ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ

-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ก่อนไปฝึกงาน -- เมื่อ 32 ปีก่อน รัฐบาลไทยคัดเลือกสมาชิกยุวเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ไปฝึกงานภาคการเกษตร ณ จังหวัดคูมาโมโต้ (Kumamoto) บนเกาะคิวชู (Kyushu) ภาคใต้ของประเทศญี่ปุ่น. ซึ่งก่อนเดินทางนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระอิสริยยศขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินศูนย์ส่งเสริมเยาวชนเกษตร อำเภอท่าม่วง เพื่อพระราชทานพระราชดำรัสแก่สมาชิกยุวเกษตรกรให้มีขวัญ กำลังใจ และความมานะพยายามกับการฝึกงานในต่างแดน ความตอนหนึ่งว่า " การไปฝึกงานนั้นอย่างคิดว่าเป็นการไปใช้แรงงาน เราไปเพื่อหาความรู้ ประสบการณ์ ต้องมีความอดทน บางครั้งอาจต้องทำงานตั้งแต่เช้าถึงค่ำ ถึงจะหนักก็ขอให้คิดว่าการที่เราได้มาฝึกงานที่ญี่ปุ่นนี้เราก็ต้องมีดีอยู่เหมือนกันถึงได้รับคัดเลือก เรื่องนี้จะทำให้เรามีกำลังใจในการฝึกงาน และเมื่อมีเวลาว่างก็ขอให้พยายามค้นคว้าหาความรู้ใส่ตนเอง เช่น เรื่องสหกรณ์หรือการดูงานตามวิทยาลัยเกษตรกรรมต่างๆ รวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย อาจจะดูจากโทรทัศน์ในเวลาว่างก็ได้ ขอให้คิดว่าระยะเวลา 1 ปีนี้ไม่นาน ควรพยายามนำความรู้กลับมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ ". จากพระราชดำรัสข้างต้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงย้ำสิ่งสำคัญ 3 ประการคือ 1. ให้ใฝ่หาความรู้ทั้งเทคโนโลยีและการจัดการเกษตรเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ 2. ให้มีความอดทนต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิต 3. ให้รักษาภาพลักษณ์ที่ดีงามของตนและประเทศไทย (โปรดอ่านหลักฐานในภาพประกอบ). สุดท้าย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังพระราชทานแง่คิดที่เปรียบดังคำทำนาย ซึ่งไม่ใช่สำหรับเกษตรกรเท่านั้น หากคนไทยทุกคนควรตระหนัก ไม่ประมาทว่า " ในอนาคต . . . จะต้องแข่งขันกันเองมากขึ้น และต้องแข่งขันกับอาชีพอื่นๆ ด้วย จึงจำเป็นต้องมีความรู้และความชำนาญมากขึ้น ไม่เช่นนั้นคงลำบากหรืออยู่ไม่ได้ . . . " พระองค์ทรงพระปรีชาทอดพระเนตรการณ์ไกลอย่างยิ่ง .ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13/9 เรื่อง พระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์ส่งเสริมเยาวชนเกษตร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี [ 31 ม.ค. - 11 ก.พ. 2535 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ




ชื่อเรื่อง                     พ่อสอนลูกผู้แต่ง                       ทวี บุณยเกตุประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   จิตวิทยาเลขหมู่                      155.25 ท185พสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์เฟื่องอักษรปีที่พิมพ์                    2515ลักษณะวัสดุ               354 หน้า หัวเรื่อง                     ศีลธรรมจรรยา                              มารยาทและการสมาคมภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก“พ่อสอนลูก” รวบรวมการอบรมสั่งสอนบุตรธิดา


ชื่อเรื่อง                     โหราศาสตร์_ตำราดูฤกษ์ยามประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  โหราศาสตร์ลักษณะวัสดุ              25; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ตำราดูฤกษ์ยาม                       ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์  อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค.2538 


         ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี (Prof. Silpa Bhirasri)          ศิลปิน : สนั่น ศิลากรณ์ (Sanan Silakorn)          ปีพุทธศักราช: ปี พ.ศ.2499 (1956)          เทคนิค: ดินเผา( Bakedclay)          ขนาด : สูง 28.5 เซนติเมตร ( H. 28.5 cm.)          ประวัติ : สนั่น ศิลกรณ์ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2462 ที่กรุงเทพฯ ศึกษาศิลปะที่ โรงเรียนประณีตศิลปกรรม (แผนกปั้น) ภายหลังเข้ารับราชการที่กรมศิลปากร และสอยที่คณะจิตรกรรมและปติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความแม่นยำในวิชาวาดเส้น กายวิภาควิทยา คน-สัตว์ และมีความสามารถสูงในวิชาประติมากรรม มีผลงานประติมากรรมอนุสาวรีย์สำคัญมากมาย อาทิเช่นอนุสาวรีย์ท้าวเทพตรีและท้าวศรีสุนทร ที่ ภูเก็ต อนุสาวรีย์วีรชนไทยที่นครศรีธรรมราช อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงที่สุโขทัยและเป็นผู้ปั้นอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร            แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s05ok/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri



โรงเรียนอนุบาลชลบุรี จ.ชลบุรี (เวลา 13.00 น.) จำนวน 100 คนวันเสาร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. คณะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนอนุบาลชลบุรี จำนวน ๑๐๐ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้



ชื่อเรื่อง                     แบบสอนอ่านหน้าที่ราษฎร เล่ม 2 สำหรับประถมปีที่ 4ผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   การศึกษาเลขหมู่                      372สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงเรียนช่างพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2480ลักษณะวัสดุ               80 หน้า หัวเรื่อง                     สังคมศาสตร์--แบบเรียนภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเป็นหนังสือแบบสอนอ่านเกี่ยวกับระบอบรัฐธรรมนูญ เรื่องการปกครอง การมีอำนาจ ฯลฯ  


วันดำรงราชานุภาพ ตรงกับวันที่ ๑ ธันวาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยและโบราณคดีไทย           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร พระองค์ทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ได้รับความเจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะด้านการศึกษาของไทย การปกครองส่วนท้องถิ่นสมัยใหม่ ด้านการสาธารณสุข งานราชบัณฑิตยสภาและหอสมุดพระนคร และทรงเป็นผู้วางรากฐานการพัฒนางานพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ของไทยอีกด้วย   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับการพัฒนางานหอสมุดแห่งชาติ            สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งนายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร (ปัจจุบันคือหอสมุดแห่งชาติ) ตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงเอาพระทัยใส่สืบเสาะหาหนังสือโบราณของไทยเกี่ยวกับวรรณคดี พงศาวดาร พระพุทธศาสนา และสรรพตำราต่างๆ มารวบรวมไว้ในหอพระสมุดสำหรับพระนครเป็นอันมาก ทั้งนี้ยังได้ทรงตรวจสอบชำระและจัดพิมพ์ให้แพร่หลายเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของผู้ที่สนใจ หนังสือที่โปรดให้พิมพ์ออกมาในครั้งนั้นเป็นรากฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณคดีตลอดมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้รวบรวมตู้ลายทองที่เก็บรักษาไว้ตามวัดกับศิลาจารึกซึ่งมีอยู่ตามสถานที่ต่างๆ มาไว้ให้หอพระสมุดเพื่อรักษาไว้ไม่ให้สูญหายไปอีกด้วย          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือที่ทรงคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวรรณคดีไว้มากกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง พระนิพนธ์ที่ทรงคุณค่าและได้รับการยกย่องให้เป็นหนังสือดี ๑๐๐ เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน ได้แก่ สาส์นสมเด็จ และนิทานโบราณคดี นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสะสมหนังสือหายากไว้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมประมาณ ๗,๐๐๐ เล่ม ซึ่งปัจจุบันเก็บรวบรวมไว้ที่ “หอสมุดดำรงราชานุภาพ” ตั้งอยู่บริเวณวังวรดิศ ถนนหลานหลวง ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดตั้งเป็นห้องสมุดเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปัจจุบันเป็นห้องสมุดเฉพาะที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นบุคคลไทยพระองค์แรกที่ยูเนสโก (UNESCO) หรือองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศยกย่องให้เป็น บุคคลสำคัญของโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ และได้รับการถวายพระนามเป็น “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย” โดยในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๕ คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้ วันที่ ๑ ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็น “วันดำรงราชานุภาพ” เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รำลึกถึงพระองค์ ผู้ทรงมีคุณูปการต่อแผ่นดินไทย   เรียบเรียงโดย นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ                   หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี  สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี กรมศิลปากร   แหล่งข้อมูลอ้างอิง สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.  จดหมายเหตุบอกเล่า: พระนามสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อแรกประสูติ. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน      ๒๕๖๗, จาก: https://www.nat.go.th/คลังความรู้/รายละเอียด/ArticleId/847 ชลิยา ศรีสุกใส.  วันสำคัญ ประเพณี การละเล่นของไทย.  กรุงเทพฯ: พีบีซี, ม.ป.ป. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.  นิทานโบราณคดี.  พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (๒๐๐๖), ๒๕๕๙. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.  นิทานโบราณคดี.  พิมพ์ครั้งที่ ๔.  กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า ๒๐๐๐, ๒๕๕๙. บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก:      http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หอสมุดแห่งชาติ.  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ: พระนิพนธ์.  กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๑๒.    


ครั้งที่พิมพ์ : Edition:  พิมพ์ครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2543 ผู้พิมพ์ : Publisher:  กรมศิลปากร อธิบาย : Description:  พิมพ์จำนวน 2,500 เล่ม พิมพ์4สี จำนวน 272 หน้า ISBN:  974-417-459-5 ราคา : Price:  250 หนังสือสาโรช จารักษ์ ศิลปินศิลปากร เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวความเป็นตัวตนของนายสาโรช ในช่วงปฐมวัยจนเข้าสู่ปัจฉิมวัย จากคำบอกเล่าของเพื่อนพ้องน้องพี่ที่เคยใกล้ชิดกันมา ตลอดจนผลงานที่ฝากไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา   ผู้สนใจสามารถศึกษาค้นคว้าได้ที่หอสมุดแห่งชาติ และห้องสมุดประชาชน ทั่วประเทศ   ติดต่อซื้อได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๔๗๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๒๐๕๐


ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป. สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ไตรรงค์การพิมพ์      หนังสือเชิดชูเกียรติ นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ จัดทำขึ้นมาเพื่อเผยแพร่เกียรติคุณผู้ที่มีผลงานเด่นทางวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้ผู้อ่านได้เห็นถึงคุณค่าของผลงานของผู้ที่ได้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบต่อวัฒนธรรมของคนในชาติให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาและช่วยกันสืบต่อกันมา ภายในหนังสือเล่มนี้จะเต็มไปด้วยเรื่องราวที่เป็นชีวประวัติ ประสบการณ์และกิจกรรมของนายไกรศรี นิมมานเหมินท์


เนื่องจากได้มีการประกาศใช้บังคับกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ได้แบ่งสำนักศิลปากรใหม่ออกเป็น ๑๒ สำนัก ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการของหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคสอดคล้องกับการแบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว อธิบดีกรมศิลปากรได้กำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักศิลปากรใหม่ รายละเอียดตามเอกสารแนบดังนี้               ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักศิลปากรที่ ๑ - ๑๒ ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักศิลปากรที่ ๑ - ๑๒ ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐              กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ุ ๒๕๖๐ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๐ ก วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐) กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ุ ๒๕๖๐ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๐ ก วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐)




Messenger