ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/4ค เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : สมุดยาเกล็ด ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2478 สถานที่พิมพ์ : [สมุทรปราการ]สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สยามอักษรกิจ จำนวนหน้า : 84 หน้าสาระสังเขป : หนังเล่มนี้จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานอุปสมบทและเนื่องในงานฌาปนกิจศพ รวบรวมตำรายาเกล็ดต่างๆ ยาสำหรับเด็ก ยาสำหรับสตรี แก้ริดสีดวง แก้ฝี แก้กระษัย เหน็บชา ยาแก้มะเร็ง-คุทราด ยาแก้บิดลงแดง ยาแก้โรคบุรุษ ยาแก้ไข้ ยาเบ็ดเตล้ด ขี้ผึ้งปิดแผล น้ำมันต่างๆ ตำรายาแผนโบราณที่มีสรรพคุณดี
ทูตอังกฤษในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์
ชื่อผู้แต่ง สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร
ชื่อเรื่อง ทูตอังกฤษในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ ประจักษ์การพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๑
จำนวนหน้า ๑๒๖ หน้า
หมายเหตุ -
หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงทูตอังกฤษเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีและทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๒, รัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ นับว่าเป็นการเริ่มต้นกรุยทางให้ประเทศทั้งสองมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ชื่อเรื่อง : นิบาตชาดก เล่ม 7 จตุกกนิบาต ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2468 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไท จำนวนหน้า : 288 หน้า สาระสังเขป : นิบาตชาดก เล่ม 7 จตุกกนิบาตเล่มนี้ จัดพิมพ์พระราชทานในงานพระศพ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางเดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. 2468 กล่าวถึงพระอดีตชาติของพระพุทธเจ้าที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับภูมิหลังและการกลับชาติมาเกิดของบุคคลในสมัยพุทธกาล ประกอบด้วยชาดก 50 เรื่อง เช่น เอกราชชาดก ขันติวาทิชาดก โกกาลิกชาดก ถุสชาดก เป็นต้น
... น้ำชุบเก้าอย่าง ...
น้ำชุบ หรือ น้ำพริก เป็นอาหารคาวอย่างหนึ่งของคนใต้ มีกะปิเป็นวัตถุดิบหลัก และวัตถุดิบอื่น ๆ ที่สามารถหาได้ตามพื้นบ้าน มีขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาน้อย ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีส่วนผสมของวัตถุดิบ และขั้นตอนการทำที่แตกต่างกันออกไป
น้ำชุบเก้าอย่าง เป็นน้ำชุบพื้นบ้านของคนภูเก็ต โดยเฉพาะในอำเภอถลาง สามารถเลือกทำรับประทานได้ตามความชอบ แต่สำหรับในพิธีกรรม น้ำชุบทั้งเก้าอย่าง เป็นสำรับอาหารที่จะขาดไปเสียไม่ได้ เช่น พิธีไหว้ตายายผีหลาง (ถลาง)
ประเพณีไหว้ตายายผีหลาง เป็นประเพณีเก่าแก่ของคนอำเภอถลางที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีและความสำนึกในบุญคุณของบรรพบุรุษ รวมทั้งยังเป็นการพบปะระหว่างเครือญาติ
