ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,393 รายการ



ชื่อผู้แต่ง          กรมศิลปากร ชื่อเรื่อง           ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๙ จดหมายเหตุ หอศาสตราคม จดหมายเหตุ เรื่อง สุรยุปราคา ปีมะโรง พ.ศ. ๒๕๑๑ และพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      ธนบุรี สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์ช่างพิมพ์เพชรรัตน์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๕            จำนวนหน้า      ๕๘ หน้า หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงบริบูรณ์ วีหิพรรณ (ม้าน  นัจจะนันทน์)   หนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๙ นี้ เดิมหอพระสมุดฯ ได้รวบรวมจดหมายเหตุหอสาตราคมเรื่อง ๑ จดหมายเหตุเรื่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยอุปราคาที่ตำบลหว้ากอ แขวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชนิพนธ์ทรงชี้แจงถึงลักษณะสุริยอุปราคาคราวนั้นแจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งกว่าที่ปรากฎในจดหมายเหตุฉบับอื่นทุกฉบับ และแป็นหนังสือสำคัญโดยที่เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเมื่อเสด็จกลับจากทอดพระเนตสุริยอุปราคาคราวนั้น  



ชื่อเรื่อง : เมืองทองหรือสุวรรณภูมิ ชื่อผู้แต่ง : ขุนศิริวัฒนอาณาทร (ผล ศิริวัฒนกุล)ปีที่พิมพ์ : 2514. สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : วัดเทพศิรินทราวาส จำนวนหน้า : 306 หน้า สาระสังเขป : เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพขุนศิริวัฒนอาณาทร (ผล ศิริวัฒนกุล) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส ในวันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม 2514 และในหนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง เมืองทองหรือสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นผลงานของขุนศิริวัฒนอาณาทร (ผล ศิริวัฒนกุล) ผู้วายชนม์ได้แต่งและพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2479 ไว้ด้วย


#ลึงคบรรพต แห่งภูโค้ง ศาสนบรรพตที่สาปสูญ ที่อยู่บน ภูโค้ง บ้านนาเสียว ตำบลบ้านนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เป็นยอดสูงสุดของเทือกเขาภูแลนคา ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติ ตาดโตน และเป็นพื้นที่สถานีโทรคมนาคมทหารอากาศ เมื่อวันที่ 27 - 29 มกราคม 2564 สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา พร้อมด้วยคณะสำรวจจากอุทยานแห่งชาติ ตาดโตน ร่วมดำเนินการสำรวจ โดยหลักฐานทางโบราณคดี จากการสำรวจพื้นที่บนภูโค้งไม่ปรากฏร่องรอยหลักฐานสิ่งก่อสร้าง พบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทโบราณวัตถุที่ทำจากหินทราย จำแนกตามลักษณะรูปแบบและหน้าที่การใช้งานได้ดังนี้ 1 #ฐานรูปเคารพ จำนวน 3 ฐาน รายละเอียดดังนี้ 1.1 #ฐานรูปเคารพชิ้นที่1 พบเฉพาะส่วนแท่นหินรองรับฐานประติมากรรม เรียกว่า “ปีฐะ” หรือ “ปิณฑิกา” ลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพแท่นหินรองรับฐานประติมากรรมชำรุด ส่วนขอบแตกหักหายไป 1.2 #ฐานรูปเคารพชิ้นที่2 มีส่วนประกอบจำนวน 4 ส่วน รายละเอียดดังนี้ 1.2.1 ส่วนแท่นหินรองรับฐานประติมากรรม (ปีฐะ หรือปิณฑิตา) รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพแท่นหินรองรับฐานประติมากรรมค่อนข้างสมบูรณ์ 1.2.2 ส่วนฐานประติมากรรม รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพส่วนฐานประติมากรรมส่วนบนชำรุด 1.2.3 ส่วนฐานโยนี รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพส่วนฐานประติมากรรมค่อนข้างสมบูรณ์ บริเวณขอบด้านหนึ่งเจาะช่องกว้าง สำหรับเป็นท่อน้ำไหล เรียก “ท่อโสมสูตร” 1.2.4 ส่วนศิวลึงค์ รูปทรงกระบอก สภาพด้านชำรุดหายไปบางส่วน สภาพปัจจุบันศิวลึงค์ แบ่งออก 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส เรียกว่า “พรหมภาค” ส่วนกลางรูปทรงแปดเหลี่ยม เรียกว่า “วิษณุภาค”เส้นแบ่งด้านค่อนข้างลบเลือน ส่วนบนรูปทรงกระบอก เรียกว่า “รุทรภาค” ส่วนปลายชำรุดหายไปบางส่วน 1.3 #ฐานรูปเคารพชิ้นที่3 มีส่วนประกอบจำนวน ๒ ส่วน รายละเอียดดังนี้ 1.3.1 ส่วนแท่นหินรองรับฐานประติมากรรม (ปีฐะ หรือปิณฑิตา) รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพแท่นหินรองรับฐานประติมากรรมค่อนข้างสมบูรณ์ 1.3.2 ส่วนฐานประติมากรรม รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพส่วนฐานประติมากรรมส่วนบนชำรุด 1.4 #ส่วนฐานประติมากรรม รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพส่วนฐานประติมากรรมชำรุดแตกออกเป็นสองส่วน #ผลการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดี รูปแบบของฐานประติมากรรมที่พบจากภูโค้ง เป็นรูปแบบที่พบในช่วงสมัยศิลปะเขมรแบบพระนคร กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 โดยฐานประติมากรรมอันประกอบด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดประดับท้องไม้ด้วยลูกฟัก กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 15-16 ฐานประติมากรรมอันประกอบด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงายท้องไม้เรียบๆ กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 17 สามารถเปรียบเทียบกับฐานรูปเคารพ ที่พบจากกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 16 -17 #รูปแบบของศิวลึงค์ อันประกอบด้วยสามส่วนคือส่วนพรหมภาค ส่วนวิษณุภาค ส่วนรุทรภาค (สี่เหลี่ยม-แปดเหลี่ยม-ทรงกระบอก) กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 16-17 จากหลักฐานทางโบราณคดีสามารถกำหนดอายุโบราณวัตถุจากภูโค้งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 สามารถเปรียบเทียบรูปแบบได้กับศิวลึงค์ที่พบจากปราสาทตาเมือนธม อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ กำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 #ศิวลึงค์ในคติศาสนาฮินดลัทธิไศวนิกายนั้น ถือว่าเป็นตัวแทนของพระศิวะ ที่สําคัญที่สุด นอกเหนือจากการปรากฏกายของพระศิวะในรูปมนุษย์ สําหรับบริเวณภูโค้งแห่งนี้ แม้จะไม่ปรากฏร่องรอยของศาสนสถานหรือสิ่งก่อสร้างใดๆ แต่จากหลักฐานศิวลึงค์ ฐานรูปเคารพ และชิ้นส่วนฐานประติมากรรม สันนิษฐานได้ว่า ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 บริเวณภูโค้งแห่งนี้ เดิมคงเป็นที่ตั้งของศาสนสถานของศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย แต่อาจถูกทําลายไปในคราวที่สร้างสถานีโทรคมนาคมภูโค้งก็เป็นได้ ข้อสันนิษฐานสำหรับสิ่งก่อสร้างหรือศาสนสถาน สันนิษฐานว่าน่าจะมีปราสาทบนยอดของภูโค้งสำหรับประดิษฐานศิวลึงค์ซึ่งน่าจะสร้างด้วยหินทรายเป็นวัสดุ เนื่องจากโครงสร้างทางธรณีของภูโล้นเป็นหินทรายสอดคล้องกับช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ที่ใช้หินทรายเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง สำหรับสระน้ำที่ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของฐานรูปเคารพและศิวลึงค์ สันนิษฐานว่าเป็นสระน้ำประจำศาสนสถานที่มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมวางตัวในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู #สําหรับชุมชนผู้สร้างศาสนสถานแห่งนี้ คงนับถือศาสนาฮินดู ไศวนิกาย และคงตั้งชุมชนอยู่บริเวณโดยรอบเทือกเขาภูโค้ง จากการสํารวจทางโบราณคดีได้พบชุมชนวัฒนธรรมเขมรโบราณอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 หลายแห่งที่สําคัญคือ ชุมชนโบราณบ้านเมืองน้อยใต้ อําเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ห่างภูโค้งไปทางทิศใต้เป็นระยะทาง 20.21 กิโลเมตร ซึ่งพบหลักฐานโบราณวัตถุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 เช่น ฐานรูปเคารพ และชิ้นส่วนบัวยอด สําหรับคติการสร้างศิวลึงค์บนภูโค้งเปรียบเสมือนการจําลองเขาไกรลาส (ลึงคบรรพต) ขึ้นบนพื้นมนุษย์โลก ด้วยการนําเอาศิวลึงค์ไปประดิษฐานไว้บนภูโค้งเป็นยอดเขาไกรลาศอันเป็นที่ประทับของพระศิวะผู้เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ศิวลึงค์) เช่นปราสาทหินเขาพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ข้อมูลโดย นายวีระชาติ พงค์ชนะ นักโบราณคดีชำนาญการ




