ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

          วันศุกร์ที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการจ้างงาน พร้อมด้วยนางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ผู้บริหารในส่วนราชการกรมศิลปากร คณะกรรมการ ร่วมประชุมในโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ (ขุนด่านปราการชล) งวดงานที่ ๑ / ระยะที่ ๓ ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยได้ตรวจงานบริเวณอาคาร และพื้นที่ก่อสร้าง พร้อมด้วยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่


          วันอังคารที่ ๒๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ประชุมหารือเรื่อง ”การพัฒนาพื้นที่กำแพงเมือง” ร่วมกับคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด นำโดยนายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด โดยมี นายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการกองโบราณคดี นายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม  และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมในการประชุม ณ ห้องประชุม ๑ (อาคารเทเวศวร์) กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                  หนังสือพิมพ์คนสุพรรณ เล่ม 8 ตั้งแต่ฉบับที่ 354 ถึง 371/2506 (กรกฎาคม - สิงหาคม - กันยายน)ผู้แต่ง                     -ประเภทวัสดุ/มีเดีย     หายากISBN/ISSN              -หมวดหมู่                 -เลขหมู่                    -สถานที่พิมพ์             สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์               -ปีที่พิมพ์                  2506ลักษณะวัสดุ             178 หน้า. : กว้าง 28 ซม. ยาว 39 ซม.ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก


#ภาพเก่าเล่าอดีต_เมืองราชบุรี.ในวันนี้ (31 กรกฎาคม 2565) มูลนิธิประชานุกูล ราชบุรี ข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ได้จัดพิธีทิ้งกระจาด ทำให้พิพิธภัณฑ์ ได้ระลึกถึงภาพเก่าของมูลนิธิประชานุกูล ราชบุรี ซึ่งเคยจัดแสดงในนิทรรศการ ภาพเก่าเล่าอดีต เมืองราชบุรี จัดโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2552.ภาพชุดนั้น คือ ภาพการสงเคราะห์ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้เมืองราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2503 ซึ่งเป็นเหตุเพลิงไหม้โรงงานทำธูป ถือเป็นเหตุการเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของราชบุรีมูลนิธิประชานุกูล ราชบุรี ได้ทำการตั้งกองบรรเทาทุกข์ ที่หน้าสุขศาลา เทศบาลเมืองราชบุรี  ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณถนนอัมรินทร์ ใกล้กับสถานีตำรวจภูธรเมืองราชบุรี เพื่อแจกสิ่งของ ข้าวสาร อาหารแห้งที่มีผู้บริจาค แก่ผู้ประสบภัย นับเป็นภาพชุดอันทรงคุณค่าอีกชุดหนึ่งของจังหวัดราชบุรี.#ทิ้งกระจาด ที่ตามคติความเชื่อของชาวจีน ถือเป็นการทำบุญ ทำทานให้แก่ภูตผีที่ไม่มีญาติทั้งหลาย ซึ่งจะปล่อยจากยมโลกมารับส่วนบุญบนโลกมนุษย์ปีละครั้ง งานจะจัดขึ้นทุกปีในช่วงกลางเดือน 7 ของจีน (ตรงกับเดือน 9 ของไทย) ไปจนถึงสิ้นเดือน ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่ประตูยมโลกเปิด.ขอขอบคุณ ภาพ: FB โจ๊ก แม็คโคร, มูลนิธิประชานุกูล ราชบุรีข้อมูล: ภาพเก่าเล่าอดีต เมืองราชบุรี โดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี


          เครื่องประดับทองคำรูปหน้ายักษ์ พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง            เครื่องประดับทองคำ ขนาดกว้าง ๑.๑ เซนติเมตร สูง ๑.๙ เซนติเมตร สันนิษฐานว่าเป็นรูปใบหน้ายักษ์ สวมเครื่องประดับศีรษะยอดแหลม ขอบกระบังหน้าเป็นสันนูน คิ้วหนาตกแต่งด้วยขีดเป็นร่อง ระหว่างคิ้วเหนือจมูกมีรอยย่น ตาโปนกลมโต จมูกกลมใหญ่ แก้มป่อง หูสั้นมีปลายแหลม ริมฝีปากหนา อ้าปากเห็นฟันซี่ใหญ่ที่ขีดเป็นร่อง เหนือริมฝีปากด้านซ้ายและขวามีลายขีดเป็นร่องอาจเป็นหนวด ด้านหลังทำเป็นห่วงกลม และมีเดือยเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมอยู่ด้านล่าง กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว           ประติมากรรมรูปยักษ์ ปรากฏมาแล้วตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ และมีพัฒนาการทางรูปแบบศิลปะของแต่ละยุคสมัยเรื่อยมา ทั้งยังส่งอิทธิพลให้ศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น  สำหรับงานศิลปกรรมสมัยทวารวดี นอกจากเครื่องประดับทองคำรูปหน้ายักษ์ชิ้นนี้แล้ว ยังพบประติมากรรมรูปยักษ์ทำจากดินเผาหรือปูนปั้นตามเมืองโบราณสมัยทวารวดีต่าง ๆ พบทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมนูนสูงสำหรับประดับศาสนสถาน บางชิ้นสันนิษฐานว่าเป็นทวารบาลผู้พิทักษ์ศาสนสถาน เช่น เศียรยักษ์ปูนปั้นพบที่เมืองโบราณอู่ทอง เศียรยักษ์พบที่หน้าบริเวณที่ทำการไปรษณีย์ จังหวัดลพบุรี ทวารบาลดินเผารูปยักษ์ พบที่โบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม เป็นต้น           เครื่องประดับรูปหน้ายักษ์ชิ้นนี้แม้มีขนาดเล็ก แต่ก็มีรายละเอียดที่คมชัด งดงาม เป็นหลักฐานที่แสดงถึงแสดงถึงความชำนาญและฝีมือของช่างสมัยทวารวดี ที่ทำเครื่องประดับทองคำนี้เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว นอกจากนี้ที่เมืองโบราณอู่ทอง ยังพบเครื่องประดับทำด้วยทองคำอีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ เครื่องประดับรูปกินรี ตุ้มหู แหวน จี้และลูกปัด เป็นต้น ---------------------------------------------------  เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์. กรุงเทพฯ : อมรินพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๖๔ เฉิดฉันท์ รัตน์ปิยะภาภรณ์. “การศึกษาคติความเชื่อและรูปแบบของ “ยักษ์” จากประติมากรรมที่พบในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๑. ---------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง  https://www.facebook.com/Uthongmuseum/posts/pfbid02N59fbeRwJEM4L17dYF8JozvoiBZ57S2FvYmosk25J1yGQ5DoGT8cob846HbqKT19l ---------------------------------------------------- *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร  




          เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี  ๒๕๖๖ วันเสาร์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๖ กรมศิลปากรเปิดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมให้เด็กและเยาวชนร่วมกิจกรรมฟรี ทั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์และหอสมุดแห่งชาติทั่วประเทศ โดยได้เตรียมกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีทั้งสาระและความบันเทิง เน้นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานและหลากหลาย เพื่อให้ได้รับความรู้และเกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นการเปิดประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน ปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ           เด็กๆ สามารถเข้าร่วมกิจกรรม ณ หน่วยงานกรมศิลปากรที่ใกล้บ้าน ในส่วนกลาง สอบถามรายละเอียดได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓  และ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี  โทร. ๐ ๒๒๘๑ ๓๖๕๓  สำหรับในส่วนภูมิภาคสอบถามได้ที่หน่วยงานสังกัดกรมศิลปากรในจังหวัดนั้นๆ ตัวอย่าง กิจกรรมวันเด็ก ณ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของกรมศิลปากร ในกรุงเทพมหานครยกตัวอย่าง กิจกรรมวันเด็ก ณ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของกรมศิลปากร ในส่วนภูมิภาค


ชื่อผู้แต่ง           สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย ชื่อเรื่อง           วารสารคหเศรษฐศาสตร์ (ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๕) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      พระนคร สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์วิบูลย์กิจ ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๕ จำนวนหน้า      ๑๐๕ หน้า รายละเอียด                    ในฉบับนี้ ก็จะมีหัวข้อหลาย ๆ เรื่อง ทั้งเรื่องศิลปะ เรื่องผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องอาหาร เรื่องชีวิตคู่ เรื่องการเลือกซื้อเลือกใช้  แต่จะเน้นไปที่เรื่องของอาหารและโภชนาการ โดย             เฉพาะเรื่องอาหารกลางวันของโรงเรียน


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 146/3เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/4งเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : UTTARAKURU อุตตรกุรุ ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีที่พิมพ์ : 2508 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัยจำนวนหน้า : 58 หน้า สาระสังเขป : อุตตรกุรุ ดินแดนอัศจาย์ของเอเชีย ในทวีปเอเชียเราได้ผู้เขียนเรื่องเกี่ยวกับดินแดน อุตตรกุรุ ณ ดินแดนที่มีลักษณะที่เจ้าของเรื่องยกย่องไม่น้อยไปกว่ายูโทเบียของมอร์ ส่วนเรื่องดินแดนน่าพิศวงในหนังสือไทยโบราณที่มีชื่อว่า ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือพระกลายๆ ว่าด้วยภูมิทั้ง 3


          กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖  ประเภทผู้ประพันธ์คำร้อง “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” และผู้ขับร้อง   “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” เพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงผู้มีผลงานดีเด่นด้านการใช้ภาษาไทย และสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีคุณภาพทั้งการประพันธ์คำร้องและผู้ขับร้อง ส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง ๓๐ เมษายน ๒๕๖๖ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเฟซบุ๊ก เพจ “เพชรในเพลง กรมศิลปากร” facebook.com/pechtnaipleng           การประกวดเพลง “เพชรในเพลง” ในปีนี้นับเป็นปีที่ ๒๐ แบ่งการประกวดออกเป็น รางวัลผู้ประพันธ์คำร้อง “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” มี ๒ ประเภท ได้แก่ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล และผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง และรางวัลผู้ขับร้องเพลง “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” มี ๔ ประเภท ได้แก่ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย และผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง โดยคุณสมบัติของเพลงที่ส่งเข้าประกวด ประเภทการประพันธ์คำร้องต้องเป็นเพลงที่ประพันธ์คำร้องขึ้นใหม่ และเผยแพร่สู่สาธารณชน ภายในระยะเวลา ๒ ปี ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๖๔ - เดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ส่วนประเภทผู้ขับร้อง ต้องเป็นเพลงที่เผยแพร่สู่สาธารณชนภายในระยะเวลา ๒ ปี ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๖๔ - เดือนมีนาคม ๒๕๖๖ เช่นกัน ซึ่งผู้ชนะการประกวดแต่ละประเภท จะได้รับพระคเณศของกรมศิลปากร พร้อมเงินรางวัล ๑๕,๐๐๐ บาท สำหรับรางวัลชนะเลิศ และ ๑๐,๐๐๐ บาท สำหรับรางวัลรองชนะเลิศ ทั้งนี้ พิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖           ผู้สนใจสามารถส่งผลงานด้วยตนเอง หรือไปรษณีย์ลงทะเบียน ระบุชื่อผู้ส่งผลงาน ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ให้ชัดเจน ได้ที่ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (การประกวดเพชรในเพลง) ชั้น ๖ อาคารกรมศิลปากร (เทเวศร์) เลขที่ ๘๑ /๑ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐ หรือส่งผลงานทางอีเมล finearts.thai@gmail.com ติดตามรายละเอียดหลักเกณฑ์และการส่งผลงานเพลงเข้าการประกวดได้ในประกาศกรมศิลปากร เรื่อง การประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖ ดาวน์โหลดได้ที่ shorturl.at/iGMPT กำหนดส่งผลงานเพลงเข้าร่วมประกวดได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่   ๓๐ เมษายน ๒๕๖๖ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๖๐๗๖ หรือทาง อีเมล finearts.thai@gmail.com และเฟซบุ๊ก เพจ “เพชรในเพลง กรมศิลปากร” facebook.com/pechtnaiplengภาพ : พิธีมอบรางวัลการประกวดเพลง "เพชรในเพลง" ในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕


อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ พระยาอนุสารน์พณิชยการ ชื่อผู้แต่ง           อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ พระยาอนุสารน์พณิชยการ ชื่อเรื่อง            อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ พระยาอนุสารน์พณิชยการ ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์ไทยเขษม ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๒ จำนวนหน้า       ๑๐๒ หน้า : ภาพประกอบ หมายเหตุ         อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ พระยาอนุสารน์พณิชยการ ต.จ.ว.,ต.ม., จ.ช.                      ณ เมรุวัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร  วันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒           ท่านเจ้าคุณอนุสาสน์พณิชยการ ป่วยและเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มาแล้ว ๒ ครั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ และ ๒๕๑๘ หลังจากนั้นสุภาพของท่านยังไม่ดีขึ้น ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๑


ชื่อเรื่อง : ไทยรบพม่าชื่อผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ศรีเมืองการพิมพ์ จำนวนหน้า : 884 หน้า สาระสังเขป : ไทยรบพม่า เป็นการรวมเรื่องไทยรบกับพม่าเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีสงครามเกิดขึ้น ๒๔ ครั้ง ครั้งสมัยกรุงธนบุรี ๑๐ ครั้ง และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๐ ครั้ง หนังสือเรื่องนี้ เมื่อพิมพ์ครั้งแรกข้าพเจ้าทราบว่าผู้ที่ชอบอ่านมักเป็นทหารมากกว่าพลเรือน บางทีจะเป็นเพราะพวกพลเรือนเห็นชื่อเรื่องก็เข้าใจเสียว่า เป็นหนังสือแสดงแต่การรบพุ่งอันเป็นประโยชน์ในทางความรู้ของผู้เป็นทหาร ข้าพเจ้าจึงขอแจ้งความให้ทราบในที่นี้ว่า ข้าพเจ้าตั้งใจแต่งหนังสือเรื่องนี้ให้เป็นประโยชน์ในทางความรู้พงศาวดารเป็นสำคัญ ในหนังสือนี้มีคติทางการเมืองฝ่ายพลเรือนอยู่แต่ต้นจนปลาย ใครอ่านถึงจะเป็นทหารหรือพลเรือนก็คงจะได้ความรู้เรื่องพงศาวดารสยาม ซึ่งยังไม่ปรากฏในหนังสือเรื่องอื่นมีอยู่มาก


         พระคเณศ ๔ กร          ศิลปะชวา พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖          กรมวังนอก กระทรวงวังส่งมา เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๔          ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          พระคเณศ ๔ กร พระเกศาทรงชฎามงกุฎ มีลักษณะสำคัญคือรวบพระเกศาขึ้นเป็นมวย ปลายตกลงมาเป็นวงโค้ง กึ่งกลางเกี้ยวประดับเป็นตาบสามเหลี่ยมหนึ่งตาบ* อุณหิส (กระบังหน้า) ประดับตาบสามเหลี่ยม ๓ ตาบ** คั่นด้วยลายดอกไม้ขนาดเล็ก พระเนตรเปิดมองตรง งวงพาดไปยังพระหัตถ์ซ้ายล่าง พระพาหาทรงพาหุรัด และทองพระกร พระวรกายทรงครองสายธุรำ ส่วนปลายเป็นศีรษะงู พระกรขวาล่างถืองาช้างที่หัก พระหัตถ์ซ้ายล่างถือชามใส่ขนมโมทกะ หัก พระหัตถ์ขวาบนและพระหัตถ์ซ้ายบนไม่ปรากฏวัตถุที่ทรง เนื่องจากชำรุดหักหายไป นั่งแยกพระชงฆ์ ฝ่าพระบาททั้งสองข้างประกบกันบนฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย          ลักษณะเด่นของพระคเณศองค์นี้คือพระเศียรยังแสดงการทรงชฎามงกุฎ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเป็นนักบวช สอดคล้องกับประวัติของพระคเณศ เป็นบุตรของพระศิวะซึ่งเป็นมหาฤๅษี โดยลักษณะทางประติมานวิทยาพระศิวะจะเกล้าพระเกศาทรงชฎามงกุฏเช่นกัน นอกจากนี้ลักษณะการประดับตาบสามเหลี่ยม การทรงพาหุรัด และท่านั่งแยกพระชงฆ์ และฝ่าพระบาทชิดกันดังกล่าวก็เป็นรูปลักษณะที่ปรากฏมาก่อนในประติมากรรมพระคเณศศิลปะอินเดีย อย่างไรก็ตามการซ้อนตาบกลางบนพระเศียรนั้นเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปะชวา ซึ่งต่างไปจากศิลปะอินเดีย   *ชำรุดหักหายไป **คำว่า “ตาบ” ในที่นี้หมายถึง แผ่นรูปสามเหลี่ยมที่ประดับศิราภรณ์   อ้างอิง เชษฐ์ ติงสัญชลี. ศิลปะไทยภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. นนทบุรี: มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๘. อุไรศรี วรศะริน และคณะ. พระคเณศ เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๕.


Messenger