ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,380 รายการ

องค์ความรู้ เรื่อง พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย


ผู้แต่ง : พระณรงค์วิชิต (จอน บุนนาค) ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2501 หมายเหตุ : หม่อมราชวงศ์ พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต พิมพ์สนองรพระเดชพระคุณในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี               เป็นบันทึกของพระวิชิตณรงค์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งตรีทูต จดไว้เมื่อคราว    โปรดฯให้พระยาศรีพิพัฒน์เป็นราชทูตออกไปเจริญทางพระราชไมตรียังราชสำนักพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ในสมัยรัชชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2404 เนื้อความแบ่งออกเป็นตอนๆ ดังนี้ ตอนที่ 1 กล่าวถึงการเดินทางออกจากรุงเทพฯถึงสิงคโปร์ ตอนที่ 2    การเดินทางจากสิงคโปร์จนถึงเกาะลังกา ตอนที่ 3 ออกเดินทางจากเกาะลังกาถึงเมืองเอเดน ตอนที่ 4 ออกเดินทางจากเมืองเอเดนถึงเมืองไกโรและเมืองอาเล็กซันดรี ตอนที่ 5 ออกเดินทางจากเมืองอาเล็กซานดรี ถึงเมืองตุลน เมืองมาเซ เมืองไลยอน และเมืองปารีส ตอนที่ 6 กล่าวถึงราชทูตเข้าเฝ้าเอมเปอเรอฝรั่งเศส ตอนที่ 7 กล่าวถึงการเที่ยวดูสถานที่ต่าง ๆ


          เครื่องทำเสียงสัญญาณสำหรับแขวนคอวัวควาย ทำด้วยโลหะ รูปร่างคล้ายระฆังแต่เป็นสี่เหลี่ยม ด้านบนโค้งมน มีหูสำรับสอดไม้แขวนลอยอยู่ระหว่างขาไม้โค้ง ซึ่งตั้งอยู่บนฐานไม้           ผางลางใช้วางไว้บนหลังวัวหรือเกวียนเล่มแรกของขบวนขนส่งสินค้า เพื่อให้เกิดเสียงดัง เช่นเดียวกับกระดิ่งหรือกะลอที่แขวนคอวัว แต่ผางลางจะมีเสียงก้องกังวานไปไกล เป็นสัญญาณให้ขบวนวัวที่อยู่ถัดไปตามได้ถูกทางและรู้ตำแหน่งของหัวหน้าขบวนหรือผู้นำทางของตน           ในกองคาราวานของพ่อค้าวัวต่างมักประกอบด้วยพ่อค้าวัวต่าง ๓-๕ คน พ่อค้าแต่ละคนอาจมีวัวต่างของตัวเอง ๑๐-๖๐ ตัวโดยอาจว่าจ้างคนในหมู่บ้านหรือพี่น้องเครือญาติช่วยควบคุมวัวของตนเอง ในการเดินทางขบวนวัวต่างมักเดินตามกันเป็นแถว โดยวัวตัวที่นำหน้าอาจมีผางลางวางบนหลัง หรือมีกระดิ่งแขวนไว้ที่คอ เพื่อเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากองคาราวานเดินทางไปถึงไหน และยังเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากองคาราวานได้เดินทางมาถึงหมู่บ้านแล้ว หลังเสร็จสิ้นภารกิจในการเดินทางแต่ละวัน พ่อค้าวัวต่างต้องหยุดพักที่ปาง โดยต้องเลือกทำเลที่มีหญ้า มีน้ำ อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ราบหรือพื้นที่ที่ค่อนข้างโล่งปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายและสัตว์ป่า มีการจัดเวรยามเพื่อเฝ้าระวังอันตราย -----------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน -----------------------------------------------เอกสารอ้างอิง พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน : รศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ สนพ.เมืองโบราณ รายงานการวิจัยเรื่องพ่อค้าวัวต่าง : ชูสิทธิ์ ชูชาติ ศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น, ๒๕๔๕


