ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ
องค์ความรู้ทางวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
เรื่อง "แหล่งเตาบ่อสวก ตอนที่ ๑ แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาเมืองน่าน"
แหล่งเตาบ่อสวก ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อสวกพัฒนา ตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ห่างจากตัวเมืองน่านไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ที่สำคัญของเมืองน่านในสมัยโบราณ สภาพพื้นที่บริเวณที่พบเตาเผาส่วนมากมีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ได้แก่ ลำน้ำสวก ห้วยปวน พบเศษภาชนะดินเผากระจายอยู่ทั่วทั้งผิวดิน ปล่องเตาและหลังเตามักโผล่ให้เห็นบนผิวดินเพียงเล็กน้อย มีทั้งที่พบอยู่บริเวณบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา และเขตป่าชุมชนของหมู่บ้าน เช่น บ้านบ่อสวก ดงปู่ฮ่อ บ้านหนองโต้ม และเพี้ยงหม้อ เป็นต้น
คำว่า “บ่อสวก” มีที่มาจากสองความหมาย คือ
๑. “สวก” ในภาษาพูดของชาวลั๊วะ หมายถึง เกลือ และบริเวณชุมชน มีบ่อเกลือ จำนวน ๒ บ่อ คือ บ่อเกลือเหนือ และบ่อเกลือใต้ จึงเรียกขาน บ่อเกลือ ว่า บ่อสวก
๒. “สวก” แปลว่า ดุร้าย เนื่องจากมีเรื่องเล่าและตำนานความเชื่อเกี่ยวกับความดุร้ายของผีที่เฝ้าบ่อเกลือ ว่าหากผู้ใดลบหลู่สถานที่บ่อเกลือ จะเจ็บไข้ได้ป่วยและมีอันเป็นไป
ในพงศาวดารเมืองน่าน ได้กล่าวถีง “บ้านเตาไหแช่เลียง” ว่าเป็นที่พักของเจ้าอินต๊ะแก่นท้าว(พ.ศ. ๑๙๗๖) ในคราวที่ถูกเจ้าแปง และเจ้าพ่อพรม พระอนุชาเป็นขบถชิงเมืองน่าน มีข้อสันนิษฐานว่า บ้านเตาไหแช่เลียง อาจเป็นการตั้งชื่อหมู่บ้าน ที่บ่งบอกถึงลักษณะเด่นของพื้นที่นั้นๆ คำว่า “เตาไห” อาจหมายถึงหมู่บ้านที่มีเตาเผาผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทไหเป็นหลัก และ คำว่า “แช่เลียง” อาจเป็นไปได้ว่าผู้คนบริเวณนี้แต่ดั้งเดิมส่วนหนึ่งอาจอพยพย้ายถิ่นมาจากเมืองแช่เลียง เมื่อพิจารณาประกอบกับพื้นที่บริเวณบ้านบ่อสวกซึ่งมีการสำรวจและขุดค้นพบแหล่งเตาผลิตเครื่องปั้นดินเผากระจายตัวอยู่หลายแห่ง จึงอาจมีความเป็นไปได้ว่า บ้านเตาไหแช่เลียง ที่ปรากฏนามอยู่ในพงศาวดารเมืองน่าน อาจหมายถึง แหล่งเตาบ่อสวก
แหล่งเตาบ่อสวก ได้รับการศึกษามาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ) กองโบราณคดี กรมศิลปากร จากการสำรวจสันนิษฐานว่ามีเตาเผาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า ๕๐ เตา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ รองศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์ได้ทำการสำรวจและศึกษาเพิ่มเติม พบว่ามีแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาโบราณอยู่ในเขตตำบลบ่อสวกอีกหลายหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านบ่อสวกหมู่ที่ ๑ บ้านบ่อสวกพัฒนาหมู่ที่ ๑๐ บ้านหนองโต้มหมู่ที่ ๘ และบ้านเชียงยืนหมู่ที่ ๔ จนกระทั่งในช่วง พ.ศ. ๒๕๔๖ - ๒๕๕๒ จึงได้มีการสำรวจและขุดค้นเพื่อศึกษาแหล่งเตาเผาโบราณบ้านบ่อสวกเพิ่มเติม
ลักษณะเตาบ่อสวก เป็นเตาดินก่อระบายความร้อนผ่านเฉียงขึ้น (Single-chamber kiln: above-ground cross-draught type with clay-structure) โครงสร้างเตาประกอบด้วย ห้องไฟ (fire-box) สำหรับวางเชื้อเพลิง, ห้องภาชนะ (pot chamber) สำหรับวางเครื่องปั้นดินเผา และปล่องเตา (chimney) สำหรับระบายความร้อนในการเผา
