ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ

ประทุม  ชุ่มเพ็งพันธุ์.  ของใช้พื้นเมืองภาคใต้.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2517.       เป็นหนังสือที่รวบรวมเกี่ยวกับของใช้พื้นเมืองภาคใต้ ซึ่งนำมาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องพื้นเมืองภาคใต้ และเป็นหนังสือคู่มือประกอบการจัดแสดงเรื่องของใช้พื้นเมืองด้วย



#พิพิธ(สาระ)ภัณฑ์ ตอน #พระโพธิสัตว์ทำผมทรงเดรดล็อค!?ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะทวารวดี ที่พบที่เมืองโบราณคูบัว ที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี มีทรงผมที่คล้ายกับผมทรงเดรดล็อค ซึ่งมีลักษณะเป็นการนำผมมาถักเป็นกลุ่มตามความยาวของผม เป็นทรงผมที่ได้รับความนิยมใน กลุ่มคนผิวสี วัยรุ่น นักร้องในสไตล์เร็กเก และแร็ป ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรดินเผา ศิลปะทวารวดี ที่พบที่เมืองโบราณคูบัว โดยทั้ง 2 องค์ มีลักษณะพระเกศาเป็นกลุ่มช่อ เกล้ามวยแบบชฎามกุฏ มีเส้นผมคาดในแนวนอน และเกล้าพระเกศาเป็นมวยกลางพระเศียร ประดับพระอาธิพุทธเจ้าอมิตาภะปางสมาธิที่ด้านหน้ามวยพระเกศา ปลายพระเกศาสยายลงมาที่ยังพระอังสา (ไหล่) ทั้งสองข้าง นอกจากนี้ยังพบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในศิลปะศรีวิชัย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันในด้านรูปแบบกับศิลปะทวารวดี ที่มีลักษณะทรงผมคล้าย ๆ กัน มีลักษณะเป็นทรงเกล้าครึ่งหนึ่งของพระเศียร และอีกครึ่งหนึ่งปล่อยลงพาดอังสา (บ่า) และพระปฤษฎางค์ (หลัง) ลักษณะเส้นผมม้วนเป็นกลุ่มช่อเมื่อพิจารณาโดยรูปแบบจากประติมากรรมในสมัยคุปตะที่เป็นต้นทางในการส่งอิทธิพลรูปแบบศิลปะให้แก่ศิลปะทวารวดี พบว่ามีพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ที่มีลักษณะทรงผมในรูปแบบเดียวกัน จึงทำให้เชื่อได้ว่าเป็นทรงผมที่มีต้นเค้ามาจากศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะ และเมื่อพิจารณาตามลักษณะทางประติมานวิทยา โดยเปรียบเทีียบกับประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในศิลปะทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย และศิลปะคุปตะของอินเดีย พบว่าลักษณะของผมขอดแบบม้วนโรลตามลักษณะผมของคนอินเดีย ไม่ได้มีการถักเส้นผมให้เป็นกลุ่มก้อนเหมือนทรงผมเดรดล็อค แต่อย่างใด#พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร #เดรดล็อคเนื้อหาและศิลปกรรม: นางสาวกศิภา สุรินทราบูรณ์นิสิตฝึกงาน จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


