ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ

มาตรการป้องการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ตอนที่ ๑ เทวดารู้แจ้งแห่งเภทภัย


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ประกาศปิดการให้บริการชั่วคราว*** ในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ช่วงเช้า ตั้งแต่ ๐๘.๓๐ - ๑๒.๕๙ น. เนื่องจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเปิดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๒   ณ พระที่นั่งอิศราวินิฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยจะเปิดให้บริการอีกครั้งในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป --------- ***Closure Announcement*** The National Museum Bangkok will be closed  during the half-day morning on 25 July 2019 and it will be open again at 01.00 p.m. ---------- สอบถามเพิ่มเติม / For more information: 0 2224 1402, 0 2224 1333 ---------- ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ We apologise for any inconvenience caused.


อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 22 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด สถานที่ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ติดต่อ : เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02-2222222  



อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 30 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด สถานที่ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศติดต่อ : เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02-2222222


บัญชีค่าเข้าชมโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   ท้ายกฎกระทรวง กำหนดค่าเข้าชมและค่าบริการอื่นสำหรับโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ ลำดับ จังหวัด รายชื่อ อัตราค่าเข้าชม (บาท) สัญชาติไทย สัญชาติอื่น บัตรปลีก บัตรรวม บัตรปลีก บัตรรวม 1 กรุงเทพมหานคร 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขตพระนคร 2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราช-พิธี เขตบางกอกน้อย 3.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เขตพระนคร 4.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น เขตดุสิต 30 20 30 5 60 200 100 200 5 350 2 กาญจนบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี 2.อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค 10 20 - - 50 100 - - 3 กำแพงเพชร 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร อำเภอเมืองกำแพงเพชร 2.อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร เขตอรัญญิก อำเภอเมืองกำแพงเพชร 3.อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร เขตในกำแพงเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร 20 20 20 - 30 100 100 100 - 150 4 ขอนแก่น 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น อำเภอเมืองขอนแก่น 20 - 100 - 5 จันทบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี อำเภอเมืองจันทบุรี 20 - 100 - 6 ชัยนาท 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งขาติ ชัยนาทมุนี อำเภอเมืองชัยนาท 10 - 50 - 7 เชียงราย 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน อำเภอเชียงแสน 2.โบราณสถานวัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน 20 10 - - 100 50 - - 8 เชียงใหม่ 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ 20 - 100 - 9 ชุมพร 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร อำเภอเมืองชุมพร 20 - 100 - 10 นครปฐม 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม 20 - 100 - 11 นครราชสีมา 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงค์ อำเภอเมือง นครราชสีมา 2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย อำเภอพิมาย 3.โบราณสถานวัดพนมวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา 4.อุทยาประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย 5.โบราณสถานเมืองแขก อำเภอสูงเนิน 10 20 10 20 10   50 100 50 100 50   12 นครศรีธรรมราช 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช 30 - 150 - 13 น่าน 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน อำเภอเมืองน่าน 20 - 100 - 14 บุรีรัมย์ 1.อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอนางรอง 2.โบราณสถานปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย 20 20 30 100 100 150 15 ปราจีนบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี 30 - 150 - 16 พระนครศรีอยุธยา 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม อำเภอพระนครศรีอยุธยา 2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา 3.โบราณสถานวัดมเหยงค์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 4.โบราณสถานวัดมหาธาตุ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 5.โบราณสถานวัดราชบูรณะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 6.โบราณสถานวัดพระศรีสรรเพชญ์และพระราชวังโบราณ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 7.โบราณสถานวัดพระราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา 8.โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา 20 30 10 10 10 10 10 10   40 100 150 50 50 50 50 50 50 220 17 พัทลุง 1.โบราณสถานวังเจ้าเมืองพัทลุง อำเภอเมืองพัทลุง 10 - 50 - 18 เพชรบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรีและอุทยาน ประวัติศาสตร์พระนครคีรี 20 - 150 - 19 เพชรบูรณ์ 1.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ 20 - 100 - 20 ภูเก็ต 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง อำเภอถลาง 20 - 100 - 21 ราชบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี อำเภอเมืองราชบุรี 20 - 100 - 22 ร้อยเอ็ด 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด 20 - 100 - 23 ลพบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จ พระนารายณ์ อำเภอเมืองลพบุรี 2.โบราณสถานบ้านวิชาเยนทร์ อำเภอเมืองลพบุรี 3.โบราณสถานปรางค์สามยอด อำเภอเมืองลพบุรี 4.โบราณสถานพระที่นั่งไกรสรสีหราช(พระที่นั่งเย็น) อำเภอเมืองลพบุรี 5.โบราณสถานวัดพระศรีมหาธาตุ อำเภอเมืองลพบุรี 30 10 10 10 10   30 50 50 50 50 50 - 150 24 ลำพูน 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญ-ไชย อำเภอเมืองลำพูน 20 - 100 - 25 สตูล 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล 10 - 50 - 26 สุพรรณบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี 2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง อำเภออู่ทอง 20 30 - - 100 150 - -  



