ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ



          การวิเคราะห์และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ความรู้ประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาถือได้ว่าเป็นที่สนใจและถูกจับตานำมาต่อยอดโดยนักวิชาการอย่างกว้างขวาง จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ “พระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา” ซึ่งเป็นการศึกษาและวิเคราะห์ตีความจากพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ และบันทึกชาวต่างชาติ ข้อมูลดังกล่าวเรียบเรียงโดย นายประทีป เพ็งตะโก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมศิลปากร และถูกตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ “สถาปัตยกรรมในสถาบันพระมหากษัตริย์” โดยสรุป พระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยามีพัฒนาการการใช้พื้นที่เป็น 3 ระยะ คือ          1. ระยะแรก ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 รวม 98 ปี โดยเป็นช่วงที่พระราชวังหลวงตั้งอยู่บริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์ ช่วงแรกพระราชวังหลวงน่าจะประกอบด้วยพระที่นั่งอย่างน้อย 5 องค์ ที่ล้วนสร้างด้วยไม้ คือ - พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท - พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท - พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท และ - พระที่นั่งตรีมุข          2. ระยะที่สอง ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลก ถึงรัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ รวม 182 ปี >> สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเขตพระราชวังเดิมให้เป็นเขตพุทธาวาส และสร้างพระราชวังใหม่ชิดไปทางด้านเหนือริมแม่น้ำลพบุรี  ในช่วงนี้จะประกอบไปด้วยพระที่นั่งองค์สำคัญได้แก่ - พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท - พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท - พระที่นั่งวิหารสมเด็จ ทั้งนี้ ส่วนพระราชวังมีกำแพงกั้นกับวัดพระศรีสรรเพชญ์          3. ระยะที่สาม ตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ รวม 137 ปี  เป็นช่วงที่บ้านเมืองรุ่งเรืองอย่างมาก มีการขยายพระราชวังออกไปทุกทิศทุกทาง ด้านเหนือจรดกำแพงเมือง ด้านตะวันออกจรดท้ายวัดธรรมิกราช ด้านใต้จรดวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังมีกำแพงสูง 4 เมตร มีป้อม 8 ป้อม ประตูบก 20 ประตู ประตูน้ำ 2 ประตู และช่องกุด 1 ช่อง ภายในพระราชวังประกอบด้วย - พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ตั้งอยู่ด้านเหนือสุด - พระคลังมหาสมบัติ (ด้านใต้ลงมา) - พระที่นี่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ตั้งอยู่พระราชฐานชั้นนอกเป็นที่ประทับทอดพระเนตรฝึกพลสวนสนาม - พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์เป็นที่ประทับท้ายพระราชวัง - พระตำหนักตึกเป็นที่ประทับของพระมเหสี - พระที่นั่งทรงปืน - ตำหนักสวนกระต่าย - ตำหนักสระแก้ว - ตำหนักศาลาลวด - ถังประปา           จากข้อมูลดังกล่าวจึงได้มีการวิเคราะห์และจัดทำผังสันนิษฐานของพระราชวังหลวงในระยะต่างๆ ไว้ด้วย >> ทั้งนี้ สรุปข้อมูลมาจาก หนังสือสถาปัตยกรรมในสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้สนใจสามารถอ่านต่อได้ที่ https://pubhtml5.com/iytc/tiym           หากมีการนำข้อมูลการศึกษาวิเคราะห์ไปต่อยอด การอ้างอิงข้อมูลพื้นฐานเป็นมารยาทที่พึงกระทำในแวดวงนักวิชาการ ----------------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา https://www.facebook.com/AY.HI.PARK/posts/1395881527427348----------------------------------------------------------------------


ชื่อเรื่อง                    การอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวัดเขาดิน ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีผู้แต่ง                      วสันต์ เทพสุริยานนท์ประเภทวัสดุ/มีเดีย      หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                978-974-417-947-0หมวดหมู่                  ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่                     959.373 ว358กสถานที่พิมพ์              นนทบุรีสำนักพิมพ์                หจก.ไวท์โพสต์แกลลอรี่ปีที่พิมพ์                   2551ลักษณะวัสดุ              74 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง                    วัดเขาดิน                             สุพรรณบุรี -- โบราณสถาน – การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก         รายงานการขุดแต่งเจดีย์วัดเขาดิน โดยกล่าวถึงประวัติวัดเขาดิน ที่ตั้ง สภาพภูมิประเทศ โบราณสถานใกล้เคียง การขุดศึกษาทางโบราณคดี สภาพของโบราณสถานก่อนการขุดศึกษา การวางผัง การขุดค้น การขุดตรวจ การขุดแต่ง วัตถุหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากการขุดค้นและการขุดแต่ง ได้วิเคราะห์สรุปถึงคติความเชื่อ รูปแบบทางสถาปัตยกรรม และได้มีการอนุรักษ์โบราณสถานและการปรับปรุงภูมิทัศ



