ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,401 รายการ
ชื่อเรื่อง เทศนาวิภังค์-มหาปัฏฐานสพ.บ. 195/5ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 4.7 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
นอกจากคำว่าสถูปและเจดีย์แล้ว ยังมีคำเรียกเจดีย์รูปแบบหนึ่งของไทยที่วิวัฒนาการมาจากปราสาทเขมร คือ ปรางค์
ซึ่งแต่เดิมเขมรสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์ แต่มีการดัดแปลงมาเป็นเจดีย์ในพุทธศาสนาในช่วงที่กษัตริย์บางองค์นับถือศาสนาพุทธ และส่งอิทธิพลมายังปรางค์ในสมัยสุโขทัย คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
ปรางค์มีห้องภายในหรือเรือนธาตุสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ มีส่วนยอดคล้ายฝักข้าวโพด ในสมัยอยุธยานิยมสร้างปรางค์ขึ้นเป็นเจดีย์แบบหนึ่ง รวมทั้งนิยมสร้างเป็นศูนย์กลางของเมืองอีกด้วย
ทางภาคเหนือและภาคอีสาน เรียกเจดีย์ว่า “กู่” ซึ่งน่าจะเพี้ยนมาจากภาษาพม่าว่า “คูหะ” หรือ “คูหา” ซึ่งในภาษาบาลีสันสกฤตที่หมายถึง ห้องหรืออุโมงค์ กู่ จึงสื่อความหมายของเจดีย์ทรงปราสาทที่มีห้องคูหาอยู่ภายใน
ตำแหน่งที่ตั้งและชื่อเรียกของเจดีย์
- เจดีย์ประธาน เจดีย์ที่สร้างเป็นหลักของวัด มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์ภายในวัด และสร้างอยู่ในตำแหน่งที่เด่นสมเป็นประธานแก่เจดีย์อื่น
- เจดีย์ประจำมุม/เจดีย์ประจำทิศ อยู่ในตำแหน่งมุมทั้งสี่ หรือประจำกลางด้านทั้งสี่ของเจดีย์ประธาน
- เจดีย์ราย คือ เจดีย์ขนาดเล็กที่อยู่เรียงรายรอบบริเวณของเจดีย์ประธาน โดยอยู่ถัดออกมาจากเจดีย์ประจำมุมและเจดีย์ประจำทิศ หรือเจดีย์เล็กๆที่อยู่เรียงรายกันภายในเขตวัด
ผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลอ่านเพิ่มเติมได้ตามรายงานหนังสือข้างล่างค่ะ
- กองโบราณคดี. รายงานทางวิชาการเพื่อพิจารณาประกอบการจัดทำแผนแม่บท โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๓.
- ประภัสสร์ ชูวิเชียร. ๕ มหาเจดีย์สยาม. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๔.
- รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. มรดก ๑,๐๐๐ ปี เก่าที่สุดในสยาม. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๖.
- สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๒.
- ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม. รายงานแบบสำรวจรังวัดโบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร : ๒๕๔๙.
เลขทะเบียน : นพ.บ.80/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 22 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง โอวาทปาติโมกข์คาถา (โอวาทปาติโมกฺขคาถา)
สพ.บ. 152/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสฺนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระสูตร
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี หมายเหตุ*** พระสุตตันตปิฎก เล่ม 2 ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร โอวาทปาติโมกข์และคำอธิบาย
วินัยมัญญัติ ชบ.ส. ๖๕เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.26/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
หนังสือดีน่าอ่าน "ประมวลภาพประวัติศาสตร์ไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้และแหลมมลายู" ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
หนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมเอาภาพประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับการเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้และแหลมมลายู ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จำนวนกว่า ๒๐๐ ภาพ ซึ่งเก็บรักษาอยู่ในสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ทั้งภาพจากชุดฟิล์มกระจกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร และสมุดภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยจัดเรียงภาพตามลำดับเหตุการณ์การเสด็จพระราชดำเนินรวม ๕ คราว คือในพุทธศักราช ๒๔๓๒ (ร.ศ. ๑๐๘), พุทธศักราช ๒๔๓๓ (ร.ศ. ๑๐๙), พุทธศักราช ๒๔๓๙ (ร.ศ. ๑๑๕), พุทธศักราช พ.ศ. ๒๔๔๑ (ร.ศ. ๑๑๗) และพุทธศักราช ๒๔๔๘ (ร.ศ. ๑๒๔) แล้วจัดทำเป็นหนังสือประมวลภาพประวัติศาสตร์ไทย พร้อมคำบรรยายภาพอย่างครบถ้วน ซึ่งวันนี้แอดมินได้คัดเอาภาพถ่ายส่วนหนึ่ง จากจำนวนภาพถ่ายกว่า ๒๐๐ ภาพที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในหนังสือ มาฝากกันด้วยค่ะ
