เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ผางลาง
เครื่องทำเสียงสัญญาณสำหรับแขวนคอวัวควาย ทำด้วยโลหะ รูปร่างคล้ายระฆังแต่เป็นสี่เหลี่ยม ด้านบนโค้งมน มีหูสำรับสอดไม้แขวนลอยอยู่ระหว่างขาไม้โค้ง ซึ่งตั้งอยู่บนฐานไม้
ผางลางใช้วางไว้บนหลังวัวหรือเกวียนเล่มแรกของขบวนขนส่งสินค้า เพื่อให้เกิดเสียงดัง เช่นเดียวกับกระดิ่งหรือกะลอที่แขวนคอวัว แต่ผางลางจะมีเสียงก้องกังวานไปไกล เป็นสัญญาณให้ขบวนวัวที่อยู่ถัดไปตามได้ถูกทางและรู้ตำแหน่งของหัวหน้าขบวนหรือผู้นำทางของตน
ในกองคาราวานของพ่อค้าวัวต่างมักประกอบด้วยพ่อค้าวัวต่าง ๓-๕ คน พ่อค้าแต่ละคนอาจมีวัวต่างของตัวเอง ๑๐-๖๐ ตัวโดยอาจว่าจ้างคนในหมู่บ้านหรือพี่น้องเครือญาติช่วยควบคุมวัวของตนเอง ในการเดินทางขบวนวัวต่างมักเดินตามกันเป็นแถว โดยวัวตัวที่นำหน้าอาจมีผางลางวางบนหลัง หรือมีกระดิ่งแขวนไว้ที่คอ เพื่อเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากองคาราวานเดินทางไปถึงไหน และยังเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากองคาราวานได้เดินทางมาถึงหมู่บ้านแล้ว หลังเสร็จสิ้นภารกิจในการเดินทางแต่ละวัน พ่อค้าวัวต่างต้องหยุดพักที่ปาง โดยต้องเลือกทำเลที่มีหญ้า มีน้ำ อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ราบหรือพื้นที่ที่ค่อนข้างโล่งปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายและสัตว์ป่า มีการจัดเวรยามเพื่อเฝ้าระวังอันตราย
-----------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
-----------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน : รศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ สนพ.เมืองโบราณ รายงานการวิจัยเรื่องพ่อค้าวัวต่าง : ชูสิทธิ์ ชูชาติ ศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น, ๒๕๔๕
(จำนวนผู้เข้าชม 1270 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน