ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ
ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระนี้ เป็นบทประพันธ์ ของเสฐียร โกเศศ ซึ่งเป็นผู้เรียบเรียงได้อนุญาตให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่ได้
๑. ชื่อโครงการ โครงการจัดนิทรรศการถาวร เรื่อง “ประเทศไทยแดนแห่งพุทธธรรม สายสัมพันธ์ไทย-ลังกา” เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงเป็น
ทูตสันถวไมตรีกับนานาประเทศ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๘
๒.๒ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
ระหว่างประเทศไทยและประเทศศรีลังกา ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๘
๒.๓ เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมของไทยในระดับสากล
๓. กำหนดเวลา วันที่ ๓ – ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙
๔. สถานที่ พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ (International Buddhist Museum of
Sri Dalada Maligawa) เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา
๕. หน่วยงานผู้จัด สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำนักโบราณคดี
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
๖. หน่วยงานสนับสนุน กระทรวงการต่างประเทศ
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา
สถานเอกอัครราชทูตศรีลังกา ประจำประเทศไทย
๗. กิจกรรม
ปรับปรุงนิทรรศการชั่วคราวที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติให้เป็น
นิทรรศการถาวร เรื่อง “ประเทศไทยแดนแห่งพุทธธรรม สายสัมพันธ์ไทย-ลังกา” จัดแสดงในห้องพระพุทธศาสนาไทย พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา วันที่ ๓ – ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙ ใช้งบประมาณในเดินทางไปราชการ ณ ประเทศศรีลังกา เป็นเงิน ๒๕๙,๔๒๙.๐๘ บาท (สองแสนห้าหมื่นเก้ากันสี่ร้อยยี่สิบเก้าบาทแปดสตางค์)
๑. เบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปี ๒๕๕๘ โครงการจัดนิทรรศการถาวร เรื่อง “ประเทศไทยแดนแห่งพุทธธรรม สายสัมพันธ์ไทย-ลังกา” ณ ห้องพระพุทธศาสนาไทย พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา (งบประมาณกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ผูกพัน)
เป็นเงิน ๒๓๕,๓๙๐.๖๗ บาท (สองแสนสามหมื่นห้าพันสามร้อยเก้าสิบบาทหกสิบเจ็ดสตางต์)
๒. เบิกจ่ายจากงบประมารของกลุ่มแผนงาน โครงการ และวิเทศสัมพันธ์ เป็นเงิน
๒๔,๑๐๑.๔๑ บาท (สองหมื่นสี่พันหนึ่งร้อยหนึ่งบาทสี่สิบเอ็ดสตางค์)
๘. คณะผู้แทนไทย
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าไป
กำกับดูแล และดำเนินการปรับปรุงการจัดแสดง ณ ห้องพระพุทธศาสนาไทย พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา คณะทำงานประกอบด้วย
๑) นายพนมบุตร จันทรโชติ ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
๒) นายธนากร กำทรัพย์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กองโบราณคดี
๓) นายสุทธิศักดิ์ อรุณศรี นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ
๔) นางสาววัชรี ชมภู ภัณฑารักษ์ชำนาญการ
๕) นางสาววิภารัตน์ ประดิษฐอาชีพ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ
๖) นายธีรศักดิ์ แป้นรส นักวิชาการช่างศิลป์ปฏิบัติการ
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
ความเป็นมาของโครงการ
ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ ฯพณฯ ท่านเอกอัครราชทูตศรีลังกา H.E.Mr. Jayaratna Banda
DISANAYAKA ได้ขอให้กรมศิลปากร จัดหาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เป็นพระพุทธรูปเพื่อร่วมจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ (International Buddhist Museum) ภายในบริเวณวัดพระทันตธาตุ (วัดพระเขี้ยวแก้ว) เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา กรมศิลปากรได้มอบหมายให้สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินการคัดเลือกพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย เชียงแสน ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา อู่ทอง และรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นศิลปวัตถุ รวม ๑๑ องค์ ในราคาประเมิน ๑,๑๐๐ บาท ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕มาตรา ๑๘ ความว่า “ถ้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุใดมีเหมือนกันอยู่มากเกินต้องการ อธิบดีจะอนุญาตให้โอนโดยวิธีขายหรือแลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์แห่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ...” ให้กับเอกอัครราชทูตศรีลังกาเป็นผู้รับมอบเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ เพื่อนำไปจัดแสดงยังพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวตามคำขอ
ต่อมากรมศิลปากร ได้รับแจ้งจากกระทรวงการต่างประเทศว่า วัดพระทันตธาตุ (วัดพระเขี้ยวแก้ว) เร่งรัดให้กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรไทยประจำกรุงโคลัมโบ ดำเนินการจัดทำนิทรรศการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย โดยใช้ศิลปวัตถุทั้ง ๑๑ ชิ้นที่กรมศิลปากรได้มอบให้วัดพระทันตธาตุไปแล้ว เพื่อให้ทันการจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ ๒,๖๐๐ ปี วันที่องค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือวันวิสาขบูชา ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ กระทรวงการต่างประเทศจึงจำเป็นต้องตั้งงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำนิทรรศการ และขอให้กรมศิลปากรดำเนินการออกแบบ จัดทำนิทรรศการชั่วคราวประกอบโบราณวัตถุ ๑๑ ชิ้น เพื่อให้สามารถทันการจัดงานเปิดนิทรรศการในวันวิสาขบูชา เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔
ด้วยงบประมาณและเวลาที่จำกัด กรมศิลปากรจึงได้จัดทำชุดนิทรรศการชั่วคราวสำเร็จรูป (knock down) เพื่อสามารถนำไปประกอบการจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวให้ทันพิธีเปิดงานเฉลิมฉลองดังกล่าว อย่างไรก็ดี ทางวัดพระทันตธาตุ และพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ ได้เรียกร้องที่จะให้มีการปรับปรุงการจัดนิทรรศการถาวรอย่างสมบูรณ์แบบ แต่กระทรวงการต่างประเทศของไทยยังมิได้ตั้งงบประมาณไว้แต่อย่างใด
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร เห็นว่าการปรับปรุงนิทรรศการให้เป็น
นิทรรศการถาวรที่สมบูรณ์จะเป็นการเผยแพร่เกียรติภูมิของประเทศไทย จึงได้จัดทำ โครงการปรับปรุงนิทรรศการ “ประเทศไทยแดนแห่งพุทธธรรม” (Thailand: Land of Buddha Dhamma) ณ ห้องพระพุทธศาสนาไทย พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา นี้ขึ้น เพื่อสามารถนำไปจัดให้ทันงานวันวิสาขบูชาของประเทศศรีลังกาในเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
พุทธศักราช ๒๕๕๗ อธิบดีกรมศิลปากรได้เดินทางไปเยี่ยมชมนิทรรศการพระพุทธศาสนา ณ
พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา และได้กำหนดแนวทางในการจัดนิทรรศการเพื่อเป็นการสืบสานสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศศรีลังกาในฐานะมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ซึ่งในปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ ตรงกับวโรกาสอันเป็นมงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา และครบรอบ ๖๐ ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและประเทศศรีลังกา กรมศิลปากรจึงจัดทำโครงการจัดนิทรรศการถาวร เรื่อง “ประเทศไทยแดนแห่งพุทธธรรม สายสัมพันธ์ไทย-ลังกา” ขึ้น ณ ห้องพระพุทธศาสนาไทย พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงเป็นทูตสันถวไมตรีกับนานาประเทศ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา และเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและประเทศศรีลังกา
ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ
๑. การเตรียมการก่อนการจัดนิทรรศการ
๑.๑ จัดประชุมคณะทำงานการปรับปรุงนิทรรศการ “ประเทศไทยแดนแห่งพุทธธรรม”
ประกอบด้วยข้าราชการจากสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ได้แก่
๑.๒ วางแผนการดำเนินงานและออกแบบปรับปรุงนิทรรศการ โดยคณะทำงานร่วมกันระหว่างสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำนักสถาปัตยกรรม และกองโบราณคดี โดยมอบหมายให้นางสาววัชรี ชมภู ภัณฑารักษ์ชำนาญการ จัดทำบทจัดแสดงและเนื้อหาการจัดแสดง นางสาวบุษกร ลิมจิตติ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมัณฑนศิลป์ เป็นผู้ออกแบบนิทรรศการ