เล่มนี้เป็นฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๖๓ จำนวน ๒๑๖ หน้า ราคา ๗๕๐ บาท
สามารถสั่งซื้อได้ที่ : https://bookshop.finearts.go.th/book-detail/417
ด้วยว่าใน พ.ศ.2483 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้ปรารภว่า การที่ จะให้ประเทศชาติรุ่งเรืองแข็งแรงนั้นจำเป็นต้องสร้างความเจริญเป็นปึกแผ่นให้แก่ชนบทโดยทั่วๆไป และการที่ชนบทจะเจริญเป็นปึกแผ่นได้ก็ต้องอาศัยการที่ชาวชนบทมีนิสัยรักถิ่นฐาน ไม่ใฝ่ฝันที่จะย้ายภูมิลำเนาเดิมเข้ามาอยู่ในพระนคร เพื่อให้ได้ผลดังที่ว่านี้มีสิ่งซึ่งจะต้องทำหลายอย่าง เกี่ยวกับการบำรุงและชักจูงคนให้ชอบชีวิตชนบท ภูมิใจในความเป็นชาวชนบท และรักชนบทที่เป็นถิ่นฐานของตน... ซึ่งเรื่องแรกที่นายกรัฐมนตรีเห็นว่าควรทำได้คือคิดให้มีเครื่องหมายประจำจังหวัดเหมือนอย่างที่มีอยู่แล้วในนานาประเทศที่เจริญ โดยมีเหตุผลว่า... เครื่องหมายประจำจังหวัดนี้เมื่อมีขึ้นแล้วก็อาจใช้เป็นประโยชน์ได้หลายทาง เช่น ติดตั้งในสถานที่สำคัญ ทำเป็นธงประจำจังหวัด เป็นเครื่องอาภรณ์สำหรับชาวจังหวัด และเป็นเครื่องหมายสินค้าอุตสาหกรรมของจังหวัด ดังนี้เป็นต้น... ในเวลาต่อมารัฐบาลจึงมอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการประสานคณะกรมการแต่ละจังหวัดต่อไป กรมศิลปากรได้มีข้อแนะนำประกอบในการพิจารณาเครื่องหมายประจำแต่ละจังหวัดว่า 1. เป็นเครื่องหมายประจำตระกูลของเจ้านครซึ่งใช้มาแต่โบราณกาล และพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาลส่วนกลางได้อนุมัติให้ใช้ต่อไป 2. เป็นรูปปราสาทหรือโบราณสถานที่สำคัญยิ่งในจังหวัดนั้น 3. เป็นรูปเกี่ยวกับเทพนิยายพื้นเมืองของจังหวัดนั้นซึ่งแม้จะรู้กันว่าไม่ใช่เรื่องจริงแต่ก็อยู่ในความนิยมของคนในจังหวัดนั้น 4. รูปธรรมชาติที่เด่นที่สุดในจังหวัดนั้น ซึ่งกรมศิลปากร จะพยายามพิจารณาทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นการประกอบ แต่ที่สำคัญคือ ... "เมื่อทำขึ้นมาแล้วชาวจังหวัดโดยทั่วไปหรือส่วนมากจะพอใจใช้ " ในส่วนของจังหวัดจันทบุรี ได้เสนอ 2 อย่างคือ อย่างที่ 1 เครื่องหมายรูปกระต่ายในวงจันทร์ตามแบบธงประจำกองลูกเสือมณฑลจันทบุรี ซึ่งได้ความว่าเป็นเครื่องหมายนามของมณฑล เช่นเดียวกับมณฑลอื่นๆที่พระราชทานธงไปในคราวเดียวกันและบัดนี้น่าจะถือว่าเป็นเครื่องหมายของจังหวัดจันทบุรีต่อไปดั่งได้เคยทำเป็นโล่ห์ประจำเรือรบหลวงจันทบุรีแล้ว อย่างที่ 2 เครื่องหมายรูปเรือสุพรรณหงส์หมายความถึงเรือที่พระเจ้าตากสินให้ช่างต่อที่จังหวัดจันทบุรีพร้อมด้วยบรรดาเรือรบต่างๆซึ่งสะสมต่อในคราวนั้นแล้วใช้เป็นราชพาหนะเดินทางเข้ามากู้อิสรภาพที่จังหวัดพระนครธนบุรี กรมศิลปากรเห็นชอบตามอย่างที่ 1 และได้เสนอเพิ่มว่า "รูปกระต่ายไม่ควรจะเด่นเกินไปอย่างตราของเทศบาล ควรเขียนให้รูปพระจันทร์เด่น กระต่ายให้เล็กและให้แลเห็นเพียงลางๆเท่านั้นจะดี" จวบจนบัดนี้เป็นเวลา 81 ปี จังหวัดจันทบุรี ก็ยังคงใช้ตราสัญลักษณ์กระต่ายในดวงจันทร์ แต่ก็มีหลายคนที่ไม่ทราบถึงที่มาของเครื่องหมาย ก็อาจตีความไปว่าเมืองจันทบุรี คือเมืองกระต่ายที่หมายจันทร์ จึงทำสัญลักษณ์เป็นตัวกระต่ายลักษณะต่างๆ เพียงอย่างเดียว ---------------------------------------------------------ผู้เขียน นางสุมลฑริกาญจน์ มายะรังสี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี---------------------------------------------------------อ้างอิง เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์.ศธ 0701.42.2/2 เรื่อง เสนอเครื่องหมายประจำจังหวัด.พ.ศ.2483.
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางประทิณ ช้างขวัญยืน ณ เมรุวัดพระพิเรนทร์ วรจักร วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๘