ลวดลายปูนปั้นที่ถูกขุดพบในเวียงกุมกามมักเป็นการพบชิ้นส่วนขนาดเล็ก ลายส่วนใหญ่เป็นลายประดับของเจดีย์ทรงปราสาท มีส่วนน้อยที่ประดับตามอาคารประเภทอื่น ลายปูนปั้นที่ยังคงหลงเหลือประดับตามโบราณสถานต่างๆ ในเวียงกุมกามเหลือเพียงไม่กี่แห่ง ได้แก่ วัดกู่คำ (เจดีย์เหลี่ยม) วัดกู่ขาว วัดปู่เปี้ย วัดหัวหนอง วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดพญามังราย วัดกู่ป้าด้อม ที่ฐานชุกชีวัดหนานช้าง ลวดลายปูนปั้นสามารถจำแนกได้ ดังนี้        ลายกระหนก                 เป็นรูปแบบในโครงสามเหลี่ยม ลายกระหนกในล้านนาเริ่มปรากฎหลักฐานโดยเกี่ยวข้องกับศิลปะแบบมอญ เช่นกระหนกที่เจดีย์วัดกู่กุด กระหนกที่เจดีย์วัดป่าสักเชียงแสน กระหนกในเวียงกุมกามน่าจะเป็นกระหนกที่เกิดจากสายพัฒนาการของศิลปะล้านนา รูปแบบที่เก่า ได้แก่ กระหนกประกอบลายดอกไม้ในกรอบช่องกระจกที่ฐานวิหารวัดพระเจ้าองค์ดำ หรือกระหนกปลายกรอบซุ้มจระนำวัดต้นข่อย กระหนกทั้งสองเกิดจากการปั้นปูนเป็นวงโค้งติดกับพื้น จากนั้นใช้นิ้วกดและรีดเนื้อปูนให้ยกขึ้น ต่อหัวขมวดอย่างคร่าวๆ โดยกำหนดอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑                ลายกระหนกที่ปลายกรอบซุ้มจระนำวัดปู่เปี้ย หรือกระหนกที่วัดหัวหนอง มีวิธีที่ถูกพัฒนาต่อเนื่องลงมา คือมีการยกเนื้อปูนสูงขึ้นมาก มีการสะบัดพริ้วที่ปลายมาก คล้ายได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน กระหนกลักษณะนี้สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เพราะอาคารหลายแห่งที่สร้างราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ มีการประดับด้วยกระหนกลักษณะนี้ เช่น การประดับซุ้มโขงที่วัดเจ็ดยอด กระหนกเจดีย์วัดปันสาท เป็นต้น        ลายกาบและลายประจำยามอก                 ลายกาบคือลายในทรงสามเหลี่ยมที่ประดับตามมุมเสา กาบที่ประดับด้านบนของเหลี่ยมเสาปลายแหลมของกาบชี้ลง เรียกว่า กาบบน หรือบัวคอเสื้อ กาบที่ประดับโคนเสาปลายแหลมของกาบที่ชี้ลงด้านล่าง เรียกว่า กาบล่าง และหากตรงกลางเสามีลายรัดที่เกิดจากกาบบนและกาบล่างมาผสมกันเรียกว่าประจำยามอก                 ประจำยามที่พบจากการขุดแต่งเจดีย์วัดกู่อ้ายหลาน น่าจะมีรูปแบบที่เก่าสุดในเวียงกุมกาม จากลักษณะของประจำยามตรงกึ่งกลางของประจำยามเป็นรูปวงกลม ทั้งสี่ด้านเป็นรูปกลีบบัว กลีบบัวมีความนูนหนา และขีดรอบวงโค้งในกลีบ รอบกลีบเป็นหัวขมวดอย่างคร่าวๆ มีความคล้ายคึงกับกลีบบัวที่ประจำยามวัดป่าสักเชียงแสน ประจำยามที่วัดกู่อ้ายหลานน่าจะอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๑                 ประจำยามอกที่ท้องไม้ฐานปัทม์เจดีย์วัดกู่ขาว กรอบของประจำยามเป็นวงโค้งหลายวงต่อเนื่องกัน ภายในมีหลายวงกลมขนาดใหญ่เป็นประธานล้อมรอบด้วยลายเม็ดกลมและตัวเหงา พื้นที่ว่างภายในกรอบประดับด้วยลายกระหนกและลายหงส์แบบจีน                  ลายกาบที่เจดีย์ทรงปราสาทใกล้ฐานเจดีย์ประธานวัดหนานช้าง เป็นลายกาบที่มีกรอบโค้งหยัก แต่หลักฐานที่เหลืออยู่ไม่มีรูปทรงที่สมบูรณ์ แต่คาดว่าน่าจะเป็นทรงกลีบบัวโค้งหยัก เช่นลายกลีบบัวที่ประดับโขงวัดชมพู เชียงใหม่ กำหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓        ลายประเภทกรอบคดโค้ง                 ในเวียงกุมกามพบหลักฐานเหลือเพียงสี่แห่ง คือ ที่ฐานวิหารวัดพระเจ้าองค์ดำ หัวเสาซุ้มจระนำเจดีย์วัดพญามังราย ซุ้มโขงวัดหัวหนอง ฐานชุกชีบนวิหารวัดหนานช้าง ลายกรอบคดโค้งที่วัดพญามังรายและวัดพระเจ้าองค์ดำ มีลักษณะใกล้เคียงกันมากกับลายดอกไม้ที่ประดับเจดีย์วิหารในวัดเจ็ดยอด ซึ่งกำหนดอายุไว้ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑        ลายกลีบบัว                 ที่เจดีย์วัดกู่อ้ายหลาน ได้พบลายกลีบบัวประดับปากระฆัง ลักษณะเป็นกลีบบัวเกลี้ยง ประกอบด้วยเส้นโค้งสองวงมาบรรจบกัน ภายในกลีบวงโค้ง ที่เกิดจากการขูดเอาเนื้อปูนออกโดยรอบมีหัวขมวดขึ้น ซึ่งแตกต่างไปจากกลีบบัวที่วัดป่าสัก                กลีบบัวที่ฐานชุกชีวิหารวัดกู่ป้าด้อม มีทั้งกลีบบัวคว่ำ บัวหงาย และกลีบแทรก ซึ่งมีลักษณะเดียวกับกลีบบัวที่ประดับเจดีย์วัดป่าสัก แต่กลีบบัวที่ฐานชุกชีวิหารวัดกู่ป้าด้อมเป็นกลีบบัวเกลี้ยงไม่มีรายละเอียดประกอบ                กลีบบัวที่ฐานชุกชีวัดกู่ขาว ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว ลักษณะเป็นกลีบบัวโค้งเรียบที่เกิดจากการปั้นเส้นปูนมาวางเป็นวงโค้งบรรจบกันเป็นปลายแหลมภายในประดับลายกระหนก  ที่มาข้อมูล  : จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา, ประวัติศาสตร์แะศิลปกรรมเวียงกุมกาม : ตะวัน วีระกุล, วัดเวียงกุมกาม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร  ที่มารูปภาพ : เวียงกุมกาม รายงานการขุดค้นขุดแต่งศึกษาและการบูรณะโบรารณสถาน หน่วยศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ กองโบราณคดี พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๒


ชื่อเรื่อง                           เทศนาวิภังค์-มหาปัฏฐานสพ.บ.                                  195/7ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 55.1 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี    


เจดีย์ช้างล้อม หลักฐานการสร้างประติมากรรมรูปช้างประดับที่ฐานเจดีย์นั้น พบครั้งแรกที่สถูปรุวันเวลิ ในประเทศศรีลังกา ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๔ ตรงกับสมัยอนุราธปุระ สร้างโดยพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย เมื่อครั้งที่พระองค์ชนะการกระทำยุทธหัตถีดับพระเจ้าเอฬาร กษัตริย์ทมิฬ ซึ่งเชื่อว่าเจดีย์/สถูปองค์นี้เป็นต้นแบบในการสร้งเจดีย์ช้างล้อมในดินแดนประเทศไทย คติการสร้างเจดีย์ช้างล้อมนี้ มี ๒ แนวทาง คือ ๑. สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการชนะการทำสงคราม โดยเฉพาะการกระทำยุทธหัตถี ซึ่งเป็นคติจากสถูปรุวันเวลิของพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย ๒. เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนการเป็นศูนย์กลางจักรวาล โดยมีพระเจดีย์แทนพระจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่บนเขาพระสุเมรุ มีช้างอยู่ประจำตามทิศเบื้องล่างลงไป สำหรับเมืองศรีสัชนาลัย มีการสำรวจพบเจดีย์ที่ประดับฐานด้วยประติมากรรมรูปช้างอย่างน้อย ๕ แห่ง ได้แก่ เจดีย์ประธานวัดช้างล้อม เจดีย์ประธานวัดนางพญา เจดีย์ประธานวัดสวนสัก(องค์ใน) เจดีย์ประธานวัดศรีมหาโพธิ์(องค์นอก) และเจดีย์รายหมายเลข ๑๘ วัดเจดีย์เจ็ดแถวค่ะ ผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจดีย์ช้างล้อมได้ในหนังสือ "เจดีย์ช้างล้อมกับประวัติศาสตร์บ้านเมืองและพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในประเทศไทย" ของสุรพล ดำริห์กุล เครดิตภาพ : คุณบัณฑิต ทองอร่าม


เลขทะเบียน : นพ.บ.81/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  42 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8หมื่น) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม 


ชื่อเรื่อง                                โอวาทปาติโมกข์คาถา (โอวาทปาติโมกฺขคาถา)สพ.บ.                                  152/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระสูตร บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.139/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 83 (330-333) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๖๗ เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.27/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



