ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ

องค์ความรู้ตอนแรกที่นำเสนอในวันนี้มีชื่อว่า “ Ep.1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้” ซึ่งจะเป็นการปูพื้นฐานเรื่องเมืองโบราณยะรังก่อนจะไปใน Ep ต่อไป  ซึ่งเนื้อหาจะเป็นอย่างไรนั้นเชิญติดตามรับชมกันได้เลยค่ะ   -------------------------------------------------------------------------- Ep1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3  จังหวัดชายแดนใต้ Ep 2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ? Ep 3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี Ep 4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ EP 5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR) Ep 6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี -------------------------------------------------------------------------- อ้างอิง  การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้, ศูนย์. ลุ่มน้ำตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2525 เขมชาติ เทพไชย, รายงานการสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดี บริเวณเมืองโบราณยะรังและใกล้เคียง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, สงขลา : โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) กองโบราณคดี  กรมศิลปากร, 2528 เขมชาติ เทพไชย, “การวิจัยทางโบราณคดี ณ บริเวณเมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี”, เอกสารหมายเลข 11 การสัมมนาวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมไทยโฮเต็ล นครศรีธรรมราช 18-20 กันยายน 2532 ชูสิริ จามรมาน, รายงานผลการวิจัยเรื่องการวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์, นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม, 2528 พรทิพย์ พันธุโกวิท, การศึกษาประติมากรรมสมัยทวารวดี ณ เมืองโบราณ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,2530 ภัคพดี อยู่คงดี, รายงานสังเขปผลการปฏิบัติงานทางวิชาการ โครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2531 และครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2532 ศิริพร ลิ่มวิจิตรวงศ์, รายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านประแวในปีพ.ศ.2541  ศิลปากรที่ 11 สงขลา, สำนัก. รายงานผลการดำเนินงานโครงการศึกษาและขยายฐานความรู้เมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2561, เอกสารอัดสำเนา, 2561 ศิลปากรที่ 11 สงขลา, สำนัก. พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ 3 จังหวัดชายแดนใต้,สมุทรสาคร : บริษัท บางกอกอินเฮาส์ จำกัด,2565 สว่าง เลิศฤทธิ์, การสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดีบริเวณเมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2530 อนันต์ วัฒนานิกร, แลหลังเมืองตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2528 อิบรอฮิม ซุกรี(เขียน), หะสัน หมัดหมาน(แปล) ประพน เรืองณรงค์(เรียบเรียง), ตำนานเมืองปัตตานี (Sejarah Kerajaan Melayu Pattani), ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2525  



          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน "พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" วิทยากร นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ), นางกาญจนา โอษฐ์ยิ้มพราย ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน” ด้วยสภาพปัญหายาเสพติดที่ส่งผลให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งทางตรง และทางอ้อมเป็นจำนวนมาก ทำให้นานาประเทศพยายามร่วมมือกัน เพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด องค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งองค์กรพิเศษขึ้นเพื่อประสานความพยายามในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรนี้ด้วย คือ คณะกรรมการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ “วันต่อต้านยาเสพติดโลก” การจัดตั้งองค์กรเกิดขึ้นจากการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking : ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็น "วันต่อต้านยาเสพติโลก" (International Day Against Drug Abuse and Illicit Trafficking) “วันต่อต้านยาเสพติดโลก” เป็นสัญญลักษณ์ของการแสดงเจตนารมย์ร่วมกันของประเทศต่างๆทั่วโลกในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ที่ประชุมสมัชชาใหญ่มีมติเห็นชอบในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2530 ประเทศต่างๆจึงกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็น “วันต่อต้านยาการใช้ยาในทางที่ผิดและการลักลอบค้ายาเสพติด” สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2531 กำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติด มีกิจกรรมตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี



ชื่อเรื่อง: ประเพณีเก่าของไทย ๑.ประเพณีเนื่องในการเกิดและการเลี้ยงลูก ผู้แต่ง: พระยาอนุมานราชธน ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๙๒สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์ไทยเขษมจำนวนหน้า: ๑๐๖ หน้า เนื้อหา: ประเพณีเก่าของไทย ๑.ประเพณีเนื่องในการเกิดและการเลี้ยงลูก พระยาอนุมานราชธนได้เรียบเรียงและมอบให้ไว้เป็นสมบัติของหอสมุดแห่งชาติตั้งแต่เมื่อครั้งอยู่ในตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพซึ่งจัดพิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเตชเสนา (จันทร์ เตชะเสน) ภริยาของพันเอกหลวงเตชเสนา ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ต้นฉบับขออนุญาตกรมศิลปากรในการนำมาจัดพิมพ์แจก โดยเรื่องประเพณีเนื่องในการเกิดและการเลี้ยงลูกนี้ เป็นหนังสืออยู่ในชุดประเพณีเก่าของไทย เนื้อความเริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ ตอนเจ็บท้องคลอด การคลอด การอยู่ไฟ เรื่องเกี่ยวกับเด็ก การฝังรก แม่ซื้อ ทำขวัญและโกนผมไฟเด็ก การเลี้ยงลูก เพื่อให้ผู้ที่ได้ศึกษา ค้นคว้าได้ความรู้และรับทราบเกี่ยวกับประเพณีเนื่องในการเกิดและการเลี้ยงลูกของไทยในอดีต ที่รายละเอียดบางอย่างยังคงมีการถ่ายทอด สืบต่อและถือปฏิบัติจนถึงในปัจจุบันนี้เช่นกัน   เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๐๘๙เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๒๓หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ทัพพีไม้เขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 3,000 ปีมาแล้ววัสดุ       ไม้ ประวัติ    พบที่แหล่งโบราณคดีประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ลักษณะ  รูปทรงคล้ายช้อนแต่มีขนาดใหญ่กว่า ตกแต่งลายเขียนสีแดง บริเวณด้ามจับเขียนลายทาง และบริเวณที่ตักสิ่งของเขียนลายเส้นคดโค้ง --------------------------------------------------คำว่า ประตูผา มาจากลักษณะภูมิประเทศในบริเวณนี้ที่เป็นแนวเขาลูกโดดสองลูกต่อกัน ระหว่างกลางมีช่องแคบเล็ก ๆ ทำให้ดูเหมือนกำแพงสูงที่มีช่องประตูตรงกลาง จึงเป็นที่มาของชื่อประตูผา.แหล่งโบราณคดีประตูผา ได้พบหลักฐานการทำกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เปรียบเสมือนเขตพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนในบริเวณนี้ โดยพบภาพเขียนสีซึ่งยาวที่สุดในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และร่องรอยการประกอบพิธีกรรมการฝังศพบริเวณพื้นดินใต้ภายเขียนสี.แม้ที่แหล่งนี้จะมีการถูกขุดรบกวนจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ แต่ก็ยังคงพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมากที่สภาพสมบูรณ์และน่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ ทัพพีไม้เขียนสี พบจำนวน 2 อัน ในหลุมขุดค้นที่ 2 ชิ้นหนึ่งมีสภาพเกือบสมบูรณ์ แตกหักบริเวณที่ตักของ อีกชิ้นเหลือเพียงส่วนที่ตักของ .