ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง พระมหาชาดก
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ -
จำนวนหน้า ๑๕๘ หน้า
หมายเหตุ. -
(เนื้อหา) ดำเนินความตั้งแต่สันดุสิตเทวบุตรจุติลง เกิดในครรภ์พระนางผุสดี แล้วประสูติโอรส พระนามว่าเวสสันดร จนได้อภิเษกกับพระนางมัทรี แล้วถูกเนรเทศออกจากพนะนคร เพราะได้ให้ช้างปัจจัยนาเคนทร์แก่พราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์ไป พระเวสสันดรจึงต้องพานางมัทรี และโอรสธิดา กัณหา ชาลี ออกจากพระนครสีพีไปอยู่ในเขาวงกต ต่อมามีพราหมณ์ชูชกได้เดินทางมาขอโอรสธิดาไป ฯลฯ
ชื่อเรื่อง : มหาตมา คานธี ชื่อผู้แต่ง : เมอเรย์, เยอร์ทรูด ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ศูนย์การพิมพ์ จำนวนหน้า : 244 หน้า สาระสังเขป : หนังสือ มหาตมา คานธี เล่มนี้ทางผู้เรียบเรียงได้เรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษมีชื่อว่า Gandhiji : The Story of His Life โดย Gertrude Murray พิมพ์ในประเทศอินเดีย ผู้แต่งเป็นสุภาพสตรีชาวอังกฤษที่มีจิตศรัทธาในจริยาวัตรและแนวความคิดของมหาตมา คานธีเป็นอย่างสูง ทั้งได้เคยมาท่องเที่ยวและพำนักอยู่ในประเทศอินเดียเป็นเวลานานพอสมควร ในประเทศอินเดียเองหนังสือเล่มนี้มีผู้นิยมอ่านอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในวงการเยาวชนและนักศึกษา ดังจะเห็นได้จากสถิติการพิมพ์ในระยะเวลา 12 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ถึง 2505 หนังสือเล่มนี้ก็ได้รับการตีพิมพ์ถึง 16 ครั้งแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นสถิติที่สูงมาก และเป็นเครื่องพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่า หนังสือเล่มนี้อยู่ในความสนใจของผู้อ่านเพียงไร
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง ประชุมพระราชปุจฉา ภาคปกิรณกะ
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2
สถานที่พิมพ์ ธนบุรี
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ดำรงธรรม
ปีที่พิมพ์ 2508
จำนวนหน้า 124 หน้า
รายละเอียด หนังสือที่คณะสงฆ์จังหวัดธนบุรี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระสังฆราช ญาโณทยมหาเถระเนื้อหา ประกอบด้วย ประวัติสมเด็จพระสังฆราช (ญาโณทยมหาเถร) พระราชปุจฉา ร.๒,๓,๖ พระราชปุจฉาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระบรมโกศ สมเด็จพระนารายณ์ (เพิ่มเติม) ร.๑ ภาค ๒-๓
ร.๓ ภาค ๔ ร.๔ ภาค ๕ และ ร.๕ นอกจากนั้นยังมีเรื่องพิธีวิสาขบูชา
วันนี้ (วันจันทร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕) เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องดอกไม้สด สำนักหอสมุดแห่งชาติ นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วย คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต และศาสตราจารย์กิตติคุณสุกัญญา สุจฉายา ร่วมกันแถลงข่าวการประกาศยกย่องวรรณคดีเรื่อง มหาชาติคำหลวง เป็นวรรณคดีแห่งชาติ และการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “วรรณกรรมเรื่องมหาชาติในวัฒนธรรมไทย” คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือวรรณคดีที่มีคุณค่าโดดเด่น