แต่เดิมนั้นจัดกันที่บริเวณบ้านเจ้าเมืองถลาง หรือบ้านลูกหลานเจ้าเมืองถลาง เช่นบ้านลิพอน บ้านดอน บ้านสาคู บ้านเหรียง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต พิธีกรรมจะเริ่มขึ้นหลังจากดวงอาทิตย์เริ่มจะลับขอบฟ้า จนถึงรุ่งเช้า ของวันอังคาร วันพฤหัสบดี หรือวันเสาร์ ในช่วงเดือน 4 หรือเดือน 6 ข้างขึ้น ตามปฏิทินจันทรคติ
ในปัจจุบัน ลูกหลานชาวถลาง ได้ประกอบพิธีนี้ขึ้นที่วัดม่วงโกมารภัจจ์ ในวันที่ 12 มีนาคม ของทุกปี เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ และรำลึกถึงท้าวเทพกระษัตรี (คุณหญิงจัน) ท้าวศรีสุนทร (คุณมุก) ที่ร่วมกันสู้ในศึกสงครามเก้าทัพจนชนะพม่า ในวันที่ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2328 ซึ่งชาวถลาง ถือกันว่าวันนี้เป็น "วันถลางชนะศึก"
เงินดอกไม้ หรือเงินผักชี
สมัยล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑
ซื้อจากพิพิธภัณฑ์หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เงินดอกไม้ (Flower Money) หรือเงินผักชี เป็นก้อนโลหะเงิน ค่อนข้างกลมแบน ลวดลายบนผิวเงินมีลายคล้ายดอกไม้ ซึ่งลวดลายดังกล่าวเกิดจาก การใช้หลอดไม้ขนาดยาวเป่าลมลงในเบ้าที่มีโลหะเงินยังเป็นของเหลวอยู่ การเป่าลมลงไปนี้อาจเป่าเป็นแห่ง ๆ หมุนไปโดยรอบเบ้าหลอมทำให้เกิดลายขึ้นบนผิวหน้าคล้ายหยดน้ำที่ตกลงมาแตกกระจายอยู่บนพื้นแข็งโดยรอบ
เงินดอกไม้ (Flower Money) หรือเงินผักชีเป็นหนึ่งในเงินตราล้านนาประเภทกลุ่มเงินที่มีมูลค่าสูง* เนื่องจากมีส่วนผสมของโลหะเงินในสัดส่วนที่ค่อนข้างเยอะ ตรงกันข้ามกับกลุ่มเงินประเภทเงินมูลค่าต่ำ มีตัวอย่างเช่น เงินท้อก เงินใบไม้ เงินปากหมู เงินวงตีนม้า ซึ่งเงินเหล่านี้มีอัตราส่วนผสมของโลหะเงินที่แตกต่างกันออกไปหรืออาจจะไม่มีเลย โดยใช้โลหะทองแดง หรือทองเหลืองแทน เงินตราเหล่านี้เป็นสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนของรัฐล้านนาในช่วงที่เป็นอิสระ นอกจากนี้ยังพบเงินไซซี (Sycee Money) ซึ่งแสดงถึงการติดต่อค้าขายกับจีนอีกด้วย
ระบบเศรษฐกิจของล้านนาเจริญขึ้นสูงสุดในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พร้อมกับอำนาจของล้านนาที่แผ่ขยายไปยังเมืองต่าง ๆ) โดยเมืองที่สำคัญทางเศรษฐกิจคือ เมืองเชียงใหม่และเมืองเชียงแสน ซึ่งมีเส้นทางติดต่อกับบ้านเมืองอื่น ๆ ต่อไปอีก นอกจากนี้เมืองขนาดเล็กลงมาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น เมืองฮอด เมืองน่าน เมืองแพร่ และเมืองพะเยา ก็ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าที่กองคาราวานเดินทางผ่านและแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยเช่นกัน
*ในกลุ่มเงินประเภทนี้ยังมีเงินอื่น ๆ เช่น เงินเจียง เป็นต้น
อ้างอิง
ธนาคารแห่งประเทศไทย. เงินตราไทย Thai money. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย, ม.ป.ป.
สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, ๒๕๕๑.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. เงินตราสมัยล้านนา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๖, จาก: https://www.bot.or.th/.../Northern/Pages/T-Lannacoin.aspx
เลขทะเบียน : นพ.บ.527/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 68 หน้า ; 5 x 48 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 176 (267-279) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : ลำสินไชย--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์) อย.บ. 423/9ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ทองทึบ รักทึบ ลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เรื่อง พระอินทร์ : เทพแห่งพายุฝนเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน มักเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า รวมถึงสายรุ้ง บนท้องฟ้าอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจทำให้หลายคนนึกถึงเทพแห่งสายฟ้าที่โด่งดังจากภาพยนต์ เช่น เทพธอร์ เทพเจ้าของชาวไวกิ้ง หรือมหาเทพซูสในวัฒนธรรมกรีกโบราณ ซึ่งเป็นเทพเจ้าในโลกตะวันตก
ทว่าในโลกตะวันออกก็มีเทพแห่งพายุฝนผู้มีอาวุธเป็นสายฟ้าฟาดที่ได้รับการสรรเสริญบูชาอย่างมากตั้งแต่สมัยพระเวทเช่นกัน เทพองค์นั้นคือ “พระอินทร์” ซึ่งบทความนี้ จะนำเสนอเรื่องราวของพระอินทร์ในฐานะเทพแห่งพายุฝนโดยสังเขปเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศแห่งวสัตฤดู
ชื่อเรื่อง: วัธนธัมไทย เรื่อง ของไนพิพิธภันทแห่งชาติ ผู้แต่ง: กรมสิลปากร ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๘๖สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์พระจันท จำนวนหน้า: ๑๐๐ หน้า เนื้อหา: สำนักนายกรัถมนตรี จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่วัธนธัมของไทยในทุกสาขา อาทิ ประวัติศาสตร์ไทย พระราชสถาน การเล่นพื้นเมือง การดนตรี ละคอนไทย สิ่งของไนพิพิธภันท พระพุทธรูป สมุดไทย ตู้พระธัม การอาชีพ ลายผ้า ความอุดมสมบูรน์ของประเทสบ้านเมืองไทย เป็นต้น เนื่องในโอกาสงานฉลองวันชาติ พ.ศ. ๒๔๘๖ เรื่อง ของไนพิพิธภันทแห่งชาติ เป็นเรื่องหนึ่งของหนังสือชุด "วัธนธัมไทย" โดยกรมสิลปากร กล่าวถึงประวัติการจัดตั้งพิพิธภันทสถาน การจัดพิพิธภันทสถานในรัชการที่ ๕ และ ๗ อธิบายถึงโบราณวัตถุ สิ่งของต่างๆ ที่มีอยู่ในพิพิธภันทสถานแห่งชาติ อาทิ ของที่จัดตั้งพายไนพระที่นั่งสิวโมขพิมาน พระที่นั่งพิมุขมนเทียร พระที่นั่งสันตพิมาน พระที่นั่งพรหมเมสธาดา พระที่นั่งอุตราพิมุข โรงราชรถ โรงเรือ พระตำหนักแสดง และรูปฉายา ลักสน์ในห้องเก็บรูป เป็นต้น พร้อมภาพประกอบและคำอธิบาย เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมของไทยที่มีมาแต่โบราณและตกทอดมาสู่ปัจจุบันเลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๒๗๔
เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๒๗หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (ไฟล์ดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์เท่านั้น)
วันนี้ในอดีต 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคต (วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)
11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ปราสาททอง กรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศ เมืองลพบุรี หลังจากประชวรหนักในช่วงที่ พระเพทราชา กระทำการชิงราชสมบัติ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 4 ของราชวงศ์ปราสาททอง ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าปราสาททองและพระนางเจ้าสิริกัลยานี พระราชสมภพในปี 2175 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2199 มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะทรงมีพระชนมายุ 25 พรรษา
หลังจากประทับที่กรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 ในปี 2209 และเสด็จไปประทับทุก ๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน กระทั่งเสด็จสวรรคตในปี 2231 ขณะพระชนมายุได้ 56 พรรษา รวมเวลาที่ทรงครองราชสมบัติ 32 ปี
ต้นแบบกระถางธูปสังเค็ดงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๓ พระราชทานวัดจีนและศาลเจ้า ติดหน้าสิงห์ ๒ ข้าง
สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๔๕๓
ส่งมาจากห้องกลางกระทรวงมหาดไทย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑
ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระทีนั่งพรหมเมศธาดา หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กระถางธูปสังเค็ดการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ลักษณะเป็นกระถางธูปทองเหลืองติดรูปหน้าสิงห์สองข้าง ปากกระถางผาย คอคอด ส่วนกลางป่อง เชิงสูงตั้งตรง ฐานเป็นวงแหวนซ้อนกันสี่ชั้น ส่วนกลางของกระถางธูปมีจารึกอักษรไทยประดิษฐ์เลียนแบบตัวอักษรจีนอ่านว่า “จปร” ซึ่งเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจากคำว่า “มหาจุฬาลงกรณ์ปรมราชาธิราช” ด้านบนเป็นข้อความอักษรจีน เรียงจากซ้ายไปขวา คำว่า “護我大行” แปลว่า ปกป้องคุ้มครองข้าพเจ้าสู่การเดินทาง (หมายถึงรัชกาลที่ ๕ เสด็จสวรรคต) ด้านซ้ายของกระถางธูปมีข้อความในแนวตั้งว่า “皇暹叻丹那高成查百式拾玖殺旦” แปลว่า ในปีที่ ๑๒๙ ของราชวงศ์สยามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๔๕๓) และด้านขวาของกระถางธูปมีข้อความว่า “第六代御贈” พระราชทานโดย รัชกาลที่ ๖
กระถางธูปสังเค็ดใบนี้ มีประวัติว่าเป็นรายการวัตถุลำดับที่ ๑๔ ในบัญชีเคลื่อนย้ายมาจากห้องกลางกระทรวงมหาดไทยเมื่อช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ โดย รองอำมาตย์เอก หลวงวิสูตร์สมบัติ ปลัดกรมเสมียนตรา เป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายพร้อมกับรายการโบราณวัตถุอื่น ๆ
เครื่องสังเค็ดแต่เดิมมีความหมายถึงทานวัตถุที่ถวายพระสงฆ์ ต่อมาในปัจจุบันมักใช้เรียกสิ่งของที่จัดสร้างขึ้นถวายพระสงฆ์เนื่องในงานอวมงคล โดยในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการจัดสร้างเครื่องสังเค็ดหลายสิ่ง ไม่เพียงแต่เฉพาะที่ถวายพระสงฆ์เท่านั้น แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ สำหรับบุคคล สำหรับพระอารามทุกศาสนา และสำหรับสถานที่ อาทิ โรงเรียนและโรงพยาบาล ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” โดยราม วชิราวุธ* ทรงกล่าวไว้ความตอนหนึ่งของสิ่งที่งดและเพิ่มเกี่ยวกับงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความตอนหนึ่งว่า “...งดสังเค็ดแบบเก่าซึ่งมีของถวายพระเปนเครื่องใหญ่ เพิ่มสังเค็ดแบบใหม่ ให้ทั้งพระ วัด โรงเรียน โรงสวดศาสนาต่าง ๆ และศาลเจ้า...”
กระถางธูปใบนี้เป็นหนึ่งในเครื่องสังเค็ดที่จัดสร้างขึ้นเนื่องในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทานแก่วัดจีนและศาลเจ้าต่าง ๆ ทั้งในพระนครและตามหัวเมืองเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ
*พระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
อ้างอิง
กรมศิลปากร. เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, ๒๕๖๑.
ฤทธิเดช ทองจันทร์. มรดกศิลป์ศาลเจ้าแม่ม่าจ้อโป้ จังหวัดพังงา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๔.
ราม วชิราวุธ (พระนามแฝง). ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๕.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ.๒.๑.๑/๒๑. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง บัญชีสิ่งของส่งมาจากกระทรวงมหาดไทย (๔ ส.ค. ๒๔๗๑-๔ ส.ค. ๒๔๗๔).