        ถ่ายถอดโดย นางสาวเอมอร เชาวน์สวน นักภาษาโบราณเชี่ยวชาญ         ผู้เรียบเรียง  นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ         จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดี มีอายุไม่ต่ำกว่า ๓,๕๐๐ - ๓,๘๐๐ ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี ศรีวิชัย สุพรรณบุรี เดิมมีชื่อ "ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ "พันธุมบุรี"          ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรี เป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้งสภาพบ้านเมือง ตลอดจนประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ถูกทำลายปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณได้ฟื้นตัว และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน(ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้         ความสำคัญของสุพรรณบุรี ในด้านประวัติศาสตร์ การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้แก่ ชัยชนะแห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธ     อันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิบ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ยไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์ เป็นต้น         การเรียนรู้เรื่องราวสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และความเป็นมาของสถานที่สำคัญต่าง ๆ หรือชื่อบ้านนามเมืองนั้น ต้องมีการศึกษาข้อมูลอ้างอิงจากเอกสารต่าง ๆ   ที่บรรพชนได้มีการบันทึกเรื่องราวไว้ อาทิ เช่น พงศาวดาร หนังสือหายาก หรือ เอกสารโบราณ  เป็นต้น         โดยเฉพาะเอกสารโบราณ ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าของบรรพชนไทยที่ได้สร้างขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลวิทยาการสาขาต่างๆ เรื่องราวหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยทั้งเป็นภาพสะท้อนให้เห็นอารยธรรม และศิลปวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการสืบทอดมานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องอักษรและภาษาที่ใช้บันทึกข้อมูล ทำให้การศึกษาองค์ความรู้ในเอกสารยังถูกจำกัด ไม่แพร่หลายเท่าที่ควร         ในการนี้ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ จึงเล็งเห็นความสำคัญขององค์ความรู้ที่มีอยู่ในเอกสารโบราณที่จัดเก็บอยู่ที่ห้องศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ จึงขอความอนุเคราะห์กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยนางสาวเอมอร เชาวน์สวน นักภาษาโบราณ-เชี่ยวชาญ ดำเนินการถ่ายถอด สมุดไทยดำ ที่เป็นเอกสารของกรมการเมืองบันทึกการฟ้องร้องคดีความต่างๆ ไว้หลายคดี ศักราชในเอกสารฉบับนี้ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๑๙ ปรากฏชื่อตำแหน่งต่างๆ เช่น พระไชราชรักษา หลวงพรมสุภาขุนเกษตรสาลี ขุนศรีมงคน ฯลฯ และชื่อสถานที่ต่างๆ ในแขวงเมืองสุพรรณบุรี เช่น  บ้านศีรษะปั่น บ้านโพคอย  บ้าน   พลูหลวง บ้านโพเจ้าพญา ฯลฯ เป็นต้น


          ตำแหน่งอยู่ไม่นาน แต่ตำนานนั้นอยู่ตลอดไป เฉกเช่นคุณงามความดีที่เราต่างได้กระทำ นอกจากจะปรากฎแก่ตัวเราเองแล้ว ก็จะยังได้รับการกล่าวขานยกย่องสรรเสริญสืบไปนานเท่านานด้วย สำหรับวันนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึง “เหรียญราชนิยม” อีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้มีความกล้าหาญที่สมควรแก่การเชิดชู           เหรียญราชนิยม (The Rajaniyom Medal) เป็นหนึ่งในเหรียญราชอิสริยาภรณ์ซึ่งนับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่บุคคลต่าง ๆ ได้แก่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ทหาร พลตระเวน เสือป่าและลูกเสือ ตลอดจนบุคคลทั่วไป และสำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ทั้งนี้ เหรียญราชนิยมเป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในความกล้าหาญ  เหรียญราชนิยม (ซ้าย) พ.ศ. 2455 (ขวา) พ.ศ. 2484             พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนี้ขึ้นสำหรับพระราชทานแก่ผู้ทำหน้าที่พลเมืองดีแสดงความกล้าหาญช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ โดยฝ่าอันตรายหรือช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นอันตรายต่าง ๆ โดยไม่เกรงกลัวภัยที่จะเกิดแก่ชีวิตของตนเอง โดยมิใช่เพราะความจำเป็นตามตำแหน่งหน้าที่ของผู้นั้น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติเหรียญราชนิยม รัตนโกสินทรศก 131” ขึ้น เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2455 ตามความตอนหนึ่งว่า   “...ผู้ที่ได้กระทำน่าที่พลเมืองดี ให้เปนประโยชน์แก่การปกครองท้องที่ หรือแก่เพื่อนมนุษย์ จะเปนผู้มียศบรรดาศักดิ์ชั้นใด ๆ ฤๅจะเปนสามัญชนก็ดี สมควรที่จะได้รับพระมหากรุณาเปนพิเศษส่วนหนึ่ง แสดงให้ปรากฎซึ่งพระราชนิยมในผู้ที่ประพฤติตนเปนพลเมืองดี แลมีความกล้าหาญอันบังเกิดแต่ความกรุณาแก่เพื่อนมนุษย์เปนที่ตั้ง จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งให้สร้างเหรียญขึ้นใหม่ สำหรับพระราชทานแก่ผู้มีความชอบดังที่กล่าวมานี้...”             เหรียญพระราชนิยม ใช้อักษรย่อ “ร.น.” สัณฐานเป็นลักษณะรูปกลม ด้านหน้ามีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอักษรจารึกพระนามาภิไธยว่า “มหาราชา ปรเมนทรมหาวชิราวุโธ สยามรัชกาล พุทธสาสนุปัตถัมภโก” ด้านหลังมีอักษรจารึกว่า “ทรงพระราชนิยมพระราชทาน” มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 มิลลิเมตร วงรอบประมาณ 97 มิลลิเมตร หนาราว ๆ 2 มิลลิเมตร ห้อยกับแพรแถบสีดำและสีเหลือง สำหรับประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา ตรงข้ามกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญอย่างอื่น           ใน พ.ศ. 2484 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติเหรียญราชนิยม รัตนโกสินทรศก 131 ที่ออกเมื่อ พ.ศ. 2455 และให้ตรา “พระราชบัญญัติเหรียญราชนิยม พุทธศักราช 2484” ขึ้นใช้แทน โดยมีการปรับรายละเอียดของเหรียญ และเพิ่มเติมรายละเอียดในเรื่องของการพระราชทานและการเรียกคืนเหรียญ สำหรับเหรียญราชนิยมตามพระราชบัญญัติ ปีพุทธศักราช 2484 นี้จะต่างจากเดิม คือ เป็นเหรียญกลมเงิน ด้านหน้ามีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีอักษรจารึกช้อความใดๆ ส่วนด้านหลังจารึกอักษรว่า “ทรงพระราชนิยมพระราชทาน” ข้างบนมีห่วงห้อยกับแพรแถบกว้าง 3 เซนติเมตร สีดำและสีเหลือง ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา ทั้งนี้สำหรับพระราชทานสตรี ใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าขวา           การพระราชทานเหรียญราชนิยมสำหรับผู้ที่ได้กระทำความชอบตามสมควรที่จะได้รับพระราชทานนั้น โดยปกติจะเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่นำความชอบเสนอเป็นลำดับขั้นตอนมาจนถึงเจ้ากระทรวง และให้เจ้ากระทรวงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท บางกรณี หากเจ้าหน้าที่ปกครองท้องที่ไม่ได้นำความทราบบังคมทูล แต่หากทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมาโดยทางอื่น และทรงพระราชดำริเห็นสมควรแล้ว ก็จะทรงพระกรุณาพระราชทานเหรียญราชนิยมได้เหมือนกัน            การพระราชทานเหรียญราชนิยม จะพระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์ เมื่อผู้ได้รับพระราชทานวายชนม์ให้ทายาทโดยธรรมรักษาไว้เป็นที่ระลึก แต่ถ้าผู้ได้รับหรือทายาทโดยธรรมของผู้รับกระทำผิดอย่างร้ายแรง หรือประพฤติตนไม่สมเกียรติ อาจทรงเรียกคืนได้ ถ้าส่งคืนไม่ได้ด้วยประการใดๆ จะต้องใช้ราคาเหรียญนี้แก่ทางราชการตามราคาที่กำหนด เหรียญพระราชนิยมไม่มีประกาศนียบัตรกำกับ แต่จะมีการประกาศคุณความดีความชอบของผู้นั้นในราชกิจจานุเบกษา           นอกจากจะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และส่งเหรียญพระราชนิยมไปพระราชทานตามที่เจ้ากระทรวงได้กราบบังคมทูลพระกรุณาแล้ว ก็ยังมีการเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเหรียญราชนิยมต่อหน้า  พระพักตร์ด้วย เช่น เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2456 ในคราวที่ลูกเสือโทฝ้าย เด็กชายวัย 14 แห่งกองร้อยที่ 1 มณฑลชุมพร