ทัพพีไม้เขียนสีทำด้วยไม้ชิ้นเดียวที่มีการถากและขูดเอาเนื้อไม้ออกจนได้รูปร่างที่ต้องการ สันนิษฐานว่าคงทำขึ้นเพื่อเป็นของอุทิศให้แก่ผู้ตาย เนื่องจากมีการเขียนลายสีแดงตกแต่งทั้งชิ้นเพิ่มความสวยงาม สะท้อนให้เห็นถึงงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ของคนในอดีต ที่ไม่เพียงรู้จักการผสมสีจากหินสีหรือดินเทศเพื่อใช้เขียนภาพบนผนังเพียงอย่างเดียว แต่ยังนำมาเขียนภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ด้วย และอาจเป็นไปได้ว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกันเป็นผู้วาดก็เป็นได้. ปัจจุบันทัพพีไม้เขียนสีนี้จัดแสดงอยู่ในตู้แหล่งโบราณคดีประตูผา ห้องยุคก่อนประวัติศาสตร์ในภาคเหนือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่--------------------------------------------------อ้างอิง- ชินณวุฒิ วิลยาลัย. (2542). การศึกษาแหล่งภาพเขียนสีค่ายประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. หน้า 206, 299.- กรมศิลปากร. (2544). เปิดประตูผา ค้นหาแหล่งวัฒนธรรม 3,000 ปี ที่ลำปาง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. หน้า 8, 29-37.- อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ.(2549) รูปเขียนดึกดำบรรพ์ “สุวรรณภูมิ” 3,000 ปีมาแล้ว ต้นแบบงานช่างเขียนปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : มติชน. หน้า 43.- ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2564).  ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย. ภาพเขียนสีค่ายประตูผา.  เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 จาก https://db.sac.or.th/archaeology/archaeology/103.ที่มารูปภาพภาพลายเส้นทัพพีไม้- กรมศิลปากร. เปิดประตูผา ค้นหาแหล่งวัฒนธรรม 3,000 ปี ที่ลำปาง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2544.ภาพลักษณะช่องเขาที่มาชื่อประตูผา- สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่. รายงานเบื้องต้นการขุดค้นศึกษาและคัดลอกภาพเขียนสี แหล่งโบราณคดีประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง.


          อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ขอเชิญชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตกตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 5 - 7 ตุลาคม 2566  เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป บริเวณลานหน้าปราสาท ทิศตะวันออก โดยพระอาทิตย์จะขึ้นประมาณ 17.55 น. ร่วมชมแสงสุดท้ายของวัน ณ ปราสาทพนมรุ้ง เทวสถานศาสนาพราหมณ์ฮินดูไศวนิกายที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย            สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 4466 6251 หรือ Inbox Facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park   *หมายเหตุ : ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ 15 ช่องประตู เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน หากมีฝนตก หมอก เมฆเยอะ หรือเมฆลงต่ำ จะไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้


องค์ความรู้: สำนักหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง: สโมสร ณ ตึกจักรพงษ์            พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทำหนังสือทูลถามพระองค์เจ้าธานีนิวัติ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๗๕ เนื่องจากไม่ทราบข่าวหลังจากทรงประทานเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างสโมสรให้แก่นักเรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ว่าตั้งต้นทำแล้วหรือยัง หากตั้งต้นแล้วเปิดใช้เมื่อใด” และได้ทูลตอบว่า ได้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่แล้วจะรายงานความคืบหน้า            สโมสรดังกล่าวนั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ได้มอบหมายให้ พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) หัวหน้ากองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร และหลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) ช่วยกันออกแบบจนแล้วเสร็จและเปิดอาคารเมื่อ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๗๖  พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ประทานเงินเพื่อสร้างสโมสรให้ครู อาจารย์ และนิสิต ให้พบปะสังสรรค์ และทำกิจกรรมร่วมกัน อีกทั้งสร้างตึกเป็นอนุสรณ์แห่งพระบิดา คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ อีกทางหนึ่ง ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติฉบับพิเศษ ได้ลงภาพบรรยากาศ การใช้ทำกิจกรรมของนิสิต เช่น อ่านหนังสือ เล่นดนตรี หรือเล่นบิลเลียด ทำให้เห็นบรรยากาศน่าครึกครื้น และใช้ประโยชน์จากอาคารดังกล่าวได้อย่างภาคภูมิ ------------------------------------------------------------ ข้อมูลอ้างอิง ศธ.