เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ กับ ภาษาไทย
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มีความรักและใส่ใจเรื่องภาษาไทยอย่างยิ่ง ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ใช้ภาษาไทยที่ดีทั้งการพูดและการเขียน ในการแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับภาษาไทยแต่ละครั้ง ท่านจะเน้นย้ำให้ทุกคนตระหนักในคุณค่า และ ความสำคัญของภาษาไทยเสมอ ดังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ภาษาไทย ภาษาแม่” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ความว่า “คนไทยที่เกิดและอาศัยอยู่ในแผ่นดินนี้ ย่อมรักและหวงแหนแผ่นดินเกิดของตน มีหน้าที่ทำความดีเพื่อทดแทนบุญคุณของแผ่นดิน การหวงแหนรักษาภาษาไทย ก็เป็นหน้าที่และเป็นการทดแทนบุญคุณอันยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน” และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ภาษาไทย ของเรา” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ความว่า “ภาษาไทยเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นเครื่องแสดงความเป็นเอกราช แสดงวัฒนธรรมของชาติที่ได้สั่งสมมานานหลายศตวรรษ และเป็นสมบัติล้ำค่าซึ่งคนไทยต้องรักษา ดูแล และพัฒนาให้รุ่งเรืองอย่างมั่นคงตลอดไป”
นอกจากนี้ ท่านยังเห็นว่าภาษาถิ่นและประเพณีของภาคต่าง ๆ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ดังปรากฏในปาฐกถาพิเศษเรื่อง “วัฒนธรรมไทย สมบัติไทย” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ความว่า “ สำหรับบ้านเรากล่าวได้ว่า ภาษาถิ่นบ้านเรามีอยู่สามภาษาด้วยกัน คือ ภาษาเหนือ ภาษาอีสาน และ ภาษาใต้ ภาษาถิ่นเป็นเรื่องที่บ่งบอกถึงสภาพสังคม ลักษณะนิสัยตลอดจนประเพณีการละเล่นของถิ่นนั้น ๆ ได้ชัดเจน ภาษาถิ่นเป็นภาษาที่น่าสนใจมาก ควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง เพราะเป็นภาษาที่เราน่าจะอนุรักษ์และดำรงไว้ให้ยั่งยืนควบคู่กับภาษากลาง ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ...” ประการสำคัญ ท่านเห็นว่าการรักษาภาษานอกจากเป็นการรักษาชาติแล้ว ยังแสดงถึงการสืบสาน พระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยภาษาของชาติว่าเป็นวัฒนธรรมสำคัญที่จะต้องทำนุบำรุงและรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
ทั้งนี้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ แนะนำว่าการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนั้น ผู้ใช้ภาษาควรศึกษาภาษาไทยให้เข้าใจและหมั่นฝึกฝนทั้งการพูดและการเขียน โดยออกเสียงให้ถูกต้อง ใช้คำให้ถูกความหมาย เรียงคำให้ถูกหลักไวยากรณ์ ฯลฯ เพื่อให้สื่อสารเข้าใจตรงกันและใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการดำรงตนเป็นคนไทย
------------------------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย นายบัณฑิต พูนสุข นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
------------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
- กระทรวงวัฒนธรรม. จารึกไว้ในแผ่นดิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธาน องคมนตรีและรัฐบุรุษ. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๖๒. มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. วัฒนธรรมไทย สมบัติไทย
- ปาฐกถาพิเศษของ มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ โดยฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ ประธาน กิตติมศักดิ์ มูลนิธิ. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการส่งเสริมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์, ๒๕๓๗. มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. ความสำคัญของภาษาไทยในรายการโทรทัศน์ ปาฐกถาพิเศษโดย ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลา นนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการ ส่งเสริมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์, ๒๕๓๘.
(จำนวนผู้เข้าชม 2518 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน