ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,393 รายการ





          นาค และนางนาคี ปกติมีร่างเป็นงูใหญ่ แต่มีฤทธิ์นิรมิตรูปกายอื่นได้ ตามตระกูลแห่งนาค ซึ่งแบ่งเป็นนาคนิมิตกายได้ กับนาคนิมิตกายไม่ได้ นาคจำพวกนิมิตกายได้ ยังขึ้นอยู่กับถิ่นที่อาศัย คือ นาคอยู่บก นิมิตกายได้แต่ในบก และนาคอยู่ในน้ำ นิมิตได้แต่ในน้ำ ตระกูลนาคทั้งหลายเมื่อปรารถนาจะหาอาหาร หรือมีเหตุอื่นใด ก็จำแลงรูปเป็นเทพบุตร เทพธิดา บางทีมีเพศเป็นงูเห่าดำ เป็นเพศงู เพศกระแต ตามแต่จะแสวงหาอาหาร นาคแม้มีฤทธิ์เพียงใดก็ตาม แต่ไม่อาจละชาติของตนได้ ย่อมคืนร่างเป็นนาคในวาระทั้ง ๕ คือ ๑) เมื่อตายหรือจุติ ๒) เมื่อเวลาเกิด ๓) เมื่อนอนหลับ ๔) เมื่อเสพเมถุนธรรมกับนาคงู อันเป็นชาติของตน ๕) เมื่อลอกคราบ            ตามคติพระพุทธศาสนา นาคมีทั้งที่เป็นสัมมาทิฐิ และมิจฉาทิฐิ นาคเคยปรากฏเรื่องเป็นต้นบัญญัติพระวินัย เนื่องจากนาคจำแลงเป็นบุรุษมาบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อนอนหลับ กายกลับคืนเป็นชาติของตน ทำให้พระสงฆ์ตื่นตกใจ พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติห้ามนาคบวช เนื่องจากมีชาติเป็นดิรัจฉาน ไม่สามารถเข้าถึงสัทธรรมได้           ในมหาสมัยสูตร อันเป็นพระสูตรว่าด้วยการชุมนุมใหญ่ของเทพยดาทั้งปวง เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้งประทับ ณ ป่ามหาวัน ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กล่าวว่านาคฝ่ายสัมมาทิฐิ พร้อมด้วยบริวาร มาร่วมเข้าเฝ้า ๖ เหล่า คือ นาสภะ หมายถึง เหล่านาคผู้อาศัยอยู่ในสระนภสะ เวสาละ นาคที่อยู่ในเมืองเวสาลี กัมพลอัสดร นาคอยู่ยังเชิงเขาพระสุเมรุ ปายาคะ นาคอยู่ที่ท่าปยาคะ ยามุนะ นาคอยู่ในลำน้ำยมุนา และ ธตรฐ นาคเกิดในตระกูลธตรฐ บรรดานาคเหล่านี้ ย่อมพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาในกาลทุกเมื่อ จึงมักปรากฏรูปนาคสร้างประกอบไว้ในศาสนสถานเสมอ          ในงานพุทธศิลป์ มักสร้างรูปนาคผู้มีฤทธิ์ มีพิษร้ายแรง มีอำนาจบันดาลให้ฝนตก เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์ มีความสุขมาก และมีอายุยืนนาน เป็นทวารบาล หรือประดับยังส่วนแห่งอาคาร เพื่อพิทักษ์ปกป้องศาสนาสถาน นำความสุข ความเจริญ ให้แก่พุทธบริษัท โดยทั่วไปสร้างรูปเป็น ๓ ลักษณะ คือ           ๑) รูปเป็นงู มีหลายเศียร ตั้งแต่ ๓ เศียร ๕ เศียร ๗ เศียร และ ๙ เศียร เป็นต้น           ๒) รูปครึ่งมนุษย์ครึ่งงู เรียกว่า นาคจำแลง หรือ นาคแปลง           ๓) รูปมนุษย์ มีพังพานงูแผ่ปกที่คอและเศียร เรียกว่า มนุษยนาค ------------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ------------------------------------------------------------หนังสืออ้างอิง ๑. นิยะดา เหล่าสุนทร. ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สำนวนที่ ๑. กรุงเทพฯ : ลายคำ, ๒๕๕๕. ๒. หอสมุดแห่งชาติ, กรมศิลปากร. จักวาฬทีปนี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๓.