๑๐.๕/๑๒ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ขอทราบเรื่องการสร้างตึกสำหรับสโมสรนักเรียน  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับแนะนำเรื่องลูกเสือในประเทศอังกฤษ. พีรศรี โพวาทอง. ปฐมศตวรรษ จุฬาฯ สถาปัตยกรรม ๒๔๖๐-๒๕๖๐ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ:  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗. ทำความรู้จัก ตึกจักรพงษ์คลับเฮาส์ยุคแรกแห่งสยามประเทศกับกิจกรรมชวนน้องมัธยมเลาะรั้ว  จุฬาฯ ‘Happy Journey with BEM’ ทริป ๓ สถานีสามย่าน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓ ตุลาคม  ๒๕๖๖, จาก https://www.matichon.co.th/happy-journey.../news_3446965  “นิสสิตนิสิตตาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยุวชนผู้จะเป็นกำลังของประเทศในอนาคต.” ประชาชาติ.  ฉบับฉลองรอบปีที่ ๒ (๓ ตุลาคม ๒๔๗๗): ๒๒-๒๓. -------------------------------------------------- ผู้เรียบเรียง : นายบารมี สมาธิปัญญา นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กราฟิก : นายชลิต ปรีชากุล นายช่างศิลปกรรม สำนักหอสมุดแห่งชาติ --------------------------------------------------  


         พระพุทธรูปไสยาสน์          ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔          กรมศิลปากรซื้อจากพิพิธภัณฑ์ของหม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙          ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระที่นั่งวสันตพิมาน (ชั้นบน) หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          พระพุทธรูปไสยาสน์แกะสลักด้วยงา ลงสีตามเส้นขอบจีวร ส่วนฐานเป็นไม้แกะสลักลงรักปิดทองลงสีในผังยกเก็จ ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานล่างจำหลักลายประจำยามลูกฟัก ฐานสิงห์ และฐานบัวหงายตามลำดับ พระพุทธรูปมีพุทธลักษณะสำคัญได้แก่ พระรัศมีเป็นเปลว อุษณีษะนูน ขมวดพระเกศาจำหลักเป็นลายตารางสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรปิด ปลายพระเนตรตวัดโค้งลง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็ก พระวรกายครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ประทับไสยาสน์เบื้องขวา (สีหไสยาสน์) พระหัตถ์ขวารองรับพระเศียรบนพระเขนยกลม (หมอน) ซ้อนกันสองชั้น พระหัตถ์ซ้ายวางแนบพระวรกายเบื้องซ้าย          พระพุทธรูปไสยาสน์ในสังคมไทยนิยมสร้างขึ้นเพื่อสื่อถึงหนึ่งในอิริยาบถของพระพุทธเจ้า (ประกอบด้วย อิริยาบถ นั่ง นอน เดิน (ลีลา) และยืน) อีกทั้งสัมพันธ์กับพุทธประวัติ อาทิ ตอนโปรดอสุรินทราหู ตอนปรินิพพาน ขณะเดียวกันพุทธประวัติที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าในอิริยาบถไสยาสน์นั้นพบว่ามีอีกหลายเหตุการณ์ เช่น ตอนทรงสุบินในคืนก่อนวันตรัสรู้ ตอนทรงพยากรณ์ก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ตอนโปรดสุภัททปริพาชกสาวกองค์สุดท้าย เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มักปรากฏในงานจิตรกรรมไทยมากกว่าการสร้างเป็นประติมากรรม          พระพุทธไสยาสน์องค์นี้เป็นตัวอย่างของงาที่มีรอยแตกเรียกว่า “แตกลายงา” ซึ่งงาช้าง เป็นวัสดุที่หายาก เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันภัยหรือสิ่งชั่วร้ายได้ จึงนิยมนำมาแกะเป็นพระพุทธรูปเพื่อเป็น พุทธบูชา ในสังคมล้านนา เชื่อว่างาช้างที่กะเทาะหรือหักจากการชนช้างตัวอื่น เรียกว่า “งาสะเด็น” นั้นมีอานุภาพขับไล่วิญญาณร้ายหรือโรคร้ายได้     อ้างอิง กรมศิลปากร. ประณีตศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๓๖. กรมศิลปากร. มงคลพุทธคุณ เทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๖. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๕. สนั่น ธรรมธิ. โชค ลาง ของขลัง อารักษ์. เชียงใหม่ : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๐.