ชื่อวัตถุ โถลายเขียนสี ทะเบียน ๒๗/๒๓/๒๕๓๓ อายุสมัย รัตนโกสินทร์ วัสดุ เครื่องเคลือบเขียนสี ประวัติที่มา นางภรณี แซ่ตันบ้านเลขที่ ๗๒ ถ.กระบี่ อ.เมือง จ.ภูเก็ตมอบให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ในนามนางซุ่ยติ๊ดแซ่อึ๋งวันที่ ๒เมษายน ๒๕๓๓ สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง “โถลายเขียนสี” โถลายเขียนสีพร้อมฝา ส่วนปากของโถมีสีพื้นเป็นสีเหลืองทำเป็นลายหยักสีขาว บริเวณไหล่เป็นลายคล้ายคลื่นสีเขียว ส่วนลำตัวมีสีน้ำเงินเป็นสีพื้นตกแต่งด้วยลายดอกไม้สีชมพูและลายก้านขด ส่วนฐานของโถทำเป็นลายคลื่นสีเขียว และมีหู ๔ หู ใต้ฐานมีตัวอักษรจีน ฝาโถส่วนขอบเป็นสีเหลือง ตัวฝามีสีน้ำเงินเป็นสีพื้นตกแต่งด้วยลายดอกไม้สีชมพูและลายก้านขด ฝาจุกเป็นสีน้ำเงิน เครื่องถ้วยรูปแบบนี้เรียกกันว่า “เครื่องถ้วยนนยา” (Nyonya Wares)ซึ่งคำว่า นนยา (Nyonya) เป็นคำภาษาชวาที่ยืมมาจากคำว่า “dana”ซึ่งเป็นภาษาดัชต์ หมายถึง ผู้หญิงต่างประเทศแต่งงาน ต่อมาใช้เรียกกลุ่มลูกครึ่งจีนกับมลายูที่มีวัฒนธรรมผสมผสานและสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่เรียกว่า “เปอรานากัน” แปลว่า “เกิดที่นี่” ซึ่งส่วนใหญ่อยู่อาศัยในแถบประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ส่วนในภูเก็ตเรียกคนที่มีเชื้อสายจีนผสมกับพื้นเมืองว่า “บาบ๋า” “เครื่องถ้วยนนยา” คือ เครื่องถ้วยลงยาสีบนเคลือบ เครื่องถ้วยชนิดนี้มีราคาที่แพง เนื่องจากมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยากและมีการเผาหลายครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกต้องเผาด้วยอุณภูมิที่ต่ำ เรียกว่า “เผาดิบ” จากนั้นนำไปชุบน้ำเคลือบแล้วเผาอีกครั้งด้วยอุณภูมิที่สูงขึ้นแล้วจึงได้ภาชนะเคลือบสีขาวแล้วจึงนำไปลงยาสี “การลงยา” หมายถึง การนำน้ำเคลือบมาผสมกับน้ำมันการบูรซึ่งเป็นน้ำมันที่มีคุณสมบัติต่างๆ คือ ทำให้สีแห้งเร็ว สามารถละลายตัวสีให้มีความข้นพอที่จะทำให้ตัวสีติดกับผิวเคลือบ สีที่ติดบนผิวภาชนะจะสดใส มีความหนา และแข็งตัวง่ายเมื่อถูกอากาศ แล้วจึงเผาอีกครั้ง และหากมีการลงสีทองต้องมีการเผาครั้งสุดท้ายในอุณภูมิที่ต่ำกว่า ลายที่นิยมใช้ตกแต่งบนเครื่องถ้วยนนยา เช่น ลายดอกไม้ และนก เป็นต้น เครื่องถ้วยนนยาแบบที่ตกแต่งด้วยการลงยาบนสีเคลือบ มีอายุสมัยเก่าที่สุดในช่วงราชวงศ์ชิง พ.ศ.๒๓๖๔ – ๒๔๙๓ แต่ถูกผลิตมากในช่วง พ.ศ.๒๔๐๕ – ๒๔๕๑ ซึ่งตรงกับยุครัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔) จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) ซึ่งในช่วงเวลารัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ เป็นช่วงที่มีชาวจีนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทำเหมืองแร่บนเกาะภูเก็ต “โถลายเขียนสี” หรือ “เครื่องถ้วยนนยา” ใบนี้จึงเป็นหลักฐานการเข้ามาของชาวจีนในช่วงเวลาดังกล่าวและยังสะท้อนถึงค่านิยมในเครื่องถ้วยจีนในสมัยนั้นอีกด้วย เอกสารอ้างอิง - ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และนิสิต มโนตั้งวนพันธุ์. “เรียนรู้วัฒนธรรมเปอรานากัน (บ้าบ๋า ย่าหยา) จากเครื่องถ้วยนนยา,” วารสารนักบริหาร๓๐, ๓ (กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๕๓):, ๖๒– ๖๗.