องค์ความรู้จากหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เรื่อง สมมาพระ : ว่าด้วยการขอขมาพระรัตนตรัยแบบอีสาน ปริวรรตและเรียบเรียงโดย นางสาวอุไร คำมีภา นักภาษาโบราณปฏิบัติการ


ชื่อเรื่อง                                ขุนบรม (บุรบุรม)  สพ.บ.                                  363/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           58 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ความเชื่อ                                           ชาติพันธุ์ บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 


#แอ่วเวียงผ่อวัดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน  ตอน... "เจดีย์วัดพญาวัด"--- เจดีย์วัดพญาวัด ตั้งอยู่ภายในวัดพญาวัด ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นหนึ่งในเจดีย์ทรงปราสาทยอดที่มีรูปแบบพิเศษ ซึ่งปรากฏเฉพาะในศิลปะล้านนาระยะแรกเพียงไม่กี่แห่ง โดยปรากฏที่จังหวัดลำพูน ๒ แห่ง ได้แก่ เจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี  และสุวรรณเจดีย์ ในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘  นอกจากนั้นยังมีเจดีย์รูปแบบที่คล้ายคลึงกันนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ คือ เจดีย์กู่คำ วัดกู่คำ เวียงกุมกาม --- เจดีย์วัดพญาวัด มีลักษณะเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมทรงปราสาทยอด ส่วนฐานทำเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ๔ ชั้น ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวคว่ำ และท้องไม้มีประดับลูกแก้วอกไก่ ,ส่วนเรือนธาตุ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่มีชั้นเรือนธาตุซ้อนชั้นลดหลั่นขึ้นไป ๕ ชั้น แต่ละชั้นมีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืน ด้านละ ๓ องค์ รวมทั้งหมด ๖๐ องค์ ลักษณะของซุ้มจระนำก่อเป็นวงโค้งและมีการประดับลวดลายเครือล้านนา, ส่วนยอดของเรือนธาตุ มีลักษณะเป็นทรงกรวยสี่เหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ และมีปลียอดด้านบนสุดเป็นทรงกรวยสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกัน--- จากการศึกษาที่ผ่านมา มีข้อสันนิษฐานว่ารูปแบบของเจดีย์วัดพญาวัดนี้ อาจจะจำลองแบบมาจากเจดีย์วัดกู่กุด อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน  โดยคงนำมาสร้างขึ้นในชั้นหลัง เนื่องจากมีเทคนิคการก่อสร้างและองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมที่สามารถกำหนดอายุสมัยได้ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่ การประดับลวดลายปูนปั้นแบบลายเครือเถาล้านนา การก่ออิฐซุ้มจระนำในลักษณะซุ้มโค้งก่อเรียงอิฐในแนวตั้งและหันด้านหน้าแผ่นอิฐออก เป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งอาจจะได้รับอิทธิพลจากเจดีย์ทรงเรือนธาตุ ศิลปะล้านนา ที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น กู่พระเจ้าติโลกราช วัดเจ็ดยอด และเจดีย์วัดโลกโมฬี อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ --- นอกจากนี้ รูปแบบพระพุทธรูปปูนปั้นที่ประดับภายในซุ้มจระนำ ยังมีลักษณะเดียวกับพระพุทธรูปในศิลปะล้านนาทั่วไป ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ อาทิ พระพักตร์รูปไข่ พระรัศมีเป็นเปลว ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี โดยลักษณะการครองจีวร แนวรัดประคด ชายพับขอบสบงทางด้านหน้า และแนวขอบชายจีวรที่ทิ้งชายลงมาทางด้านล่างคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปปางลีลาที่วัดนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน  --- กล่าวโดยสรุปได้ว่า จากรูปแบบทางศิลปกรรมของเจดีย์วัดพญาวัด สันนิษฐานว่าคงถูกสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ โดยอาจจะได้แรงบันดาลใจในการสร้างมาจากเจดีย์กู่กุด จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นเจดีย์ที่มีลักษณะพิเศษทางรูปแบบศิลปกรรมอันแตกต่างไปจากเจดีย์ในศิลปะล้านนาที่สร้างอยู่โดยทั่วไป จึงได้นำมาสร้างขึ้นไว้ที่เมืองน่าน ดังปรากฏหลักฐานมาจนถึงปัจจุบันเอกสารอ้างอิง--- ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์.คู่มือนำชมศิลปกรรมโบราณล้านนา. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๓.--- สุรศักดิ์ ศรีสำอาง และคณะ. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๗.#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน#โบราณสถานในจังหวัดน่าน


โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปกฺขิยธมฺม)  ชบ.บ.49/1-7  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.184/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า ; 5.5 x 54 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 106 (117-122) ผูก 7 (2565)หัวเรื่อง : ปาจิตฺติยปาลิ มหาริภงฺคปาลิ(พระปาจิตตีย์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เรื่อง “จารึกและลวดลายบนหีบพระธรรมวัดบุญยืน” --- หีบพระธรรม หรือ หีดธัมม์ (หีดธรรม)  ในล้านนา เป็นเครื่องใช้สอยอันเนื่องในพระพุทธศาสนา มีลักษณะเป็นหีบหรือกล่องไม้ขนาดใหญ่ ใช้สำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎกหรือพระธรรมในลักษณะคัมภีร์ใบลานที่พระสงฆ์ใช้สำหรับเทศน์ หีบพระธรรมประกอบด้วยสามส่วน คือ ส่วนตัวหีบ ส่วนฐาน และส่วนฝา ลักษณะรูปทรงของหีบพระธรรมมักมีลักษณะเป็นทรงลุ้งซึ่งเป็นทรงสี่เหลี่ยม ด้านล่างฐานสอบเข้า ส่วนปากหีบผายออก มีฝาครอบปิดด้านบนแตกต่างกัน ได้แก่ ฝาตัด ฝาคุ่ม และฝาเรือนยอด  นอกจากนี้ยังมีตู้พระธรรมซึ่งเป็นที่นิยมในภาคกลางที่พบในล้านนาเช่นกัน โดยมีลักษณะเป็นตู้ที่เปิดจากด้านหน้า --- หีบพระธรรมวัดบุญยืน จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย กำหนดอายุสมัยจากจารึกพุทธศักราช ๒๓๓๘  ศิลปะแบบล้านนา สร้างด้วยไม้ลงรักปิดทอง มีขนาดกว้าง ๗๐ เซนติเมตร ยาว ๗๑ เซนติเมตร สูง ๑๒๒.๕ เซนติเมตร ลักษณะเป็นหีบทรงลุ้ง ฝาตัด ฐานปัทม์ สลักภาพนูนต่ำและปั้นรักประดับแสดงภาพเล่าเรื่องสิริจุฑามณีชาดก ประกอบด้วยรูปบุคคล รูปสัตว์ และลวดลายพันธุ์พฤกษา มีจารึกอักษรธรรมล้านนาระบุผู้สร้างและปีที่สร้าง  พระสาราธิคุณ เจ้าอาวาสวัดบุญยืน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้ยืมจัดแสดง ปัจจุบันหีบพระธรรมนี้จัดแสดงอยู่ภายในห้องประณีตศิลป์ ชั้นบนอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน  --- หีบพระธรรมวัดบุญยืนสลักภาพนูนต่ำและปั้นรักประดับ ส่วนฐานปัทม์ประดับลวดลายเครือดอก ส่วนตัวหีบแสดงภาพเล่าเรื่องรูปบุคคล และรูปสัตว์ ประกอบลวดลายพันธุ์พฤกษาทั้งสี่ด้าน ส่วนด้านหน้าที่สำคัญที่สุดบริเวณฝามีจารึก ตัวหีบสลักภาพเล่าเรื่อง “สิริจุฑามณีชาดก” ส่วนตัวหีบด้านซ้ายสลักรูปบุคคลถือพระขรรค์ ส่วนด้านหลังของตัวหีบสลักภาพบุคคลต่อสู้กันสันนิษฐานว่าอาจเป็นภาพเล่าเรื่องในชาดก และส่วนด้านขวาของตัวหีบเป็นภาพยักษ์ถือพระขรรค์ โดยภาพสลักทั้งสี่ด้านสลักอยู่ภายในกรอบห้าเหลี่ยมบริเวณมุมทั้งสี่ของกรอบประดับลวดลายในกรอบสามเหลี่ยม บริเวณส่วนฝานอกจากด้านหน้าที่มีจารึก สลักเป็นแถวลายรูปสัตว์ในลักษณะเคลื่อนไหววิ่งหยอกเล่นกัน --- ภาพสลักเล่าเรื่องสิริจุฑามณีชาดก แสดงรูปบุคคลนั่งอยู่บนแท่น ตรงกลางภาพ มีรูปบุคคลที่มีกายเพียงครึ่งซีกนั่งอยู่ทางเบื้องขวาและมารอีก ๒ ตนกำลังเลื่อยแบ่งร่างกาย  ตอนบนสุดเป็นภาพเทวดาประณมมือ กรอบภาพนอกสุดเป็นแนวลายไข่ปลา ที่มุมทั้งสี่ทำเป็นลายดอกไม้และเถาไม้ การจัดองค์ประกอบได้สัดส่วนและสมดุลกันทั้งสองด้าน โดยเน้นจุดสนใจอยู่ที่กึ่งกลางของภาพ ส่วนพื้นที่ว่างเบื้องหลังสลักเป็นลายพันธุ์พฤกษา ภาพดังกล่าว แสดงถึงเรื่องราวการบำเพ็ญทานของพระสิริจุฑามณีที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ปัญญาสชาดก ซึ่งรจนาขึ้นทางภาคเหนือของประเทศไทย บุคคลตรงกลางภาพคงหมายถึงพระโพธิสัตว์ในชาติปางก่อนที่จุติลงมาเป็นพระเจ้าสิริจุฑามณี พระเจ้ากรุงพาราณสี ผู้ปรารถนาพระโพธิญาณเสียสละบำเพ็ญทานด้วยการอุทิศร่างกายของพระองค์แด่พระอินทร์ผู้แปลงร่างลงมาเป็นพราหมณ์พิการ  มีร่างกายเพียงซีกเดียว เพื่อขอร่างกายของพระเจ้าสิริจุฑามณีอีกครึ่งหนึ่งนำมาติดเข้ากับร่างตน รูปมารทั้งสองคือพระยามารที่ผุดขึ้นมาจากธรณีภายหลังที่ทรงอธิษฐานอุทิศพระวรกายมาขอรับส่วนแบ่งที่เหลือ และช่วยกันเลื่อยพระวรกายออกเป็น ๒ ส่วน ระหว่างนั้น เหล่าเทพยดาซึ่งแสดงแทนด้วยรูปเทวดาประณมมือทางตอนบนของภาพต่างแซ่ซ้องสาธุการและแสดงการคารวะการบำเพ็ญทานในครั้งนี้ --- จารึกบนหีบพระธรรมวัดบุญยืน เขียนด้วยรักสีแดงรวม ๖ บรรทัดที่ขอบทางด้านหน้าของส่วนฝา ระบุว่า พระเถระชื่อทิพพาลังการ และเจ้าผู้ครองนครน่าน (เจ้าอัตถวรปัญโญ ผู้สร้างวัดบุญยืน) ให้สร้างขึ้นเมื่อจุลศักราช ๑๑๕๗ หรือพุทธศักราช ๒๓๓๘บรรทัดที่ ๑ ศรีสวัสดี จุฑศกพท ๑๑๕๗ ตัว ใน (ปี) โถะ สนำ กัมโพชม ขอมพิสัย เข้ามาในวัสสานอุตุ อัสยุช ปัณณรสมี ภุมวาร ไถง ไทยภาษาว่าบรรทัดที่ ๒ ปีดับเม้า เดิอรเจียง เพ็ง เม็ง พร่ำว่า ได้วันที่ ๗ ไทก่าไก๊ ปฐมมูลศรัทธา ภายในหมายมีศรัทธาสาธุเจ้าตนชื่อทิพพาลังการ เป็นประธานแก่อันเตวาสิกชู่คน หน ศรัทธาบรรทัดที่ ๓ อุปถัมภกภายนอก มีมหาราชหลวง เป็นประธาน แลอุปาสกแสนอาสา แสนหนังสือขานถ้วน ร้อยจ้อยหล้าอุปาสิกานางโนชา แลศรัทธา ทายกทล้า อันอยู่ในบ้านน้ำลัด ชู่คน ก็บังเกิดเจ -บรรทัดที่ ๔ ตนาสร้างแปลงยังหีด ธรรมเทศนาลูกนี้ ไว้หื้อเป็นที่สถิตย์ ไว้ยังเตปิฎก สัมพุทธวัจนธรรมเทศนาเจ้า เพื่อบ่หื้อ เศร้าหม่นหมองเรียรายเสี้ยงแท้ดีหลี ด้วยเดชบุญรวายสีบรรทัดที่ ๕ เยิงนี้ ขอจุ่งค้ำชูหื้อผู้ข้าทล้า ได้เถิงยัง ติวิธสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอดแก่ผู้ข้าทล้าแท้อย่าคลาดอย่าคลา ตามมโนรถปรารถนา แห่งผู้ข้าทั้งหลายชู่ตน ชู่องค์บรรทัดที่ ๖ ชู่ผู้ชู่คน เที่ยงแท้ดีหลีเทอะ ฯ//ะ--- เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวว่า ในจุลศักราช ๑๑๕๗ พระสงฆ์นามว่าทิพพาลังการเป็นประธานแก่ศิษย์ทุกคน โดยมีมหาราชหลวงเป็นองค์อุปถัมภ์ พร้อมด้วยขุนนาง นางโนชา และชาวบ้านน้ำลัดมีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างหีบพระธรรมสำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎก โดยขอให้ได้พบสุข ๓ ประการซึ่งมีนิพพานเป็นยอด  ปีที่จารึก จุลศักราช ๑๑๕๗ ตรงกับ พุทธศักราช ๒๓๓๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และตรงกับปีที่เจ้าอัตถวรปัญโญ (เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๕๗ ครองเมืองน่าน พุทธศักราช๒๓๒๙ - ๒๓๕๓) ให้สร้างหอไตรขึ้นในวัดกลางเวียง (วัดบุญยืน)  อักษรและภาษาที่ใช้ในจารึก ได้แก่ อักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย ภาษาถิ่น เช่นคำว่า “หีบธรรม” ใช้ว่า “หีดธรรม” นอกจากนั้นในจารึกยังได้กล่าวนามถึง “มหาราชหลวง” เข้าใจว่าคงหมายถึงตำแหน่งของเจ้าผู้ครองนครหรือเจ้าเมืองที่กล่าวด้วยความยกย่องสรรเสริญเทียบเท่าพระมหากษัตริย์แต่โบราณ ซึ่งคงหมายถึงเจ้าอัตถวรปัญโญ ส่วนนาม “สาธุเจ้าทิพพาลังการ” เข้าใจว่าเป็นพระมหาเถรที่มีความสำคัญทางคณะสงฆ์ของเมืองน่านในช่วงเวลาดังกล่าวเอกสารอ้างอิง- เด่นดาว ศิลปานนท์. เครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา: ตู้และหีบพระธรรม เข้าถึงข้อมูลจาก https://www.finearts.go.th/main/view/24895-เครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา—ตู้และหีบพระธรรม?type1=5- ผศ.เธียรชัย อักษรดิษฐ์ และคณะ. ลวดลายพุทธศิลป์น่าน. เชียงใหม่: สันติภาพแพ็คพริ้นท์, ๒๕๕๑.- ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกหีบพระธรรมวัดบุญยืน. เข้าถึงข้อมูลจาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1873- สุรศักดิ์ ศรีสำอาง และคณะ. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ๒๕๓๗. - ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สิริจุฑามณิชาดก. เข้าถึงข้อมูลจาก https://vajirayana.org/ปัญญาสชาดก/๗-สิริจุฑามณิชาดก