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ลำไยพะเยา -- เคยสงสัยไหมว่า เกษตรกรจังหวัดพะเยาปลูกลำไยพันธุ์อะไรบ้าง ?. เมื่อปี พ.ศ. 2535 กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหนังสือราชการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยารายงานการคาดคะเนพื้นที่เพาะปลูกลำไยและจำนวนผลผลิตลำไย จึงทำให้ทราบชนิดพันธุ์ลำไยที่เกษตรกรในจังหวัดนำมาปลูกดังนี้. ลำไยพันธุ์ดอ คาดว่าจะปลูกได้ผลผลิต จำนวน 1,046,600 กิโลกรัม ลำไยพันธุ์สีชมพู คาดว่าจะปลูกได้ผลผลิต จำนวน 174,500 กิโลกรัม ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว คาดว่าจะปลูกได้ผลผลิต จำนวน 141,500 กิโลกรัม ลำไยพันธุ์อื่นๆ คาดว่าจะปลูกได้ผลผลิต 4,000 กิโลกรัม. จากข้อมูลข้างต้น แสดงว่าจังหวัดพะเยาในปี พ.ศ. 2535 ปลูกลำไยพันธุ์ดอมากที่สุด สันนิษฐานว่าสายพันธุ์ดอเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ สภาพดิน ความสะดวกของเกษตรกร และทำกำไรได้ดีที่สุด . นอกจากนั้น รายงานยังระบุสาเหตุที่คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น เพราะมีแปลงปลูกใหม่กอปรกับได้รับการเอาใจใส่ดีด้วย. ความน่าสนใจของรายงานการคาดคะเนฉบับนี้ สะท้อนให้ทราบชนิดของสินค้าส่งออกของจังหวัด ซึ่งแก้ไขข้อสงสัยแกมหยอกว่า อาจจะเป็นปลาส้ม กุ้งเต้น หรือมะพร้าวเผาหรือไม่. อย่างไรก็ตาม รายงานปรากฏข้อมูลเพียงฉบับเดือนสิงหาคมเท่านั้น หากมีรายงานตลอดฤดูกาล จำนวนผลผลิตจริงที่ผลิตได้ และรายได้จากการค้าขายลำไยแล้ว จะสามารถชี้วัดการปลูกลำไยในปีถัดไป สายพันธุ์อื่นๆ ควรได้รับการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน แล้วที่สำคัญลำไยจากจังหวัดพะเยาอาจมีแรงผลักดันให้ขึ้นชื่อในตลาดอาเซียนก็เป็นได้..ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13/18 เรื่องการรายงานข้อมูลการคาดคะเนพื้นที่ปลูกลำไยปี 2535 [ 28 ก.ค. 2535 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


           นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่านายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร รายงานเรื่องนายแมกซ์ ฮอลเลน ผู้อำนวยการและประธานกรรมการบริหารพิพิธภัณฑ์ศิลปะ  เมโทรโปลิทัน (The Metropolitan Museum of Art หรือ The MET) ประเทศสหรัฐอเมริกา มอบหมายให้นายจอห์น กาย ภัณฑารักษ์แผนกเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผู้แทนเข้าพบอธิบดีกรมศิลปากร ส่งมอบหนังสือแจ้งขอส่งคืนโบราณวัตถุจำนวน 2 รายการให้แก่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ที่ผ่านมา            การส่งคืนโบราณวัตถุในครั้งนี้ สืบเนื่องจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิทัน ทำการตรวจสอบรายการโบราณวัตถุที่มีประวัติการได้มาเกี่ยวข้องกับนายดักลาส แลตช์ฟอร์ด นายหน้าค้าโบราณวัตถุ ผู้ซึ่งถูกสำนักงานอัยการเขตนิวยอร์กใต้แจ้งดำเนินคดีค้าโบราณวัตถุโดยผิดกฎหมายเมื่อปี พ.