๒. การจัดทำชุดนิทรรศการพิเศษตามแผนงาน และแบบนิทรรศการที่กำหนดไว้
เป็นการจ้างเหมาโดยวิธีพิเศษ ผู้รับจ้างคือ บริษัทดี ทู เกรท จำกัด ดำเนินการจัดแสดงวัสดุ
อุปกรณ์ และวัตถุในการจัดแสดงทั้งหมดโดยทางเรือ และรถ ส่งตรงถึงพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่จากสถานเอกอัครราชทูตไปไทย ณ กรุง โคลอมโบ ประสานงานในการรับพัสดุที่จัดส่ง
๓. การจัดพิมพ์แผ่นพับประกอบนิทรรศการ
จัดพิมพ์แผ่นพับประกอบนิทรรศการจำนวน ๔,๐๐๐ แผ่น เพื่อเผยแพร่ความรู้ และมอบ
ให้กับพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา
๔. การกำกับดูแล และดำเนินการปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการ ณ ห้องพระพุทธศาสนาไทย พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา
๔.๑ การเดินทางของคณะทำงาน
วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๙ คณะทำงานประกอบด้วยข้าราชจำนวน ๖ ราย ข้างต้น และเจ้าหน้าที่จากบริษัทดี ทู เกรท ๑๒ ราย ได้เดินทางโดยการบินไทย เที่ยวบิน TG 307 เวลา ๒๒.๑๕ น. จากสนามบินสุวรรณภูมิ ถึงสนามบินบันดาราเนยเก เมืองโคลอมโบ เวลา ๐๐.๑๐ น. (ตามเวลาท้องถิ่น) และเดินทางไปยังเมืองแคนดี้ เข้าพักที่โรงแรมโฮโซ
ระหว่างการทำงานที่เมืองแคนดี วันที่ ๔ – ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙ คณะทำงานได้เข้าพักที่โรงแรมโฮโซ เมืองแคนดี
วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙ คณะทำงานได้เดินทางจากเมืองแคนดี เข้าเมืองโคลอมโบ เพื่อเดินทางกลับประเทศไทย โดยการบินไทยเที่ยวบิน TG 308 เวลา ๑.๓๐ น. (วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙) ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย เวลา ๖.๔๕ น.
๔.๒ การกำกับดูแล และดำเนินการปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการ
มีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
๑) แกะกล่องพัสดุที่ส่งมาจากประเทศไทย ได้แก่ วัตถุจัดแสดง แผงบอร์ด ตู้ แท่น ฐาน พร้อมครอบอะคริลิค โมเดล และป้ายนิทรรศการ
๒) รื้อ แผงบอร์ด ตู้ แท่น ฐาน เดิมออกเพื่อจัดวางและติดตั้งแผงบอร์ด ตู้ แท่น ฐานชุดใหม่แทนที่
๓) จัดวางและติดตั้งแผงบอร์ด ตู้ แท่น ฐานชุดใหม่
๔) จัดวางวัตถุจัดแสดง ตามส่วนจัดแสดงที่ได้กำหนดไว้ตามแบบจัดแสดง
๕) ติดตั้งแผ่นป้ายนิทรรศการตามแผงบอร์ดที่กำหนดไว้ตามแบบจัดแสดง
๖) จัดวางป้ายประจำวัตถุตามวัตถุจัดแสดงที่กำหนดไว้ตามแบบจัดแสดง
๗) ปรับและติดตั้งระบบแสงสว่างเพิ่มเติมโดยเน้นที่ไฮไลต์ และวัตถุจัดแสดงตามส่วนจัดแสดงที่กำหนดไว้ตามแบบจัดแสดง
ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการ คณะทำงานได้รับความอนุเคราะห์จาก Mr. Gamini Bandara ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ เมืองแคนดี จัดเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการปรับปรุง และติดตั้งนิทรรศการ
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
๑๐.๑ พิพิธภัณฑสถานแห่งนี้เป็นสถานที่รวบรวมและเผยแพร่เรื่องราวทั้งอดีตจวบจนปัจจุบัน พุทธศิลป์รูปแบบต่างๆ ตลอดจนประเพณี พิธีกรรมที่สำคัญและน่าสนใจยิ่งของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจำนวนถึง ๑๘ ประเทศ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดแห่งแรกของโลก
เลขทะเบียน : นพ.บ.7/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 5 (47-61) ผูก 5หัวเรื่อง : อัพภันตรนิทาน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.30/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 16 (175-181) ผูก 5หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาธมฺม --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.54/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.8 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 35 (353-358) ผูก 3หัวเรื่อง : วิธูรบัณฑิต --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : เวนิสวานิช เรื่องลครเริงรมย์
ชื่อผู้แต่ง : เชคส์เปียร์, วิลเลี่ยม
ปีที่พิมพ์ : 2459
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.