ทั้งความงดงามทางวรรณศิลป์ รวมถึงแนวคิดด้านสังคม จริยธรรม จารีตประเพณีและวัฒนธรรม อันทรงอิทธิพลต่อสังคมไทย เพื่อประกาศยกย่องให้เป็น “วรรณคดีแห่งชาติ” ซึ่งพุทธศักราช ๒๕๕๓ ได้ประกาศยกย่องวรรณคดีเรื่อง “ไตรภูมิกถา” ให้เป็นยอดของวรรณคดีสมัยสุโขทัย พุทธศักราช ๒๕๕๘ ประกาศยกย่องพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง “รามเกียรติ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” เป็นวรรณคดีแห่งชาติ และพุทธศักราช ๒๕๖๕ นี้ คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้ประกาศยกย่องวรรณคดีเรื่อง “มหาชาติคำหลวง” เป็นวรรณคดีแห่งชาติ ทั้งนี้ “มหาชาติคำหลวง” เป็นวรรณคดีที่เล่าเรื่องราวของพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ซึ่งได้บำเพ็ญบารมีครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการก่อนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันแปลแต่งขึ้นจากเรื่องเวสสันดรชาดกซึ่งเป็นภาษาบาลีในพระไตรปิฎกเป็นคำประพันธ์ภาษาไทยเมื่อพุทธศักราช ๒๐๒๕ แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๓ กัณฑ์ แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่าย โคลง ฉันท์ และกาพย์อันไพเราะงดงามยิ่ง มหาชาติคำหลวงเป็นต้นแบบการแปลแต่งวรรณคดีพระพุทธศาสนาเรื่องอื่น ๆ และเป็นต้นแบบการแต่งคำประพันธ์ในสมัยหลัง จึงเป็นวรรณคดีเรื่องสำคัญที่ทรงคุณค่าในด้านวรรณศิลป์ ทั้งยังให้ความรู้เกี่ยวกับสังคมและประเพณีวัฒนธรรมไทย รวมถึงคติความเชื่อโดยเฉพาะเรื่องการให้ทาน ด้วยคุณค่าความสำคัญของวรรณคดีเรื่องมหาชาติ กรมศิลปากร ในนามคณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ ได้กำหนดจัดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง วรรณกรรมเรื่องมหาชาติในวัฒนธรรมไทย เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องมหาชาติคำหลวงและวรรณคดีเรื่องมหาชาติสำนวนต่าง ๆ ที่มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ตลอดจนคุณค่าด้านวัฒนธรรม ประเพณี และคติความเชื่อ ในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ รับชมการถ่ายทอดสดได้ทาง facebook fanpage กรมศิลปากร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ทางอีเมล finearts.thai@gmail.com หรือโทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๖๐๗๖
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์)สพ.บ. สพ.บ.421/13ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พระพุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า กว้าง 4.7 ซม. ยาว 58.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ กัณฑ์นครกัณฑ์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