ชุดพระราชอาสน์ เลขทะเบียน พระราชอาสน์ที่ประทับ ๐๙/๑/๒๔๙๙  โต๊ะเคียง ๐๙/๒/๒๔๙๙ สมัยรัตนโกสินทร์ ไม้และโลหะ  ขนาด พระราชอาสน์ที่ประทับ สูง ๑๒๘.๕ ซม.กว้าง ๔๓ ซม.                    ขนาด โต๊ะเคียง  สูง ๘๖ ซม.กว้าง ๕๙.๕ ซม. จังหวัดนครราชสีมามอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ เก็บรักษาไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙                     ชุดพระราชอาสน์ ประกอบด้วย พระราชอาสน์ที่ประทับสองที่ และโต๊ะเคียงหนึ่งตัว  พระราชอาสน์ที่ประทับ เป็นเก้าอี้ไม่มีเท้าแขน โครงสร้างทำด้วยไม้กลึงทาสีขาว พนักบุผ้า ปักรูปครุฑพ่าห์ด้วยสีแดง มงกุฎและเครื่องประดับปักสีทอง ส่วนบนของพนักตกแต่งด้วยโลหะเป็นรูปหมวก ชุดเกราะของกษัตริย์โรมันทรงมงกุฎ ผสมกับลายช่อดอกไม้ ส่วนบนของส่วนกรอบพนักประดับตกแต่งเป็นรูปอาวุธ ขวานปลายหอก ตัวเบาะบุผ้า กำมะหยี่สีแดง ขาไม้กลึงเป็นเกลียวสี่ขา ปลายขาพระเก้าอี้ต่อด้วยขาโลหะ ซึ่งขาทั้งสี่ยึดไขว้กันด้วยลายโซ่ประดิษฐ์ ขอบตัวพระเก้าอี้ ตกแต่งด้วยแนวแผ่นโลหะรูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านล่างมนแหลมคล้ายโล่ สลับกับลายช่อดอกไม้แนวตั้ง           โต๊ะเคียง เป็นโต๊ะไม้ หลังโต๊ะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบุผ้ากำมะหยี่สีแดง ส่วนด้านกว้างทั้งสองด้าน ขอบตรงกลางหยักโค้งแหลม ขอบล่างของโต๊ะตกแต่งด้วยแผ่นโลหะ ตรงกลางคล้ายรูปชุดเสื้อเกราะตรงส่วนหน้าอก ขอบมุมทั้งสี่ม้วนกลมยาว คล้ายม้วนผ้าขนาดใหญ่ ขนาบด้วยแผ่นสี่เหลี่ยมด้านล่างมนคล้ายโล่สลับลายช่อดอกไม้ มีขาสี่ขา ด้านละสองขาวางไขว้กัน ปลายขาโต๊ะแต่ละขาทำด้วยโลหะออกแบบเป็นรูปอาวุธของทหารม้ายุโรปโบราณ คือ ทวนผสมขอและขวาน           ชุดพระราชอาสน์ ใช้เป็นที่ประทับใน ๓ รัชกาล คือ           ๑. ในรัชกาลที่ ๕ จัดถวายเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนี เมื่อคราวเสด็จประพาสจังหวัดนครราชสีมา เพื่อทรงทำพิธีเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๒๐ - ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๓           ๒. ในรัชกาลที่ ๖ จัดถวายเป็นที่ประทับ เมื่อคราวเสด็จประพาสจังหวัดนครราชสีมา และทำพิธีฉลองโล่ห์กองทหารม้า เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เมื่อวันที่ ๑๒ - ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๖           ๓. ในรัชกาลที่ ๙ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายสุวรรณ รื่นยศ ได้มอบให้ครูโรงเรียนสุรนารีวิทยา ครูโรงเรียนการเรือน และนาย ส.จิว มานะศิลป์ เป็นผู้ทำการซ่อมแซม และได้จัดถวายเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อให้ราษฎรเข้าเฝ้า ณ บริเวณหน้าศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘   Set of Table and Chairs for Royalty Registration No. Chairs 09/1/2499, Table 09/2/2499 Rattanakosin or Bangkok Art Wood and metal        Chairs Height 128.5 cm. Width 43 cm.                              Table   Height 86 cm.     Width 59.5 cm. Donated by Nakhon Ratchasima province to Maha Viravong National Museum in 1956.             This royal table set is elegant in both artistic style and structure, reflecting the designer's skill. The royal table set comprises a table and two chairs. This set of royal furniture was used by three kings during their royal visits to the Nakhon Ratchasima Province.                             1. First presented to King Rama V and Queen Sripacharintra for their use when visiting Nakhon Ratchasima (Korat) on the occasion of the Opening Ceremonies of the Bangkok-Korat Railway, on 20-25 December, 1900.                                                             2. Next, the set was used by King Rama VI, when he was Crown Prince, on the occasion of the Celebration of the Shield of Korat Cavalcade, on 12-20 January 1903.                                                 3. Most recently, after repairs, the set was used by King Rama IX and Queen Sirikit when they held and audience in front of the Korat Provincial Offices, on 2 November 1955.






บุญ ได้มีคำแปลไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า "เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข"


สาระสังเขป  :  หนังสือคำฉันท์เรื่องการท่องเที่ยวในเมืองชะวา ผู้แต่ง  :  สิบพันพารเสนอ โสณกุล, ม.จ.โรงพิมพ์  :  พระจันทร์ปีที่พิมพ์  :  2481 ภาษา  :  ไทยรูปแบบ  :  PDFเลขทะเบียน  :  น.32บ.2281จบเลขหมู่  :  915.982              ส728รว


Messenger