ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,393 รายการ
ชื่อเรื่อง เสียงนิสิต (ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2499)
ชื่อผู้แต่ง -
พิมพ์ครั้งที่ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ วิวัฒนาการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2499
จำนวนหน้า 40 หน้า
รายละเอียด
เสียงนิสิตเป็นนิตยสารรายปักษ์ของเยาวชน เพื่อเพิ่มความสามัคคี เพื่อยกระดับความรู้ ความคิด การอ่านและการเปิดโลกทัศน์ ซึ่งมีเนื้อหาหลากหลาย เช่น บทบาทของนักเรียนไทยกับสหพันธ์ มองไปในโลกของเยาวชน นวนิยาย รวมทั้งคอลัมน์ที่น่าสนใจต่างๆ
50Royalinmemory ๑๗ มีนาคม ๒๔๒๕ (๑๔๐ ปีก่อน) - วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ [สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๕ เจ้าฟ้าชั้นโท]
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา (หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ายุคลทิฆัมพร บดินทรเทพยนิพัทธ ขัตติยราชกุมาร) ดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ มีพระโอรส ๓ พระองค์ ทรงเป็นต้นราชสกุล ยุคล ณ อยุธยา สิ้นพระชนม์วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๗๕ พระชันษา ๕๐ ปี (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๙๒ - ๙๓.)
Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๑๗ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖)
(เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)
เลขทะเบียน : นพ.บ.527/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 5 x 48 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 176 (267-279) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : ลำสินไชย--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ. 241/20หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พระธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์) อย.บ. 423/6กประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ทองทึบ รักทึบ ลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้เรื่อง เอ็ดมันด์ โรเบิร์ตส์ ทูตจากสหรัฐอเมริกาคนแรก ที่เดินทางมาเยือนราชอาณาจักรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ ๓
นางสาวปภัชกร ศรีบุญเรือง
นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
ค้นคว้าเรียบเรียง
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “น้ำตกพลิ้ว”
จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย เสน่ห์ของเมืองจันท์นอกจากทะเลแล้ว ก็ยังมีน้ำตกที่สวยงาม น่าท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจอยู่หลายแห่ง เข้าหน้าฝนแล้ว น้ำตกจะมีน้ำมากเหมาะแก่การเล่นน้ำพักผ่อน ในตอนนี้จะนำเสนอเรื่องของน้ำตกพลิ้ว
ที่มาของชื่อ “พลิ้ว” นั้น มาจากภาษาขอม มีความหมายว่า ทรายหรือหาดทราย สันนิษฐานกันว่าชื่อน้ำตกพลิ้ว คงมาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นในที่ดินปนทราย ลักษณะเป็นไม้เถา มีดอกเป็นช่อ ผลเล็กคล้ายลูกเกด สีเหลืองอมแดงขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบนี้ (ปัจจุบันอุทยานฯปลูกไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ดูด้วย)
น้ำตกพลิ้วเป็นน้ำตกสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี อยู่ในเทือกเขาสระบาปภายในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อยู่ในตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีไปทางจังหวัดตราดตามเส้นทางถนนสุขุมวิท 15 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายมือตรงหลักกิโลเมตรที่ 347 เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร เป็นถนนราดยางตลอดก็จะถึงบริเวณน้ำตก ก่อนถึงตัวน้ำตกจะผ่านที่ทำการอุทยาน ที่มีนิทรรศการให้ความรู้เรื่องป่าและสถานที่ท่องเที่ยวภายในน้ำตก
น้ำตกพลิ้วตกลงมาจากหน้าผาสูง ลดหลั่นลงมา 3 ชั้น มีอ่างศิลาธรรมชาติรองรับเป็นชั้นๆ น้ำที่ตกลงมาถึงอ่างศิลา 20 เมตร จะกระทบแง่หินแตกกระจายเป็นฟองฝอย และน้ำใสมาก ในแอ่งน้ำเป็นที่อาศัยของฝูงปลาจำนวนมาก โดยเฉพาะปลาฟองหิน สองฟากฝั่งลำธารมีต้นไม้ใหญ่น้อยเขียวขจีน่าชม เป็นเอกลักษณ์และจุดเด่นของที่นี่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสหลายคราว ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้ ได้สร้างสิ่งก่อสร้างเป็นอนุสรณ์ คือ อลงกรณ์เจดีย์สร้างในปี พ.ศ. 2419 เป็นเจดีย์ที่มีมอสปกคลุมเขียวขจี ส่วนสถูปพระนางเรือล่มสร้างในปี พ.ศ. 2424 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่สมเด็จ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ บรมราชเทวี เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จมาที่นี และภายหลังที่พระนางสิ้นพระชนม์จากเรือพระประประเทียบล่มแล้ว ภายในสถูปก็ได้บรรจุพระอังคารของพระนางเจ้าฯด้วย
อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533.