ชื่อผู้แต่ง          รัตนปัญญาเถระ ชื่อเรื่อง            ชินกาลมาลีปกรณ์ ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ 5 สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ปีที่พิมพ์          2518 จำนวนหน้า     184 หน้า รายละเอียด                  หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายพงษ์สวัสดิ์ สุริโยทัย ต้นฉบับเดิมเป็นคัมภีร์ใบลาน เนื้อหาเป็นประวัติพุทธศาสนา พระธรรมวินัย และเรื่องราวของบุคคล สถานที่ที่เกี่ยวข้องตลอดจนเหตุการณ์ ในสมัยนั้นด้วย


ชื่อเรื่อง                     สพ.ส.11 พระรถเมรีประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  วรรณคดีลักษณะวัสดุ              38; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    วรรณคดี                   ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดลาวทอง ต.สนามชัย  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค.2538 


          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการอ่านสำหรับผู้สูงอายุ ประจำปี 2565 การบรรยายเรื่อง สร้างสุขอย่างไร ในวัยเกษียณ โดย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ วันที่ 1 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ท่านผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังได้ที่ https://bit.ly/3ptXOmB (รับจำนวนจำกัด) หรือสามารถติดตามรับชมผ่านทาง Facebook Live : National Library of Thailand


สะพานจุฬาลงกรณ์สะพานรถไฟแห่งแรกของเมืองราชบุรีสะพานรถไฟที่ยาวที่สุดในสยามประเทศทางรถไฟเมืองราชบุรี จัดเป็นทางรถไฟหลวงสายตะวันตกของสยามก่อนจะผนวกรวมเป็นทางรถไฟสายใต้ในปัจจุบัน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงโยธาธิการ  ซึ่งมีกรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในการก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนเมษายน 2443 แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2445.เส้นทางการเดินรถ เริ่มตั้งแต่สถานีบางกอกน้อย ตรงไปทางตะวันตกใกล้แนวคลองมหาสวัสดิ์ ข้ามแม่น้ำท่าจีนที่สะพานเสาวภา ไปจนถึงฝั่งแม่น้ำแม่กลองที่บ้านโป่ง เลี้ยวลงไปทางทิศใต้เลียบใกล้ฝั่งแม่น้ำและข้ามแม่น้ำแม่กลองที่ช่วงเมืองราชบุรี ที่สะพานจุฬาลงกรณ์ แล้วตรงไปตามทางจนถึงเมืองเพชรบุรี รางรถไฟมีความกว้าง 1 เมตร และมีความยาวทั้งสิ้น 151 กิโลเมตร ในระหว่างเส้นทางดังกล่าวต้องสร้างสะพานรถไฟข้ามคลองและแม่น้ำถึง 3 แห่ง ได้แก่1. สะพานข้ามคลองตลิ่งชัน 2. สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน (#สะพานเสาวภา)3. สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองช่วงเมืองราชบุรี (#สะพานจุฬาลงกรณ์).สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองช่วงผ่านเมืองราชบุรีสร้างเมื่อ พ.ศ. 2444  ทางเดินรถแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 50 เมตร มีระยะทางทั้งสิ้น 150 เมตร นับได้ว่าเป็นสะพานรถไฟที่ยาวที่สุดของสยามประเทศ ในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานชื่อว่า #สะพานจุฬาลงกรณ์ ตามพระนามของพระองค์ และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดทางรถไฟอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19  มิถุนายน 2446.ปัจจุบันมีก่อสร้างทางรถไฟรางคู่  และมีการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองซึ่งเป็นสะพานคานขึง (Extradose Bridge) คือ การผสมผสานระหว่างสะพานขึงและสะพานคอนกรีตที่ใช้สายเคเบิ้ลในการช่วยรับแรง เป็นสะพานรถไฟคู่ขนานกับสะพานจุฬาลงกรณ์ที่เป็นสะพานรถไฟเดิม สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองที่ก่อสร้างอยู่จะเป็นสะพานรถไฟคานขึงที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และอาจจะขึ้นแท่นเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเมืองราชบุรีในอนาคตอีกด้วยเรียบเรียง และศิลปกรรม : นางสาวธนาภรณ์  พันธ์ประเสริฐ นิสิตฝึกงาน มหาวิทยาลัยบูรพา


