ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,393 รายการ
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง ธรรมานุภาพ ๖
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร
ปีที่พิมพ์ 2513
จำนวนหน้า 77 หน้า
ยักษิณี สัญลักษณ์มงคลเพื่ออวยพรให้ศาสนิกชนได้รับมงคลกลับไป เช่น ภาพยักษิณีเหนี่ยวกิ่งไม้ มกร ปูรณฆฎะ
ยักษิณี คือเทวีประจำต้นไม้ (รุกขเทวดา) มักทำท่าเหนี่ยวกิ่งไม้ และใช้เท้ากระแทกต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้ออกดอกออกผล แต่เดิมชาวอินเดียโบราณนับถือยักษิณีเป็นเทวีพื้นเมือง ผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ ต่อมาเมื่อเกิดพุทธศาสนาขึ้น จึงนำยักษิณีมาประดับไว้รอบสถูป เพื่อบ่งบอกผู้ศรัทธาว่าแม้แต่เทวีเหล่านี้ยังเคารพต่อพระพุทธเจ้า ถือเป็นวิธีรวบรวมความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับศาสนาใหม่ และยังเป็นการอำนวยความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้ที่เดินทางมายังศาสนสถานด้วย
ชื่อเรื่อง พิธีกรรม (สพ.ส.65)ผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยISBN/ISSN -หมวดหมู่ ธรรมคดีลักษณะวัสดุ 29 หน้า. : กว้าง 11 ซ.ม. ยาว 35 ซ.ม.ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค. 2538
องค์ความรู้ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เรื่อง เครื่องถ้วยชิ้นเด่น ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร : โถลายเขียนสี----------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร https://web.facebook.com/kamphaengphetnationalmuseum/posts/4734908723302182
องค์ความรู้ เรื่อง "ขันหมากไม้ ความงามในจารีตวิถี"
“ขันหมาก” หรือ “เชี่ยนหมาก” คือภาชนะสำหรับวางอุปกรณ์ในการกินหมาก ได้แก่ ซองพลู เต้าปูน กรรไกรหนีบหมาก(มีดสนาก) ตะบันหมาก ตลับสีผึ้ง ผอบ ที่ใช้ใส่หมาก ยาเส้นและเครื่องหอม
วัฒนธรรมการกินหมากในไทย มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่ารับอิทธิพลมาจากพ่อค้าชาวอินเดีย และในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 (สมัยสุโขทัย) กล่าวถึงป่าหมาก ป่าพลู แสดงให้เห็นความสำคัญของการปลูกหมากพลู วัฒนธรรมการกินหมากจึงน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ขันหมากทำจากวัสดุหลายประเภท เช่น ทอง เงิน ทองเหลือง ไม้ เครื่องเขินหรือเครื่องจักสานมีลักษณะหลากหลายรูปแบบทั้ง ทรงกลมแบน ทรงรี หรือทรงเหลี่ยม เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีความสำคัญ แต่ละบ้านจะใส่เครื่องกินหมากที่จัดเรียงอย่างประณีตไว้ต้อนรับแขก และยังใช้ในพิธีแต่งงานโดยฝ่ายเจ้าบ่าวต้องนำขันหมากยกไปสู่ขอเจ้าสาว และในสมัยก่อนขันหมากยังเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคมของเจ้าของอีกด้วย
ในอีสาน “ขันหมาก” นิยมทำด้วยไม้มงคลในท้องถิ่น เช่น ไม้คูณ หมายถึงการค้ำคูณ ไม้ยอ หมายถึงการสรรเสริญเยินยอ เนื่องจากเป็นไม้เนื้ออ่อนแกะสลักง่าย หรือ ไม้มะค่า ไม้มะเกลือ ไม้ประดู่ ที่เป็นไม้เนื้อแข็งเพื่อความทนทาน
ลักษณะขันหมากอีสานส่วนใหญ่มี ๒ แบบ คือทรงกล่องสี่เหลี่ยม และทรงแอว(เอว)ขันปากพาน
มีส่วนประกอบ ๔ ส่วน ได้แก่
๑. ปากหรือส่วนบน แบ่งช่องเป็น ๓ - ๔ ช่อง อาจน้อยกว่าหรือมากกว่านั้นก็ได้ บางชิ้นประดับกระดูกซี่โครงควายหรือโลหะสังกะสีที่ขอบปากเพื่อความงามและทนทาน
๒. ลำตัว มีลักษณะเป็นแผ่นไม้ทรงสี่เหลี่ยม แกะสลักลวดลายเหมือนกันทั้ง ๔ ด้านหรือแตกต่างกันทั้ง ๔ ด้าน ตามความคิดสร้างสรรค์ของช่างฝีมือ
๓. แอว (เอว) เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างลำตัวและขา ส่วนมากไม่มีการตกแต่งมีบางตัวเท่านั้นที่ใส่คิ้วเดินรอบ บางตัวมีการเจาะช่องใส่ลิ้นชักด้วย
๔. ขา มีการเจาะเป็นช่องหรือฉลุเป็นรูปขา หรือแค่สลักลายเป็นรูปขา
ลวดลายของขันหมาก ส่วนมากเป็นลายเรขาคณิต เช่น ลายฟันปลา สามเหลี่ยม เส้นกากบาทข้าวหลามตัด เส้นทแยง และลวดลายซึ่งมีความหมายมงคล เช่น ลายประแจจีน ลายเหรียญเงิน และเครื่องหมายสวัสดิกะ ที่หมายถึงความเป็นอยู่ที่ดี ลายเส้นสายไขว้กันคล้ายเครื่องจักสาน ลายดอกไม้ หรือลวดลายตามจินตนาการของช่าง
สีของขันหมากส่วนมาก จะลงรักเป็นสีดำ ทาชาด (สีแดง) มีการแกะสลักลวดลาย แล้วลงสีในร่องลาย นิยมใช้สีขาว สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการประดับลวดลายด้วยกระดูกซี่โครงควาย เปลือกหอยน้ำจืด กระจกสี และโลหะสังกะสี หรือบางตัวปรากฏเพียงแค่ลวดลายแกะสลักเท่านั้น
ขันหมากไม้อีสาน เป็นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้คิดประดิษฐ์ขึ้น มีรูปแบบศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เต็มไปด้วยความงามแบบเรียบง่าย ความทนทานและความเป็นสิริมงคล ตั้งแต่การเลือกไม้ การประดับลวดลายมงคลต่างๆ แต่ละชิ้นงานแสดงให้เห็นถึงฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ของช่างแต่ละบุคคลที่พอจะกล่าวได้ว่า “ขันหมากไม้อีสาน” แต่ละชิ้นมีเพียงชิ้นเดียวในโลก
นิทรรศการ "ขันหมากไม้ ความงามในจารีตวิถี" จัดแสดงให้ทุกท่านได้ชมตั้งแต่ ๑๓ กรกฎาคม - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ มาชมกันเยอะๆนะคะ^^
#เรื่องมีอยู่ว่า... ตอน #กำเนิดโอ่งมังกรโอ่งมังกรเป็นของดีเมืองราชบุรีมาอย่างยาวนานถือว่าเป็นของหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี แต่เดิมเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดีจะต้องนำเข้าจากประเทศจีน เพราะไม่สามารถผลิตได้จากในประเทศราวปี 2476 นายฮง แซ่เตี่ย และนายจือเหม็ง แซ่อึ้ง ชาวจีนอพยพที่มาตั้งรกรากที่จังหวัดราชบุรี พบว่าดินที่จังหวัดราชบุรีนั้น มีลักษณะคล้ายกับดินที่บ้านเกิดของตนเอง คือ เป็นดินที่มีเนื้อดี สีสวย ทนไฟ เหมาะแก่การทำเครื่องปั้นดินเผา จึงนำตัวอย่างดินกลับไปทดลอง และตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ชื่อว่า เถ้าเซ่งหลี เป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาในจังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง #โอ่งมังกร