ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ


กฐินพระราชทาน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ วัดบูรพาภิราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด    จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคปัจจัยได้ที่ เลขที่ ๐๕๐ - ๕๗๐ - ๓๔๕ - ๕๙๐ ชื่อบัญชี “การกุศลกรมศิลปากร ประเภทเงินฝากออมทรัพย์” ธนาคารออมสิน สาขาหน้าพระลาน


ชื่อเรื่อง: วัธนธัมไทย เรื่อง ภาพเมืองไทย ผู้แต่ง: สำนักนายกรัถมนตรีปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๘๖สถานที่พิมพ์: ม.ป.ทสำนักพิมพ์: ม.ป.พจำนวนหน้า:  ๑๕๖ หน้า เนื้อหา: สำนักนายกรัถมนตรี จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่วัธนธัมของไทยในทุกสาขา อาทิ ประวัติศาสตร์ไทย พระราชสถาน การเล่นพื้นเมือง การดนตรี      ละคอนไทย สิ่งของไนพิพิธภันท พระพุทธรูป สมุดไทย ตู้พระธัม การอาชีพ ลายผ้า ความอุดมสมบูรน์ของประเทสบ้านเมืองไทย เป็นต้น เนื่องในโอกาสงานฉลองวันชาติ พ.ศ. ๒๔๘๖ เรื่อง ภาพเมืองไทย เป็นเรื่องหนึ่งของหนังสือชุด "วัธนธัมไทย" กล่าวถึงประวัติศาสตร์ชนชาติไทย ลักษณะของคนไทย ภูมิประเทส ทิวทัสน์ตามธัมชาติ บทประพันธ์เรื่อง งามของถิ่นไทยงาม พร้อมภาพประกอบและคำอธิบาย เช่น ภาพประชาชนเคารพทงชาติที่หน้ากรมไปรสนียโทรเลข ปรางค์วัดอรุนราชวราราม ธนบุรี สพานทางรถไฟสายเหนือ พิธีแห่ปราสาทผึ้งในแม่น้ำโขง หนองคาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีภาพของประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สภาพบนดอยเหมย เชียงตุง ตลาดพระตะบอง แก่งลีผี นครจัมปาสักติ เพื่อให้ผู้ที่ศึกษา ค้นคว้า ได้เห็นภาพเมืองไทยในด้านต่างๆ และมอบเป็นมรดกทางวัฒนธรรมให้อนุชนรุ่นหลังของชาติได้รักษาสืบต่อกันไปเลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๒๗๓ เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๒๖หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (ไฟล์ดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์เท่านั้น)


จารึกสด๊กก๊อกธม หลักที่ 2 ไปชมกันได้เลยค่าาาา  หลักศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม หลักที่ 2 เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร มีทั้งหมด 4 ด้าน ด้านที่ 1 มี 60 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 77 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 84 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 118 บรรทัด ตัวจารึกทำจากหินชนวน กว้าง 43 เซนติเมตร หนา 32 เซนติเมตร สูง 191เซนติเมตร รูปทรงสี่เหลี่ยม จารึกถูกสร้างขึ้นในปีมหาศักราช 974 หรือ พุทธศักราช 1595 ในสมัยพระเจ้าเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ 2 จารึกดังกล่าวถูกค้นพบที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว โดยถูกกล่าวถึงครั้งแรกในบทความ La stêle de Sdok Kâk Thôm โดยนายเอเตียน แอโมนีเย (Etienne Aymonier) ในพุทธศักราช ๒๔๔๔ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๖๓ ร้อยตำรวจเอก หลวงชาญนิคมได้เข้ามาสำรวจปราสาทสด๊กก๊อกธม จึงได้ทำสำเนาจารึกซึ่งตั้งอยู่หน้าปราสาทเก็บไว้ จากนั้นในพุทธศักราช 2472 จารึกสด๊กก๊อกธม 2 จึงถูกขนย้ายเข้าสู่พระนคร (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน) และเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนพุทธศักราช 2561 จึงนำมาจัดแสดงที่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี


         เทวรูปสูริยะ          พุทธศตวรรษที่ ๑๓ (ประมาณ ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)          ได้มาจากเมืองศรีเทพ ตำบลนาตะกรุด (ปัจจุบันคือ ตำบลศรีเทพ) อำเภอวิเชียร จังหวัดเพชรบูรณ์ คณะกรมการจังหวัดเพชรบูรณ์ส่งมาให้เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑          ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          แท่งศิลาแกะสลักรูปบุคคลปรากฏส่วนพระเศียรทรงกิรีฏมกุฎ (หมวกทรงกระบอก) ประดับตาบรูปทรงสามเหลี่ยมจำนวน ๓ ตาบ ตกแต่งเป็นลายกระหนกผักกูด กึ่งกลางตาบประดับเม็ดพลอย พระพักตร์รูปไข่ พระเนตรเปิดมองตรง พระกรรณยาวประดับกุณฑล พระวรกายแตกชำรุดหักหาย          ประติมากรรมชิ้นนี้มีลักษณะที่สำคัญคือการทรงกิรีฏมกุฎ (หมวกทรงกระบอก) ซึ่งมักปรากฏกับประติมากรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีสถานะเป็นผู้นำ อาทิ พระวิษณุ พระสุริยะ และพระอินทร์ ขณะที่การประดับลวดลายกระหนกผักกูดบนหมวกดังกล่าว ได้มีการศึกษาแล้วว่าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งรับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียมาอีกทอดหนึ่ง นอกจากนี้ในพื้นที่เมืองศรีเทพยังพบประติมากรรมบางชิ้นตกแต่งกิรีฏมกุฎด้วยลายกระหนกผักกาด ซึ่งเป็นลวดลายที่นิยมตกแต่งในงานประติมากรรมศิลปะเขมรแบบไพรกเมง-กำพงพระ (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔)* จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนว่าวัฒนธรรมในพื้นที่เมืองศรีเทพ ปรากฏทั้งรูปแบบศิลปกรรมทวารวดีและเขมรก่อนเมืองพระนครในช่วงเวลาดังกล่าว          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีลายพระหัตถ์ถึงหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙** กล่าวถึงประติมากรรมองค์นี้ว่า          “...ฉันได้รับจดหมายลงวันที่ ๕ กับรูปฉายเครื่องศิลาที่พบใหม่ที่เมืองศรีเทพนั้นแล้ว พิจารณาดูรูปฉายรูปอื่น ๆ เป็นของแบบขอมไม่สู้อัศจรรย์ มีดีอยู่รูป ๑ ที่เป็นหัวคนติดอยู่กับแท่งศิลา จะแกะกับศิลานั้นหรือใครเอาไปติดไว้กับเสาศิลาพิจารณาดูในรูปรู้ไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดีหน้าภาพดูเป็นสมัยก่อนขอม งามดีด้วย เมื่อเอาลงมาควรห่อหุ้มระวังอย่าให้มาชำรุดกลางทาง เอาลงมาทั้งติดแท่งศิลาอยู่อย่างนั้น ถ้าเป็นของแกะกับแท่งศิลาจะเป็นของแปลกวิเศษที่นับเป็นศิริของพิพิธภัณฑสถานฯ ได้ชิ้น ๑ ถึงเป็นของทำเข้าติดไว้กับแท่งศิลา ถ้าติดอย่างนั้นแต่โบราณ ก็ควรตั้งไว้ทั้งแท่งศิลาอย่างเช่นฉายรูป ดูเข้าทีดี...”     *อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน : เชษฐ์ ติงสัญชลี. บทบาทของศิลปะอินเดียต่อเครื่องแต่งกายประติมากรรมบุคคลในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๖๒. **ขณะนั้นพระองค์ประทับอยู่ ณ เกาะปีนัง (Penang) ประเทศมาเลเซีย     อ้างอิง เชษฐ์ ติงสัญชลี. บทบาทของศิลปะอินเดียต่อเครื่องแต่งกายประติมากรรมบุคคลในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๖๒. เชษฐ์ ติงสัญชลี. มุทรา ท่าทาง เครื่องทรง สิ่งของ รูปเคารพในศาสนาพุทธ เชน ฮินดู. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๕. บริบาลบุรีภัณฑ์. หลวง, เรื่องโบราณคดี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ, ๒๕๓๑. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) ท.ช., ท.ม., ต.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑).


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “อยากรู้เรื่องเมืองน่าน ต้องมาเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน” วิทยากร นางสาวชลลดา สังวร หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น.           ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร






ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.41 เวชศาสตร์ _ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ              35; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ตำรายาแผนโบราณ                       ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 9 ส.ค.2538


คำถามพรบ คอมพิวเตอร์ ทดสอบ .................................................................................................................................................................


           สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ โดยกลุ่มแปลและเรียบเรียง กำหนดจัดกิจกรรมประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช 2567 "เอกสารล้ำค่า จารึกสยาม (Priceless Documents of Siam)" พบกับการเสวนาทางวิชาการเรื่อง "เล่าขานประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารต่างประเทศ" วิทยากรโดย นางสาวนันทพร บันลือสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มแปลและเรียบเรียง นางสาวรัตติกาล สร้อยทอง นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ นางสาวกมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ และดำเนินรายการโดย นางสาวพัชรา สุขเกษม นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ ในวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร             ผู้สนใจสามารถลงทะเบียน (google form) ได้ทางลิ้งนี้ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSf4XtnVyyntZjB8eHnwNgeyjcbK_rL9-4rFLdSgDLpWMjDzHA/viewform?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0F7_hs-pKERHbcv5b7qV8VH4eM5GYZZ98fqYfLPX_2YVQbC4ZZKvcLwak_aem_tRg_6G2wX3I5H9-pzV3o2w สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2164 2501 - 2 ต่อ 6090 หรือติดตามรับชมการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม  



           สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2567 กิจกรรม NLT Edutainment ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2 รับฟังการเสวนา เรื่อง “เล่าประสบการณ์... จากบรรณารักษ์สู่นักเขียน” วิทยากรโดย นางสาวเก็จกาญจน์ คุ้มพวง นักเขียน (ผู้เข้ารอบ 8 คนสุดท้าย รางวัลชมนาด ปี 2566) ดำเนินรายการโดย นายสุวิชา โพธิ์คำ บรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ในวันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น. ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคาร 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ และยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live : National Library of Thailand ได้ในวันและเวลาดังกล่าว https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand



ชื่อเรื่อง                    พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (นิทานทองอิน ภาคที่ 2)ผู้แต่ง                       หอสมุดแห่งชาติประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ขนมธรรมเนียม ประเพณี คติชนวิทยาเลขหมู่                      398.2 ม113ปสถานที่พิมพ์               หอสมุดแห่งชาติสำนักพิมพ์                 กรุงเทพการพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2506ลักษณะวัสดุ               118 หน้า หัวเรื่อง                     นิทานภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในงานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระ 60 ปี นับตั้งแต่วันพระบรมราชาภิเษก หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากรจึงได้จัดนิทรรศการและรวบรวมบรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ของพระองค์ทั้งที่เป็นหนังสือและบทความในวารสารต่าง ๆ เช่น ดุสิตสมิต  ทวีปัญญา เป็นต้น โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ อาทิเช่น บทละคร  นิทานสอนใจและนวนิยาย ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยว เป็นต้น


Messenger