ศ. 2562 แล้วพบว่ามีโบราณวัตถุประติมากรรมสำริดจากประเทศไทย คือประติมากรรมพระศิวะสำริด ที่รู้จักในชื่อ Golden Boy และยังพบโบราณวัตถุที่มีที่มาเกี่ยวพันกับนางดอรีส วีเนอร์ ซึ่งถูกสำนักงานอัยการเขตนิวยอร์กแจ้งดำเนินคดีค้าโบราณวัตถุโดยผิดกฎหมายเช่นกัน เมื่อปี พ.ศ. 2564 เป็นโบราณวัตถุประติมากรรมสตรีจำนวน 1 รายการ คณะกรรมการบริหารพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิทันจึงมีมติถอดโบราณวัตถุทั้ง 2 รายการออกจากบัญชีทะเบียนโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ และประสานแจ้งวัตถุประสงค์การส่งคืนแก่ประเทศไทยตามข้อตกลงกับสำนักงานอัยการเขตนิวยอร์กใต้โดยจะประสานงานและทำพิธีส่งมอบอย่างเป็นทางการ ผ่านทางสถานกงสุลใหญ่ไทย ณ นครนิวยอร์กต่อไป            สำหรับโบราณวัตถุที่จะได้รับกลับคืนครั้งนี้ ประกอบด้วย ประติมากรรมพระศิวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นรูปพระศิวะสวมเครื่องทรงแบบบุคคลชั้นสูง ถือเป็นโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม ซึ่งพบไม่มากนัก ประติมากรรมนี้สูงถึง 129 เซนติเมตร มีเทคนิคการสร้างแบบพิเศษคือ หล่อด้วยสำริดและกะไหล่ทอง ส่วนประติมากรรมสตรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 เช่นกัน สูง 43 เซนติเมตร อยู่ในท่านั่งชันเข่าและยกมือไหว้เหนือศีรษะ แต่งกายแบบบุคคลชั้นสูง หล่อด้วยสำริดมีร่องรอยการประดับด้วยโลหะเงินและทอง             นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ยังได้กล่าวถึงการส่งคืนโบราณวัตถุแก่ประเทศไทยหลังจากตรวจสอบพบว่ามีที่มาจากผู้ครอบครองเดิมที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย ว่าเป็นการแสดงถึงจริยธรรมของพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิทัน ในการให้ความสำคัญกับการครอบครองโบราณวัตถุที่ถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมโดยกรมศิลปากรและพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิทัน ในการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนการจัดแสดงนิทรรศการโบราณวัตถุร่วมกันที่ผ่านมา ตนในนามของกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย จึงขอแสดงความชื่นชมและขอบคุณพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิทัน ในการแจ้งส่งมอบโบราณวัตถุกลับคืนสู่ประเทศไทยในครั้งนี้ และจะได้กราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อรับทราบข่าวดีดังกล่าวต่อไป            ทั้งนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ยังได้กล่าวถึงนโยบายการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทยว่า เป็นภารกิจที่สำคัญ ที่ได้มอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโบราณวัตถุจากเมืองโบราณศรีเทพที่อยู่ในขั้นตอนการประสานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงาน ของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Homeland Security Investigations (HSI) กรุงเทพฯ โดยจะดำเนินการตามช่องทางทางการทูตอย่างถูกต้องและเป็นไปด้วยความร่วมมือด้วยมิตรภาพของสองประเทศ พระศิวะ  อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ 900-1,000 ปีมาแล้ว  สูง 129 ซม. หล่อด้วยสำริดกะไหล่ทอง รูปแบบคล้ายประติมากรรมสำริดรูปพระศิวะหรือทวารบาล จากปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ ที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา-------------------------------------------------------------- สตรีนั่งชันเข่าพนมมือ สันนิษฐานว่าเป็นสตรีชั้นสูงในราชสำนัก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ 900-1,000 ปีมาแล้ว  สูง 43 ซม. หล่อด้วยสำริด ประติมากรรมทั้งสองชิ้นนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่า บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นแหล่งผลิตงานศิลปกรรมสำริดที่มีคุณภาพในช่วงเวลาดังกล่าว  




ชื่อเรื่อง                     มหานิบาตชาดก ภูริทัตตชาดก จันทกุมารชาดกผู้แต่ง                       พระธรรมสิริชัยประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.3184 ช512มสถานที่พิมพ์               ธนบุรีสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ประยูรวงศ์ปีที่พิมพ์                    2509ลักษณะวัสดุ               218 หน้า หัวเรื่อง                     ชาดกภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเรื่องราวของ มหานิบาตชาดก ภูริทัตตชาดก จันทกุมารชาดก  


         หนังสือ : แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ           ผู้เขียน :  จเด็จ กำจรเดช          บางวันฝนตก บางวันแดดร้อน ในบางเช้าที่มีแสงแดดอ่อนๆ กาแฟคล้ายจะออกรสเป็นพิเศษ แดดเช้า กาแฟร้อนๆ สายลมอ่อนๆ ที่มาพร้อมห้วงคำนึงถึงใครบางคน และใครอีกหลายต่อหลายคนกับอีกหลายเรื่องราว ผีเสื้อบินว่อนหลากหลายพันธุ์ ทั้งสีสันก็หลายหลาก นึกอัศจรรย์ใจ เมื่อไม่กี่วันก่อนพวกมันยังเป็นตัวหนอนน่าขยะแขยงจำนวนหนึ่ง          พ่อค้าขายนาฬิกาละเมิดลิขสิทธิ์ พูดภาษาอังกฤษตะกุกตะกัก นั่นเป็นส่วนหนึ่งในงานของเขา หลังพ่ายในเกมต่อรอง เขาหลบไปหลังแผงขายของ มุดเข้าทางรอยแยกของกำแพง แผงของเขากว้างหนึ่งเมตรครึ่ง ลึกสองเมตร ด้านหน้าติดถนนย่านท่องเที่ยว ด้านหลังติดกำแพงซึ่งกั้นพื้นที่รกร้างเอาไว้ ที่กำแพงมีช่องแตกที่พอลอดตัวได้ เขาค้นพบมันเนื่องจากการดิ้นรนหาที่ถ่ายเบา          ที่รกร้างประกอบด้วยต้นมะขามหนึ่งต้น กับวัชพืชและไม้เลื้อย กลายเป็นภาพแทนของป่าดิบที่ระนองบ้านเกิด เขาตะลึงกับป่าที่ถูกขังอยู่ในกำแพงท่ามกลางอ้อมกอดของเมือง ความสงบชั่วขณะที่หลุดพ้นจากความเร่งร้อนของการต่อรองราคา และความเอื่อยช้าในจังหวะการก้าวย่างของนักท่องเที่ยว พาเข้าสู่ภวังค์ สูดกลิ่นป่าดิบร้อนที่แน่นขนัดด้วยไม้สูง ขณะที่กลิ่นดอกกาแฟอลอวน ซึ่งหมายถึงผลผลิตกำลังรอการเก็บเกี่ยว ลูกและเมียเฝ้ารอคอยปุ๋ยและยาเพื่อเร่งดอกผล มีเขาอาสาเป็นนักรบออกล่าค่าใช้จ่ายส่วนนั้นในสมรภูมิริมหาดเฉวง   ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


Messenger