       ผู้เรียบเรียง  นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ        แม้ปัจจุบันเส้นทางถนนและรถยนต์จะเจริญมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ การเดินทางของประชาชนจำนวนมากก็ยังต้องพึ่งพาการเดินทางด้วยรถไฟอยู่เช่นกัน ถึงแม้ว่าในอนาคตการรถไฟแห่งประเทศไทยจะพัฒนาไปสู่ยุครถไฟความเร็วสูง อาจจทำให้สถานีรถไปกรุงเทพไม่เพียงพอที่จะรองรับการเดินทางของประชาชนในอนาคต แต่สถานีรถไฟกรุงเทพยังคงมีความสำคัญในฐานะประวัติศาสตร์ของการเดินทางอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่อนุชนรุ่นหลังควรได้เรียนรู้จุดกำเนิดของการขนส่งระบบรางต่อไป ซึ่งยังคงอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทบอีกนานเท่านาน  ภาพจำของทุกคนเกี่ยวกับสถานีรถไฟหัวลำโพง อายุ ๑๐๖ ปี คือ สถาปัตยกรรมเก่าแก่สวยงาม ที่ตั้งเป็นแลนด์มาร์กอยู่บนบนถนนพระราม ๔  มีเสียงรถไฟวิ่งเข้ามาตั้งแต่เช้ายันดึกไม่เคยหยุดพัก        แต่..อีกไม่นาน หัวลำโพง กำลังจะเปลี่ยนไป กลายเป็น สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ต้นแบบสถานีอัจฉริยะ 5G (5G Smart Station) แห่งแรกในอาเซียน...เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและการขนส่งทางรางที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครอบคลุมทุกบริการระบบราง เชื่อมต่อทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ 


          ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 – 16 ราชสำนักจีนราชวงศ์หมิงได้มีนโยบายห้ามคนจีนออกนอกประเทศ ทำให้การค้าเครื่องปั้นดินเผาของจีนต้องหยุดชะงักลง จึงเป็นช่วงที่เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาในประเทศไทยเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นสินค้าที่ถือได้ว่าเป็นที่นิยมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควบคู่ไปกับเครื่องปั้นดินเผาเวียดนามแทนที่เครื่องปั้นดินเผาจากประเทศจีน            หนึ่งในดินแดนที่มารายงายการพบเครื่องปั้นดินเผาไทยมากแห่งหนึ่ง คือ ประเทศฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะจากแหล่งเรือจม ในโพสต์นี้เราจะนำเสนอข้อมูลหลักฐานการค้าทางทะเลที่บ่งชี้ว่าสินค้าเครื่องปั้นดินเผาไทย มีบทบาทสำคัญในประเทศฟิลิปปินส์ผ่านแหล่งเรือจม 2 แหล่ง คือ แหล่งเรือจมซานตาครูซ (Santa Cruz) และ แหล่งเรือจมลีนาโชล (Lena Shoal)           ในประเทศฟิลิปปินส์ มีรายงานการพบเครื่องปั้นดินเผาไทยในแหล่งเรือจมหลายแห่ง เป็นผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องเคลือสีเขียวไข่กาจากแหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และไหเคลือบสี่หูเนื้อแกร่งจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี โดยเฉพาะไหจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อยมีรายงานว่าพบในแหล่งเรือจมหลายแห่ง ประกอบด้วยแหล่งเรือจมปันดานัน ลีนาโชล ซานตาครูซ ซานอซิโดร และ กันดูลี ประเภทที่พบมากที่สุด คือ ไหลำตัวกว้างขนาดใหญ่ ไหลำตัวกว้างขนาดกลางกลาง และไหทรงสูงขนาดเล็ก           ไหลำตัวกว้างขนาดใหญ่ ประกอบด้วยไหปากกว้างคอสั้นมีขอบปากผายออก ไหคอสั้นแคบปากกลม ไหคอสูงและขอบปากคล้ายแตรหรือคอยาวมีขอบเว้าออกขนาดใหญ่ ไหลำตัวกว้างขนาดกลางมีหู 2 ข้างที่ไหล่ คอสั้นมีขอบปากผายออกและมีรอยบากรอบไหล่และลำตัว ไหทรงสูงขนาดเล็กคอสั้นและมีหูแนวนอนสี่หูที่ไหล่ ส่วนเคลือบปกติจะเคลือบตั้งแต่ปากจนถึงครึ่งล่างของลำตัว           ส่วนเครื่องสังคโลกเคลือบสีเขียวไข่กา (celadon) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พบที่แหล่งเรือจมซานตาครูซ ประกอบด้วย ขวดทรงกลม ขวดทรงยาวมีหูหิ้วสองอัน ขวดแบบมีหู และขวดขาดเล็กทรงน้ำเต้า            ขวดทรงยาวตกแต่งด้วยลายขุดเป็นวงกลมรอบไหล่และบางใบมีร่องหรือลายตาข่ายรอบลำตัว ส่วนไหทรงน้ำเต้าตกแต่งด้วยการขูดที่ไหล่ ขวดทรงกลมมีหลายขนาดและตกแต่งด้วยลายขุดรูปวงกลมและลายขุดเป็นรอยบากหรือลายตาข่ายรอบไหล่ ------------------------------------------------------ อ้างอิง : National Museum of the Philippines. (2021). Thailand Sawankhalok Ceramics Found in Philippine Shipwrecks [dated from the 15th to 16th centuries CE]. Retrieved from www.yodisphere.com: https://www.yodisphere.com/2021/02/Sawankhalok-Ceramics.html"   ------------------------------------------------------ ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดีใต้น้ำ https://www.facebook.com/UADThailand/posts/330903885892852   ------------------------------------------------------ *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร  



ชื่อผู้แต่ง           นายสมภพ จันทรประภา ชื่อเรื่อง           การบริหารจิต สำหรับผู้ใหญ่ ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      พระนคร สำนักพิมพ์        ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๕ จำนวนหน้า      ๓๘๑ หน้า รายละเอียด      หนังสือการบริหารจิตนี้เกิดขึ้น จากการบรรยายธรรม ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดรายการ การบริหารจิต ทางวิทยุ ทรงโปรดให้ พระศาสนโสภณ ดำนเนินรายการ ในปี ๒๕๑๑ ต่อมาในปี ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปรารถว่า สมเด็จพระศรีนครินทรา-บรมราชชนนีจะเจริญพระชนมมายุครบ ๗๒ พรรษา จึงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือ การบริหารทางจิต ขึ้นซึ่งเป็นการรวบรวม คำบรรยายจากรายการวิทยุนั้นเอง


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 145/4 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


Messenger