ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ


การดำเนินการตรวจสอบพื้นที่การขอต่อใบอนุญาตดูดทรายในแม่น้ำมูล จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างวันที่ ๗-๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘       นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีปฏิบัติการ   นายสุชาติ คมพิมาย พนักงานขับรถยนต์ ส.๑




            ชื่อเรื่อง : ๑,๐๐๙ เล่ม วรรณกรรมเกื้อกูลโลก เกื้อกูลมนุษย์ เล่ม ๑ และ เล่ม ๒      ผู้เขียน : ชมัยพร บางคมบาง และคนอื่นๆ       สำนักพิมพ์ : แปลน พริ้นท์ติ้ง      ปีพิมพ์ : ๒๕๖๒      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : -       เลขเรียกหนังสือ : ๐๒๘ ห๑๗๔ ล.๑ และ ๐๒๘ ห๑๗๔ ล.๒      ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑ สาระสังเขป : การอ่านสำหรับเยาวชนถือเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่านและสร้างบรรยากาศการรักการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มี            การประกาศให้เมืองหลวงของประเทศไทยเป็นเมืองแห่งการอ่านจากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบันนับว่าการอ่านถือเป็นวาระแห่งชาติประการหนึ่งที่ต้องมีการสนับสนุนให้เกิดขึ้นในประเทศชาติ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้จัดโครงการเชิญชวนเยาวชนไทยอ่านวรรณกรรมไทย วรรณกรรมโลก ๑,๐๐๙ เล่ม วรรณกรรมเกื้อกูลโลก เกื้อกูลมนุษย์ ซึ่งเป็นวรรณกรรมร่วมสมัยทั้งที่เป็นภาษาไทยและวรรณกรรมทุกภาษาที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย         โดยมีเนื้อหาที่เป็นไปเพื่อการเกื้อกูลมนุษย์และเกื้อกูลโลก เหมาะสำหรับเด็กในช่วงอายุ ๑๒-๑๘ ปี ซึ่งได้นำรายชื่อหนังสือมารวบรวมและจัดทำบรรณนิทัศน์พิมพ์เป็นรูปเล่ม เป็น ๒ เล่ม จำนวนทั้งหมด ๑,๐๐๙ เล่ม โดยจัดแบ่งเป็น ๘ ประเภท ประกอบด้วย (๑) กวีนิพนธ์ไทย เช่น คร่าวร่ำ ๗๐๐ ปี เมืองเชียงใหม่ (มณี พยอมยงค์) บนผืนแผ่นดินเกิด (วรวุฒิ ภักดีบุรุษ) เป็นต้น (๒) กวีนิพนธ์แปล เช่น ขุนเขายะเยือก (ฮั่นซาน/ผู้แปล พจนา จันทรสันติ) ฉันยังมีขาอีกข้างหนึ่ง (โจวต้ากวน/ผู้แปล เรืองรอง รุ่งรัศมี) เป็นต้น (๓) สารคดีไทย เช่น คูณดอกสุดท้าย (จุลินทร์ ศรีสะอาด) ผ่านพบไม่ผูกพัน (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล) เป็นต้น (๔) สารคดีแปล เช่น ความงามข้ามกาลเวลา (จอห์น เลน/ผู้แปล สดใส ขันติวรพงศ์) ปกรณัมปรัมปรา (เอเดิธ แฮมิลตัน/ผู้แปล นพมาส แววหงส์) เป็นต้น (๕) เรื่องสั้นไทย เช่น จดหมายจากชายชราตาบอด (ประภัสสร เสวิกุล) รถไฟชั้นห้า (กานติ ณ ศรัทธา) (๖) เรื่องสั้นแปล เช่น เรื่องเล่าของซากี (ซากี/ผู้แปล สุจินดา ตุ้มหิรัญ) หอสมุดแห่งบาเบล สวนแห่ง ทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ (ฆอรเฆ ลูอิส บอรเฆส/ผู้แปล สิงห์ สุวรรณกิจ) เป็นต้น (๗) นวนิยายไทย เช่น มิตรภาพสองฝั่งโขง (เขมชาติ) อสรพิษ (แดนอรัญ แสงทอง) เป็นต้น และ (๘) นวนิยายแปล เช่น ต้นส้มแสนรัก (โจเซ่ วาสคอนเซลอส/ผู้แปล มัทนี เกษกมล) สี่ปีในนรกเขมร (ยาสึโกะ นะอิโตะ/ผู้แปล ผุสดี นาวาวิจิต) เป็นต้น รวมทั้งมีบทสัมภาษณ์พิเศษ : หนังสือในดวงใจเมื่อวัยเยาว์ของบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ (พนมเทียน) สุกัญญา ชลศึกษ์ (กฤษณา อโศกสิน) ศุ บุญเลี้ยง วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง สุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นต้น   



หนังสือประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของกรมศิลปากรมีเรื่องต่างรวม 5 เรื่อง คือ1. ประเพณีทำบุญ2. ประเพณีเลี้ยงลูก3. ประเพณีบวชนาค4. ประเพณีแต่งงาน5. ประเพณีทำศพ



รายงานการเดินทางไปราชการ ณ เมืองนารา ประเทศญี่ปุ่น   ๑. ชื่อโครงการ The Training Course on Cultural Heritage Protection in the Asia Pacific Region ๒๐๑๖: Research, Analysis, Preservation and Utilisation of Archaeological Sites and Remains ๒. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถให้แก่ผู้ที่ทำงานในด้านการวิจัย วิเคราะห์ อนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากโบราณสถานและโบราณวัตถุ ให้สามารถนำวิธีการและเทคโนโลยีที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศของตนได้ ๓. กำหนดเวลา ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ – ๒๙ กันยายน ๒๕๕๙ ๔. สถานที่ Asia – Pacific Cultural Centre for UNESCO (ACCU Nara Office) จังหวัดนารา ประเทศญี่ปุ่น ๕. หน่วยงานผู้จัด Asia – Pacific Cultural Centre for UNESCO (ACCU) ๖. หน่วยงานสนับสนุน   -          Agency for Cultural Affairs, Japan (Bunkacho) -          Asia – Pacific Cultural Centre for UNESCO (ACCU) -          International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of Cultural Property (ICCROM) -          National Institutes for Cultural Heritage, Tokyo -          National Research Institute for Cultural Properties, Nara -          Japan Consortium for International Cooperation in Cultural Heritage, Ministry of Foreign Affairs of Japan -          Nara Prefectural Government -          Nara City Government ๗. กิจกรรม กิจกรรมในการฝึกอบรมสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ได้ดังนี้ -          การศึกษาวิธีการสงวนรักษาและการใช้ประโยชน์จากโบราณสถานและโบราณวัตถุ -          การศึกษาระบบการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศญี่ปุ่น -          การศึกษาวิธีการบันทึกข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การถ่ายภาพ การวาดภาพ การสำเนาจารึก เป็นต้น -          การศึกษาวิธีการจัดการแหล่งโบราณคดี และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม -          การศึกษาวิธีการสงวนรักษาหลักฐานทางโบราณคดีด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เช่น ผลกระทบจากความเค็มและมลทินภายในดินต่อหลุมจัดแสดงหรือโบราณวัตถุ การอนุรักษ์โบราณวัตถุจากไม้และอินทรียวัตถุ วิธีการเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในอาคารจัดแสดงหรือแหล่งโบราณคดีด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น -          การศึกษาเรื่ององค์กรระหว่างประเทศและการขึ้นทะเบียนมรดกโลก -          การทัศนศึกษาแหล่งโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดนารา ได้แก่ Kasuga-taisha Shrine, Gango-ji Temple, Todai-ji Temple, Nara Palace Site, Palaitial Garden in Nara Capital Site, Isui-en Garden, Asuka Historical Museum, The Museum and Archaeological Institute of Kashihara, Horyu-ji Temple และ Ikaruga Centre for Cultural Heritage -          การทัศนศึกษาแหล่งโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดนางาซากิ ได้แก่ Oura Church, Glover Garden, Dejima และ Nagasaki Museum of History and Culture ๘. คณะผู้แทนไทย           นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ ขอนแก่น ๙. สรุปสาระของกิจกรรม           ในการเข้าร่วมการฝึกอบรมในครั้งนี้ สาระสำคัญของกิจกรรมคือ การศึกษาวิธีการวิจัย วิเคราะห์ อนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากโบราณสถาน – โบราณวัตถุตามแนวทางของประเทศญี่ปุ่น โดยการไปศึกษายังสถานที่ทำงาน พิพิธภัณฑ์ และโบราณสถานที่มีการพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยเฉพาะโบราณสถานที่มีการสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ (Reconstruction) โดยอาศัยการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากการขุดค้นและจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างอาคารจำลองที่มีขนาดและสัดส่วนใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุดขึ้นมาบนสถานที่และตำแหน่งเดิม และพัฒนาสถานที่เหล่านั้นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ – โบราณคดี ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวชมได้อย่างต่อเนื่อง