ปัจจุบันแหล่งเตาบริเวณบ้านบ่อสวกที่ได้มีการขุดค้นและเปิดให้เข้าชม มี ๓ พื้นที่ ได้แก่
๑. แหล่งเตาในพื้นที่พิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่น ประกอบด้วย เตาสุนัน เตาจ่ามนัส เตาเฮือนบ้านสวกแสนชื่น ๑ และเตาเฮือนบ้านสวกแสนชื่น ๒
๒. เตาดงปู่ฮ่อ
๓. เตาบ้านหนองโต้ม ๑ และ ๒
--- เตาสุนัน ตั้งอยู่บริเวณพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่น ตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๖.๕๐ เมตร ลักษณะภายในห้องไฟและช่องใส่ไฟมีเศษภาชนะดินเผาแตกหักเสียหายและก้อนดินโครงสร้างเตาทับถมอยู่หนาแน่น บริเวณฐานรองปล่องเตาเผาสุนัน ภายหลังได้มีการพบขวานหินกะเทาะไม่มีบ่าจำนวน ๒ ชิ้น
--- เตาจ่ามนัส ตั้งอยู่บริเวณพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่น ตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากเตาสุนันไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๔๒.๕๐ เมตร มีขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๖.๕๐ เมตร แผนผังเตาเป็นรูปคล้ายเรือ มีร่องรอยการก่อซ่อมและปรับปรุงส่วนปล่องเตาและช่องใส่ไฟ พบโครงสร้างปล่องเตาก่อซ้อนกันสองชั้น
--- เตาเฮือนบ้านสวกแสนชื่น ๑ ตั้งอยู่บริเวณไหล่เนินลาดลงไปสู่ลำน้ำสวก เป็นเตาเผาขนาดเล็ก มีขนาดกว้าง ๑.๘๐ เมตร ยาว ๔.๕๐ เมตร ปล่องไฟมีเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ผนังปล่องเตาหนา ๒๐ เซนติเมตร
--- เตาเฮือนบ้านสวกแสนชื่น ๒ เป็นเตาเผาขนาดเล็ก ปัจจุบันขุดเปิดเพียงครึ่งเตาตามแนวยาว เนื่องจากเตาเผาอีกส่วนอยู่นอกพื้นที่กรรมสิทธิ์ของพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่น มีขนาดกว้าง ๑.๔๐ เมตร ยาว ๕.๒๐ เมตร ปล่องไฟมีเส้นผ่านศูนย์กลางรอบนอกประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ผนังปล่องเตาหนา ๒๐ เซนติเมตร
--- เตาดงปู่ฮ่อ พบจำนวน ๒ เตา เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จำนวน ๑ เตา และกลบดินคืนจำนวน ๑ เตา โดยดำเนินการขุดค้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ลักษณะเตาดงปู่ฮ่อเป็นเตาเผาก่อดินขนาดเล็ก มีขนาดความกว้าง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๖.๕๐ เมตร นอกจากพบเตาเผาโบราณบริเวณดงปู่ฮ่อแล้วยังมีการขุดพบภาชนะดินเผาบรรจุกระดูกและซากโบราณสถานก่ออิฐอีกด้วย
--- เตาบ้านหนองโต้ม ๑ มีขนาดกว้าง ๑.๗ เมตร ยาว ๖ เมตร พบเศษภาชนะดินเผาทับถมหนาแน่นทั้งสองข้างเตา ลักษณะของช่องใส่ไฟแคบและเตี้ย สันนิษฐานว่าการนำภาชนะเข้าไปเรียงในเตาเผาและการนำภาชนะที่ผ่านการเผาเสร็จสมบูรณ์แล้วออกมาจากเตา น่าจะใช้วิธีการเจาะเปิดหลังคาเตา และเมื่อต้องการใช้งานเตาเผาครั้งต่อไปจะใช้ดินโบกยาปิด ทำเช่นนี้สลับกันไป
--- เตาบ้านหนองโต้ม ๒ มีขนาดกว้าง ๑.๗๒ เมตร ยาว ๔.๗ เมตร ส่วนปล่องเตาและหลังเตาโครงสร้างเตาถูกทำลายเป็นส่วนใหญ่ จากการขุดค้นพบว่าแหล่งเตาบ้านหนองโต้ม ๒ ปรากฏส่วนผนังเตาด้านทิศใต้สองชั้น เป็นไปได้ว่าอาจมีการซ่อมแซมและปรับปรุงเตาเผาเกิดขึ้นในระหว่างการใช้งาน
เอกสารอ้างอิง
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. โบราณคดีชุมชนที่เมืองน่าน. กรุงเทพฯ : โครงการโบราณคดีชุมชน, ๒๕๔๓.
สำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน. คู่มือประกอบกิจกรรมสร้างเครือข่ายเพื่อบริหารจัดการเตาเผาโบราณตำบลบ่อสวก, ๒๕๕๕.
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่. สังเขปประวัติศาสตร์และโบราณคดีจังหวัดน่าน ฉบับคู่มือ อส.มศ.
>>> โปรดติดตามองค์ความรู้ทางวิชาการตอนต่อไป เกี่ยวกับแหล่งเตาบ่อสวก ตอนที่ ๒... เอกลักษณ์เครื่องปั้นดินเผาเมืองน่าน
ทางเพจ Facebook พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน นะคะ
กรุงธนบุรีศรีมหาสมุท (๑) ชื่อเดิมว่า เมืองบางกอก เป็นเมืองที่เคยเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่และมีความเจริญ รุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลายเมื่อพ.ศ.๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนศรีมหาสมุทรแห่งนี้เป็นราชธานีแห่งใหม่ กรุงธนบุรีมีอายุครบรอบ ๒๕๐ ปีแห่งการสถาปนาเป็นราชธานีของไทย เมื่อพ.ศ.๒๕๖๐ มีความสำคัญและเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยไม่แพ้ราชธานีใด เพราะการก่อกำเนิดของราชธานีแห่งนี้เกิดขึ้นจากความเสียสละและจิตใจอันกล้าหาญเด็ดเดี่ยวยิ่งของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้ทรงอุทิศทั้งแรงกายและแรงใจของพระองค์ด้วยความวิริยะอุตสาหะ พระองค์ทรงตรากตรำทั้งพระวรกายและทรงทุ่มเทแรงใจเพื่อนำพาเหล่าบรรพชนผู้กล้าหาญเข้ากรำศึกกับข้าศึกศัตรูทั้งจากภายในและภายนอก เพื่อให้ได้มาซึ่งการดำรงอยู่ของคนไทยจนนำไปสู่การตั้งราชธานีแห่งใหม่และกอบกู้เสถียรภาพของชาติไทยให้กลับคืนมาได้อีกครั้ง พระมหากรุณาธิคุณอันเป็นที่ประจักษ์ชัดของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็คือการสถาปนาศูนย์กลางอำนาจของราชอาณาจักรไทยขึ้นสืบต่อจากกรุงศรีอยุธยาที่ถูกพม่าทำลายจนพินาศย่อยยับได้สำเร็จ และกลายเป็นหลักแหล่งมั่นคงที่เป็นรากฐานให้กรุงเทพมหานครได้เติบโตตามมาจนมีอายุสองร้อยกว่าปีในปัจจุบัน ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ต้องแลกมาด้วยการสูญเสียเลือดเนื้ออันเกิดจากความรักชาติและความเสียสละของพระยาตากอย่างแท้จริง ดังนั้นคงไม่ใช่เรื่องที่จะพูดกันแต่เพียงว่าท่านคือผู้กอบกู้เอกราช เพราะพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่นอกเหนือกว่านั้นคือพระราชปณิธานและวีรกรรมอันมุ่งมั่นที่สร้างชาติบ้านเมืองให้กลับมาหยัดยืนสืบแทนอยุธยาให้ได้อีกครั้ง หากปราศจากพระองค์ท่าน ประเทศไทยในวันนี้จะเป็นเช่นไรก็คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการได้ ภายหลังจากที่ทรงปราบดาภิเษก พระราชภารกิจสำคัญลำดับแรกของพระเจ้าตากสินมหาราชก็คือการสร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น แต่การกอบกู้ชาติบ้านเมืองของพระองค์ในระยะแรกเริ่มเต็มไปด้วยความยาก ลำบากแสนสาหัส ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวของประชาชนและสภาพบ้านเมืองที่ถูกข้าศึกทำลายจนย่อยยับจนเกิดสภาวะจลาจลไปทั่วทุกหนแห่งในขณะนั้น การที่จะทำให้บ้านเมืองมีเสถียรภาพเพื่อให้ผู้คนเกิดความเชื่อมั่นที่จะกลับเข้ามาดำเนินชีวิตตามปกติอีกครั้งจึงไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่บ้านเมืองยังเต็มไปด้วยปัญหาภายในซับซ้อนหลายด้าน ประกอบกับภาวะศึกสงครามก็ยังไม่ได้สงบลงอย่างแท้จริง