เทวรูปจากเทวาลัยมหาเกษตร ตอนที่ ๒ : “พระวิษณุ” เทพผู้ปกป้องและคุ้มครองแห่งเทวาลัยมหาเกษตร. ก่อนหน้านี้ได้มีการนำเสนอเรื่องราวของพระอิศวรหรือพระศิวะ มหาเทพผู้มีหน้าที่ทำลายล้างโลกไปแล้ว วันนี้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจะขอนำเสนอเรื่องราวของพระวิษณุและเทวรูปพระวิษณุที่พบที่เทวาลัยมหาเกษตร. พระวิษณุ (Vishnu) เป็น ๑ ใน ๓ ของเทพสำคัญในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู พระองค์ทรงเป็นเทพผู้ปกป้องและคุ้มครองโลก และทรงเป็นปรมาตมันสูงสุดในลัทธิไวษณพนิกาย โดยพระองค์จะอวตารลงมาปราบทุกข์เข็ญ เมื่อยามที่โลกเดือดร้อน อวตารที่รู้จักกันดี คือ “ทศอวตาร” หรือ นารายณ์สิบปาง พระวิษณุมีลักษณะเด่น คือ สวมกิรีฏมกุฏซึ่งเป็นหมวกทรงกระบอกของกษัตริย์ เนื่องจากทรงมีหน้าที่ดูแลโลก พระองค์จึงเทียบได้กับกษัตริย์ของจักรวาล มี ๔ กร ทรงถือศัตราวุธ ได้แก่ จักร (สัญลักษณ์แห่งพระสูรยะและแสงสว่าง) สังข์ (สัญลักษณ์ของน้ำ) คทา (สำหรับการลงทัณฑ์ผู้กระทำความผิด) ดอกบัวหรือธรณี (สื่อถึงการโอบอุ้มดูแลโลก) เป็นต้น พระองค์ทรงมีพระชายา คือ พระลักษมี และมีครุฑเป็นเทพพาหนะ เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อที่เรียกว่า ‘นารายณ์’ ซึ่งแปลตามรากศัพท์ว่า ผู้เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ คำว่า ‘นารายณ์’ นี้เป็นพระนามเดิมของพระพรหมมาก่อน ต่อมาภายหลังจึงนำมาใช้เรียกพระวิษณุ เมื่อครั้งที่บรรทมอยู่ในเกษียรสมุทร. โดยเทวรูปพระวิษณุที่พบที่เทวาลัยมหาเกษตรนั้น มีความสูง ๒.๖๗ เมตร สวมหมวกทรงกระบอก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงแยกออกจากกันและไม่เป็นเส้นนูน พระเนตรรียาว พระนาสิกงุ้ม แย้มพระสรวลเล็กน้อย พระหนุกลม พระวรกายอวบอ้วน บั้นพระองค์สูง พระอุระกว้าง มี ๔ กร โดยพระหัตถ์ซ้ายหน้าทำท่าคล้ายกำสิ่งของสันนิษฐานว่าเป็นคทา ซึ่งเป็น ๑ ในอาวุธของพระวิษณุ พระหัตถ์ขวาหน้าจีบนิ้วชี้ชิดกับนิ้วโป้งสื่อความหมายถึงการสั่งสอน ส่วนลักษณะการนุ่งผ้าของพระวิษณุ มีการชักชายผ้าออกมาหลายชั้น สวมมงกุฎ กุณฑล กรองศอ พาหุรัด ทองพระกร และทองพระบาทเช่นเดียวกับศิลปะลังกา . จากการศึกษาเทวรูปสำริดของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศสกุล สามารถกำหนดอายุของเทวรูปได้จากรูปแบบของศิราภรณ์ เครื่องประดับ และเครื่องแต่งองค์ ซึ่งมีพัฒนาการแตกต่างไปตามช่วงเวลา ซึ่งเทวรูปพระวิษณุแห่งเทวาลัยมหาเกษตร เป็นตัวอย่างของประติมากรรมเทวรูปในสมัยสุโขทัยยุครุ่งเรือง(มีพระพักตร์เหมือนกับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่) โดยปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานครเช่นเดียวกับเทวรูปพระอิศวร..อ้างอิง ๑. กรมศิลปากร. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด. (จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐). ๒.เชษฐ์ ติงสัญชลี. (๒๕๖๓). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. พิมพ์ครั้งที่ ๔. นนทบุรี. มิวเซียมเพรส. ๓.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๖๑). ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส. ๔.สุรพล ดำริห์กุล. (๒๕๖๒). ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี: เมืองโบราณ..หมายเหตุ : สามารถอ่านเทวรูปจากเทวาลัยมหาเกษตร ตอนที่ ๑ : พระอิศวร ได้ที่ลิ้งค์ https://www.facebook.com/photo/?fbid=719217040010611&set=a.621124623153187