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเทียบ เพชรพลาย (เร็วพลัน) ณ เมรุวัดทองนพคุณ ธนบุรี ๘ พฤษภาคม ๒๕๐๕ 




ประติมากรรมดินเผารูปราชยลักษมี พบจากเมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           ประติมากรรมดินเผารูปราชยลักษมี สูงประมาณ ๙.๕ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปพระลักษมี เกล้าพระศก ทรงกุณฑลทรงกลม พระกรขวาโอบลำตัวสิงห์ที่หมอบอยู่ด้านข้าง สิงห์มีแผงคอม้วนคล้ายลายกระหนก ตาโปน จมูกใหญ่ แยกเขี้ยวยิงฟันคล้ายประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ ที่พบในเมืองโบราณอู่ทอง ด้านหลังประติมากรรมรูปราชยลักษมี ตกแต่งด้วยลวดลายคล้ายเปลวไฟซ้อนกัน รองรับด้วยฐานทรงกลมตกแต่งด้วยลายกลีบบัว กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) มีผู้สันนิษฐานว่า อาจใช้เป็นฝาจุกภาชนะ หรือประดิษฐานเพื่อการเคารพบูชา หรือใช้เป็นเครื่องรางสำหรับติดตัวพ่อค้าหรือนักเดินทาง            ราชยลักษมี เป็นรูปแบบหนึ่งของพระศรี - ลักษมี ซึ่งมักปรากฏคู่กับสิงห์ ในศิลปะอินเดียพบรูปราชยลักษมีปรากฏบนเหรียญตราในลักษณะของพระลักษมี คือ ทรงถือดอกบัว บ่วงบาศหรือตะกร้าแห่งพืชผล นั่งบนหลังสิงห์หรือย่างพระบาทข้ามตัวสิงห์ ส่วนเหรียญอีกด้านเป็นรูปของกษัตริย์ หมายถึงโชคลาภ ความอุดมสมบูรณ์และเป็นเครื่องยืนยันถึงสิทธิในการเป็นกษัตริย์ ไม่พบการสร้างรูปราชยลักษมีเป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็ก ดังนั้นประติมากรรมราชยลักษมีที่เมืองโบราณอู่ทองนี้ จึงเป็นรูปแบบเฉพาะที่เกิดขึ้นในศิลปะทวารวดี โดยมีการคลี่คลายจากศิลปะอินเดียที่เป็นต้นแบบ โดยการลดทอนรายละเอียดบางประการออกไป ได้แก่ ไม่ทรงถือสิ่งของ และเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งบนหลังสิงห์หรือย่างพระบาทข้ามตัวสิงห์ มาเป็นการนั่งโอบสิงห์            อนึ่ง นอกจากประติมากรรมรูปราชยลักษมีชิ้นนี้แล้ว ในประเทศไทยยังมีการพบประติมากรรมรูปราชยลักษมีอีกอย่างน้อย ๒ ชิ้น ได้แก่ ประติมากรรมดินเผารูปราชยลักษมีประกอบกับประติมากรรมรูปคชลักษมี พบที่เมืองโบราณอู่ทอง ๑ ชิ้น และใบเสมารูปราชยลักษมีจากเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑ ชิ้น ทั้งนี้ยังไม่มีหลักฐานการค้นพบเหรียญตรารูปราชยลักษมีคู่กับกษัตริย์ตามอย่างอินเดีย ดังนั้นประติมากรรมรูปราชยลักษมีเหล่านี้ จึงไม่น่าจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ตามคติที่ปรากฏในอินเดีย แต่น่าจะสร้างขึ้นเป็นรูปเคารพ สัญลักษณ์แห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ เช่นเดียวกับคติการสร้างรูปคชลักษมี ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพระลักษมี และพบได้ทั่วไปตามเมืองโบราณในสมัยทวารวดี ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน----------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง----------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. รูปแบบและความเชื่อของงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระศรี-ลักษมีที่พบใน ประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐.