สามารถสร้างชื่อเสียงไปทั่วประเทศการผลิตโอ่งในยุคแรก ๆ เป็นโอ่งไม่มีลวดลาย เรียกว่า โอ่งเลี่ยน คือ โอ่งเคลือบที่ยังไม่เขียนลาย มีเพียงลายประทับเป็นรูปง่าย ๆ ที่บ่าโอ่งเท่านั้น ภายหลังจึงมีการทำเป็นลวดลายมังกรตามความเชื่อของคนจีนที่ว่า มังกร เป็นสัตว์มงคล การวาดลวดลายมังกรบนโอ่งจะวาดด้วยมือในลักษณะ Free hand เป็นการปาดเนื้อดินด้วยหัวแม่มือเป็นรูปร่างมังกร โดยไม่ต้องมีแบบร่างจะทำโดยช่างผู้มีความชำนาญ โอ่งเป็นภาชนะกักเก็บน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค เมื่อใส่น้ำแล้วจึงมีน้ำซึมบ้างเล็กน้อย การซึมของน้ำจะทำให้เกิดการระเหยของน้ำรอบ ๆ โอ่ง ช่วยถ่ายเทความร้อนออกจากโอ่ง ทำให้น้ำในโอ่งเย็นกว่าใส่ภาชนะอื่น โอ่งมังกรราชบุรี จึงได้รับความนิยมและกลายเป็นภาชนะกักเก็บน้ำประจำบ้านทั่วทุกครัวเรือนปัจจุบันการผลิตโอ่งมังกรลดน้อยลงเนื่องจากความต้องการซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเป็นการใช้ภาชนะกักเก็บน้ำที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ แต่อุตสาหกรรมโอ่งในจังหวัดราชบุรีก็ไม่ได้หยุดตัวเองไว้เท่านั้น มีการพัฒนารูปร่างและลวดลายให้มีความทันสมัยจากลายมังกรก็เปลี่ยนเป็นลวดลายอื่น ๆ ที่สร้างสรรค์และหลากหลาย ทำให้ตอบสนองต่อความต้องการซื้อของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับโอ่งมังกรในห้องมรดกทางศิลปวัฒนธรรม นำเสนอประวัติความเป็นมาของโอ่งมังกร ขั้นตอนและกรรมวิธีการทำโอ่งให้ท่านที่สนใจได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้**คลิปวิดีโอการวาดลวดลายในลักษณะ free hand ของ #โรงงานเจริญดินไทย ได้ที่https://www.facebook.com/watch/?v=1371889016217104เรียบเรียงและศิลปกรรม : นางสาวธนาภรณ์ พันธ์ประเสริฐนิสิตฝึกงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏการณ์จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ เกิดขึ้นเฉพาะในวันดวงจันทร์เต็มดวง หรือ ช่วงข้างขึ้น 14-15 ค่ำ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกที่ทอดไปในอวกาศ ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเรื่อย ๆ จนดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดทั้งดวง และเริ่มมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกจากเงามืดของโลก คนไทยสมัยโบราณเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ราหูอมจันทร์"
สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคาในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 คืนวันลอยกระทง เป็นปรากฏการณ์ “จันทรุปราคาเต็มดวง” เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 15.02 – 20.56 น. (ตามเวลาประเทศไทย) สังเกตได้จากหลายพื้นที่ทั่วโลก ในประเทศไทยจะเริ่มเห็นได้ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงพอดี มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคของประเทศไทย บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 17.44 น. เป็นต้นไป ช่วงที่เกิดคราสเต็มดวง ดวงจันทร์จะปรากฏเป็นสีแดงอิฐ จนถึงเวลา 18.41 น. รวมระยะเวลานาน 57 นาที และปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป จะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ในวันที่ 8 กันยายน 2568
เอกสารจดหมายเหตุที่จะนำเสนอเป็นรายการที่ 9 คือ เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงวัง รหัส ร.5 ว 30/1 เรื่อง คำนวนจันทรุปราคา [มี.ค. 103 - 2 ก.พ. 114] [81 แผ่น] ซึ่งเป็นเอกสารที่พระบรมวงศานุวงศ์และโหร มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ กรมหลวงเทวะวงษวโรปการ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม กรมหมื่นสมมติอมรพันธ์ พระองค์เจ้าวรวรรณากร พระยาโหราธิบดี พระมหาราชครูพิธี พระสิทธิไชยบดี พระชลยุทธโยธินทร์ หลวงสโมสรพลการ หลวงโลกทีป หลวงวิชิตสรสาตร ขุนจันทราภรณ์ ขุนโชติพรหมา ขุนญาณจักษ์ (จักร) ขุนญาณทิศ ขุนญาณโยค ขุนเทพจักษุ์ ขุนเทพยากรณ์ ขุนทิพจักษุ์ (จักร) ขุนทิพไพชยนต์ ขุนพิไชยฤกษ ขุนพิทักษเทวา ขุนพินิจอักษร ขุนโลกากร ขุนโลกไนยนา ขุนโลกเนตร ขุนโลกพยากรณ์ ขุนโลกพรหมา ขุนวิจารณภักดี ขุนศรีสาคร ขุนสี (ษีร) สารวัด ขุนสุริยาภรณ์ ขุนอินทจักร หมื่นนาเวศ หมื่นรุต หมื่นวิจารณ์ภักดี หมื่นศรี หมื่นสนิท นายสอนมหาดเล็ก นายคุย นายแดง นายโพ และนายเล็ก คำนวณการเกิดจันทรุปราคา ในช่วงระหว่าง ร.ศ. 103 – 114 (พ.ศ. 2427 – 2438) เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายละเอียดในเนื้อหาแสดงการคำนวณจันทรุปราคาพร้อมภาพประกอบโดยละเอียด ข้อความที่ใช้บรรยายปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นคำศัพท์เฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ ซึ่งน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เช่น
“...พระเคราะห์จันทร์เดินปัตลงใต้เกี่ยวทางฉายาเคราะห์ในราศรีกันร่มราหู กำหนดจันทรุปราคาครั้งหนึ่ง ครั้นเวลายามหนึ่งกับ 35 นาที พระเคราะห์จันทร์จะเดินถึงขอบมณฑลฉายาเคราะห์ขอบมณฑลพระเคราะห์จันทรจะขาดค่างทิศอาคเนย์เปนนาทีแรกจับ แล้วพระเคราะห์จันทรจะเดินเข้าในมณฑลฉายาเคราะห์ไปตามลำดับนาทีคราธ จนถึงเวลา 5 ทุ่มกับ 11 นาที พระเคราะห์จันทรจะเข้าอยู่ในฉายาพระเคราะห์ 9 ส่วน เหลือส่วนหนึ่งค่างเหนือเปนเตมคราธ รัศมีแดงอ่อน ครันเวลา 2 ยามกับ 48 นาที พระจันทรจะออกจากมณฑลฉายาพระเคราะห์เตมบริบูรณเปนเวลาโมคบริสุทธิ ฉายาพระเคราะห์ออกค่างทิศประจิม...”
นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของเอกสารยังปรากฏว่ามีธรรมเนียมการสรงมุรธาภิเษกของพระมหากษัตริย์ ความว่า
“...ถึงกำหนดจันทรุปราคาครั้งหนึ่ง ชาวพนักงานพระเครื่องต้น จะได้ตั้งเครื่องพระมุรธาภิเศกสนาน ชีพ่อพราหมณ์จะได้ถวายน้ำกรด น้ำสังข์ ขอเชิญพระบาทสมเด็จบรมนารถบพิตรพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นที่สรงชำระพระองค์ทรงเครื่องพระมุรธาภิเศกสนาน ตามจารีตแบบอย่างสมเด็จพระบรมมหาธรรมิกราชาธิราชสืบๆ มา เพื่อทรงพระเจริญพระราชศิริสวัสดิ์พิพัฒมงคล เมทนิยดลสกลสัตรูไกษย ขอเดชะ...”
หมายเหตุ : การสะกดชื่อเรื่องรายการ คำศัพท์เฉพาะ ชื่อบุคคล หรือการคัดลอกข้อความ จะคงตามที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ
สืบค้นและเรียบเรียง : นางสาวดุษฎี ชัยเพชร นักจดหมายเหตุชำนาญการ และนางสาว พุธิตา ขำบุญลือ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ
----------------------------------
อ้างอิงเพิ่มเติม
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน). ปรากฏารณ์จันทรุปราคาเต็มดวง. เข้าถึงได้จากhttps://www.narit.or.th/ สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565.
วัดพระฝาง เป็นวัดสำคัญของเมืองสวางคบุรีที่เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า โดยถือเป็นพระธาตุกลางเมืองฝางหรือเมืองสวางคบุรีซึ่งสร้างตามคติโบราณที่นิยมสร้างพระธาตุเป็นศูนย์กลางของเมือง ทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่เคารพศรัทธามาตั้งแต่อดีตกาล ทั้งจากผู้คนในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ผู้คนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงชาวมอญจากพม่าและชาวลาว
จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าบริเวณวัดพระฝางมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และอยู่อาศัยต่อเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัย โดยปรากฏชื่อในหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายในฐานะที่เป็นพระธาตุสำคัญประจำเมืองฝาง เช่น ในศิลาจารึกหลักที่ ๒ จารึกวัดศรีชุมที่กล่าวว่าพระมหาเถรศรีศรัทธาได้เดินทางมากราบไหว้พระธาตุเมืองฝางก่อนจะเดินทางต่อไปอ่าวเมาะตะมะเพื่อลงเรือไปยังลังกา
ความศรัทธาในพระธาตุวัดพระฝางยังคงได้รับการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง ดังพบว่า
พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ได้เสด็จฯ มาสักการะพระธาตุที่วัดพระฝางแห่งนี้โดยถือเป็นวัดสำคัญเช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก อาทิ พ.ศ. ๒๒๘๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จฯ มาสมโภชพระธาตุ พ.ศ. ๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดฯ ให้จัดการสมโภชพระธาตุแห่งนี้อีกครั้งภายหลังจากการปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางซึ่งใช้วัดพระฝางเป็นศูนย์กลางในการซ่องสุมกำลังพลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ และพระราชศรัทธานี้ยังคงสืบเนื่องต่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) โปรดฯ ให้มีการบูรณะพระธาตุนี้ใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ การเสด็จฯ มาสักการะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ซึ่งในการนี้โปรดฯ ให้อัญเชิญ พระฝาง พระประธานในอุโบสถไปประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร จวบจนปัจจุบัน
กล่าวได้ว่าวัดพระฝางเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองและเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของเมืองสวางคบุรีโดยได้รับการบูรณะมาโดยตลอดจึงยังสามารถตั้งตระหง่านผ่านกาลเวลา เป็นที่นับถือของผู้คนทั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์และในประเทศไทยตราบจนทุกวันนี้
------------------------------------------------
พระธาตุภายในวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ
(ที่มา : https://www.hoteluttaradit.com/2017/07/wat-phra-fang-sawangkamuninat.html)
พระฝาง ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร
(ที่มา : https://www.silpa-mag.com/culture/article_8965)
------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
ชื่อผู้แต่ง สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่อง ศาลหลักเมืองจังหวัดเพชรบุรี
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ เพชรบุรี
สำนักพิมพ์ ม.ป.พ.
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๐
จำนวนหน้า ๙๒ หน้า
รายละเอียด
เป็นหนังสือที่บอกเล่าความเป็นมาของการสร้างศาลหลักเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ก่อนก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ทั้งการพิจารณาสถานที่ก่อสร้าง การวางศิลาฤกษ์ การก่อสร้างอาคารศาลหลักเมือง การสร้างเสาหลักเมือง และมีการประมวลภาพ ตั้งแต่เริ่มการก่อสร้าง จนถึงพิธีเปิดศาลหลักเมือง
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 145/6 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/4กเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)