มัทธิว เจ. (2542, เมษายน). “เที่ยวป่าจันท์.” Trips Magazine. ปีที่ 3 ฉบับที่ 30 : หน้า 66 - 76.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน NLT Edutainment ปีที่ ๖ ครั้งที่ ๕ รับฟังการเสวนาเรื่อง “มหานครการอ่านแห่งชาติ” วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม ๒๕๖6 เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ โถงกลาง ชั้น ๑ อาคาร 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน NLT Edutainment ประจำปี ๒๕๖๖ จัดขึ้นเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยสนใจการอ่านหนังสือ กำหนดจัดกิจกรรม ๕ ครั้ง โดยจัดเป็นรูปแบบการบรรยาย การอภิปราย การเสวนา การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานของวิทยากรที่มีประสบการณ์จากหลากหลายสาขาวิชา ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๕ เป็นการเสวนาเรื่อง “มหานครการอ่านแห่งชาติ” วิทยากรโดย นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร และผู้ดำเนินรายการโดย นายบารมี สมาธิปัญญา
ทั้งนี้ ผู้สนใจยังสามารถชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand ได้อีกด้วย
ชื่อเรื่อง: ราชสกุลวงศ์ พระนามเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้าในกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้แต่ง: -ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๖๓สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์ไท จำนวนหน้า: ๑๕๔ หน้า เนื้อหา: สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนศุโขไทยธรรมราชา ทรงพิมพ์เปนทักษิณานุประทาน อุทิศส่วนพระกุศลสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ที่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ กล่าวถึง ลำดับปฐมวงศ์ พระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๕ ทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ แลพระเจ้าลูกเธอที่ประสูตรเมื่อก่อนเสด็จปราบดาภิเศกหรือบรมราชาภิเศก ประสูตรเมื่อเสด็จปราบดาภิเศกหรือบรมราชาภิเษกแล้ว ตามลำดับ มีพระนามของแต่ละพระองค์ พร้อมวันประสูตร วันสิ้นพระชนม์ และพระชันษา รวมทั้งพระราชโอรสธิดา พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ พระโอรสธิดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และพระองค์เจ้าโอรสธิดา ในกรมพระราชวังหน้า นับว่าเป็นหนังสือหายากที่รวบรวมราชสกุลที่สมบูรณ์อีกเล่มหนึ่ง ซึ่งควรค่าแก่การสงวนรักษาและอนุรักษ์ไว้ เพื่อเป็นสมบัติของชาติอย่างยิ่งเลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๒๗๑เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book ๒๕๖๖_๐๐๒๕หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
ท้าวขัตตคาม บนรอยพระพุทธบาทวัดเสด็จ
ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐
วัดเสด็จ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