เลขทะเบียน: กจ.บ.8/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมตฺถสงฺคิณี พระสมนฺตมหาปฏฺฐาน เผด็จ ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 76 หน้า


วันจันทร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ให้การต้อนรับคณะมูลนิธิราชสกุลอาภากร ในพลเรือเอก พระบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่เข้าแสดงความยินดีกับอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมร่วมประชุมหารือ โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการกรมศิลปากร ร่วมในการประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม ๑ กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                                นิสัยจตุกกนิบาต (นิสัยจตุกกนิบาต) สพ.บ.                                  358/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 



ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)  ชบ.บ.95ก/1-7  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.249/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 82 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 6 (2565)หัวเรื่อง : วินัยกิจ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สัปคับและกูบช้าง ภาพที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ ช้าง เป็นพาหนะสำหรับเดินทางในพื้นที่ภาคเหนือ จะพบภาพการนำคณะมิชชันนารีไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในถิ่นห่างไกลทางภาคเหนือและในเมืองเชียงตุงของรัฐฉาน เมืองสิบสองปันนา ภาพคนงานใส่สัปคับ และภาพที่มีการใส่กูบเพื่อกันแดดกันฝนในการเดินทาง นอกจากภาพการเดินทางโดยใช้ช้างแล้วยังพบภาพพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ซึ่งมีพิธีรับเสด็จเข้าเมืองกับพิธีทูลพระขวัญตามธรรมเนียมหัวเมืองฝ่ายเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการนำช้างจากเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือเข้าร่วมขบวน โดยมีการใส่สัปคับและกูบที่สวยงามไว้ที่หลังของช้าง คำว่า สัปคับ (น.) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ มีความหมายว่า ที่สำหรับนั่งผูกติดบนหลังช้าง ในภาษาถิ่นเหนือหรืออีสาน เรียกว่า แหย่ง ซึ่งมักใช้ประกอบกับหลังคาด้านบน คือกูบ ส่วนในหนังสือ สารพจนานุกรมล้านนา พบคำว่า กูบ มีความหมาย ว่า หลังครอบ ส่วนที่ครอบสิ่งอื่นไว้ และอธิบายคำว่า กูบช้าง หมายถึง หลังคาครอบแหย่ง (ที่นั่ง) ช้าง คือประทุนครอบกันฝนและร้อน หนาว คำว่ากูบใช้ได้กับสัตว์อีกชนิดคือม้า และใช้ได้กับรถกูบ หรือ รถที่มีหลังคาครอบ คือ ประทุน หรือผตีน ปัจจุบันพบว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ลำพูน ได้เก็บรักษาสัปคับพร้อมกูบของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้ายไว้ แต่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จัดแสดงเฉพาะสัปคับไม้ลงรักปิดทอง ตัวเป็นลวดลายแบบจีน ด้านหน้ามีรูปค้างคาวและรูปขุนนางจีน ๔ คน ขอบสลักเป็นรูปนกเกาะกิ่งไม้ ขาและมุมทั้งสี่สลักเป็นรูปหัวมังกร โดยพระมหาธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ให้ยืมมาจัดแสดง จากภาพเห็นได้ว่าสัปคับและกูบของคณะมิชชันนารีทำขึ้นแบบง่ายใช้สำหรับการนั่งหลบฝนและแดดในระหว่างการเดินทาง ส่วนสัปคับและกูบของผู้มีฐานะจะทำขึ้นอย่างสวยงาม มีลวดลายวิจิตรบรรจง สำหรับการใช้ในขบวนพิธีผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ :๑.หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่  ๒.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ลำพูน. อ้างอิง : ๑. มณี พยอมยงค์. ๒๕๔๖. สารพจนานุกรมล้านนา. จ.เชียงใหม่: ดาวคอมพิวกราฟิก. ๒. บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๕๔. เชียงใหม่ในความทรงจำ. เชียงใหม่: Sansilp Printing.๓. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสถาบันพระปกเกล้า.๒๕๕๘.จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช ๒๔๖๙.กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.๔. ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๕๔. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น.๕. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ลำพูน.ม.ป.ป.“สัปคับ”(Online). https://www.finearts.go.th/hariphunchaimuseum/view/23555-สัปคับ,๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔.๖. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่.ม.ป.ป. “วัตถุที่จัดแสดง” (Online). http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chiangmai/index.php/th/event/วัตถุที่จัดแสดง.html,๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔.


Messenger