ชื่อผู้แต่ง        พระโหราธิบดี ชื่อเรื่อง         จินดามณี ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์    - สำนักพิมพ์      - ปีที่พิมพ์         - จำนวนหน้า   ๑๕๖ หน้า หมายเหตุ.     - (เนื้อหา)            อธิบายอักษรศัพท์ ตัวอย่างคำที่ใช้ ล คำที่ใช้ ษ คำที่ใช้ไม้ม้วน ๒๐ คำ ไม้มลาย ๘๐ คำ การจำแนกอักษร ๓ หมู่ การแจกลูก ผันอักษร และกาพย์กลอนโคลงฉันท์ 



ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 33 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 59 - 61) โกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค 3-4 พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภาจำนวนหน้า : 312 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 33 ภาคที่ 59 กล่าวถึงเรื่องราวครั้งเมื่อโกศาปานไปฝรั่งเศส โดยคณะราชทูตได้ไปเยี่ยมสำนักสามเณรมิซซังต่างประเทศ ไปดูโรงเรียนมหาราชวิทยาลัยหลุยส์เลอครังด์ โรงพิมพ์หลวง เป็นต้น ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 60 เป็นเรื่องราวที่คณะราชทูตได้เฝ้ากราบบังคมลากลับเมืองไทย และเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากกลับมาถึงเมืองไทย และประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 61 กล่าวถึงพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน


กรมศิลปากรขอเชิญชมการถ่ายทอดสดการเสวนาทางวิชาการและการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี งานสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ ๓ - ๘ เมษายน ๒๕๖๕ ผ่านทาง facebook live กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ facebook live กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


Messenger