#เรื่องมีอยู่ว่า.... ตอน #onedaytripราชบุรี#ศาลหลักเมืองราชบุรีที่อยู่ : ค่ายภาณุรังษี ตำบลพงสวาย อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรีเวลาเปิด : 8.00 – 18.00 น.ค่าเข้า : ไม่เสียค่าเข้าศาลหลักเมืองราชบุรี เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คู่บ้านคู่เมืองราชบุรี สร้างขึ้นในปี 2360 สมัยรัชกาลที่ 2 ภายในศาลหลักเมืองประกอบด้วย เสาหลักเมือง, เจว็ด, พระพิฆเนศ ประชาชนทั่วไปสามารถสักการะ และไหว้ขอพรหลักเมืองและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลหลักเมือง และเดินชมประตูและกำแพงเมืองที่สร้างร่วมสมัยกับเสาหลักเมืองในบริเวณใกล้เคียงได้อีกด้วย นอกจากไหว้เจ้าพ่อหลักเมืองแล้วยังมีการปล่อยปลายี่สกลงสู่แม่น้ำแม่กลอง ซึ่งทางค่ายภาณุรังษีได้จัดเตรียมลูกปลาสำหรับจำหน่าย พร้อมรถกอล์ฟให้บริการในการไปปล่อยปลา#วัดมหาธาตุวรวิหารราชบุรีที่อยู่ : ถนนเขางู ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรีเวลาเปิด : 08.00 – 18.00 น.ค่าเข้า : ไม่เสียค่าเข้าวัดมหาธาตุหรือเดิมเรียกว่า วัดหน้าพระธาตุ เป็นพระอารามหลวง และเป็นวัดเก่าแก่สำคัญของเมืองราชบุรี ภายในวัดมีพระปรางค์ประธาน และพระปรางค์บริวาร 3 องค์บนฐานเดียวกัน และด้านหน้าพระปรางค์จะมีวิหาร จำนวน 5 หลัง โดยวิหารหลวงมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่สององค์ คือ พระมงคลบุรี พระศรีนัคร์ และวิหารจำนวน 4 หลังที่เหลือก็จะมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งหัน พระปฤษฎางค์ชนกันหรือนั่งหันหลังชนกัน ส่วนของระเบียงคดมีพระพุทธรูปที่หลากหลายทางศิลปะ ทั้งศิลปะทวารวดี เขมร อยุธยา และรัตนโกสินทร์#เขาแก่นจันทน์ที่อยู่ : ริมถนนเพชรเกษม ห่างจากตัวเมืองราชบุรี ประมาณ 2 กิโลเมตรเวลาเปิด : 07.00 – 18.00 น.ค่าเข้า : ไม่เสียค่าเข้าเขาแก่นจันทน์ มีความสูงประมาณ 141 เมตร มีถนนตัดขึ้นไปถึงยอดเขา บนยอดมีวิหารประดิษฐานพระพุทธนิโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ หรือที่เรียกว่า พระสี่มุมเมือง เป็นพระ 1 ใน 4 องค์ที่รัชกาลที่ 9 พระราชทานให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่าง ๆ ทั้งสี่ทิศได้แก่ ทิศเหนือที่จังหวัดลำปาง ทิศใต้ที่จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันออกที่จังหวัดสระบุรี และทิศตะวันตกที่จังหวัดราชบุรี ด้านบนยอดเขาสามารถชมวิวทิวทัศน์เมืองราชบุรีได้รอบทิศทาง และบริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 ที่ชาวราชบุรีได้สร้างในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี และสร้างเป็นสวนสาธารณะจักรีอนุสรณ์สถาน#อุทยานหินเขางูที่อยู่ : ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรีเวลาเปิด : 9.00 – 17.00 น.ค่าเข้า : ไม่เสียค่าเข้าเขางูเป็นศาสนสถานสำคัญสมัยทวารวดีพบหลักฐานพระพุทธรูปสลักภายในถ้ำ 4 แห่ง ได้แก่1. ถ้ำฤๅษี ภายในถ้ำพบพระพุทธรูปสลักจากหินประทับนั่งห้อยพระบาท2. ถ้ำจีน ภายในถ้ำพบพระพุทธรูปปูนปั้นประดับอยู่บนผนังสององค์3. ถ้ำจาม ภายในถ้ำพบภาพสลักบนผนังทุกด้าน ได้แก่ ด้านทิศเหนือเป็นภาพสลักตอนยมกปาฏิหาริย์ ด้านทิศใต้และตะวันออกเป็นภาพบุคคลขี่คอกัน และด้านทิศตะวันตกเป็นภาพพระพุทธรูปปางไสยาสน์4. ถ้ำฝาโถ ภายในถ้ำพบภาพสลักพระพุทธปางไสยาสน์ขนาดใหญ่มีประภามณฑลหลังพระเศียรนอกจากศาสนสถานภายในถ้ำแล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ได้แก่ สวนสาธารณะที่มีลักษณะเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ มีสะพานแขวนและทางเดินเลียบริมน้ำ พร้อมทั้งมีเรือเป็ดให้บริการ#กาดวิถีชุมชนคูบัวที่อยู่ : วัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เวลาเปิด : 09.00 น. – 20.00 น. ทุกวันเสาร์ – วันอาทิตย์ค่าเข้า : ไม่เสียค่าเข้ากาดวิถีชุมชนคูบัวเป็นตลาดนัดของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน จำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ได้แก่ ผ้าจกคูบัว อาหารพื้นบ้าน ขนมหวานพื้นถิ่น และของฝากจากชุมชน ในช่วงเวลา 17.00 น. – 19.00 น. มีการแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวไทยวนให้รับชมร่วมกับการรับประทานอาหารบนขันโตก นอกจากนั้นภายในพื้นที่วัดโขลงสุวรรณคีรีสามารถเข้ากราบสักการะพระพุทธสิริสุวรรณภูมิ ชมโบราณสถานสมัยทวารวดี และพิพิธภัณฑ์จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ที่แสดงเรื่องราวและสิ่งของเครื่องใช้ของชาวไทยวนเรียบเรียงและศิลปกรรม: นางสาวธนาภรณ์ พันธ์ประเสริฐนิสิตฝึกงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ออกแบบรูปอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดสุพรรณบุรี
เรียบเรียงโดย นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ชื่อเดิม CORRADO FEROCI เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) นครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี จบการศึกษาจาก ราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ ได้รับประกาศนียบัตร ช่างปั้น ช่างเขียน และได้รับปริญญาบัตร เป็น ศาสตราจารย์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) เดินทางมายังประเทศไทยพร้อมด้วยภรรยาและบุตรสาวโดยทางเรือเดินสมุทร ในราวปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อปีพุทธศักราช 2466 เพื่อเข้ารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวังในสมัยนั้น (กรมศิลปากร 7)
ผลงานประติมากรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แบ่งออกเป็น ผลงานประติมากรรมรูปเหมือนบุคคล ผลงานประติมากรรมประเภทอนุสาวรีย์ ผลงานการออกแบบอนุสาวรีย์ และงานประติมากรรมต่างๆ การสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากรมอบให้ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ออกแบบรูปอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นการสร้างอนุสาวรีย์ที่ใหญ่มาก และสร้างขึ้นด้วยความลำบาก
กรมศิลปากรจึงจัดส่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ไปดูการหล่อรูปยังต่างประเทศเพื่อนำวิทยาการสมัยใหม่ และหาเครื่อง ทุ่นแรงมาใช้ในการจัดสร้าง ในการปั้นหล่ออนุสาวรีย์มีความใหญ่โต มีช้าง องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กลางช้าง ท้ายช้าง สัปคับ และอาวุธต่างๆ ครบถ้วนตามยุทธวิธีโบราณ (คณะกรรมการบูรณะอนุสรณ์ดอนเจดีย์ 213-216) เป็นอนุสาวรีย์ใหญ่กว่าของจริงถึงเท่าครึ่ง และเป็นที่น่าชื่นชมยินดีที่สุด ที่อนุสาวรีย์อันใหญ่ยิ่งนี้สำเร็จขึ้นได้ โดยฝีมือของศิลปินไทยในกรมศิลปากร