ยังคงมีทั้งศึกภายนอกและศึกภายในมาจากทุกภูมิภาค มีการตั้งตนเป็นใหญ่ของผู้นำชุมนุมต่างๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ชุมนุมเจ้าเมืองพิษณุโลก (เรือง) ชุมนุมเจ้าพิมาย (กรมหมื่นเทพพิพิธ) และชุมนุมเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (หนู) ดังนั้นการจะสร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ในลำดับแรกพระองค์จึงทรงต้องปราบปรามชุมนุมที่ต่างฝ่ายก็พยายามจะแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจเพื่อตั้งตนขึ้นมาเป็นใหญ่เสียก่อน ซึ่งต้องใช้ทั้งสรรพกำลังและต้องสูญเสียเลือดเนื้อมิใช่น้อย สิ่งที่สร้างความยากลำบากเพิ่มมากขึ้นก็คือเหตุแห่งทุพภิกขภัย หรือภัยแห่งการขาดแคลนอาหารภายในบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจากภาวะสงคราม เกิดข้าวยากหมากแพงและขาดแคลนอาหารอย่างหนัก เพราะราษฎรพากันทิ้งไร่ทิ้งนาในระหว่างศึกสงคราม ดังนั้นในยามที่ว่างเว้นจากการกรำศึกเพื่อกอบกู้เอกราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ยังทรงต้องแก้ปัญหาปากท้องทั้งของราษฎรและกองทัพ พระองค์ทรงเริ่มชักจูงให้ราษฎรค่อยๆ อพยพกลับสู่กรุงธนบุรีเพื่อกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติ เหตุผลหนึ่งที่ทรงเลือกเมืองธนบุรีนั้น เพราะแต่เดิมเมืองธนบุรีเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทั้งทางด้านยุทธศาสตร์และการค้า และเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นเมืองเกษตรกรรมและอาชีพหลักของประชาชนคือการทำสวนผลไม้ หมู่บ้านส่วนใหญ่ที่อยู่ริมน้ำปลูกเป็นกระท่อมไม้ไผ่เรือนยกสูงเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยปลูกบ้านเป็นแนวยาวไปตามแนวทางน้ำ ถัดเข้าไปตอนในจึงเป็นที่นาหรือป่าละเมาะ ลักษณะการทำสวนของเมืองธนบุรีซึ่งเป็นแบบยกท้องร่อง เป็นลักษณะการทำสวนแบบชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งและมณฑลกวางสี จึงมีความเป็นไปได้ว่าชาวจีนตอนใต้ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามปากแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว ในเมืองธนบุรีมีการทำเกษตรกรรมที่ให้ผลผลิตดี สินค้าสำคัญของธนบุรีที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นประเภทผลไม้และหมาก(๒) แต่ในขณะนั้นการทำไร่ทำนาก็ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรเพราะฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล สภาวะการขาดแคลนดังกล่าวนี้ปรากฏตรงกันอยู่ในบันทึกของชาวต่างชาติหลายฉบับ เช่นที่ปรากฏข้อความในบันทึกของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ว่า“..เมื่อข้าพเจ้าได้ไปในเมืองไทยได้เห็นราษฎรพลเมืองซึ่งได้รอดพ้นมือพม่าไปได้นั้น ยากจนเดือดร้อนอย่างที่สุด ในเวลานี้ดูเหมือนดินฟ้าอากาศจะช่วยกันทำโทษพวกเขา ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล ชาวนาได้หว่านข้าวถึง ๓ ครั้งก็มีตัวแมลงคอยกินรากต้นข้าวและรากทุกอย่าง โจรผู้ร้ายก็ชุกชุมมีทั่วไปทุกหนแห่ง เพราะฉะนั้นถ้าจะไปไหนก็ต้องมีอาวุธติดตัวไปด้วยเสมอ..”(๓) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อรับซื้อข้าวสารจากเรือสำเภาของชาวต่างชาติในราคาสูงเพื่อนำมาแจกจ่ายแก่ราษฎร ชาวบ้านที่เคยหลบหนีออกไปอยู่ตามป่าเขาจึงเริ่มอพยพกลับเข้ามาในกรุงธนบุรีเพิ่มมากขึ้น แม้แต่ชาวต่างชาติที่ได้ร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ในช่วงนี้ก็ยังได้บันทึกไว้เช่นกันว่า “..ภายใต้สถานการณ์ที่เลวร้ายนี้ พระยาตากได้แสดงให้เห็นถึงพระเมตตากรุณาของพระองค์ ความขัดสนไม่ได้ทำให้อดอยากต่อไปอีกนานนัก เพราะพระองค์ทรงเปิดพระคลังหลวงเพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ ชาวต่างชาติได้ขายผลิตผลซึ่งไม่มีในประเทศสยามให้โดยต้องใช้เงินสดซื้อ ทรงใช้พระเมตตากรุณาของพระองค์เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงความถูกต้องในการเข้ายึดครองอำนาจ ทรงลบล้างเรื่องการกดขี่ ความปลอดภัยทั้งในเรื่องชีวิตและทรัพย์สินได้ฟื้นคืนกลับมา..”(๔) ส่วนในพระราชพงศาวดารก็ได้บันทึกไว้เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ว่า “ข้าวสารเป็นเกวียนละ ๒ ชั่ง อาณาประชาราษฎรขัดสน จึงทรงพระกรุณาให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทำนาปรัง”(๕) แม้กระทั่งระดับเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์(๖) ซึ่งเป็นแม่ทัพก็ยังต้องมาคุมทำนาพื้นที่ฝั่งซ้ายขวา กินเนื้อที่กว้างให้เป็นทะเลตมเพื่อป้องกันข้าศึก และในเวลาต่อมาเมื่อบ้านเมืองได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ กรุงธนบุรีจึงได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายทั้งกับชาติตะวันออกและตะวันตก ทางตะวันออกพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ส่งเรือสำเภาไปค้าขายถึงเมืองจีนตลอดจนอินเดียใต้ แต่กว่าที่จะเปิดการค้ากับราชสำนักจีนได้นั้นพระเจ้าตากต้องส่งพระราชสาสน์ไปเมืองจีนถึง ๔ ครั้ง(๗) เพื่อให้จีนรับรับรองฐานะความเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของสยาม-------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวเสาวลักษณ์ กีชานนท์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์-------------------------------------------------------------เชิงอรรถ ๑ ปรากฏชื่ออยู่ในกฎหมายตราสามดวงว่า “เมืองธนบุรียศรีมหาสมุทร”ซึ่งแปลว่า“เมืองแห่งทรัพย์อันเป็นศรีแห่งสมุทร” ๒ จุมพฎ ชวลิตานนท์. การค้าส่งออกของอยุธยาระหว่างพ.ศ.๒๑๕๐-๒๓๑๐.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.๒๕๓๑. หน้า๔๓. ๓ ศิลปากร,กรม. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙. หน้า ๘๗ ๔ สมศรี เอี่ยมธรรม. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับตุรแปง. (กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิมพ์) ๒๕๕๙. น. ๒๒๓. ๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม).(กรุงเทพ : มปท. มปป.) ๒๕๐๖. น. ๔๐. ๖ ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือวังหน้าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ๗ ณัฏฐภัทร จันทวิช. ข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายและธนบุรีจากจดหมายเหตุจีน. วารสารศิลปากร ๒๕ (พค.-กค.๒๕๒๓) น.๕๕. --------------------------------------------------------------
ชื่อเรื่อง กฐินทานาสํสกถา (ฉลองกฐิน)สพ.บ. 400/1หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 18 หน้า : กว้าง 4.4 ซม. ยาว 58.7 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย เมื่อตอนที่แล้วได้แนะนำ หาดทรายที่สวยงาม คือ หาดคุ้งวิมาน มีอีก 2 หาดที่อยู่ในระยะทางไม่ไกลจากหาดคุ้งวิมานมากนัก คือ หาดแหลมเสด็จ และ หาดจ้าวหลาว หาดแหลมเด็จ เป็นหาดทรายขาวสะอาดยางเหยียดสุดสายตา เป็นหาดทรายต่อเนื่องกับหาดคุ้งวิมาน อยู่ในท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ แยกจากถนนสุขุมวิทไปตามเส้นทางเดียวกับหาดคุ้งวิมาน เมื่อเข้าไปประมาณ 16 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกแยกซ้ายมือไปแหลมเด็จอีก 11 กิโลเมตร เมื่อเข้าไปได้ประมาณ 3 กิโลเมตร เส้นทางจะวกวนขึ้นไหล่เขา มองเห็นพื้นดินที่เรียกว่า “แหลมเสด็จ” ยื่นออกไปในทะเล แบ่งทะเลออกเป็น 2 ด้าน ด้านซ้ายเป็นชายหาด เรียกแหลมเสด็จ ด้านขวาเป็นคุ้งน้ำเวิ้งว้างกว้างใหญ่เรียกว่า “อ่าวคุ้งกระเบน” สุดปลายแหลมเสด็จจะมีภูเขาขนาดกลางปิดสกัดปลายแหลมไว้ หาดแหลมเสด็จมีความยาวต่อเนื่องกับหาดจ้าวหลาว นับความยาวรวมกันได้ 10 กิโลเมตร หาดทรายทางด้าน แหลมเสด็จจะชัน เล็กน้อย และจะค่อยๆลาดออกไปในทะเลจนถึงหาดจ้าวหลาว หาดจ้าวหลาว เป็นหาดทรายขาวสวยที่น้ำจะใสกว่าหาดแหลมเสด็จ ทรายสะอาดเป็นสีแดง ชาวจันทบุรีนิยมมาพักผ่อนกันมากโดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์ หาดจ้าวหลาวมีรีสอร์ทที่พักมาก มีถนนเลียบทะเลตลอดจนไปสุดปลายทางที่ปากน้ำแหลมสิงห์ หาดทั้งสองหาดนี้เหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีบรรยากาศเงียบสงบ จะกางเต๊นท์พักแรมในยามค่ำคืนก็ได้ ----------------------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี___________________________________________________________________
โครงการสร้างภาคีเครือข่ายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมสร้างภาคีเครือข่ายในการดูแล รักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (รวมใจ ร่วมรักษา ร่วมอนุรักษ์ และ ร่วมพัฒนา “มรดกศิลปวัฒนธรรมบ้านเอ๋ง”) สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๔
ชื่อเรื่อง กลอนไดอรีซึมทราบ ตามเสด็จไทรโยค โคลงนิราศท้าวสุภัตติการภักดีและกลอนนารีรมย์ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ รวมเรื่องทั่วไปเลขหมู่ 089.95911 พ717อสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์จันหว่าปีที่พิมพ์ 2511ลักษณะวัสดุ 282 หน้าหัวเรื่อง กวีนิพนธ์ไทย – รวมเรื่องภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เหมือนเป็นผู้อื่นหรือเป็นข้าราชการฝ่ายในแต่งเล่าเรื่องต่าง ๆ ส่วนกลอนนารีรมย์มีทั้งบทพระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ และบทนิพนธ์ของกวีหลายท่านในสมัยนั้น เป็นเรื่องราวต่าง ๆ และเคยส่งไปลงในหนังสือพิมพ์ "นารีรมย์" สำหรับผู้หญิงอ่าน โดยแต่งเป็นกลอนล้วน
เลขทะเบียน: กจ.บ.8/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมตฺถสงฺคิณี พระสมนฺตมหาปฏฺฐาน เผด็จ ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาดประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 108 หน้า
ชื่อเรื่อง นิสัยจตุกกนิบาต (นิสัยจตุกกนิบาต)
สพ.บ. 358/12ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.251/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 6 (2565)หัวเรื่อง : เอกนิปาต--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม