดิม และเพื่อเป็นการจัดเตรียมวัสดุครุภัณฑ์ที่มีอยู่ให้พร้อมสำหรับจัดเก็บข้อมูลข่าวสารของราชการที่จะจัดทำขึ้นหรือรับไว้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในปีปัจจุบันต่อไป
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐมีแนวทางปฏิบัติที่สามารถดำเนินการส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์และทำลายข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่มีคุณค่า จึงสรุปขั้นตอนการดำเนินการโดยประมวลจากกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้ดังนี้
1. ภายใน 60 วันหลังสิ้นปีปฏิทิน ให้หน่วยงานสำรวจข้อมูลข่าวสารที่ไม่ประสงค์จะเก็บรักษาและครบอายุการเก็บ โดยพิจารณาจากกฎหมาย ระเบียบ หนังสือเวียน ตารางกำหนดอายุเอกสาร ความจำเป็นในการใช้งาน ฯลฯ
2. จัดทำบัญชีสำรวจ อาทิ บัญชีเอกสารประวัติศาสตร์ บัญชีเอกสารสำรวจข้อมูลข่าวสารที่ไม่ประสงค์จะเก็บรักษา บัญชีสำรวจข้อมูลข่าวสารครอบอายุการเก็บ 75 ปี บัญชีสำรวจข้อมูลข่าวสารลับ ฯลฯ
3. เสนอผลการสำรวจให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณา
4. แต่งตั้งคณะกรรมการทำลายเอกสาร อย่างน้อย 3 คน
4.1 กรณีข้อมูลข่าวสารปกติ
ให้แต่งตั้งข้าราชการระดับปฏิบัติการหรือปฏิบัติงานขึ้นไป ประกอบด้วย ประธาน 1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน มีหน้าที่
-พิจารณารายการตามบัญชีสำรวจเอกสารประวัติศาสตร์และบัญชีสำรวจข้อมูลข่าวสารที่ไม่ประสงค์จะเก็บรักษา
-พิจารณาขอขยายเวลาเก็บรักษา
-พิจารณาขอทำความตกลงทำลายข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีคุณค่า
-รายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ เพื่อพิจารณาสั่งการ
-ควบคุมการส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์
-ควบคุมการทำลายข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีคุณค่า
4.2 กรณีข้อมูลข่าวสารลับ
ให้แต่งตั้งนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับเป็นประธานกรรมการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 2 คน เป็นกรรมการ มีหน้าที่
-พิจารณารายการตามบัญชีสำรวจข้อมูลข่าวสารลับ ข้อมูลข่าวสารครบอายุเก็บ 75 ปี ข้อมูลข่าวสารครบอายุเก็บ 20 ปี
-พิจารณาขอขยายเวลาเก็บรักษา
-พิจารณาขอทำความตกลงเพื่อจัดเก็บเอกสาร
-พิจารณาขอขยายเวลาไม่เปิดเผยเอกสาร
-รายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อพิจารณาสั่งการ
-ควบคุมการส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์
-ควบคุมการทำลาย
-จดแจ้งในทะเบียนควบคุมข้อมูลข่าวสารลับ
-จัดทำใบรับรองการทำลายข้อมูลข่าวสารลับเก็บรักษาไว้ 1 ปี
-รายงานผลการทำลายให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ
5. คณะกรรมการทำลายเอกสารพิจารณาตามรายการในบัญชี6. หัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาสั่งการ
6.1 พิจารณาตามรายงานที่คณะกรรมการเสนอ (กรณีข้อมูลข่าวสารปกติ)
-เห็นชอบให้ส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์
-เห็นชอบให้ทำลาย
-ไม่เห็นชอบ สั่งขยายเวลาเก็บรักษา
-เห็นชอบให้ทำความตกลงการทำลายเป็นหลักการ
6.2 พิจารณาตามรายงานที่คณะกรรมการเสนอ (กรณีข้อมูลข่าวสารลับ)
-เห็นชอบให้ทำลาย
-ไม่เห็นชอบ สั่งขยายเวลาเก็บรักษา
-ไม่เห็นชอบ สั่งขยายระยะเวลาแบบไม่เปิดเผย
-เห็นชอบให้ทำความตกลงการทำลายเป็นหลักการ
-เห็นชอบให้ทำความตกลงของเก็บรักษาไว้เอง และไม่ให้บริการค้นคว้าแก่ประชาชน
7. กรณีพิจารณาเห็นชอบให้ส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์หรือเห็นชอบให้ทำลาย ให้ส่งบัญชีสำรวจข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่ประสงค์จะเก็บรักษา บัญชีสำรวจข้อมูลข่าวสารลับ หรือบัญชีสำรวจพร้อมเอกสารประวัติศาสตร์ ให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
8. หอจดหมายเหตุแห่งชาติพิจารณาขอสงวนเอกสารประวัติศาสตร์หรือเห็นชอบให้ทำลาย
9. กรณีพิจารณาขอสงวน หอจดหมายเหตุแห่งชาติจะแจ้งให้หน่วยงานส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์ โดยหลังรับเอกสารประวัติศาสตร์แล้ว จะตรวจรับและแจ้งผลให้หน่วยงานทราบ
10. คณะกรรมการทำลายเอกสารดำเนินการทำลายข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่มีคุณค่าโดยการเผา ขาย หรือย่อยเป็นเศษกระดาษ กรณีเป็นเอกสารลับ ให้จดแจ้งในทะเบียนควบคุมข้อมูลข่าวสารลับ และจัดทำใบรับรองการทำลายข้อมูลข่าวสารลับ
11. รายงานผลการทำลายเอกสารให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. 2549. การส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์และการทำลายข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่มีคุณค่า, กรุงเทพฯ : บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.