ปูน ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในงานสถาปัตยกรรมโบราณที่นำมาใช้ในหลายวัตถุประสงค์ของกระบวนการก่อสร้าง เช่น ใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสาน (binder) ในการก่อหรือสอให้วัสดุ เช่น อิฐ ศิลาแลง เชื่อมติดกัน เพื่อเป็นสิ่งก่อสร้าง เช่น ผนัง กำแพง ช่วยให้มีความมั่นคงของโครงสร้างมากขึ้น หรือเพื่อเป็นวัสดุที่ใช้สำหรับการฉาบวัสดุอื่น เพื่อให้ผิวชั้นนอกเกิดความเรียบ หรือใช้สำหรับเป็นวัสดุสรรค์สร้างเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับตกแต่งอาคาร
คำว่า “ปูน” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔ หมายถึง หินปูน หรือเปลือกหอยเมื่อถูกเผาจนสลายตัว ตัวอย่างคำที่เกี่ยวข้อง เช่น ปูนดิบ หมายถึง ปูนที่ได้จากการเผาหินปูนหรือเปลือกหอยจนสลายตัว ปูนสุก หมายถึง ปูนดิบที่ถูกความชื้นในอากาศหรือพรมน้ำแล้วแตกละเอียดเป็นผงขาว ปูนขาว หมายถึง ปูนสุก ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ สำหรับฉาบทาฝาผนัง ปูนปั้น ใช้เรียกลวดลายประดับตามอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่ทำจากปูน เป็นต้น
ปูนที่ใช้ในสมัยโบราณส่วนใหญ่ทำมาจากปูนขาว เรียกว่า ปูนหมัก และปูนตำ ประกอบด้วย หินปูน เปลือกหอย กระดูก และมีส่วนผสมพิเศษเพื่อให้เกิดความเหนียว ทำหน้าที่เป็นกาวยึดเหนี่ยวเนื้อวัสดุ เช่น ยางไม้ ไขมันที่ได้จากพืชและสัตว์
ปูนขาว (lime) เป็นปูนที่เกิดจากการนำเปลือกหอย หรือหินปูน มาย่อยเป็นก้อนขนาดเล็ก แล้วนำไปเผา เมื่อเผาสุกแล้ว จะได้ “ปูนดิบ” เมื่อทำให้ปูนดิบเปียกน้ำจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้แตกเป็นผงสีขาว เรียกว่า “ปูนสุก” นำไปบด ร่อน กรอง เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ปูนขาวส่วนใหญ่นำไปใช้ในการก่อสร้างอาคาร และสร้างลวดลายประดับตกแต่งอาคาร
- ปูนหมัก คือการนำปูนขาวไปแช่น้ำในบ่อหรือถังหมักมีลักษณะเป็นของเหลวข้นสีขาว ภายในถังหมักปูนจะประกอบด้วยเนื้อปูนขาวตกตะกอนอยู่ด้านล่าง และมีน้ำปูนหล่อไว้อยู่ด้านบน โดยปูนหมักสามารถนำไปใช้เป็นปูนสอ ปูนฉาบ หรือนำไปเป็นส่วนผสมหลักเพื่อใช้ประโยชน์ในงานสถาปัตยกรรมต่อไป ส่วนน้ำปูนสามารถนำไปเติมในส่วนผสมปูนแทนน้ำ หรือพ่นใส่ผนังปูนฉาบเพื่อเสริมความแข็งแรง
- ปูนตำ คือปูนที่เกิดจากการนำปูนหมักมาตำหรือโขลกผสมกับทราย กาว (ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น) และเส้นใย (ช่วยเพิ่มความสามารถในการรับแรงดึงก่อนปูนจะแข็งตัว) เป็นส่วนผสมหลัก การตำรวมกันจนเนื้อละเอียดเข้ากัน สีขาวนวล มีความหนืดที่เหมาะสมเพื่อนำไปใช้เป็นปูนสอ ปูนฉาบ หรือปูนปั้น เมื่อเนื้อปูนสัมผัสอากาศจะเกิดปฏิกิริยา ทำให้แข็งตัว
ทั้งนี้ กระบวนการขั้นตอนการผลิตปูนตำและปูนหมัก รวมถึงส่วนผสมปูนจะมีความแตกต่างกันตามช่างปูนในแต่ละท้องถิ่นที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลาย ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ มีดังนี้
- ปูนสอ หรือปูนก่อ เป็นปูนที่ใช้ในการก่ออิฐโครงสร้าง ประสานอิฐเข้าด้วยกัน
- ปูนฉาบ หรือปูนตกแต่ง เป็นปูนที่ใช้ตกแต่งอาคารให้เรียบร้อยสวยงาม ด้วยการฉาบพื้นผิวให้เรียบ หรือใช้ตกแต่งเป็นลวดบัว ขอบคิ้ว
- ปูนปั้น เป็นปูนที่ใช้สำหรับการปั้น ต้องมีคุณสมบัติสำคัญคือ มีความเหนียวเหมาะสำหรับการปั้นเป็นลวดลาย หรือรูปทรงต่าง ๆ ให้ได้รายละเอียดที่ชัดเจน
จากร่องรอยที่ปรากฏในเมืองกำแพงเพชรสันนิษฐานว่ามีการฉาบปูนโดยรอบอาคาร และเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐหรือศิลาแลง รวมถึงนำปูนมาปั้นประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมเป็นลวดลาย หรือภาพเล่าเรื่อง และปั้นประติมากรรมรูปทรงต่างๆครอบทับโกลนศิลาแลงด้วย โดยตัวอย่างการนำปูนมาใช้ในงานศิลปกรรม อาทิ
- ร่องรอยปูนฉาบ หรือตกแต่งบริเวณมณฑปวัดพระสี่อิริยาบถ วิหารวัดพระนอน และบัวปากระฆังของเจดีย์ประธานวัดพระธาตุ
- พระพุทธรูปในมณฑปประธานวัดพระสี่อิริยาบถ ประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ที่วัดสิงห์ และวัดอาวาสใหญ่ ประติกรรมเกือบลอยตัวรูปช้างที่ฐานเจดีย์ประธานวัดช้างรอบ และรูปสิงห์ที่ฐานเจดีย์ประธานวัดพระแก้ว
- ปูนปั้นภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติบริเวณฐานหน้ากระดานกลมเหนือฐานแปดเหลี่ยมและลวดลายตกแต่งรูปต้นไม้ระหว่างประติมากรรมรูปช้างของฐานเจดีย์ประธานวัดช้างรอบ และภาพลวดลายตกแต่งต่างๆบริเวณวิหารวัดพระแก้ว________________________________________________
เอกสารอ้างอิง
พิจิตร นิ่มงาม. การปั้นปูนตำ. กรุงเทพฯ: สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๐.
นพวัฒน์ สมพื้น. ลายปูนปั้น งานช่างประณีตศิลป์ของไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๐.
นวลลักษณ์ วัสสันตชาติ. (๒๕๖๑). “ปูนในโบราณสถานของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาแหล่งมรดกโลก.” หน้าจั่ว ๓๓ (มกราคม-ธันวาคม): ๔๓-๙๒.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๔.
--------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร https://www.facebook.com/kpppark2534/posts/pfbid0RBDKDHNBSVZhb7SahmKHUHDh1GXjuk4VPLHkgHogsxLJPRPbpD6EMMaszaYSJPutl--------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง ประวัติย่อศิลปลังกา ชวา ขอมผู้แต่ง สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ.2466-ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศิลปะเลขหมู่ 709.59 ศ837ปสถานที่พิมพ์ นครปฐมสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรปีที่พิมพ์ 2515ลักษณะวัสดุ 98 หน้าหัวเรื่อง ศิลปกรรม--เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศิลปกรรม--ชวา ศิลปกรรม--ลังกา ศิลปกรรม--กัมพูชาภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศิลปลังกา สมัยอนุราธปุระ สมัยโปลนนารุวะ ศิลปชวาภาคกลางและภาคตะวันออก ศิลปะขอม ในแง่สถาปัตยกรรม ลวดลายเครื่องประดับ ภาพสลักนูนต่ำ ประติมากรรมลอยตัว
ชื่อผู้แต่ง สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง คหเศรษฐศาสตร์ (ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๐๘)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๘
จำนวนหน้า ๙๓ หน้า
รายละเอียด
วารสารฉบับนี้จัดทำพิเศษเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงอุปถัมภ์ทางสมาคมมาโดยตลอด เนื้อเรื่องมีหลายประเภท เหมาะกับ คุณแม่บ้าน ทั้งเรื่องอาหาร การเลือกซื้อ การเสริมความงาม การอบรมเลี้ยงดูเด็ก ส่วนใหญ่มุ่งไปทางด้านวิชาการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 146/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)