ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
วัดโตนดหลาย โบราณสถานที่ปรากฎเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ในย่านภาคกลาง
วัดโตนดหลาย ตั้งอยู่ที่ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท แผนผังของวัดนั้นวางตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก - ตะวันตก ซึ่งวิหารของวัดโตนดหลาย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในกำแพงแก้วของวัดโตนดหลาย ปรากฎศาสนสถานอันประกอบไปด้วย เจดีย์ประธาน วิหาร เจดีย์ราย และมณฑป
โบราณสถานแห่งนี้มีความเฉพาะพิเศษ คือ มีเจดีย์อันเป็นประธานของวัดเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรืออีกชื่อคือทรงดอกบัวตูม ซึ่งเป็นรูปแบบเจดีย์ในศิลปะสุโขทัย แม้จะมีรายละเอียดของรูปแบบงานศิลปกรรมที่ต่างไปจากเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ที่พบภายในอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยอยู่บ้าง แต่ก็ยังแสดงถึงแรงบันดาลใจทางศิลปะที่ถ่ายทอดถึงกันอย่างชัดเจน
ส่วนยอดเดิมของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์วัดโตนดหลายนั้นหักหายไป ต่อมาจึงมีการบูรณะต่อเติมตามหลักการอนุรักษ์เพื่อให้เจดีย์วัดโตนดหลายมีรูปแบบที่สมบูรณ์ให้มากที่สุด
จากการขุดแต่งและขุดค้นทางโบราณคดี ณ วัดโตนดหลาย แห่งนี้ ได้พบโบราณวัตถุที่เป็นหลักฐานบอกเล่าถึงการใช้พื้นที่บริเวณโบราณสถานแห่งนี้ในอดีต ซึ่งพบหลักฐานว่ามีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่ ทวารวดี เพราะได้พบโบราณวัตถุประเภทหม้อก้นกลม ปากผายออก เนื้อดินผสมกรวด ทราย แกลบข้าว ผิวภาชนะมีสีเหลืองนวล ขึ้นรูปภาชนะด้วยมือ ซึ่งเป็นรูปแบบภาชนะที่ได้จากการเผากลางแจ้ง และยังพบภาชนะดินเผาแบบหม้อมีสันก้นตื้น ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ลายเส้นขนาน และลายขูดขีด โดยภาชนะรูปแบบนี้ เป็นที่นิยมในกลุ่มสังคมวัฒนธรรมทวารวดี เช่น ที่บ้านคู่เมือง อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี บ้านท่าแค อ.เมือง จ.ลพบุรี บ้านจันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
นอกจากนี้ในการขุดแต่งยังพบหม้อมีพวย ที่มีลักษณะคล้ายกับหม้อมีพวยที่พบในชุมชนและเมืองโบราณสมัยทวารวดีทั่วไปเช่นกัน
ในส่วนชั้นดินด้านบนที่อยู่เหนือชั้นดินในวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเป็นชั้นดินที่ร่วมสมัยกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ได้พบเศษภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาบ้านบางปูน จังหวัดสุพรรณบุรี กับเศษภาชนะดินเผาเคลือบเขียวจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย และเครื่องถ้วยเวียดนาม ที่กำหนดอายุได้อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จึงสันนิษฐานอายุของวัดโตนดหลายนี้ไว้ได้ว่าสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และยังแสดงถึงแรงบันดาลใจในการก่อสร้างที่มาจากทางสุโขทัย อีกด้วย
กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานแห่งนี้ ๒ ครั้ง โดยครั้งแรก ได้ขุดแต่งบูรณะในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ถัดมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงมีการขุดแต่งและขุดค้นทางโบราณคดีอีกครั้งหนึ่ง
หนังสือ คำไหว้พระธาตุ นครศรีธรรมราช
อะหัง วันทามิ ทุรโต
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิ สัพพะโส
อิติปิ โส วิเสเส อิ อิเสเสพุทธนาเมอิ
อิ เม นาพุทธตังโสอิ อิโส ตัง พุทธ ปิ ติ อิ
อิติ ปารมิตาติงสา อิติ สัพพัญญู มาคตา
อิติ โพธิ มนุปปัตโต อิติ ปิ โส จเต นโม
พุทธาติจโจ มหาเตโช ธัมมจันโท รสาหโร
สังฆตารคโณ เสฏโฐ อัมเห รักขันตุ สัพพทา ฯ
สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิย ตถาคโต
สิทธิเตโช ชโย นิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตรัง
สัพพกัมมัง ปสิทธิ เม สัพพสิทธิ ภวันตุ เม
บทบูชาพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ในหนังสือ “คำไหว้พระธาตุ นครศรีธรรมราช” ของหอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ซึ่งปริวรรตมาเป็นอักษรไทยในปัจจุบัน จากเอกสารโบราณคัมภีร์ใบลาน สมบัติของพิพิธภัณฑ์วัดพัทธสีมา ตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งบรรพชนได้จารไว้ด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี-ไทย
นอกจากนี้ ภายในหนังสือ คำไหว้พระธาตุนครศรีธรรมราช ยังมีเนื้อหาที่น่าสนใจและทรงคุณค่าอีกมากมาย ได้แก่ คำนอบน้อมพระพุทธเจ้า บทไหว้พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ คำนอบน้อมต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าประจำทิศทั้งสิบ พระอริยสาวก บทบูชาพระสาวก ๘๐ รูป พระพุทธเจ้าในอนาคต และบทไหว้พระธาตุ (พระบรมสารีริกธาตุ) เป็นต้น
หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ภาคภูมิใจที่ได้นำมรดก ทรัพย์สินทางปัญญาของบรรพชนมายืดอายุ สร้างสรรค์ ต่อยอด เพิ่มคุณค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่อนุชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะได้มีส่วนช่วยปกป้อง คุ้มครอง อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและของประเทศชาติโดยเฉพาะเอกสารโบราณที่บรรพชนได้สร้างสรรค์ไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
รวบรวมโดย. นายสมยศ พูนพนัง นายช่างศิลป์ชำนาญงาน หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
อ้างอิง. หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช. คำไหว้พระธาตุนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช ; หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช, 2555.
เวียงแก้ว หมายถึง เวียงของกษัตริย์ หรือเขตพระราชฐานที่ประทับของกษัตริย์ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมือง ภายในประกอบด้วยอาคารหลายหลังมีหน้าที่ใช้สอยแตกต่างกัน เวียงแก้วมีมาตั้งแต่ยุคต้นของเมืองเชียงใหม่ และในยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ พญากาวิละได้สร้างหอคำหรือคุ้มหลวงอยู่ในบริเวณเวียงแก้ว เดิมเรียกว่า “คุ้มเวียงแก้ว” และได้เป็นที่ประทับของกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ สืบเนื่องยาวนานมาถึงสมัยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๘ แห่งราชวงศ์ทิพยจักร นับได้ว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์เชียงใหม่องค์สุดท้ายที่มีความเกี่ยวข้องกับเวียงแก้ว โดยพระองค์ได้มอบพื้นที่เวียงแก้วให้ทางการสยามนำไปสร้างเป็นเรือนจำ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๖ เรื่อยมาจนกระทั่งกรมราชทัณฑ์ได้ย้ายนักโทษหญิงออกจากทัณฑสถานหญิงเดิมที่สร้างบนพื้นที่เวียงแก้วในพุทธศักราช ๒๕๕๕ ไปตั้งในพื้นที่แห่งใหม่ที่ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ถึงปัจจุบัน ภายหลังจากที่ทัณฑสถานหญิงเดิมได้ย้ายออกไปตั้งในที่แห่งใหม่แล้ว ประชาชนชาวเชียงใหม่จำนวนมากได้มีการลงประชามติให้มีการปรับปรุงพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเดิมให้เป็นพื้นที่สาธารณะ และฟื้นฟูเวียงแก้วซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ เพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ล้านนาโดยปัจจุบัน สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้ทำการขุดค้นทางโบราณคดี เพื่อศึกษาหลักฐานการตั้งอยู่รวมถึงพัฒนาการของเวียงแก้ว ประกอบกับการศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ล้านนา ส่งผลให้ปัจจุบันการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเวียงแก้วเป็นสิ่งที่ชาวเชียงใหม่หลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ผลการดำเนินงานด้านวิชาการโบราณคดีพบหลักฐานเครื่องถ้วยจำนวนมาก ที่สะท้อนให้เห็นพัฒนาการของเวียงแก้วผ่านเครื่องถ้วยต่างๆ ที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีเวียงแก้ว เพราะเครื่องถ้วยเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญที่สามารถกำหนดอายุสมัยโดยใช้การเปรียบเทียบ เครื่องถ้วยจีนที่ในแต่ละแหล่งเตาที่จะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัยของจักรพรรดิพระองค์นั้นๆ หรือเครื่องถ้วยล้านนาจากแหล่งผลิตต่างๆ ก็มีเอกลักษณ์จนสามารถระบุความสัมพันธ์ของเมืองเชียงใหม่กับเมืองที่เป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยเหล่านั้น จึงเป็นที่น่าสนใจหากจะศึกษาพัฒนาการแต่ละยุคสมัยของเวียงแก้ว รวมถึงศึกษาการติดต่อสัมพันธ์กับบ้านเมืองอื่น ๆ ผ่านหลักฐานประเภทเครื่องถ้วย โดยนำมาเทียบกับหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าชมสามารถเข้าใจประวัติศาสตร์และพัฒนาการของเวียงแก้วได้มากยิ่งขึ้น การขุดค้นทางโบราณคดีในเวียงแก้ว “เวียงแก้ว” เป็นชื่อเขตพระราชฐานของกษัตริย์ล้านนาที่อยู่ในสำนึกของชาวเชียงใหม่มาช้านานแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ล้านนาต่างให้ความสำคัญกับพื้นที่แห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใกล้ใจกลางเมืองเชียงใหม่ ซึ่งตามความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ไทนับได้ว่าเป็นพื้นที่สำคัญอันเป็นเสมือน “หัวใจ” หรือ “หลักเมือง” ภายหลังจากทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ที่เดิมตั้งอยู่ในพื้นที่ของเวียงแก้วได้ย้ายออกไปตั้งยังสถานที่แห่งใหม่บนถนนโชตนา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ชาวเชียงใหม่และกลุ่มนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ล้านนาต่างตื่นตัวที่จะเรียกร้องให้มีการรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ออกทั้งหมด โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ชาวเชียงใหม่ได้ทำประชาพิจารณ์ให้มีการปรับปรุงพื้นที่ทัณฑสถานเดิมนี้ให้กลายเป็นสวนสาธารณะ โดยมีจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้ควบคุมดูแลงบประมาณและการก่อสร้าง ภายใต้ชื่อ “โครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้ว” ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน ๙๕ ล้านบาท โดยมีกำหนดเริ่มต้นดำเนินโครงการเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓ - ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕ อย่างไรก็ตาม การจะสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่บนสถานที่ที่คาดว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาก่อนนั้นยังไม่สามารถทำได้โดยทันที เพราะต้องมีการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเสียก่อน เพื่อยืนยันถึงการมีอยู่จริงของเวียงแก้ว และป้องกันมิให้เกิดการทำลายหลักฐานที่อาจมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมาก การดำเนินงานด้านโบราณคดีในเวียงแก้ว เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาโครงการข่วงหลวงเวียงแก้วของจังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมการขุดค้น การดำเนินงานทางโบราณคดี แบ่งออกเป็น ๒ ระยะ ดังนี้ ระยะที่ ๑ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐ ทำการขุดค้นและขุดแต่งในพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเดิม พื้นที่บางส่วนของสำนักงานยาสูบ (เดิมเป็นคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ แก้วมุงเมือง) และพื้นที่บ้านพักผู้บัญชาการเรือนจำเดิม ซึ่งบริเวณเหล่านี้เมื่อนำมาเทียบกับแผนที่เมืองเชียงใหม่ที่จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ก็พบว่าตรงกับพื้นที่สี่เหลี่ยมด้านทิศใต้ของเวียงแก้ว ระยะที่ ๒ เริ่มช่วงเดือนกันยายน ๒๕๖๓ - เดือนมีนาคม ๒๕๖๔ เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องภายหลังจากการรื้อถอนอาคารของทัณฑสถานหญิงเดิมรุ่นหลังบางอาคารที่ทับกับหลักฐานแนวอิฐที่พบจากการขุดค้นในระยะที่ ๑ จากการดำเนินงานตลอดปี พ.ศ. ๒๕๕๙ - เดือนมีนาคม ๒๕๖๔ พบหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเวียงแก้ว ได้แก่ แนวอิฐที่ก่อเป็นกำแพงและฐานรากอาคาร ที่บ่งบอกถึงลำดับการก่อสร้างภายในเวียงแก้วมาตั้งแต่สมัยล้านนา (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒) โดยสันนิษฐานว่า การสร้างเวียงแก้วน่าจะเริ่มจากบริเวณพื้นที่สี่เหลี่ยมด้านทิศตะวันออกก่อน แล้วจึงปรับเปลี่ยน ขยับขยายพื้นที่เรื่อยมาหลายยุคสมัยจนกระทั่งมีลักษณะดังเช่นปัจจุบัน นอกเหนือจากหลักฐานสำคัญอย่างแนวกำแพงและฐานรากอาคารแล้ว หลักฐานโบราณวัตถุที่พบจากการขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดีในเวียงแก้วก็มีความสำคัญเช่นกัน โดยโบราณวัตถุที่พบนั้นมีจำนวนนับหมื่นชิ้น ส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผาแบบเนื้อดิน อาทิ ครก สาก หินบดยา เครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งจากแหล่งเตาในล้านนาและท้องถิ่น รวมไปถึงเครื่องถ้วยจากต่างประเทศ ทั้งเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน หมิง และชิง แม้กระทั่งเครื่องถ้วยจากประเทศญี่ปุ่นและเวียดนามก็พบในแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เช่นกัน การดำเนินงานขณะนี้ยังคงอยู่ในระหว่างการวิเคราะห์โบราณวัตถุ หากมีการวิเคราะห์เสร็จสิ้นแล้วก็จะช่วยให้มองเห็นภาพพัฒนาการของเวียงแก้วได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การดำเนินงานขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดีได้เสร็จสิ้นลงแล้ว เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา โดยทางสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้ทำการขุดค้น ขุดแต่งจนถึงชั้นดินพื้นที่ใช้งานเดิมสมัยล้านนา และทำการรื้อถอนอาคารทัณฑสถานเดิมออกบางส่วน เหลือเพียงอาคารที่ยังคงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านการศาลไว้ ๓ หลัง คือ อาคารบัญชาการ เรือนเพ็ญ และอาคารแว่นแก้ว รวมไปถึงป้อมปราการด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้และกำแพงเรือนจำบางส่วนเท่านั้น ขณะที่แนวอิฐที่เป็นกำแพงเวียงแก้วและฐานรากอาคารต่างๆ ที่ขุดค้นพบ จะทำการถมกลับไว้ เพื่อป้องกันการถูกทำลายจากปัจจัยต่างๆ และจะทำการขุดเปิดอีกครั้งเมื่อมีแผนการปรับปรุงพื้นที่ตามโครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้วของจังหวัดเชียงใหม่ในอนาคต เครื่องถ้วยที่จัดแสดงในนิทรรศการ ๑. เครื่องถ้วยจีน ได้แก่ - สมัยราชวงศ์หยวน ได้แก่ กลุ่มเครื่องถ้วยลายคราม เขียนสีนํ้าเงินใต้เคลือบ และกลุ่มเครื่องเคลือบสีเขียวภาพ : เครื่องถ้วยจีนจากราชวงศ์หยวน (ซ้ายมือ) และราชวงศ์ชิง (ขวามือ) - สมัยราชวงศ์หมิง ได้แก่ กลุ่มเครื่องถ้วยเคลือบสีนํ้าเงิน จากแหล่งเตาเต๋อฮั่ว มณฑลฝูเจี้ยน กลุ่มเครื่องถ้วยลายคราม เขียนสีนํ้าเงินใต้เคลือบ จากแหล่งเตาจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเจียงซี และเตาในมณฑลฝูเจี้ยน ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยเคลือบสีเขียว จากแหล่งเตาฉือเส้า มณฑลฝูเจี้ยน เครื่องถ้วยเขียนสีบนเคลือบ จากแหล่งเตาจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเจียงซีภาพ : เครื่องถ้วยจีนราชวงศ์หมิง - สมัยราชวงศ์ชิง ได้แก่ เครื่องถ้วยลายคราม เขียนสีนํ้าเงินใต้เคลือบ สมัยราชวงศ์ชิง แหล่งเตาเต๋อฮั้ว มณฑลฝูเจี้ยน และแหล่งเตาจิ่งเจ๋อเจิ้น มณฑลเจียงซี - สมัยสาธารณรัฐจีน ได้แก่ กระปุกเคลือบสีนํ้าตาล แหล่งเตาจิโจว และเศษเครื่องถ้วยเขียนสีบนเคลือบ หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ชามตราไก่” จากแหล่งเตาต้าปู้ มณฑลกว่างตง และเครื่องถ้วยเขียนสีนํ้าเงินใต้เคลือบภาพ ; เครื่องถ้วยจีนสมัยสาธารณรัฐ (ซ้าย) และเครื่องถ้วยจากเวียดนามและญี่ปุ่น (ขวา) ๒. กลุ่มเครื่องถ้วยแหล่งเตาล้านนา/ท้องถิ่น อาทิ เบี้ยขุดลายจากแหล่งเตาพะเยา (เวียงบัว) ก้นภาชนะเขียนลายสีดำบนพื้นขาวจากแหล่งเตาสุโขทัย เครื่องถ้วยเคลือบสีเขียวขุดลายจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย เครื่องถ้วยเคลือบสีขาว และเขียนสีดำบนพื้นขาวใต้เคลือบจากแหล่งเตาเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย เครื่องถ้วยเคลือบสีเขียวจากแหล่งเตาสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ตุ๊กตาดินเผาเคลือบสีเขียว ชิ้นส่วนพระพุทธรูปดินเผา รวมถึงภาชนะดินเผาเนื้อดินที่ผลิตในแหล่งเตาท้องถิ่น เช่น กุณฑี (คนโท) ตะคันดินเผา หม้อปากผายออกขนาดเล็ก และครกดินเผา ครกหิน และสาก ที่ได้จากการขุดค้นในแหล่งโบราณคดีเวียงแก้วด้วยภาพ : เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาในล้านนาและภาคเหนือภาพ : กุณฑี (คนโท) และภาชนะดินเผาเนื้อดินชนิดอื่นๆ ที่พบในแหล่งโบราณคดีเวียงแก้วภาพ : ครกดินเผา ครกหิน และสาก ๓. กลุ่มเครื่องถ้วยจากประเทศเวียดนาม และญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องถ้วยเคลือบสีเขียว และเขียนสีนํ้าเงินใต้เคลือบจากประเทศเวียดนาม ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยเขียนสีแดงลายโชกุน สมัยเอโดะ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยพิมพ์ลายสีนํ้าเงินใต้เคลือบ สมัยเมจิ - ไทโช และแจกันเขียนลายสีนํ้าเงินและทอง ราวสมัยเมจิ จากประเทศญี่ปุ่น นิทรรศการเครื่องถ้วยเวียงแก้วครั้งนี้ ได้นำเอาเครื่องถ้วยที่ได้จากการขุดค้นพบในแหล่งโบราณคดีเวียงแก้ว มาจัดลำดับตามอายุสมัยของเครื่องถ้วย เทียบกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเวียงแก้วจากหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ โดยนำเสนอในรูปแบบของไทม์ไลน์ เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถเข้าใจบริบทของเครื่องถ้วยที่พบในเวียงแก้วได้มากยิ่งขึ้น นิทรรศการพิเศษ เรื่อง "เครื่องถ้วยเวียงแก้ว จากวัตถุสู่พัฒนาการวังหลวงแห่งเวียงเชียงใหม่" จัดแสดงระหว่างวันที่ ๑ กันยายน - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ อาคารจัดแสดงชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๓๒๒ ๑๓๐๘
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ขอเชิญร่วมกิจกรรม
“รถพิพิธภัณฑ์สัญจร : Mobile Museum” นิทรรศการด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ จัดแสดงโบราณวัตถุจำลองและวีดิทัศน์เสริมสร้างความรู้ พร้อมกิจกรรมเรียนรู้ภาชนะดินเผาโบราณจากจิ๊กซอว์สามมิติ
ณ มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564
ระหว่างวันที่ 9 - 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9.00 - 19.00 น.
อาคาร 9 - 12 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี
กดติดตามข่าวสารและกิจกรรมต่างๆได้ที่
Facebook Page : https://www.facebook.com/MobileMuseumThailand
Website : https://www.finearts.go.th/thailandmuseum
IG : mobilemuseumthailand
และร่วมแชร์ภาพกิจกรรมได้ที่ #MobileMuseumThailand
ชื่อเรื่อง บทละครนอก เรื่องไชยเชษฐ์ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีเลขหมู่ 895.9112 พ835บทสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ บริษัทประเสริฐธนกิจ จำกัดปีที่พิมพ์ 2500ลักษณะวัสดุ 94 หน้า หัวเรื่อง บทละครไทยภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกบทละครนอกพระราชนิพนธ์เรื่องไชยเชษฐ์กล่าวถึงเรื่องต้นก่อนตอนที่ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละคร มีทั้งหมด 4 ตอน
ชื่อเรื่อง สมภมิต (สมพระมีต)
สพ.บ. 360/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.184/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 5.5 x 54 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 106 (117-122) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : ปาจิตฺติยปาลิ มหาริภงฺคปาลิ(พระปาจิตตีย์)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.253/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 4 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : พฺรหฺมทตฺตชาดก(พรหมทัตต์)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เค้าสนามหลวงหลังจากเชียงใหม่ขับไล่พม่าออกจากเมืองได้สำเร็จ ภายใต้การสวามิภักดิ์และความร่วมมือของพระยาจ่าบ้านและเจ้ากาวิละ (โอรสเจ้าฟ้านครลำปาง) เชียงใหม่จึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยามในฐานะเมืองประเทศราช เมื่อพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองเชียงใหม่ถึงแก่กรรมลง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้แต่งตั้งพระเจ้ากาวิละขึ้นปกครองนครเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละทรงฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่จากการเป็นบ้านเมืองร้าง ให้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทรงฟื้นฟูระบบการปกครองล้านนาให้มีเอกภาพดังเดิม มีการแต่งตั้งเสนาบดี ๔ ตำแหน่งเช่นเดียวกับขุนนางจตุสดมภ์ของส่วนกลาง และเค้าสนามหลวง เพื่อทำหน้าที่ถวายข้อคิดเห็นตามที่มีทรงหารือ คำว่า “เค้าสนามหลวง” หรือ “เค้าสนาม” ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุและหนังสือทั่วไป (เรียกชื่ออื่นได้ว่า ข่วง ข่วงสนาม หรือสนาม) ซึ่งคำนี้เป็นคำในภาษาถิ่นพายัพและเป็นคำโบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใดราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า เค้าสนามหลวง (ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สำนักผู้ปกครองบ้านเมือง ที่ว่าราชการเมือง คณะผู้ว่าการบ้านเมืองซึ่งประกอบด้วย เจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมืองข้าหลวงประจำนครหรือเมือง ซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของเมือง เค้าสนาม ก็ว่า อรวรรณ ภิรมจิตรผ่อง (อ้างถึง สินชัย กระบวนแสง, ๒๕๔๕) อธิบายคำว่า เค้าสนาม ว่า เป็นชื่อเรียกคณะบุคคลคณะหนึ่งที่ทำงานสำคัญต่าง ๆ ถวายพระเจ้าเชียงใหม่ วรชาติ มีชูบท อธิบายคำว่า เค้าสนามหลวง หรือที่ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียงว่า เก๊าสนามหลวง หรือ เก๊าสนาม นั้น คือ องค์คณะขุนนางผู้ทำหน้าที่บริหารราชการบ้านเมือง เปรียบได้กับเสนาบดีจตุสดมภ์และลูกขุน ณ ศาลา และลูกขุน ณ ศาลหลวง จินตนา กิจมี กล่าวถึงพื้นที่บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ว่า “...เดิมเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๖ ถึงเจ้าเทพไกรสร พระธิดา ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ ซึ่งทรงใช้เป็น “หอคำ” ซึ่งอยู่ในบริเวณคุ้มกลางเวียง หรือ “เค้าสนามหลวง” สำนักผู้ปกครองบ้านเมือง หรือที่ว่าราชการเมืองในสมัยนั้น...” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีนโยบายรวมหัวเมืองประเทศราชเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูปการปกครองในหัวเมืองฝ่ายเหนือ อันประกอบด้วย เมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน และเมืองลำปางขึ้นเป็นหัวเมืองลาวเฉียง โดยทรงแต่งตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ไปบัญชาการการปฏิรูป ซึ่งทรงมีนโยบายปรับปรุงรูปแบบการปกครองให้มีความสอดคล้องกับการปกครองตามประเพณีเดิม โดยคงเค้าสนามไว้ แต่ตั้งกรมใหม่ขึ้น ๖ กรม ได้แก่ กรมมหาดไทย กรมทหาร กรมคลัง กรมยุติธรรม กรมวัง และกรมนา มีตำแหน่งเสนาทำหน้าที่เป็นเจ้ากรมเค้าสนาม มีหน้าที่คัดเลือกเจ้านายท้องถิ่น ขุนนางท้องถิ่น มาดำรงตำแหน่งเสนา เสนารอง แล้วเสนอให้พระเจ้าเชียงใหม่ทรงแต่งตั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล เชียงใหม่ยังคงใช้ระบบปกครองให้สอดคล้องกับประเพณีเดิม โดยมีเค้าสนามเป็นคณะกรรมการบริหารและเสนา ๖ ตำแหน่งตามเดิม แต่ได้ยุบตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมไป จนตำแหน่งเค้าสนามและเสนาทั้ง ๖ หมดไป ในส่วนของเอกสารจดหมายเหตุ พบในเอกสารสำคัญหลายฉบับที่ระบุถึงคณะทำงาน “เค้าสนามหลวง” ยกตัวอย่างเช่น เอกสารที่กล่าวถึงการเสด็จฯ นครเชียงใหม่ชั่วคราวของเจ้าดารารัศมี ในปี ร.ศ. ๑๒๗ – ๑๒๘ (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๑) พบว่า เมื่อมีคำสั่งเรื่องการเสด็จนครเชียงใหม่ของพระนางเจ้าดารารัศมี ทางส่วนราชการได้มอบหมายให้คณะทำงานเค้าสนามหลวง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำการรับเสด็จอย่างสมพระเกียรติ คณะทำงานเค้าสนามหลวง จึงได้สั่งการแก่กองตำรวจภูธรนครเชียงใหม่เรื่องการรับเสด็จและการจัดริ้วกระบวนดำเนินการต่อไป ผู้เรียบเรียง: นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ และนางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ อ้างอิง: ๑. กรมศิลปากร. ๒๕๖๐. ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๒๓ จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗). ๒. จินตนา กิจมี. ๒๕๖๒. “เค้าสนามหลวง.” ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บรรณาธิการ). เชียงใหม่ นครแห่งอมต. เชียงใหม่: บริษัท วิทอินดีไซน์ จำกัด, ๖๕-๗๒.๓. ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๕๔. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น.๔. วรชาติ มีชูบท. ๒๕๕๖. เจ้านายฝ่ายเหนือและตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพมหานคร: เอ.พี.กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์.๕. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. เอกสารการจัดเตรียมต้อนรับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เสด็จกลับเมืองเชียงใหม่ ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๕๑-๒๔๕๒. ๖. อรวรรณ ภิรมจิตรผ่อง. ๒๕๖๑. “เค้าสนามหรือเค้าสนามหลวง.” เดลินิวส์ (๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑): ๒๓.