ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 6
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2512
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสนิทนรนารถ (ตลับ บุณยรัตนพันธ์) วันที่ 16 มกราคม พุทธศักราช 2512.
ตำราพิไชยสงคราม เป็นตำราว่าด้วยยุทธวิธีการรบต่าง ๆ มีตอนที่ว่าด้วยกลศึก 21 กลศึก และว่าด้วยแผนที่ตั้งทัพ
ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
ชื่อผู้แต่ง : -
ปีที่พิมพ์ : 2511
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : ศิวพร
จำนวนหน้า : 952 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เป็นบันทึกเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์ชาติไทย กล่าวถึงเรื่องการสร้างกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วยเหตุการณ์เมื่อก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ประวัติไทย ประวัติขอม ประวัติพม่า พงศาวดารของพระเจ้าอู่ทอง ประวัติของราชอาณาจักรสุโขทัย และประวัติอาณาจักรล้านนาไทย และอธิบายเรื่องราวในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยเทือกเขาในบริเวณชายฝั่งทะเลและตอนกลางจังหวัด มีเทือกเขาสำคัญคือเทือกเขาสามร้อยยอดซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสัตว์และมนุษย์ จึงพบแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภายในเทือกเขาสามร้อยยอดหลายแห่ง โดยพบทั้งแหล่งพักพิงชั่วคราว ที่อยู่อาศัยถาวร แหล่งฝังศพ และแหล่งภาพเขียนสี เช่น ถ้ำเขาแมว ถ้ำภาพเขียน และถ้ำโหว่ แหล่งโบราณคดีถ้ำโหว่ หุบตาโคตร ตั้งอยู่ที่ตำบลสามร้อยยอด อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตัวแหล่งตั้งอยู่บนไหล่เขาเยื้องกับหลังวัดหุบตาโคตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาสามร้อยยอด แหล่งโบราณคดีแห่งนี้พบโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๕๙ นายอภิชาติ หงษ์สกุล นักข่าวและสื่อมวลชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงแจ้งมายังสำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี กลุ่มโบราณคดีได้เข้าตรวจสอบร่วมกับนายขจร ยอดยิ่ง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดภายในปีเดียวกัน และลงสำรวจอีกครั้งในปีพ.ศ. ๒๕๖๓ โดยแหล่งโบราณคดีถ้ำโหว่อยู่คนละฟากเขากับแหล่งภาพเขียนสีถ้ำภาพเขียน ห่างกันประมาณ ๖ กิโลเมตร ตัวแหล่งหันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก มีระยะทางเดินเท้าจากพื้นดินถึงแหล่งภาพเขียนสีประมาณ ๑๔๐ เมตร ตัวถ้ำมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ เพดานถ้ำเป็นช่องขนาดใหญ่แสงสว่างส่องลอดเข้ามาได้ ตำแหน่งที่พบภาพเขียนสีอยู่บริเวณผนังด้านข้างทางด้านขวาของปากถ้ำ ภาพเขียนสีที่พบมีทั้งภาพบุคคล และภาพสัญลักษณ์ ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุดจากคราบหินปูนที่ไหลมาปิดทับภาพ เบื้องต้นพบประมาณ ๕ ภาพ ประกอบไปด้วยภาพบุคคล จำนวน ๒ ภาพ และจำแนกไม่ได้จำนวน ๓ ภาพ ใช้สีแดงในการเขียนภาพ ตำแหน่งภาพสูงจากระดับพื้นเพิงผาประมาณ ๑๖๐ – ๒๕๐ เซนติเมตร ซึ่งความสูงในระดับดังกล่าวมีทั้งสามารถยืนเขียนได้และใช้อุปกรณ์เพื่อปีนขึ้นไปเขียนภาพ ภาพที่สามารถเห็นเป็นรูปร่างและวิเคราะห์ได้ชัดเจนคือภาพบุคคลสวมหมวกคล้ายปะการังหรือขนนกไว้ที่ศีรษะ ท่อนล่างคล้ายสวมกระโปรงทรงสุ่ม ลักษณะการแต่งกายดังกล่าวคล้ายกับภาพบุคคลประกอบพิธีกรรมในแหล่งศิลปะถ้ำแห่งอื่น ๆ เช่น ภาพเขียนสีที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี ภาพที่ ๑ สภาพแหล่งโบราณคดีถ้ำโหว่ ถ่ายจากบ้านนายวิเชียร เลือดแดง ภาพที่ ๒ ตำแหน่งภาพเขียนสีของถ้ำโหว่ ภาพที่ ๓ สภาพเส้นทางการเดินทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดี ภาพที่ ๔ ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ ภาพที่ ๕ ภาพเขียนสีรูปบุคคล และภาพเชิงสัญลักษณ์ วาดด้วยเทคนิคลายเส้น (Line) ภาพที่ ๖ ภาพเขียนสีรูปบุคคล และภาพเชิงสัญลักษณ์ วาดด้วยเทคนิคลายเส้น (Line) (แปลงภาพโดยโปรแกรม DStretch) ภาพที่ ๗ ภาพบุคคล ๒ บุคคล แต่งกายอยู่ในชุดพิธีกรรม ตกแต่งศีรษะด้วยขนนกหรือปะการัง มีคราบหินปูนมาปิดทับ ใช้เทคนิคการวาดภาพแบบเงาทึบ (Silhouette) ภาพที่ ๘ ภาพบุคคล แต่งกายอยู่ในชุดพิธีกรรม ตกแต่งศีรษะด้วยขนนกหรือปะการัง ใช้เทคนิคการวาดภาพแบบเงาทึบ (Silhouette) (แปลงภาพโดยโปรแกรม DStretch) ภาพที่ ๙ ภาพบุคคลเต้นประกอบพิธีกรรมสวมเครื่องประดับศีรษะ พบที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี (ที่มา: กรมศิลปากร. ศิลปะถ้ำเขาปลาร้า อุทัยธานี. (กรุงเทพ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๓), ๖๖.) -------------------------------------ผู้เขียน: นางสาวกรรณิการ์ เปรมใจ นักโบราณคดีชำนาญการ และนางสาวฐิติกานต์ ธรรมกรสุขศิริ นักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี -------------------------------------แหล่งข้อมูล: -กรมศิลปากร, วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๔๔. -กรมศิลปากร. ศิลปะถ้ำเขาปลาร้า อุทัยธานี. กรุงเทพ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๓. -กรมศิลปากร. ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๙.
...วันนั้น (๒๒ ตุลาคม ๒๔๕๓) บรรยากาศเงียบเหงามาก บนพระที่นั่งก็สงัด โดยปกติเวลาใกล้เที่ยงจะมีผู้คนเดินขวักไขว่ เพราะพระเจ้าอยู่หัวบรรทมตื่นแล้ว และจะเสวยพระกระยาหารกลางวัน.....แต่วันนี้ไม่มีเสียงอะไรเลยแม้แต่เสียงพูดกัน ผู้เขียนได้แต่สันนิษฐานว่าคงทรงประชวรหนัก... ...