เช่น Nara Palace site, Palatial Garden, Dejima เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการจัดกิจกรรมไปทัศนศึกษาวิธีการจัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นจะมีการสร้างพิพิธภัณฑ์เฉพาะเรื่องหรือเฉพาะแหล่งเอาไว้เกือบทุกสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งจะจัดแสดงเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีหรือโบราณสถานนั้นๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ในพื้นที่เกาะ Dejima ที่นอกเหนือไปจากการก่อสร้างอาคารจำลองขึ้นมาใหม่แล้ว ยังมีการจัดแสดงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการค้าทางทะเล สภาพวิถีชีวิตของผู้คนในเกาะ Dejima หลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบในพื้นที่ และวิธีการก่อสร้างอาคารต่างๆ เป็นต้น ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม           จากการเข้าร่วมการฝึกอบรมในครั้งนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าประเทศไทยสามารถนำวิธีการจัดการและการใช้ประโยชน์จากแหล่งโบราณคดีและมรดกทางวัฒนธรรมที่ประเทศญี่ปุ่นใช้ มาปรับประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้หลายประการ เช่น -          การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ห้องสุขา ทางลาดสำหรับผู้พิการหรือผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น ทางเดินและป้ายบรรยายสำหรับผู้พิการทางสายตา การจัดเส้นทางเดินเพื่อการท่องเที่ยวแบบทางเดียว (One Way) ซึ่งสะดวกต่อการจัดระบบการท่องเที่ยว การจัดทำป้ายบอกทางหรือป้ายสัญลักษณ์เตือนต่างๆ ที่เข้าใจง่าย เป็นต้น -          การป้องกันอุบัติเหตุและการรับมือในกรณีฉุกเฉินในสถานที่ท่องเที่ยว เช่น อุปกรณ์ช่วยชีวิต (AED – Automated External Defibrillator) อุปกรณ์การปฐมพยาบาล หรือถังดับเพลิง โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะถูกติดตั้งไว้ที่ประตูทางเข้าอาคารในจุดที่มองเห็นได้ง่าย เป็นต้น -          การสร้างความร่วมมือกับประชาชนในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดี โดยการจัดตั้งองค์กรอาสาสมัครในการดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรม อาสาสมัครกลุ่มนี้จะปฏิบัติหน้าที่และกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับรัฐบาลและภาคประชาชน เช่น กิจกรรมทำความสะอาดโบราณสถาน กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์แก่นักเรียนในโรงเรียน กิจกรรมสำรวจแหล่งโบราณคดีร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ กิจกรรมมัคคุเทศก์อาสาสมัครตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ อาสาสมัครในการขุดค้นทางโบราณคดี หรือการเป็นผู้ช่วยนักโบราณคดี เป็นต้น -          จากการเข้าฝึกอบรมข้าพเจ้าพบว่า ประเทศญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับรายละเอียดของโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้น โดยมีการศึกษาในรายละเอียดอย่างลึกซึ้ง และไม่เน้นปริมาณหรือจำนวนแหล่งที่ขุดค้นได้ในแต่ละปี (เฉพาะแหล่งขุดค้นเพื่อการศึกษา) เนื่องจากต้องการสงวนรักษาแหล่งโบราณคดีเอาไว้ให้คนรุ่นถัดไปได้มีพื้นที่ศึกษา -          จากการเข้าฝึกอบรมพบว่าประเทศญี่ปุ่นมีระบบการจัดแบ่งประเภทของมรดกทางวัฒนธรรมที่ชัดเจนและเป็นแบบแผนของตนเอง (เอกสารอัดสำเนา ๑) ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าประเทศไทยสามารถนำรูปแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการจัดแบ่งมรดกทางวัฒนธรรมของเราได้ ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทำได้ง่ายและชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าหากในปีถัดไปทางประเทศญี่ปุ่นมีการจัดกิจกรรมเช่นนี้ขึ้นอีก ก็ควรส่งข้าราชการของกรมศิลปากรเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และทักษะในการทำงานด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ อันจะเป็นประโยชน์ที่สามารถนำมาพัฒนาการทำงานด้านวัฒนธรรมในประเทศไทยต่อไปในอนาคต                                                                        ลงชื่อ.........................................................................                                                                              (นางสาวทิพย์วรรณ  วงศ์อัสสไพบูลย์)                                                                                 ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ


เลขทะเบียน : นพ.บ.7/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า  ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 5 (47-61) ผูก 3หัวเรื่อง : อัพภันตรนิทาน--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.30/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  28 หน้า  ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 16 (175-181) ผูก 2หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาธมฺม --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.53/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า ; 4.5 x 51.3 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 34 (344-352) ผูก 9หัวเรื่อง :  จตุกฺกนิบาต --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : ตามรอยพระแม่เจ้าจามเทวี ผู้แต่ง : วัดละโว้ ปีที่พิมพ์ : 2551 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ณัฐพลการพิมพ์


                 แม้จะมีการกล่าวยืนยันตัวตนของ “คุณผู้หญิงโม” “ย่าโม” หรือ “ท้าวสุรนารี” จากลูกหลานที่สืบเชื้อสาย และจากหลักฐานสำคัญ แต่ก็ยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่บ่อยครั้งในหมู่ประชาชนและสังคมออนไลน์ จนกลายเป็นเรื่องยากที่จะยุติและมีข้อสรุปที่แน่ชัด                                     เอกสารสำคัญอย่างหนึ่งที่ยืนยันถึงตัวตนของท้าวสุรนารี คือ เอกสารโบราณ ประเภทคัมภีร์ใบลาน เรื่อง พระธาตุกถา และพระปุคคลบัญญัติ ฉบับทองทึบ จารด้วยอักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย หน้าปกของคัมภีร์ใบลานจารบอกปี ชื่อเรื่อง และชื่อผู้สร้างคัมภีร์ใบลานว่า “พระพุทธศักราชล่วงแล้วได้ ๒๓๗๕ พระวัสสา ปีมะโรง จัตวาศก พระปุคฺคลบัฺติปการณ นิฏฺิตํ ผูก ๔ ท่านพญาปลัด คุณผู้หญิงโม สร้างไว้สำหรับพระศาสนาแล” สันนิษฐานว่า ภายหลังเสร็จสงครามเจ้าอนุวงศ์ ท่านพญาปลัดและคุณผู้หญิงโม ได้มีศรัทธาสร้างคัมภีร์ใบลานถวายแก่วัดอิสาน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นพุทธบูชา สืบทอดพระศาสนา และเพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนพระอภิธรรม                  พระธาตุกถา เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ของพระอภิธรรม ว่าด้วยปรมัตถธรรมอันสงเคราะห์กันได้  และสงเคราะห์กันไม่ได้ เกี่ยวด้วยธาตุเป็นส่วนมาก โดยมีคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ซึ่งเป็นคัมภีร์อรรถกถา แต่งอธิบายบทหรือข้อความที่เข้าใจยากในคัมภีร์พระธาตุกถานั้น                  พระปุคคลบัญญัติ เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ของพระอภิธรรม แสดงหลักธรรมต่างๆ เช่น ขันธ์ เป็นต้นว่า ทำไม ด้วยเหตุใด จึงเรียกว่า ขันธ์ เป็นต้น และคัมภีร์นี้ ที่เรียกว่า ปุคคลบัญญัติ เพราะกล่าวถึงบุคคลมากกว่าหลักธรรมอื่นๆ คือ กล่าวทั้งอุทเทส และนิทเทส ส่วนหลักธรรมอื่นๆ กล่าวเฉพาะอุทเทสเท่านั้น                  คัมภีร์ใบลานทั้ง ๒ ฉบับนี้ พบที่วัดอิสาน โดยพระครูปลัดสมพงษ์ มหาพโล เจ้าอาวาสวัดอิสาน ได้มอบให้กับหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เป็นผู้จัดเก็บและดูแลรักษา                 ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงที่ห้องอีสานศึกษา หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ข้อมูล-ภาพ : นางสาวอุไร คำมีภา นักภาษาโบราณปฏิบัติการ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา  


ชื่อเรื่อง : รามเกียรติ์ เล่ม 9 ชื่อผู้แต่ง : พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 370 หน้า สาระสังเขป : พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละคร  ดำเนินเรื่องโดยการเล่าเรื่องติดต่อกันตั้งแต่ต้นจนจบ พระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ เล่ม 9 เริ่มจากตอน ไพนาสุริยวงศ์คิดจะไปหาท้าวจักรวรรดิ (ต่อ) ทศพินรบกับอสูรผัด บรรลัยจักรออกรบ พระพรตแผลงศรอัคนิวาต จนถึงตอนพระพรตแผลงศรพลายวาต


Messenger