ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

ชื่อเรื่อง                     การรู้จักดูคนผู้แต่ง                       ธนิต  อยู่โพธิ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   คติชนวิทยา นิทานพื้นเมืองเลขหมู่                      398.9 ธ262กลสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญปีที่พิมพ์                    2502ลักษณะวัสดุ               140 หน้าหัวเรื่อง                     นิทานคติธรรมภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายเลิศ พุกะนัตต์, พ.ต.ต. ประเสริฐ สุนทรเสรี, นายผ่อง เกณฑ์กระโทก, นายหวล แก่นกระโทกและนายฉ่ำ สุขกระโทก    


          ในขณะที่ตอนนี้ผู้คนกำลังให้ความสำคัญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น เราอาจจะลืมไปว่ายังมีโรคระบาดที่รุนแรงอย่างไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค และมักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน โดยกรมควบคุมโรคออกมาเตือนการเกิดโรคไข้เลือดออกเป็นอีกหนึ่งโรคที่มาแรงสำหรับปี 2020 นี้ โดยตั้งแต่ต้นปี 1 มกราคมเป็นต้นมา มีผู้ป่วยทั่วประเทศแล้วมากกว่า 8,746 ราย และเสียชีวิตไปแล้วถึง 6 ราย ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่พบอัตราป่วยมากสุด คือ เด็กๆ อายุระหว่าง 5-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี และอายุแรกเกิดถึง 4 ปี ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า เด็กเล็กนั้น มีความเสี่ยงในการติดโรคอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว            เพื่อเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็ก เรามารู้จักกับโรคนี้ทั้งระยะของโรค อาการ และการรักษาป้องกันกันค่ะ โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง (Dengue) โดยมียุงลายที่เป็นพาหะนำโรค เชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายคนโดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด จากนั้นยุงลายก็จะแพร่เชื้อให้กับคนอื่นๆ ต่อไป (ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร) ซึ่งเมื่อได้รับเชื้อเข้าร่างกายและ จะมีอาการ ไข้ขึ้นสูงหลายวัน, ปวดศีรษะ คล้ายอาการของไข้หวัด แต่จะมีอาการร่วมเป็นอาการปวดกระบอกตา, ปวดกล้ามเนื้อ, เมื่อยเนื้อตัว, ท้องอืด, มีผื่นแดงขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใบหน้า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอาการเฉพาะของ โรคไข้เลือดออกค่ะ            ระยะของโรคไข้เลือดออก แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะหลักๆ ได้แก่            -ระยะไข้ ระยะนี้ไข้สูง 39-40 °C นานเกิน 4-5 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว ปวดกระบอกตา เบื่ออาหาร ท้องอืด เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว และอาจจะชัก ใบหน้าแดงในระยะนี้ได้           -ระยะวิกฤต ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ฝ่ามือ ฝ่าเท้าเย็นขึ้น ปัสสาวะน้อย มีอาการท้องอืด ระยะอาจจะเกิดอาการอันตรายอย่างอาการช็อกได้            -ระยะฟื้นตัว หลังจากผ่านช่วงวิกฤตมาแล้ว ผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็ว ปัสสาวะบ่อยขึ้น ปวดหัวลดลง อยากอาหาร ซึ่งหากผู้ป่วยเกิดอาการช็อก แล้วได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะกลับมาเป็นปกติภายใน 2-3 วัน           การรักษาโรคไข้เลือดออกนั้น ต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเบื้องต้นให้งดกินยาประเภทแอสไพรินและยาต้านการอักเสบ ให้ดื่มน้ำผลไม้หรือเกลือแร่เสริม และดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ส่วนวิธีป้องกัน เนื่องจากโรคนี้มีพาหะนำโรคเป็นยุงลาย เราจึงต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สวมใส่เสื้อแขนยาวขายาว และทายากันยุงสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการถูกแมลง ถูกยุงลายกัดค่ะ ในสมัยก่อนได้มีการรักษาโรคต่างๆด้วยสมุนไพรและการบริหารร่างกาย อย่างเช่น หนังสือหายากเล่มหนึ่ง ได้บันทึกเกี่ยวกับโครงภาพฤๅษีดัดตนและตำรายาอายุวัฒนะ เพื่อเป็นตัวอย่างการรักษาด้วยการบริหารร่างกายประกอบกับการรับประทานยาทำให้ไข้และสามารถรักษาได้หายจริงในสมัยเริ่มตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นที่ศิริราชพยาบาล จึงได้บักทึกไว้ในหนังสือหายากจารึกวัดพระเชตุพน ตอน โคลงภาพฤๅษีดัดตนและตำรายาอายุวัฒนะ ------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง ไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : กรมควบคุมโรคติดต่อ, 2536. เลขหมู่ 616.157 ก169ร สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2546. เลขหมู่ 616.157 ส846ร จารึกวัดพระเชตุพน ตอน โคลงภาพฤาษีดัดตน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2534 เลขหมู่ 615.822 ค319ก ข้อมูลสถิติ กรมควบคุมโรคติดต่อ



องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เรื่อง ศาลเจ้าแสงธรรมภูเก็ตกับการปรากฏสัญลักษณ์มงคลจีน


ชื่อเรื่อง                                ภตฺตานุโมทนากถา (ภัตตานุโมทนากถา)  สพ.บ.                                  362/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           20 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวด                                           พระธรรมเทศนา                                           คาถาพัน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 


          ในวาระที่องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “โนรา” เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษย์ชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช จึงได้จัดแสดงกระเบื้องมุงหลังคาชิ้นพิเศษที่มีรอยประทับรูปบุคคลทำท่าคล้ายรำโนรา พร้อมด้วยกระเบื้องมุงหลังคาที่มีรอยประทับลายอื่นๆ และกระเบื้องเชิงชาย จากขุดค้นทางโบราณคดี ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งดำเนินการโดยสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลจากการขุดค้นทางโบราณคดี และสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของโบราณสถานในท้องถิ่น ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหนมรดกทางศิลปวัฒนธรรม โดยจัดแสดงโบราณวัตถุ กระเบื้องมุงหลังคาและกระเบื้องเชิงชาย จำนวน ๑๓ รายการ           ผู้สนใจสามารถเข้าชมการจัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญนี้ได้ระหว่างวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ เปิดทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช (ตรงข้ามวัดสวนหลวง) ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร. ๐ ๗๕๓๔ ๑๐๗๕


โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปกฺขิยธมฺม)  ชบ.บ.49/1-6  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.184/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า ; 5.5 x 54 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 106 (117-122) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : ปาจิตฺติยปาลิ มหาริภงฺคปาลิ(พระปาจิตตีย์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.254/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 116 (217-225) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ขีรธารกถา(แทนน้ำนมแม่)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


พระพุทธรูป สำริด ศิลปะล้านนา  พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑--ชิ้นส่วนพระพุทธรูป ขนาดกว้าง ๓๕ ซม. สูง ๔๓ ซม.  ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูป พระเกตุมาลาและพระอุษณีษะ พระกรรณด้านขวา หายไปเหลือเพียงส่วนพระเศียรด้านหน้า พระพักตร์ เรื่อยมาจนถึงพระอังสาและพระอุระ ขมวดพระเกศาและไรพระศกขนาดเล็ก  พระพักตร์รูปไข่ค่อนข้างกลม พระขนงโค้ง พระเนตรเรียวปลายตวัดขึ้นเล็กน้อย พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์ยิ้ม พระกรรณยาวปลายโค้งงอนออก ทรงครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิเป็นริ้วซ้อนทับกัน --ชิ้นส่วนพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปในศิลปะล้านนาที่มีความคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย โดยเฉพาะการครองจีวรที่มีชายสังฆาฏิพับทบกันเป็นริ้วซ้อนกัน คล้ายกับพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย เช่น พระพุทธรูปลีลาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย  และในศิลปะล้านนาเองก็มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีชายสังฆาฏิในลักษณะนี้คือ พระเจ้าดวงดี พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่วัดดวงดี อ.เมือง จ.เชียงใหม่ การกำหนดอายุพระพุทธรูปนี้กำหนดไว้อย่างน้อยช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นช่วงที่พระยากือนาได้อาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยขึ้นมา ทำให้เกิดการนำรูปแบบทางศิลปะมาปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ -๒๑ หรือราว ๖๐๐ ปีมาแล้ว เอกสารอ้างอิง ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. รายงานการวิจัย เมืองลำพูนจากหลักฐานโบราณคดี ศิลปะและเอกสารทางประวัติศาสตร์ เสนอต่อ สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ กรมศิลปากร. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.), ๒๕๕๒.









ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 32 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 57 (ต่อ) - 58) โกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค 1 (ต่อ) และภาค 2ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 324 หน้าสาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 32 ภาคที่ 57 กล่าวถึงเรื่องราวครั้งเมื่อโกศาปานไปฝรั่งเศส โดยคณะราชทูตได้เข้าเฝ้าพระบรมวงศานุวงศ์ และได้ไปดูงานสถานที่ต่างๆอาทิ พระที่นั่งลูฟร์, ช่างสะดึงหลวงที่โรงค็อบแล, หอน้ำประปาที่มาร์ลี เป็นต้น และในส่วนประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 58 กล่าวถึง คณะราชทูตเริ่มเดินทางไปเยื่ยมชมเมืองต่างๆ อาทิ เมืองกาแลส์, เมืองวาลังเซียนส์, เมืองดูแอย์, เมืองเปรอน เป็นต้น


Messenger