ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ
ชื่อผู้แต่ง : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงสวัสดิ์วรสาส์น (สวัสดิ์ คชะสุต)
ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงสวัสดิ์วรสาส์น (สวัสดิ์ คชะสุต)
ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : การพิมพ์ไชยวัฒน์
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๔
จำนวนหน้า : ๗๖ หน้า
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสวัสดิ์วรสาส์น (สวัสดิ์ คชะสุต)
จัดพิมพ์เนื่องจากด้หลวงสวัสดิ์วรสาส์น เคยรับราชการประจำ ณ สถานทูตสยามกรุงลอนดอน ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๗๑ เคยรับใช้ใกล้ชิดเจ้านายหลายพระองค์ ด้วยความจงรักภักดี จึงเห็นสมควรจัดพิมพ์ลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานหม่อมเจ้าหญิงจงจิตร ถนอม ดิศกุล พระธิดาองค์ใหญ่ ระหว่างเสด็จประพาสยุโรป เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓
ชื่อเรื่อง : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔ ชื่อผู้แต่ง : ศิลาจารึก ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรีจำนวนหน้า : 482 หน้า สาระสังเขป : ประชุมศิลาจารึกภาคที่๔ ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย , ขอม , มอญ , บาลีสันสกฤต โดยประมวลศิลาจากรึกที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากรและที่อื่น ตั้งแต่หลักที่ 85 จนถึงหลักที่ 130 พร้อมทั้งได้ถ่ายรูปหลักศิลานั้น ๆ มาตีพิมพ์ประกอบไว้ด้วย
“...มหัศจรรย์ Unseen ! #ภาพสลักโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ...”
.
หลังจากที่ #พี่นักโบ ได้นำเสนอ ภาพเขียนสี ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แห่งใหม่! บนเทือกเขาพนมดงรัก และแห่งแรก ! ของจังหวัดศรีสะเกษ ไปเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมานั้น ในวันนี้ พี่นักโบ ขอยกอีก 1 Unseen นั่นคือ ภาพสลักโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มานำเสนอให้ทุกท่านได้รู้จักในวันนี้ครับ
.
จากการสำรวจทางโบราณคดีที่ผ่านมา เราพบ ภาพสลัก ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ถึง 2 แห่งได้แก่ 1 ภาพสลัก เพิงผาเขียน เขาพนมดบ และ 2 ภาพสลัก เพิงหินผาจันทร์แดง ซึ่งทั้ง 2 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ โดยภาพสลักทั้ง 2 แห่ง สลักเป็นลายเส้นทั้งในแนวตั้ง แนวนอน และแนวทแยง ภาพสามเหลี่ยม โดยสามเหลี่ยมบางภาพ ขูดเส้นตรงกลาง ปลายแหลมขุดรูเป็นวงกลมคล้ายอวัยวะเพศหญิง เบื้องต้น กำหนดอายุอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก หรือราว 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว
.
ความพิเศษของพื้นที่ทั้ง 2 แห่ง ที่พบ ภาพสลัก นั้น คือ เป็นพื้นที่ที่มนุษย์โบราณ สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์เพื่อดำรงชีพ ได้ ดังนั้น มนุษย์โบราณอาจสลักภาพเหล่านี้ขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ หรือแสดงความสำคัญของพื้นที่ดังกล่าวให้กลายเป็น Landmark หรือจุดหมายตา ของมนุษย์โบราณ ได้อย่างชัดเจน
.
เรียบเรียงโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ธนบุรี
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์กฤษณปกรณ์
ปีที่พิมพ์ 2514
จำนวนหน้า 93 หน้า
รายละเอียด เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หลวงบุรกรรมโกวิท เนื้อหาเป็นเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช ๒๔๘๓ และเรื่องกำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นมิได้
ชื่อเรื่อง หนังสือพิมพ์คนสุพรรณ เล่ม 7 ตั้งแต่ฉบับที่ 336 ถึง 353/2506 (เมษายน - พฤษภาคม - มิถุนายน)ผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หายากISBN/ISSN -หมวดหมู่ -เลขหมู่ -สถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์ -ปีที่พิมพ์ 2506ลักษณะวัสดุ 186 หน้า. : กว้าง 28 ซ.ม. ยาว 39 ซ.ม.ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก
เมืองกาญจนบุรีปัจจุบัน เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ซึ่งทรงโปรดฯให้ย้ายที่ตั้งเมืองจากลาดหญ้า มาตั้งบริเวณปากแพรก ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำแควน้อยกับ แม่น้ำแควใหญ่ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง เพื่อประโยชน์ในการรับศึกฝั่งพม่า โดยทรงโปรดฯให้ พระยาประสิทธิสงคราม เจ้าเมืองกาญจนบุรี เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างกำแพงเมือง และมีพิธีวางศิลาฤกษ์กำแพงเมืองในวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๗๔ กำแพงเมืองกาญจนบุรี มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนานไปกับแม่น้ำแม่กลอง ขนาดกว้าง ๒๑๐ เมตร ยาว ๔๙๔ เมตร กำแพงเมืองก่ออิฐฉาบปูน สูงประมาณ ๔ เมตร บนกำแพงมีใบบังสี่เหลี่ยม มีป้อมหกเหลี่ยมประจำมุมกำแพงทั้ง ๔ มุม และมีป้อมที่กึ่งกลางกำแพงฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก ฝั่งละหนึ่งป้อม รวมทั้งหมด ๖ ป้อม มีประตูเมืองทั้งหมด ๘ ประตู กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำแพงเมืองกาญจนบุรีเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ หน้า ๓๖๘๙ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซม จำนวน ๔ ครั้ง ดังนี้ ๑) พ.ศ. ๒๕๓๙ บูรณะประตูเมือง และกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกส่วนที่อยู่ในโรงเรียน กาญจนานุเคราะห์ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ บูรณะกำแพงเมืองความยาว ๒๑๐ เมตร ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ กรมศิลปากร ร่วมกับเทศบาลเมืองกาญจนบุรี และสำwww.facebook.comนักงานทางหลวงชนบท จังหวัดกาญจนบุรี บูรณะเสริมความมั่นคงกำแพงและป้อมกึ่งกลางกำแพง พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณประตูเมือง และลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๓ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้ดำเนินโครงการขุดศึกษาและบูรณะโบราณสถานกำแพงเมืองบางส่วน ดังสภาพ ที่ปรากฏในปัจจุบัน——————————————————ที่มาของข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรีwww.facebook.com
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้กรมศิลปากร โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ดำเนินการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ เพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงทั้งศิลปินผู้ประพันธ์เพลงและศิลปินผู้ขับร้องเพลงที่มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย รวมทั้งประกาศยกย่องบุคคล องค์กร หรือโครงการที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริมวงการเพลงและการอนุรักษ์ภาษาไทยมาอย่างสืบเนื่องนับตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๔๗ เป็นต้นมา โดยในพุทธศักราช ๒๕๖๕ นี้ นับเป็นการดำเนินงานปีที่ ๑๙ บัดนี้ คณะกรรมการตัดสินการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕ ซึ่งประกอบด้วยศิลปินแห่งชาติ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีคีตศิลป์และภาษาไทย อาทิ นางรวงทอง ทองลั่นธม นายวิรัช อยู่ถาวร นายวินัย พันธุรักษ์ นายพิเชฏฐ ศุขแพทย์ นายบูรพา อารัมภีร นายอานันท์ นาคคง นางสาวธนพร แวกประยูร ได้ร่วมพิจารณาตัดสินผลงานเพลงที่ส่งเข้าประกวดกว่า ๒๐๐ เพลงเสร็จสิ้นลงเรียบร้อยแล้ว โดยผลการตัดสินการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕ มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๔ รางวัล ดังนี้ รางวัลเชิดชูเกียรติ จำนวน ๓ รางวัล ประกอบด้วย รางวัลเชิดชูเกียรติ ผู้มีคุณูปการต่อวงการเพลง ได้แก่ นางสาวนิตยา อรุณวงศ์ (โฉมฉาย อรุณฉาน) รางวัลเชิดชูเกียรติ โครงการอนุรักษ์และส่งเสริมเพลงพื้นบ้าน ได้แก่ โครงการเพาะกล้าพันธุ์เก่งเพลงพื้นบ้าน โดยรองศาสตราจารย์บัวผัน สุพรรณยศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รางวัลเชิดชูเกียรติ ผู้สร้างสรรค์แนวเพลงและส่งเสริมศิลปินรุ่นใหม่ ได้แก่ นายบรรณ สุวรรโณชิน รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน ๓ รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชมเชย ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) จากเพลงความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ ๔) รางวัลชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ นายมนูญ และนายมติธรรม เรืองเชื้อเหมือน จากเพลงมนต์รักดนตรีไทย รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ นายสลา คุณวุฒิ จากเพลงไร่อ้อยวิทยา รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน ๘ รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ นายไกรวิทย์ พุ่มสุโข จากเพลงใจที่โดนฉีก รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ นายเมธี อรุณ (เมธี ลาบานูน) จากเพลงดอกฟ้า รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ นางสาวนุตประวีณ์ ข้องรอด (มิวสิค โรสซาวด์) จากเพลงรักแท้ (แม้ไม่อาจอยู่ร่วมกัน) รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ นางสาวปราชญา ศิริพงษ์สุนทร จากเพลงเชิญอริยมรรค รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ นายอนันต์ อาศัยไพรพนา (นัน ไมค์ทองคำ) จากเพลงคำตอบของชีวิต รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ นายภาณุวิชญ์ พริ้งเพราะ จากเพลงแด่คุณครูด้วยดวงใจ รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ นางสาวลลดา ปานจันทร์ดี (นิตา ลลดา) จากเพลงหลวงพ่อกวยช่วยลูกที รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ นางสาวเขมจิรา วงษ์ทอง (หมิว เขมจิรา ไมค์ทองคำ) จากเพลงหัวใจเอิงเอย ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร จะทำพิธีมอบรางวัลเพชรในเพลง เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕ ในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันอังคารที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง สพ.ส.12 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 102; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง เวชศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดชายทุ่ง ต.ท่าระหัด อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 10 ส.ค.2538
กรมศิลปากร. สำนักหอสมุดแห่งชาติ. 200 ปี รัตนกวีสุนทรภู่. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2519. เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติสุนทรภู่ในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พร้อมด้วยเชิงอรรถ และบันทึกเรื่องผู้แต่งนิราศพระแท่นดงรัง โดยนายธนิต อยู่โพธิ์
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์)สพ.บ. สพ.บ.421/11กประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พระพุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ กัณฑ์มหาราชบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เรื่อง #พระนั่งหันหลังชนกันที่วัดมหาธาตุจังหวัดราชบุรีวัดมหาธาตุวรวิหาร ราชบุรี หรือเดิมเรียกว่า วัดหน้าพระธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๗ ถนนเขางู ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของเมืองราชบุรีตั้งอยู่บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง วัดมหาธาตุ พบหลักฐานที่น่าสนใจ และสร้างความประหลาดใจต่อผู้ที่พบเห็น คือ บริเวณด้านหน้าองค์พระปรางค์มีวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ (หลัง) ชนกัน จำนวน ๕ หลังวิหารทั้ง ๕ หลัง ประกอบด้วย๑. วิหารหลวง ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระปรางค์ วางตัวในแนวแกนทิศตะวันออก - ตะวันตก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ (หลัง) ชนกัน ๒ องค์ คือ พระมงคลบุรี และพระศรีนัคร์ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นแกนด้านในทำจากหินทรายสีแดง ขนาดเท่ากันวางตัวในแกนทิศตะวันออก - ตะวันตก เช่นเดียวกับตัวอาคาร๒. วิหารราย ๒ หลัง ตั้งอยู่ขนาบกับวิหารหลวงทั้งสองด้าน วางตัวแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก เช่นเดียวกับวิหารหลวง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ (หลัง) ชนกัน ในขนาดที่ต่างกัน พระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานด้านหน้า พระพุทธรูปองค์เล็กประดิษฐานด้านหลัง หันพระพักตร์ทางทิศตะวันออก - ตะวันตก ตามแนวแกนวิหาร ๓. วิหารราย ๒ หลัง ตั้งอยู่ด้านหน้าถัดออกไปจากวิหารรายในข้อ ๒ วางตัวแนวแกนทิศเหนือ – ใต้ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ (หลัง) ชนกัน ในขนาดที่ต่างกัน พระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานด้านหน้า พระพุทธรูปองค์เล็กประดิษฐานด้านหลัง หันพระพักตร์ทางทิศเหนือ - ใต้ ตามแนวแกนวิหาร พระพุทธรูปเหล่านี้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างแน่ชัด แต่ด้วยรูปแบบทางศิลปะของพระพุทธรูปทั้งหมดในวิหารแต่ละหลัง มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยา อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒ พระพุทธรูปเหล่านี้ถูกเคลื่อนย้ายมาจากวัดร้างที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงวัดมหาธาตุ เช่น วัดลั่นทมที่อยู่ทางทิศใต้ วัดอุทัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ วัดโพธิ์เขียวหรือวัดเพรงที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ เป็นต้น การประดิษฐานให้พระพุทธรูปสององค์ให้นั่งหันหลังชนกันนั้น ก็ไม่ปรากฏมูลเหตุแน่ชัด อาจจะเป็นความตั้งใจที่ต้องการให้ช่วยปกปักรักษาคุ้มครองบ้านเมืองทั้งสี่ทิศ เนื่องจากช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่บ้านเมืองมีศึกสงครามอยู่บ่อยครั้งก็เป็นได้เรียบเรียง และศิลปกรรม : นางสาวกศิภา สุรินทราบูรณ์ นิสิตฝึกงาน มหาวิทยาลัยบูรพา