ขอทวนกล่าวถึงฝ่ายผู้เขียนว่า ในระยะนั้นต้องนอนพักในเวลากลางวันเพื่อรับเวรในเวลากลางคืน เฉพาะในวันนี้หลับไม่ลงเพราะใจเป็นห่วงและทุกคนก็นั่งจับเจ่าเหงาหงอยตาจ้องไปทางชั้น ๓ ของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งอยู่ตรงข้ามตำหนักสมเด็จซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า “สวนสี่ฤดู” ... ...ระหว่างเวลาพักกลางวันในวันนั้นผู้เขียนไม่ได้พักผ่อนหรือนอนหลับเลย ได้แต่เดินใจลอยและมิได้พูดคุยจอแจกับเพื่อนๆ เช่นเคย จนพลบค่ำจึงจำเป็นต้องบังคับตัวเองให้นอน เพราะอีกไม่ช้าก็ต้องไปรับเวร ในที่สุดก็หลับไป มาตกใจตื่นเพราะมีตัวอะไรมากัดหัวแม่เท้าจนเลือดไหล พร้อมกันก็ได้ยินเสียงหนูประมาณว่าหลายสิบตัวยกขบวนกันวิ่งไปวิ่งมาเหนือฝ้าเพดานในอาคารที่ผู้เขียนอยู่..... ผู้เขียนเคยได้ยินผู้ใหญ่เล่ากันว่าเมื่อหนูร้องกุกๆ จะมีเหตุไม่ดีเกิดขึ้น แต่ผู้เขียนไม่เคยได้ยินจึงมีความกลัวเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยพระเจ้าอยู่หัวก็กำลังทรงประชวรอยู่ ขณะนั้นเวลาประมาณ ๒๓ นาฬิกา เห็นจะได้ บรรยากาศเงียบสงัด.....แต่เมื่อมองไปยังพระที่นั่งอัมพรฯ ซึ่งมองเห็นพระบัญชรชั้น ๓ ถนัด ทันใดนั้นผู้เขียนก็เห็นดวงดาวหนึ่งส่องแสงสว่างลอยอยู่ในระดับเดียวกับพระแท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เขียนคะเนได้เพราะเคยขึ้นเฝ้าเวลาเสวยเนืองๆ ดาวนี้มีแสงสว่างมากยิ่งกว่าดาวใดๆ ที่ผู้เขียนเคยเห็นและมีหางพาดยาวไปทางพระที่นั่งอนันตสมาคมคล้ายแสงไฟฉายใหญ่ๆ จึงทราบว่าเป็นดาวหางเฮลี่ (Haileys Comet) ที่โจษจันกันในขณะนั้น ผู้เขียนยืนพิงประตูไม่อาจเคลื่อนไหวได้อยู่พักหนึ่ง จึงได้สติว่าต้องไปเปลี่ยนเวรเจ้าจอมถนอมในไม่ช้า ซึ่งเธอได้ตามเสด็จสมเด็จขึ้นไปเฝ้าพระอาการประชวรอยู่บนพระที่นั่งอัมพรฯ ชั้น ๓... ...ชั้น ๓ เงียบกริบ ได้ยินแต่เสียงคล้ายเสียงกรนมาจากห้องพระบรรทม.....เมื่อไปถึงเห็นสมเด็จทรงบรรทมกับพื้นอยู่สุดห้องบรรทมพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากผู้เขียนไม่เคยเห็นอาการเจ็บในขณะหนัก ซึ่งภาษาสมัยใหม่เรียกว่าเข้าขั้นโคม่า ดังนั้นเมื่อได้ยินเสียงคล้ายเสียงกรนจึงนึกว่าในหลวงทรงสบายขึ้นแล้ว และกำลังบรรทมหลับสนิท จึงดีใจเป็นอันมากนึกว่าจะนอนให้สบายเสียที และได้ล้มตัวลงนอนที่ปลายพระบาทสมเด็จ..... ...ด้วยอารามดีใจที่ในหลวงทรงสบายขึ้นแล้วและเห็นสมเด็จบรรทมอยู่ และเนื่องด้วยความตึงเครียดได้หย่อนคลายลง ประกอบกับความเหนื่อยอ่อนมาทั้งวัน ดังนั้นเมื่อล้มตัวลงหนุนพระที่สมเด็จจึงหลับปุ๋ยไปทันที ....มารู้ตัวตกใจตื่นเมื่อได้ยินเสียงร้องเซ็งแซ่ ซึ่งขณะนั้นผู้เขียนเหลือที่จะเดาว่าเป็นเสียงอะไร เหลือบตาไปดูนอกห้องบรรทม เห็นคนจำนวนมากมายกำลังหมอบซบกับพื้นเป็นกองๆ ไม่ทราบว่าใครเป็นใคร.....เมื่อผู้เขียนทราบว่าเสียงเซ็งแซ่ข้างต้นเป็นเสียงร้องไห้ของคนจำนวนมากพร้อมๆ กัน จึงทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว.... ...ต่อมาผู้เขียนได้รับหมายให้ไปเป็นนางร้องไห้ ให้ไปตั้งแต่ ๘ โมงเช้าในวันนั้น โดยแต่งชุดขาวทั้งชุด.....ผู้เขียนได้ไปนั่งร้องไห้อยู่ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท การร้องไห้นั้นแท้จริงเป็นการร้องเพลงอย่างเศร้าที่สุด เกิดมาผู้เขียนก็เพิ่งเคยได้ยิน ขณะนั้นผู้เขียนอายุในราว ๑๙ - ๒๐ และรู้สึกว่าเพลงร้องไห้นี้ช่างเศร้าเสียนี่กระไร ทุกคนน้ำตาไหลรินจริงและสะอื้นจริงๆ ยิ่งมีเสียงปี่ที่โหยหวลและเสียงกลองชนะเลยยิ่งไปกันใหญ่... -----------------------------------------------ที่มาของข้อมูล: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน-----------------------------------------------อ้างอิง : เนื้อความส่วนหนึ่งจากหนังสือ ชีวิตในวังสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ของ หม่อมศรีพรหมา กฤดากร
บริเวณพื้นที่ตั้งของเวียงกุมกามมีความสูงประมาณ ๓๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะภูมิสัณฐานเป็นแบบที่ราบน้ำท่วมถึง (Alluvial plain) เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทับถมของตะกอนลำน้ำในฤดูน้ำหลาก ทำให้เกิดเป็นสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบเรียบ มีความลาดเทประมาณ ๑-๒ เปอร์เซ็นต์ โดยมีแนวทิศทางการลาดเทจากด้านทิศเหนือลงสู่ทิศใต้และจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก๒๔ ตะกอนที่พบส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนทรายหยาบ-ละเอียด มีดินเหนียวและทรายแป้งปะปนเล็กน้อย ซึ่งการทับถมในลักษณะนี้จะทำให้เกิดเป็นพื้นที่ราบลุ่ม (basin) เป็นแนวแคบๆ ไปตามความยาวของแม่น้ำปิง และคันดินธรรมชาติ (natural levee)
การขุดแต่งทางโบราณคดีในบริเวณโบราณสถานหลายแห่งในเวียงกุมกามที่ผ่านมา พบว่าชั้นดินที่ปกคลุมโบราณสถานนั้น จำแนกออกเป็น ๓ กลุ่มด้วยกัน คือ
๑. ชั้นดินที่ทับถมอยู่เหนือตะกอนน้ำพา โครงสร้างดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาล น้ำตาลปนเทาหรือน้ำตาลเข้ม มีเศษโบราณวัตถุและอินทรียวัตถุปะปนในชั้นดิน ชั้นดินนี้ทับถมอยู่บนชั้นทรายตะกอนน้ำพา จึงเป็นชั้นดินที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังจากที่น้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่และมีการใช้พื้นที่มาจนถึงปัจจุบัน
๒. ชั้นดินตะกอนน้ำพา ส่วนใหญ่เป็นดินทราย พบตั้งแต่ทรายละเอียด-ทรายหยาบแทรกปะปนกัน ในบางแหล่งเช่นวัดอีก้างนั้น พบชั้นกรวดขนาดใหญ่ปะปนอยู่ด้วย ชั้นดินนี้เกิดจากการพัดพาของแม่น้ำปิง
๓. ชั้นดินที่ทับถมอยู่ใต้ชั้นตะกอนน้ำพา ชั้นดินนี้ส่วนใหญ่เป็นดินทราย และดินร่วนปนทรายสีน้ำตาลปนเทา มักพบเศษโบราณวัตถุปะปนอยู่ด้วย ชั้นดินนี้เป็นชั้นดินร่วมสมัยกับการใช้งานของโบราณสถานภายในเวียงกุมกามจนกระทั่งถึงช่วงเวลาทิ้งร้างของเวียงกุมกามก่อนน้ำท่วมครั้งใหญ่
พ.ศ. ๒๕๔๖ สำนักงานศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่, หจก. เฌอ กรีน และ ผศ.ชาติชาย ร่มสินธิ ได้ตรวจสอบลักษณะทางปฐพีวิทยาบริเวณแหล่งโบราณสถานวัดหนานช้าง พบว่าดินตัวอย่างเกือบทุกผนังชั้นดินมีปริมาณอินทรียวัตถุลดลงตามความลึก ยกเว้นตัวอย่างจากผนังชั้นดินด้านทิศตะวันออกของวัดหนานช้าง (บริเวณใกล้แนวพนังดิน) พบว่าปริมาณอินทรียวัตถุในชั้นดินล่างมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณเพิ่ม ซึ่งสอดคล้องกับสัณฐานของดินที่แสดงออกด้วยสีดินที่เข้มขึ้น ลักษณะเช่นนี้น่าจะบ่งบอกถึงการเป็นชั้นดินที่เคยมีคนอยู่อาศัยมาก่อน ซึ่งสอดคล้องกับการพบหลักฐานกิจกรรมการหล่อโลหะที่พบบริเวณด้านหน้าซุ้มประตูโขง
ที่มาข้อมูล : ประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม เมืองโบราณใต้ตะกอนทราย
: โบราณคดีสามทศวรรษที่เวียงกุมกาม
ชื่อเรื่อง เทศนาวิภังค์-มหาปัฏฐานสพ.บ. 195/6ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 4.6 ซ.ม. ยาว 54.9 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ในสมัยสุโขทัยไม่นิยมสร้างพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่พระพุทธรูปนาคปรกนั้นเป็นที่นิยมสร้างในศิลปะเขมร ดังนั้น เราจึงพบพระพุทธรูปปางนี้เป็นจำนวนน้อยมาก และมีลักษณะแตกต่างจากพระพุทธรูปนาคปรกของเขมร ได้แก่ มีขนดนาค(ลำตัวนาค) ๗ ชั้น ปรากฏหางนาคที่ด้านหน้า พระพุทธรูปไม่ทรงเครื่องหรือสวมเทริด เป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากลังกาหรืออินเดียใต้
สำหรับเมืองศรีสัชนาลัยพบพระพุทธรูปนาคปรกเพียง ๓ องค์ ได้แก่
๑. พระพุทธรูปนาคปรกในกุฏิพระนาคปรก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง
๒. พระพุทธรูปนาคปรกที่ซุ้มด้านหลังของเจดีย์ราย หมายเลข ๓๓ วัดเจดีย์เจ็ดแถว
๓. พระพุทธรูปนาคปรกที่ซุ้มด้านหลังของมณฑปวัดชมชื่น ซึ่งปรากฏหลักฐานในภาพถ่ายเก่า เมื่อครั้งเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเสด็จประพาสเมืองศรีสัชนาลัย แต่ในปัจจุบันเหลือเพียงซุ้มและร่องรอยของเกล็ดพญานาคเท่านั้น
พระพุทธรูปนาคปรกทั้ง ๓ องค์ล้วนสร้างจากปูนปั้นทั้งสิ้น
เครดิตภาพถ่ายเก่า : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
เลขทะเบียน : นพ.บ.81/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8หมื่น) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง โอวาทปาติโมกข์คาถา (โอวาทปาติโมกฺขคาถา)สพ.บ. 152/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระสูตร
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.139/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.5 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 83 (330-333) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ตำรายาแผนโบราณ เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.27/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)