มุมขอบล่างแผ่นโลหะรูปรอยพระพุทธบาทสลักรูปบุคคลยืนบนแท่น ศีรษะสวมกรัณฑมงกุฎ ใบหน้ารูปไข่ ดวงตาเปิดมองตรง จมูกใหญ่ ริมฝีปากหนา คางเป็นปม รอบศีรษะมีรัศมี ลำตัวท่อนบนสวมเครื่องประดับ ได้แก่ กรองคอ สังวาล ทับทรวงรูปดอกไม้ พาหุรัด กำไลข้อมือ มือขวาแนบลำตัว มือซ้ายถือพระขรรค์ นุ่งผ้าสั้น สวมกำไลข้อเท้า ยืนอยู่บนฐานสิงห์ เหนือรูปสลักมีข้อความอักษรขอมสุโขทัย ภาษาไทย จารึกว่า “พระขตฺตคาม”
รูปบุคคลดังกล่าวคือ “ท้าวขัตตคาม” เนื่องจากวรรณกรรมของล้านนาเรื่อง “ชินกาลมาลินี” หรือ “ชินกาลมาลีปกรณ์” แต่งโดย พระรัตนปัญญา ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ กล่าวว่าเป็นเทวดาทำหน้าที่ปกปักรักษาเกาะลังกา ร่วมกับเทวดาองค์อื่น ๆ อีก ๓ องค์ ได้แก่ ท้าวสุมนเทวราช ท้าวรามเทวราช และท้าวลักขณเทวราช ดังปรากฏในเนื้อความตอนตำนานพระพุทธสิหิงค์ กล่าวถึงเทวดาอารักษ์ที่รักษาเกาะลังกาว่า “...ยังมีเทวดาทั้ง ๔ พระองค์ คือสุมนะเทวราชพระองค์ ๑ คือท้าวรามราชพระองค์ ๑ ท้าวลักขณราช ๑ ท้าวขัตตะคามราช ๑ แลท้าวทั้ง ๔ พระองค์นี้ มีฤทธานุภาพเป็นอันมาก พิทักรักษาซึ่งเกาะลังกาเป็นอันดี...”
ขณะที่ “นิทานพระพุทธสิหิงค์” แต่งเป็นภาษาบาลีโดย พระโพธิรังสี ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ กล่าวถึงเทวดา ๔ ตนที่ทำหน้าที่ปกปักรักษา “พระพุทธสิหิงค์” ซึ่งขณะนั้นประดิษฐาน ณ เกาะลังกา ต่างออกไปโดยไม่ปรากฏชื่อท้าวขัตตคาม ดังความว่า “...ทั้งยังมีเทพเจ้า ๔ องค์ คือ สุมนเทพ รามเทพ ลักษณเทพ กามเทพผู้มีฤทธิ์ รักษาพระพุทธรูปนั้นทุกเมื่อ...”
คติเกี่ยวกับเทวดาอารักษ์ของเกาะลังกาในข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าสังคมสุโขทัย รับความเชื่อดังกล่าวเข้ามาพร้อมการรับพุทธศาสนาสายลังกาวงศ์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อสังคมสุโขทัยตั้งแต่ช่วงแรกของรัฐสุโขทัย กระทั่งในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) ครองราชย์ช่วง พ.ศ. ๑๘๙๐ ถึงประมาณทศวรรษ๑๙๑๐ พระองค์ทรงให้การอุปถัมภ์พุทธศาสนาลังกาวงศ์อย่างมาก มีพระราชกรณียกิจที่สำคัญคือการจำลองรอยพระพุทธบาทตามคติรอยพระพุทธบาทเขาสุมนกูฏเกาะลังกาไว้หลายแห่ง รวมทั้งทรงอาราธนาพระอุทุมพรบุบผามหาสวามีจากเมืองพัน (เมาะตะมะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ เสด็จออกผนวชจำพรรษา ณ วัดป่ามะม่วง ซึ่งพระอุทุมพรบุบผามหาสวามี เป็นพระภิกษุที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่เกาะลังกา และในเวลาต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงส่งพระสงฆ์ที่ศึกษาพุทธศาสนาลังกาสายรามัญนี้ไปยังบ้านเมืองต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงส่งพระสุมนเถระขึ้นไปเผยแผ่พุทธศาสนาลังกาวงศ์ในล้านนา ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้ากือนา (ครองราชย์ช่วง พ.ศ. ๑๘๙๘-๑๙๒๘) จนเกิดเป็นนิกายสวนดอกในเวลาต่อมา
อ้างอิง
รักชนก โคจรานนท์. การวิเคราะห์ลักษณะและความหมายรอยพระพุทธบาทในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร. กรุงเทพฯ: เฮงศักดิ์มั่นคง, ๒๕๕๙.
สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ. พระพุทธสิหิงค์ “จริง” ทุกองค์ไม่มี “ปลอม” แต่ไม่ได้มาจากลังกา. กรุงเทพฯ:มติชน, ๒๕๔๖.
สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ก่อนไปฝึกงาน -- เมื่อ 32 ปีก่อน รัฐบาลไทยคัดเลือกสมาชิกยุวเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ไปฝึกงานภาคการเกษตร ณ จังหวัดคูมาโมโต้ (Kumamoto) บนเกาะคิวชู (Kyushu) ภาคใต้ของประเทศญี่ปุ่น. ซึ่งก่อนเดินทางนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระอิสริยยศขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินศูนย์ส่งเสริมเยาวชนเกษตร อำเภอท่าม่วง เพื่อพระราชทานพระราชดำรัสแก่สมาชิกยุวเกษตรกรให้มีขวัญ กำลังใจ และความมานะพยายามกับการฝึกงานในต่างแดน ความตอนหนึ่งว่า " การไปฝึกงานนั้นอย่างคิดว่าเป็นการไปใช้แรงงาน เราไปเพื่อหาความรู้ ประสบการณ์ ต้องมีความอดทน บางครั้งอาจต้องทำงานตั้งแต่เช้าถึงค่ำ ถึงจะหนักก็ขอให้คิดว่าการที่เราได้มาฝึกงานที่ญี่ปุ่นนี้เราก็ต้องมีดีอยู่เหมือนกันถึงได้รับคัดเลือก เรื่องนี้จะทำให้เรามีกำลังใจในการฝึกงาน และเมื่อมีเวลาว่างก็ขอให้พยายามค้นคว้าหาความรู้ใส่ตนเอง เช่น เรื่องสหกรณ์หรือการดูงานตามวิทยาลัยเกษตรกรรมต่างๆ รวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย อาจจะดูจากโทรทัศน์ในเวลาว่างก็ได้ ขอให้คิดว่าระยะเวลา 1 ปีนี้ไม่นาน ควรพยายามนำความรู้กลับมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ ". จากพระราชดำรัสข้างต้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงย้ำสิ่งสำคัญ 3 ประการคือ 1. ให้ใฝ่หาความรู้ทั้งเทคโนโลยีและการจัดการเกษตรเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ 2. ให้มีความอดทนต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิต 3. ให้รักษาภาพลักษณ์ที่ดีงามของตนและประเทศไทย (โปรดอ่านหลักฐานในภาพประกอบ). สุดท้าย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังพระราชทานแง่คิดที่เปรียบดังคำทำนาย ซึ่งไม่ใช่สำหรับเกษตรกรเท่านั้น หากคนไทยทุกคนควรตระหนัก ไม่ประมาทว่า " ในอนาคต . . . จะต้องแข่งขันกันเองมากขึ้น และต้องแข่งขันกับอาชีพอื่นๆ ด้วย จึงจำเป็นต้องมีความรู้และความชำนาญมากขึ้น ไม่เช่นนั้นคงลำบากหรืออยู่ไม่ได้ . . . " พระองค์ทรงพระปรีชาทอดพระเนตรการณ์ไกลอย่างยิ่ง .ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13/9 เรื่อง พระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์ส่งเสริมเยาวชนเกษตร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี [ 31 ม.ค. - 11 ก.พ. 2535 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ชื่อเรื่อง เมืองสวรรค์และนอกฟ้าป่าหิมพานต์ผู้แต่ง พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.3123 อ197มหสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจปีที่พิมพ์ 2508ลักษณะวัสดุ 140 หน้า หัวเรื่อง พุทธศาสนาภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเกี่ยวกับเมืองสวรรค์ และนรกภูมิ ต่าง ๆ ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง