ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ
ว่าด้วย ตำรายาเกร็ด อักษรขอม – ไทย ภาษาบาลี – ไทย เช่น แก้ร้อนใน, ไข้สาริบาด, ยาตะคริว, อ้าปากมิออก, ยาตกมูกตกเลือด, แก้ขัดหน้าขัดเบา, ยาลอมลูกในท้อง, ยาพ่นแก้ร้อน, กำเนินออกดำออกแดง,ยาจุดฝีการ ฯลฯ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีไปมากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2472. พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับลายพระหัตถ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงมีไปมาถึงกันนั้นกล่าวถึงเนื้อหาแบ่งเป็น 8 หมวด ได้แก่ 1) หมวดการเกี่ยวกับพระราชวงศ 2) หมวดการในพระองค์ 3) หมวดการคณะสงฆ์ 4) หมวดการศาสนา 5) หมวดการศึกษา 6) หมวดเรื่องการบำรุงวัด 7) หมวดการเทศนา และ 8) หมวดการปกิรณก
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2503
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์ ขุนพรหม วราทร (สด เรืองหมวก) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร 22 พฤษภาคม 2503
วาหนิต์ติกร เป็นหนังสือเสริมความรู้เฉพาะเรื่อง ว่าด้วยเรื่องอักษรนำ ขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ 3 บทเป็นส่วนนำเรื่อง ตามด้วยคำอธิบายเรื่องอักษรนำ และอธิบายต่อว่าอักษรสูงนั้นนำได้เฉพาะอักษรต่ำเดี่ยวเท่านั้น การแจกลูกอักษรนำไปโดยละเอียด ทุกมาตรา เช่น ขง ขงัง ขงาง ขงึง ฉง ฉงา ฉงิ ฉงน ถง ถงา ถงึ เป็นต้น
เมื่อพ่อค้าชาวอินเดียได้เดินทางมาค้าขายกับดินแดนสุวรรณภูมิรวมทั้งบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ได้นำสินค้าที่เป็นที่นิยมในอินเดียช่วงเวลานั้น (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕–๙) เช่น สินค้าของอินเดีย สินค้าของโรมัน สินค้าที่เลียนแบบสินค้าโรมัน เข้ามาแลกเปลี่ยนกับทรัพยากรของสุวรรณภูมิ จึงทำให้พบโบราณวัตถุนำเข้าจากภายนอกตามแหล่งโบราณคดีที่เป็นเมืองท่าโบราณในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์หลายประเภท เช่น - ภาชนะดินเผาแบบอินเดีย เช่น ภาชนะดินเผาอินเดียแบบซี่ฟันเฟือง (Rouletted Ware) ภาชนะชนิดนี้ เรียกตามเทคนิคการตกแต่งผิว คือ การตกแต่งด้วยการกดด้วยซี่ฟันเฟืองลงบนผิวภาชนะที่ยังไม่แห้งสนิททำให้เกิดลายขุดลึกที่เป็นแถวอย่างมีระเบียบ เป็นภาชนะเนื้อดีขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนเมื่อผ่านการเผาแล้วจะมีสีเทา หรือ สีชมพูอมเทา เทคนิคนี้ เป็นการตกแต่งภาชนะดินเผาที่นิยมกันในสมัยเฮเลนนิสติก (Hellenistic period) จนถึงสมัยโรมัน - ตราประทับ ลูกปัด และเครื่องประดับ ที่มีสัญลักษณ์มงคล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์มงคลของชาวอินเดียที่ใช้กันอยู่ในสมัยโบราณ เช่น สวัสดิกะ/สิงห์/ไตรรัตน์ หรือ ตรีรัตน์ หรือ นนทิปาทะ/ปลาคู่/ช้าง เป็นต้น - หัวแหวน หรือ จี้ (Intaglio/cameo) สลักเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับเทพนิยายกรีก-โรมัน ซึ่งได้รับความนิยมมากในช่วงเวลานั้น สันนิษฐานว่า หัวแหวนสลักภาพเล่าเรื่องตามคตินิยมของกรีกโรมันที่พบในแหล่งโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเลียนแบบสินค้าโรมันซึ่งอาจมีแหล่งผลิตที่อินเดียหรือบริเวณคาบสมุทรมลายู - ลูกปัดหิน เช่น ลูกปัดหินคาร์เนเลียนแบบฝังสี (Etched Beads) ลูกปัดหินคาร์เนเลียนแบบเรียบลูกปันหินอาเกต ลูกปัดหินอเมทิสต์ ลูกปัดหินควอทซ์ เป็นต้น - ลูกปัดแก้วชนิดต่างๆ เช่น ลูกปัดแก้วสีเดียว (Monochrome Beads) ลูกปัดแก้วหลายสี (Striped Beads) ลูกปัดแก้วมีตา (Eye Beads) ลูกปัดแก้วหน้าคนแบบโรมัน (Roman Beads) เป็นต้น - ลูกปัดโลหะ เช่น ลูกปัดตะกั่วทรงลูกทุ่น เป็นต้น ต่อมาเมื่ออินเดียมีการเพิ่มปริมาณการค้ากับสุวรรณภูมิและภาคใต้ของไทย สันนิษฐานว่าน่าจะมีนักบวชของแต่ละศาสนาติดตามเข้ามาด้วย การเข้ามาของพ่อค้าและนักบวชเหล่านี้ ทำให้ผู้นำชุมชนหรือชาวพื้นเมืองได้ใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์กับชาวอินเดียมากขึ้น โดยอาจมีการตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพ หรือการตั้งสถานีการค้าชั่วคราว รวมทั้งยังมีการเผยแผ่ลัทธิความเชื่อทางศาสนาที่ตนนับถือให้แก่ผู้นำชุมชนและชาวพื้นเมืองในบริเวณเมืองท่าโบราณหรือบริเวณใกล้เคียง ตลอดจนได้มีการพบประติมากรรมหรือรูปเคารพในศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และโบราณสถานต่างๆ กระจายอยู่ตามเมืองท่าโบราณในเวลาต่อมาค้นคว้า--------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช------------------------------------------------- อ้างอิง : - ผาสุข อินทราวุธ .ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี = Dvaravati : a critical study based on archaeological evidence. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, 2542. - สำนักโบราณคดี. กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐.
รายพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ พุทธศักราช 2510. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2510. 58 หน้า. พิมพ์โดยอนุญาตของสำนักพระราชวัง ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงพิมพ์รำไพ โสณกุล วันที่ 4 มิถุนายน 2510 รวบรวมรายนามพระบรมวงศานุวงศ์ ในรัชกาลที่ 5,รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9, ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 3 กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ (สิงหรา), ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 4 เจ้าฟ้ากรมพระจักพรรดิพงศ์ (จักรพันธุ์) ได้แก่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมาลิศเสาวรส, ในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช (ภาณุพันธุ์) ฯลฯ เป็นต้น และพระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆ ท้ายเล่มมีตารางแสดงรายพระนาม โดยจัดเรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ 929.7999593 ร452พ
ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติอาเซียน (ASEAN Digital Library) เป็นโครงการเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหอสมุดแห่งชาติในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ประกอบด้วยหอสมุดแห่งชาติไทย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลทางด้านภูมิปัญญาของชาติในหอสมุดแห่งชาติของประเทศภูมิภาคอาเซียน โดยการเชื่อมโยงข้อมูลระบบห้องสมุดดิจิทัลด้านมรดกทางภูมิปัญญาที่มีคุณค่าในหอสมุดแห่งชาติ ของแต่ละชาติอาเซียนไว้ด้วยกันที่เรียกว่า “ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติอาเซียน (ASEAN Digital Library)” เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ด้านมรดกทางภูมิปัญญาของภูมิภาคอาเซียน ให้บริการเข้าถึงข้อมูลเอกสารฉบับเต็มรูปด้านมรดกภูมิปัญญาของชาติในกลุ่มประเทศอาเซียนได้อย่างสะดวก รวดเร็วในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งการสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้คนในภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน รวมไปถึงองค์ความรู้ดังกล่าวสามารถช่วยพัฒนาต่อยอดด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ ในประเทศภูมิภาคอาเซียนให้มีความมั่นคง และสอดคล้องกับการประชาคมอาเซียน สำหรับทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติอาเซียน ASEAN Digital Library ได้แบ่งเป็นคอลเลคชันต่าง ๆ โดยการแบ่งตามแต่ละประเทศอาเซียน และแบ่งตามประเภททรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ ประเภทหนังสือ หนังสือหายาก เอกสารต้นฉบับ คัมภีร์ใบลาน แผนที่ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพถ่าย ไฟล์เสียง วีดิทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสาร บทความ ข้อมูลเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาทางมรดกภูมิปัญญาของชาติที่มีคุณค่าและสำคัญยิ่ง ปัจจุบันมีให้บริการข้อมูลเนื้อหาดิจิทัลมากกว่า 82,000 รายการ คอลเลคชันที่โดนเด่นและน่าสนใจ อาทิ เช่น ภาพโปสการ์ดส่วนพระองค์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพของหอสมุดแห่งชาติไทย หนังสือหายากและเอกสารต้นฉบับภาษามาลายูของหอสมุดแห่งชาติมาเลเซีย คอลเลคชัน Rizaliana หอสมุดแห่งชาติฟิลิปปินส์ และคอลเลคชันภาพแผนที่โบราณทางทะเลของหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ สำหรับผู้ที่สนใจเนื้อหามรดกภูมิปัญญาของชาติอาเซียน สามารถสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลในห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติอาเซียนที่ให้บริการผ่านการสืบค้นแบบหน้าจอเดียว (Single Search) ได้ทางเว็บไซต์ http://www.aseanlibrary.org รูปที่ 1 หน้าสืบค้นเว็บไซต์ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติอาเซียน (ASEAN Digital Library) http://www.aseanlibrary.org รูปที่ 2 หน้าสืบค้นเว็บไซต์ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติอาเซียน (ASEAN Digital Library) สามารถสืบค้นโดยวิธีการค้นโดยใส่ คำสำคัญหรือคำค้น สืบค้นโดยวิธีเลือกจากประเทศ ประเภท และภาษา รูปที่ 3 ตัวอย่างข้อมูลรายการเนื้อหาดิจิทัลประเภทหนังสือหายากในห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติอาเซียน รูปที่ 4 ตัวอย่างภาพแสดงผลการสืบค้นรายละเอียดทางบรรณานุกรมภาพเก่าประวัติศาสตร์ของประเทศบูรไนดารุสซาลาม พร้อมกับเมนูลิงค์เชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาดิจิทัลในระบบห้องสมุดดิจิทัลของหอสมุดแห่งชาติบูรไน รูปที่ 5 หนังสือหายากและเอกสารต้นฉบับภาษามาลายูของหอมุดแห่งชาติมาเลเซีย รูปที่ 6 ภาพแผนที่โบราณทางทะเลของหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ เรียบเรียงข้อมูล : ดร.ประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ E-mail: eak.pras@hotmail.com
จากการที่เวียงกุมกามสร้างโดยพญามังรายกษัตริย์ที่มีประสบการณ์การสร้างเมืองหลายแห่งมาก่อนในบริเวณลุ่มน้ำกก อีกทั้งเคยปกครองในเมือง
หริภุญไชยที่นับถือพุทธศาสนา โดยปรากฏจากสถาปัตยกรรมประเภทวัดของพุทธศาสนาที่มีอยู่มากในเมืองหริภุญไชย ทำให้เวียงกุมกามเกิดการนำเอาความรู้เทคโนโลยีการก่อสร้าง และคติความเชื่อในพุทธศาสนามาสร้างในเวียงกุมกาม และพัฒนาเป็นวัฒนธรรมเฉพาะตนเป็นวัฒนธรรมล้านนา
สันนิษฐานว่าเวียงกุมกามเป็นการสร้างโดยการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมชาวไทยวนที่มีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษและอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับวัฒนธรรมหริภุญไชยที่นับถือพุทธศาสนา ดังตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงชุมชนบริเวณวัดกานโถมก่อนการสร้างเวียงกุมกามว่า ที่ชุมชนแห่งนั้นนับถือต้นไม้เดื่อเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกับการนับถือพุทธศาสนา แนวคิดการนับถือพุทธศาสนาผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมนี้ คงเป็นสิ่งที่มีมาก่อนแล้ส ทั้งในแคว้นหริภุญไชยและในแคว้นโยนก และยังสืบเนื่องต่อมาในสมัยพญามังราย โดยมีหลักฐานชัดเจนถึงแนวคิดดังกล่าว ขณะพญามังรายประทับในเวียงกุมกาม ก็ได้ผสานความเชื่อดั้งเดิมที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับความเชื่อของพุทธศาสนา ดังเช่น ความเชื่อเรื่องรุกขเทวดาศักดิ์สิทธิ์อยู่รักษาไม้เดื่อ เทวดานั้นมักให้คุณแก่คนทั้งหลาย พญามังรายจึงสร้างวัดและปลูกต้นศรีมหาโพธิ์จากลังกาที่บริเวณไม้เดื่อที่นับถือว่าเป็นไม้สรี (ศรี) ที่เป็นตัวแทนของพุทธศาสนา และถือว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่
การสร้างเวียงกุมกามมีแนวคิดการวางผังเมืองอย่างเมืองหริภุญไชย โดยมีศูนย์กลางเมืองที่วัดกุมกามและวัดประจำทิศที่มุมทั้งสี่แห่งของเมือง ตามคติศูนย์กลางจักรวาลของพุทธศาสนา ประกอบด้วยวัดกุมกามทีปราม วัดกู่จ๊อกป็อก วัดกู่ป้าด้อม และวัดพระเจ้าองค์ดำ โดยวัดเหล่านี้ไม่ได้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน และมีวัดกานโถมเป็นศูนย์กลางเมืองตามคตคิวามเชื่อเรื่องอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของผี ของกลุ่มชนชาวพื้นเมือง โดยเวียงกุมกามมีแนวแกนที่สำคัญ ๒แกน ได้แก่
แนวแกนตะวันตก - ตะวันออก ตั้งแต่
กำแพงด้านตะวันออกทางด้านใต้ของวัดกู่มะเกลือ
วัดกู่อ้ายสีผ่านวัดกานโถมด้านเหนือ วัดธาตุน้อย
วัดอีค่างไปจนสุดฝั่งเมืองด้านตะวันตก
แนวแกนเหนือ - ใต้ โดยมีแนวผ่านพื้นที่กลางเวียงวัดกุมกามและวัดกานโถมลงไปทางใต้จนสุดกำแพงเมืองด้านทิศใต้
แนวคิดการวางแกนสำคัญภายในเวียงเช่นนี้จะพบว่า นอกจากเวียงกุมกามแล้วเวียงอื่นๆ เช่น หริภุญไชย (ลำพูน) เชียงใหม่ และเชียงแสน เป็นต้น และลักษณะเด่นในแนวแกนสำคัญนั้นมักจะเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ หรือวัดสำคัญตั้งอยู่เสมอ แกนทิศตะวันออก - ตะวันตก ในแนวนอนจะเป็นแกนสำคัญ ซึ่งเปรียบเสมือนสันหลังของเมือง การดูผังเมืองโบราณจึงควรหาตำแหน่งของแกนตั้ง และแกนนอนให้ได้ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สำคัญๆ ภายในเมือง
อ้างอิง : เวียงกุมกาม การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณในล้านนา
: เมืองเชียงใหม่ ศิลปะ สถาปัตยกรรมและความเชื่อ โครงการรวบรวมผลงานวิชาการ ลำดับที่ ๑ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง เทศนาวิภังค์-มหาปัฏฐานสพ.บ. 195/5ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 4.7 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
นอกจากคำว่าสถูปและเจดีย์แล้ว ยังมีคำเรียกเจดีย์รูปแบบหนึ่งของไทยที่วิวัฒนาการมาจากปราสาทเขมร คือ ปรางค์
ซึ่งแต่เดิมเขมรสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์ แต่มีการดัดแปลงมาเป็นเจดีย์ในพุทธศาสนาในช่วงที่กษัตริย์บางองค์นับถือศาสนาพุทธ และส่งอิทธิพลมายังปรางค์ในสมัยสุโขทัย คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
ปรางค์มีห้องภายในหรือเรือนธาตุสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ มีส่วนยอดคล้ายฝักข้าวโพด ในสมัยอยุธยานิยมสร้างปรางค์ขึ้นเป็นเจดีย์แบบหนึ่ง รวมทั้งนิยมสร้างเป็นศูนย์กลางของเมืองอีกด้วย
ทางภาคเหนือและภาคอีสาน เรียกเจดีย์ว่า “กู่” ซึ่งน่าจะเพี้ยนมาจากภาษาพม่าว่า “คูหะ” หรือ “คูหา” ซึ่งในภาษาบาลีสันสกฤตที่หมายถึง ห้องหรืออุโมงค์ กู่ จึงสื่อความหมายของเจดีย์ทรงปราสาทที่มีห้องคูหาอยู่ภายใน
ตำแหน่งที่ตั้งและชื่อเรียกของเจดีย์
- เจดีย์ประธาน เจดีย์ที่สร้างเป็นหลักของวัด มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์ภายในวัด และสร้างอยู่ในตำแหน่งที่เด่นสมเป็นประธานแก่เจดีย์อื่น
- เจดีย์ประจำมุม/เจดีย์ประจำทิศ อยู่ในตำแหน่งมุมทั้งสี่ หรือประจำกลางด้านทั้งสี่ของเจดีย์ประธาน
- เจดีย์ราย คือ เจดีย์ขนาดเล็กที่อยู่เรียงรายรอบบริเวณของเจดีย์ประธาน โดยอยู่ถัดออกมาจากเจดีย์ประจำมุมและเจดีย์ประจำทิศ หรือเจดีย์เล็กๆที่อยู่เรียงรายกันภายในเขตวัด
ผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลอ่านเพิ่มเติมได้ตามรายงานหนังสือข้างล่างค่ะ
- กองโบราณคดี. รายงานทางวิชาการเพื่อพิจารณาประกอบการจัดทำแผนแม่บท โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๓.
- ประภัสสร์ ชูวิเชียร. ๕ มหาเจดีย์สยาม. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๔.
- รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. มรดก ๑,๐๐๐ ปี เก่าที่สุดในสยาม. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๖.
- สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๒.
- ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม. รายงานแบบสำรวจรังวัดโบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร : ๒๕๔๙.