จำนวนหน้า : 200 หน้า
สาระสังเขป : เวนิสวานิช เป็นบทละครของวิลเลียม เชกสเปียร์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นกลอนบทละคร กล่าวถึงอันโตนิโยพ่อค้าแห่งเมืองเวนิสที่ต้องหาเงินให้เพื่อนสนิทชื่อบัสสานิโย เพื่อใช้เดินทางไปเมืองเบลมอนต์เพื่อพบนางเปอร์เชียคนรัก จึงไปขอยืมเงินไชล็อก พ่อค้าเงินกู้ โดยมีเงื่อนไขว่า หากอันโตนิโยหาเงินมาคืนภายใน 3 เดือนไม่ได้ จะขอเนื้อ 1 ปอนด์จากร่างกายอันโตนิโย เมื่อนำเงินมาคืนไชล็อกกลับอยากแก้แค้นอันโตนิโยจึงเล่นแง่จนเป็นคดีความ สุดท้ายมีคำสั่งตัดสินว่า ไชล็อกสามารถตัดเนื้อไปจากร่างกายอันโตนิโยได้ แต่ห้ามนำเลือดจากตัวอันโตนิโยไปแม้แต่หยดเดียวเพราะนั่นไม่มีในสัญญา
1. ตำราดูฤกษ์ยามและทิศทางในการปลูกเรือน เช่น ปลูกต้นไม้, ขุดหลุมปลูกเรือน, ขึ้นเสาเอก, ทิศทางของประตู ฯลฯ 2. ตำราทำนายฝัน 3. ยันต์และเวทน์มนต์คาถา อักษรขอม ภาษาบาลี เช่น เสกขี้ผึ้ง ลงหวาย, คาถากันขโมย, คาถาแคล้วคลาด, ทำเสน่ห์ ฯลฯ
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ประมวลบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคปกิรณกะ. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2494. เนื้อหาในตอนต้นกล่าวถึงประวัติของพลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ) จากนั้นจึงเป็นเนื้อหาของบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ ลัทธิเอาอย่าง โคลนติดล้อ ความเข้าใจผิด ความเห็นเอกชน ขอความเมตตา ความเป็นชาติโดยแม้จริง เครื่องหมายแห่งความรุ่งเรืองคือสภาพแห่งสตรี พระยากัลยาณไมตรี การเสด็จจากพระนคร กิจการของแบงก์ย่อย ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ และประโยชน์แห่งถนนในหัวเมือง เป็นต้น
ชื่อเรื่อง : โวหารโบราณ (เพลงละอ่อน, ปริศนา-คำทาย, คำอู้บ่าว-อู้สาว, สุภาษิต)
ผู้แต่ง : อุดม รุ่งเรืองศรี
ปีที่พิมพ์ : 2554
สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่
สำนักพิมพ์ : มิ่งเมือง 2795