องค์ความรู้ทางวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เรื่อง "แหล่งเตาบ่อสวก ตอนที่ ๒ เอกลักษณ์เครื่องปั้นดินเผาเมืองน่าน" (ตอนจบ)  เตาบ่อสวก มีลักษณะเป็นเตาเผาห้องเดี่ยว ผนังเตาก่อด้วยดิน ชนิดระบายความร้อนผ่านเฉียงขึ้น ผลิตเครื่องถ้วยประเภทชาม ไห ครก กระปุก กุณฑี น้ำต้น พาน ผางประทีป ตะเกียง ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน มีทั้งลักษณะเนื้อดินธรรมดาไม่เคลือบ (earthen wares) และเนื้อแกร่ง (stone wares) ภาชนะแบบเคลือบมักมีสีขาวนวล สีเขียวนวล สีเขียวแกมน้ำตาล สีดำ บางชิ้นเขียนลายใต้เคลือบ  “ไหลายน่าน” เป็นภาชนะที่มีลักษณะลวดลายโดดเด่นซึ่งเอกลักษณ์เครื่องปั้นดินเผาเมืองน่าน มีลักษณะเป็นไหทรงสูง ไหล่กว้าง ปากบานผายออกคล้ายปากแตร ขอบปากชั้นเดียว ก้นแคบเรียบ ตัวไหเคลือบสีเขียวนวล และสีน้ำนม สีเขียวแกมน้ำตาล มีการตกแต่งลวดลายตรงไหล่และตรงรอยต่อของไหล่กับคอไห ลักษณะลวดลายของแหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวก มีความโดดเด่นเฉพาะตัวซึ่งยังไม่พบในแหล่งเตาอื่นๆ คือ ลายคล้ายนกฮูกหรือนกเค้าแมวในกรอบกลีบบัวปลายตัดคล้ายอินทรธนู หรือตุงกระด้างปั้นแปะประดับโดยรอบไหล่ไหคล้ายกรองศอ และมีแถบลายปั้นแปะเป็นเม็ดกลมเล็กๆ ลวดลายปั้นแปะคล้ายลายก้านขดเล็กๆ และลายปั้นแปะเป็นดอกไม้เล็กๆ อยู่ที่ส่วนล่างของคอไห (เหนือแถบลายอินทรธนู) และเฉพาะลวดลายในกรอบกลีบบัว มักเคลือบสีเขียวเข้ม สีเขียวแกมน้ำตาลซึ่งเป็นสีที่เข้มกว่าสีเคลือบพื้นของไห เครื่องปั้นดินเผาที่พบจากแหล่งเตาบ่อสวก ส่วนใหญ่เป็นเครื่องถ้วยเนื้อแกร่ง (Stoneware) แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆตามรูปทรง ได้แก่ ๑. ชามและจาน มีทั้งชนิดเคลือบสีเดียว เคลือบสองสี และเขียนลายใต้เคลือบ ๒. ครก ๓. ไห มีสองแบบ คือ ไหแบบธรรมดาที่มีขอบปากชั้นเดียว และไหแบบพิเศษมีขอบปากสองชั้น ๔. พระพิมพ์ดินเผา (พระบ่อสวก) ๕. เครื่องปั้นดินเผารูปแบบอื่นๆ ได้แก่ พาน คนโทน้ำหรือน้ำต้นมีพวย ขวด ตะเกียง ตุ้มถ่วงน้ำ (ถ่วงแห) สากดินเผา กระเบื้องดินเผา ตุ๊กตารูปคน และตุ๊กตารูปสัตว์ จากการสำรวจแหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวก เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เดือนกรกฎาคมและเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ พบเศษเครื่องถ้วยจีนและเครื่องถ้วยล้านนาหลายชิ้นกระจายอยู่ทั่วไปบนผิวดิน ได้แก่  (๑) เศษเครื่องถ้วยลายครามจีน มีตัวอักษรจีน สมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๒๐๙๕ - ๒๑๖๙) (๒) เศษเครื่องถ้วยลายครามจีน มีรอยจารอักษรไทยล้านนา (๓) เครื่องถ้วยเวียงกาหลง  วิทยาการการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะพิเศษของแหล่งเตาบ่อสวก คือ การใช้กล่องดินหรือจ๊อ (saggars) ครอบภาชนะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายขณะเผา นับเป็นวิทยาการก้าวหน้าในสมัยนั้น ซึ่งไม่ปรากฏในแหล่งเตาเผาอื่นๆอย่างสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กิจกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาสมัยโบราณของเมืองน่านจัดอยู่ในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพราะได้พบเครื่องถ้วยเมืองน่านในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา และบริเวณเทือกเขาถนนธงชัยในเขตจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดตาก ซึ่งน่าจะสะท้อนถึงเส้นทางการค้าของเครื่องถ้วยเมืองน่านไปสู่ดินแดนห่างไกลทางอ่าวมะตะบัน และมหาสมุทรอินเดีย หลักฐานที่ได้จากการขุดค้น เช่น จารึกบนกล่องดิน ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง และเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเวียงกาหลง ทำให้สันนิษฐานว่าช่วงเวลาการผลิตเครื่องดินเผาเมืองน่านน่าจะมีการผลิตแพร่หลายในช่วงประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ และอาจจะลดปริมาณการผลิตลงในช่วงที่เกิดสงครามระหว่างล้านนากับพม่า เอกสารอ้างอิง     - สายันต์ ไพรชาญจิตร์. โบราณคดีชุมชนที่เมืองน่าน. กรุงเทพฯ : โครงการโบราณคดีชุมชน, ๒๕๔๓. - สำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน. คู่มือประกอบกิจกรรมสร้างเครือข่ายเพื่อบริหารจัดการเตาเผาโบราณตำบลบ่อสวก, ๒๕๕๕. ภาพประกอบ/ภายลายเส้น - สายันต์ ไพรชาญจิตร์. โบราณคดีชุมชนที่เมืองน่าน. กรุงเทพฯ : โครงการโบราณคดีชุมชน, ๒๕๔๓. - องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. รายงานการขุดค้นแหล่งเตาดงปู่ฮ่อ บ้านบ่อสวก ต.สวก อ.เมือง จ.น่าน, ๒๕๔๖. ปัจจุบันโบราณวัตถุจากแหล่งเตาบ่อสวก ได้มีการจัดแสดงให้เข้าชม ณ ห้องนิทรรศการชั่วคราวสมัยประวัติศาสตร์ ชั้นล่างของอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน สามารถมาเยี่ยมชมได้นะคะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เปิดให้บริการทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม : ชาวไทย ๒๐ บาท , ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท, นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ พระภิกษุ และนักบวชทางศาสนา เข้าชมฟรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐๕๔ - ๗๗๒ ๗๗๗





Messenger