ได้โดยสารเรือกลไฟบางเบิดจากพระนครกลับบ้านเกิด ระหว่างทางเรือได้อับปางลงกลางทะเล เขาได้ช่วยชีวิตชายชราและเด็กหญิงให้พ้นอันตรายถึง 2 คน วีรกรรมของลูกเสือโทฝ้ายทราบถึงพระเนตรพระกรรณ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญราชนิยมแก่ลูกเสือโทฝ้ายเพื่อเป็นเกียรติยศในการช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นภัย เมื่อวันที่ 10 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2457 ณ สนามหญ้าหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พร้อมทั้งมีพระราชดำรัสชมเชยและแสดงความพอพระราชหฤทัยอย่างยิ่งในความกล้าหาญ และความประพฤติของลูกเสือโทฝ้าย ซึ่งสมควรที่ลูกเสือทั้งหลายจะดูไว้เป็นเยี่ยงอย่างและประพฤติตามให้สมนามแก่ที่เป็นลูกเสือและลูกผู้ชาย ในการนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่ลูกเสือโทฝ้าย ด้วยว่า “บุญเลี้ยง” ซึ่งต่อมาลูกเสือโทฝ้าย บุญเลี้ยงได้เจริญวัย จนรับราชการครู มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนวรศาสนดรุณกิจ จากนั้นภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ถือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรุ่นแรกของสยาม พระราชบัญญัติเหรียญราชนิยม รัตนโกสินทร ศก 131  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/A/211.PDF ขุนวรศาสนดรุณกิจ (ฝ้าย บุญเลี้ยง)             ปัจจุบันเหรียญพระราชนิยมเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทานไปแล้ว โดยมีการประกาศรายชื่อและคุณความดีของผู้ได้รับพระราชทานรายสุดท้าย ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 80 ตอนที่ 76 ตามแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชนิยม ณ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 มีเนื้อความดังนี้ “...ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญราชนิยม แก่พลทหารเตี๋ยม ฟูสกุล สังกัดกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ซึ่งได้ช่วยเหลือนางสอาด สิทธิเพียร ให้รอดพ้นอันตรายจากการจมน้ำตายในแม่น้ำเจ้าพระยา เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งธนบุรี...”             ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมหนังสือเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย และราชกิจจานุเบกษา ประกาศรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ได้ที่ ห้องบริการหนังสือประเทศไทย หนังสือนานาชาติ และราชกิจจานุเบกษา ชั้น 3 อาคาร 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ         --------------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง “แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชนิยม.”  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่มที่ 80 ตอนที่ 76.  (30 กรกฎาคม 2506): 1879. ชยุต ศาตะโยธิน.  เหรียญราชนิยม รัชกาลที่ 6.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565, เข้าถึงได้จาก: http://doh.hpc.go.th/bs/issueDisplay.php?id=410&category=S00&issue=Wild%20Tiger ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมพระ.  ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2558.  (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558). “พระราชบัญญัติเหรียญราชนิยม พุทธศักราช 2484.”  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่มที่ 58.  (12 พฤศจิกายน 2484): 1586-1588. “พระราชบัญญัติเหรียญราชนิยม รัตนโกสินทร ศก 131.”  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่มที่ 23.  (29 กันยายน ร.ศ. 131): 211-213. สวนะ ศุภวรรณกิจ.  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย.  พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2514.  (พิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเสรี ธรรมวิทย์ ท.ม.,ต.ช. ณ เมรุวัดธาตุทอง 4 เมษายน 2514). _______.  ราชอิสริยาภรณ์ไทย.  กรุงเทพฯ: รุ้ง, 2522.   สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย.  กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2526.  (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีพิมพ์แจกในงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของสำนักนายกรัฐมนตรี ณ วัดชนะสงคราม แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2526). _______.  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย = Royal orders and decorations of the Kingdom of Thailand.  กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2530. อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ.  “ขุนวรศาสนดรุณกิจ: ครูผู้รอดขีวิตและปิดฉากชีวิตกลางท้องทะเลอ่าวไทย,” รูสมิแล 37, 3 (กันยายน-ธันวาคม 2559): 53-62.   -------------------------------------------------- เรียบเรียงโดย : นายสุวิชา โพธิ์คำ บรรณารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ --------------------------------------------------   *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร  



ชื่อผู้แต่ง           สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย ชื่อเรื่อง           คหเศรษฐศาสตร์ (ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๒) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      ธนบุรี สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์บรรหาร ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๒ จำนวนหน้า      ๘๒ หน้า รายละเอียด                    ฉบับนี้รวบรวมเรื่องทั้งหมด ที่ได้จากการสัมมนาคหกรรมศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๑  เป็นเรื่อง     ของการศึกษาคหเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย โครงการส่งเสริมคหเศรษฐศาสตร์ของกระทรวงเกษตร  คหเศรษฐศาสตร์เพื่อครอบครัวชนบท  โครงการพัฒนาการท้องถิ่น และหัวข้อ ในการประชุมสัมมนาคหเศรษฐศาสตร์แห่งชาติ             


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 146/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/4ฆเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่อง พระมะเหลเถไถชื่อผู้แต่ง : สุวรรณ ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรุงไทยการพิมพ์จำนวนหน้า : 36 หน้า สาระสังเขป : บทละครเรื่อง พระมะเหลเถไถ ผู้แต่งคุณสุวรรณ เป็นเรื่องที่แปลกแต่งเป็นภาษาบ้างไม่เป็นภาษาบ้างปะปนกันไปตั้งแต่ต้นจนจบ ส่วนใครได้อ่านก็เข้าใจเนื้อหาตลอดทั้งเรื่อง จึงให้ให้เกิดความขบขัน


รสวรรณคดี ชื่อผู้แต่ง           พระยาอนุมานราชธน, พระยา. ชื่อเรื่อง            รสวรรณคดี ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์เจริญธรรม ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๕ จำนวนหน้า       ๓๕๔ หน้า : ภาพประกอบ หมายเหตุ         -                              เรื่องต่างๆ ท่านเสถียรโกเศศ ได้เขียนขึ้นต่างเวลากัน ตีพิมพ์ในหนังสือต่างๆ กัน แจกจ่ายในบางโอกาส ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้มีผู้รวบรวมนำไปจำหน่าย  ซึ่งน่าสนใจยิ่ง สำหรับผู้ใฝ่ใจหาความรู้ให้กว้างขวาง


ชื่อเรื่อง : นิบาตชาดก เล่ม 7 จตุกกนิบาต ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2468 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไท จำนวนหน้า : 288 หน้าสาระสังเขป : นิบาตชาดก เล่ม 7 จตุกกนิบาตเล่มนี้ จัดพิมพ์พระราชทานในงานพระศพ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางเดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. 2468 กล่าวถึงพระอดีตชาติของพระพุทธเจ้าที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับภูมิหลังและการกลับชาติมาเกิดของบุคคลในสมัยพุทธกาล ประกอบด้วยชาดก 50 เรื่อง เช่น เอกราชชาดก ขันติวาทิชาดก โกกาลิกชาดก ถุสชาดก เป็นต้น


  ชื่อเรื่อง           อยู่ดี มีสุข ชื่อผู้แต่ง         พระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์          2524 จำนวนหน้า      121  หน้า รายละเอียด                     หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมเรื่องธรรมมะ  ที่ได้เรียบเรียงไว้ในโอกาสต่างๆ “อยู่ดี มีสุข”  ซึ่งหมายความว่า  หากบุคคลสามารถดำรงตนดีตามธรรม  ปฏิบัติธรรม  สมควรแก่ธรรม คือสมควรแก่ฐานะกาล บุคคล  หน้าที่  เหตุผล  ความสุขก็จะเกิดตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ 


         ผอบหกเหลี่ยมถมปัด (เครื่องประกอบเชี่ยนหมาก)          สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕          ไม่ปรากฏที่มา          ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นบน) หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          ผอบรูปทรงหกเหลี่ยม ขึ้นรูปจากโลหะทองแดงตกแต่งด้วยเทคนิคการถมปัด ปากผอบผายออกเล็กน้อย มีรูปทรงหยักโค้งคล้ายกลีบดอกไม้ ขอบปากผอบด้านนอกตกแต่งเป็นลายใบเทศบนพื้นสีแดง ตัวผอบเป็นทรงหกเหลี่ยม ผิวด้านนอกแบ่งเป็นลายช่องกระจกเขียนลายก้านต่อดอกใบเทศ เชิงผอบเป็นทรงกลมตกแต่งเป็นลายกลีบบัวคว่ำซ้อนกลีบ ภายในกลีบบัวมีลายใบเทศ ฝาผอบหยักโค้งเป็นรูปทรงคล้ายกลีบดอกไม้ (รับกับปากผอบ) ตกแต่งด้วยลายใบไม้บนพื้นสีแดง กึ่งกลางฝาเป็นจุกยอดแหลม          ผอบ หมายถึง ภาชนะสำหรับใส่ของ มีเชิง ฝาครอบมียอด มักทำด้วยโลหะหรือไม้กลึงเป็นต้น* ซึ่งผอบชิ้นนี้เป็นหนึ่งในเครื่องประกอบพานหมากถมปัด ซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานถวายพระภิกษุสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ และเหตุที่ใช้โลหะทองแดงนั้น เพราะวัสดุทองกับเงินถือเป็น ๒ ใน ๑๐ วัตถุอนามาส สิ่งที่พระภิกษุไม่ควรจับตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย          เครื่องถมปัด คือภาชนะทองแดงที่มีการเคลือบน้ำยาผสมกับผงที่มาจากการป่นลูกปัดสี แต่เดิมนิยมนำเข้าจากประเทศจีน ชาวตะวันตกรู้จักกันแพร่หลายในนาม “เครื่องลงยากวางตุ้ง” (Canton enamel ware) เรียกตามเมืองที่มีแหล่งผลิต เครื่องถมปัดที่ถวายพระสงฆ์นั้นนิยมลงยาสีพื้นเป็นสีเหลือง ขณะเดียวกันมีเครื่องถมปัดลงยาสีพื้นอื่น ๆ ด้วย อาทิ สีแดง สีดำ สีน้ำเงิน ภาชนะถมปัดที่ถวายพระสงฆ์มีหลายรูปแบบ ได้แก่ กระโถน กาน้ำ ฝาบาตร พานหมาก หีบหมาก กระโถนใหญ่ กระโถนเล็ก ลักจั่น** ปิ่นโต ฯลฯ      *ตามความหมายใน: ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖. หน้า ๗๙๐. . **ลักจั่น หมายถึง นํ้าเต้าหรือภาชนะดินรูปคล้ายนํ้าเต้าสำหรับบรรจุนํ้าในเวลาเดินทางอย่างที่พระธุดงค์ใช้ ตามความหมายใน: ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖. หน้า ๑๐๖๘.     อ้างอิง กรมศิลปากร. ประณีตศิลป์สยาม ณ หมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๕. ยุทธนาวรากร แสงอร่าม. โลหศิลป์ ณ พระที่นั่งปิจฉิมาภิมุข พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๖๐. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖.


เลขทะเบียน : นพ.บ.527/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 5 x 48 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 176  (267-279) ผูก 6 (2566)หัวเรื่อง : ลำสินไชย--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger