ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

ยังคงอยู่ในบรรยากาศงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ ดังนั้นวันนี้เรามาดูกันว่า ในบันทึกชาวต่างชาติได้บันทึกถึงลักษณะนิสัยของชาวสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์เอาไว้อย่างไรบ้าง - สำหรับงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จะจัดขึ้นถึงวันอาทิตย์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์นี้ สามารถมาร่วมถ่ายภาพ และกิจกรรมต่างๆ ภายในงานได้นะครับ


         โรมาโน วิเวียนี( Romano Viviani)          ศิลปิน : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (Silpa Bhirasri)          ปีพุทธศักราช: ปี พ.ศ.2473 (1930)          เทคนิค: หล่อปลาสเตอร์ (Plaster)          ขนาด : สูง 27 เซนติเมตร (H.27 cm.)            แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s16ok/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri


            กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “พรหม ๕ หน้า” วิทยากร นายจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ สำนักการสังคีต ผู้ดำเนินรายการ นายรัฐศาสตร์ จั่นเจริญ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ สำนักการสังคีต พิธีกร นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร             รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗


ชื่อเรื่อง                     วจฺจกุฏิทานานิสํสกถา (ฉลองวิด) สพ.บ.                       470/1 หมวดหมู่                   พุทธศาสนา ภาษา                       บาลี-ไทยอีสาน หัวเรื่อง                     พุทธศาสนา ประเภทวัสดุ/มีเดีย        คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ                22 หน้า : กว้าง 5.7 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง  จ.สุพรรณบุรี


            เนื่องด้วยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงและพัฒนาการจัดแสดงนิทรรศการถาวรห้องจัดแสดงที่ 2 จึงแจ้งขอปิดบริการเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่​ 19​ มิถุนายน -​ 30​ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ทั้งนี้ สามารถเข้าชมห้องจัดแสดงที่ 1 หริภุญไชย​รากฐานล้านนา​ ห้องจัดแสดงที่​ 3​ ศิลปกรรมเมืองลำพูน​ และห้องจัดแสดง​ศิลาจารึก​ ได้ตามปกติ ขออภัยในความไม่สะดวก​             พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ​ หริภุญไชย​ เปิดให้บริการวันพุธ-วันอาทิตย์​  เวลา​ 09.00 - 16.00 น. ปิดให้บริการวันจันทร์-วันอังคาร​ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย​ 20​ ​บาท​ ชาวต่างชาติ​ 100​ บาท​ ยกเว้นค่าเช้าชมสำหรับนักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ​ นักบวช​  และสถานศึกษาที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ สอบถามเพิ่มเติมได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ 0 5351 1186


ส่องอักษรดูสาระ เผยแพร่เกร็ดความรู้ต่าง ๆ จากคำศัพท์และองค์ความรู้ที่น่าสนใจในเอกสารโบราณที่มีอยู่ ณ ห้องอีสานศึกษา ของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา สำหรับวันนี้ พี่นักภาษาโบราณได้รวบรวมองค์ความรู้จากนักภาษาโบราณของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ตั้งแต่นักภาษาโบราณคนแรกจนถึงคน(ก่อน)ปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลย้อนหลังเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ยังมีองค์ความรู้จากพี่บรรณารักษ์ที่น่าสนใจอีกมากมายรวมทั้งข่าวสารของหอสมุดแห่งชาติฯ นครราชสีมา จัดทำโดย นางสาวกุลริศา รัชตะวุฒิ นักภาษาโบราณ  



องค์ความรู้ เรื่อง คาถาหัวใจเปรต เนื่องจากวันที่ 2 ตุลาคม 2567 เป็นวันสารทเดือนสิบ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประเพณีชิงเปรต ซึ่งเป็นประเพณีของทางภาคใต้ โดยประเพณีนี้จะเกี่ยวกับการทำบุญให้กับญาติพี่น้องที่ได้ล่วงลับไปแล้วให้มารับบุญกุศล อาหารคาวหวานต่าง ๆ ที่ลูกหลานได้ทำบุญให้นั้นเอง จากเรื่องราวของประเพณีดังกล่าวทำให้พี่นักภาษาโบราณนึกถึงคาถาบทหนึ่งที่ปรากฏในหนังสือสมุดไทยขาวส่วนท่านใดที่สนใจศึกษาเอกสารโบราณ สามารถเข้ามาศึกษาได้เลยที่ห้องอีสานศึกษา ชั้น 2 หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา นะคะ   จัดทำโดย นางสาวกุลริศา รัชตะวุฒิ นักภาษาโบราณ บรรณานุกรม - หนังสือตัวเขียน ตำรายา.หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย-ขอม. ภาษาไทย- บาลี. ม.ป.ป. เลขที่ นม.ส.14. หมวดตำรา. - หนังสือ คล้อง เกษมสันต์, หม่อม. พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่มที่ 1 ภาคที่ 2 ตอนที่ 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2531. - สื่อออนไลน์ คาถาหัวใจเปรต. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2567, จาก https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3100648520150991... ทุสะนะโส. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2567, จาก https://www.matichon.co.th/.../religious.../news_1489430 คาถาหัวใจเปรต. [วีดีโอ]. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2567, จาก https://www.youtube.com/watch?v=w-Z6NOQ8yd4 - ภาพประกอบ เปรต. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2567, จาก https://board.postjung.com/1563220 คาถาหัวใจเปรต. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2567, จาก https://www.youtube.com/watch?v=0Y73MKMaMOA


ปราสาทสด๊กก๊อกธม เมื่อแสงตกกระทบ  ช่วงเวลาบ่ายคล้อย เป็นปราสาททองคำ ภาพและคำอธิบายภาพโดย : นายเมธาดล วิจักขณะ (รองอธิบดีกรมศิลปากร) 17 กุมภาพันธ์ 2561   ปราสาทสด๊กก๊อกธม ตำบลหนองหญ้าแก้ว อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว           ในพุทธศักราช ๒๔๖๓ เรียกว่า “ปราสาทเมืองพร้าว” ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๗๘ เรียกว่า “ปราสาทสล๊อกก๊อกธม”  ปัจจุบันเรียกว่า “ปราสาทสด๊กก๊อกธม” คำว่า “สด๊กก๊อกธม” เป็นภาษาเขมร คำว่า “สด๊ก” มาจากคำว่า “สด๊อก” แปลว่า รก ทึบ  คำว่า “ก๊อก” แปลว่า ต้นกก  และคำว่า “ธม” แปลว่า ใหญ่  ดังนั้น “สด๊กก๊อกธม” จึงแปลว่า รกไปด้วยต้นกกขนาดใหญ่            ศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๕๙๕ รัชสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ ๒ (พ.ศ.๑๕๙๓- ๑๖๐๙) เพื่อประทานแด่พระราชครูที่ลาสิกขาจากสมณเพศที่มีนามว่า “ศรีชเยนทรวรมัน”หรือ นามเดิมว่า “สทาศิวะ”โดยที่พระครูผู้นี้มีศักดิ์เป็นพระชามาดาของพระเจ้าสูรยวรมันที่ ๑ อีกทั้งยังเป็นผู้ประกอบพิธีบรมราชาภิเษกถวายแด่ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ ๒           ปราสาทสด๊กก๊อกธม มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมร ประกอบด้วยอาคารสำคัญ คือ ปราสาทประธาน บรรณาลัย ๒ หลัง ล้อมรอบด้วยระเบียงคดและกำแพงแก้ว อาคารทั้งหมดก่อสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลง ซึ่งตกแต่งพื้นผิวในพื้นที่สำคัญด้วยการแกะสลักลวดลายลงบนเนื้อหินเป็นภาพเล่าเรื่องราวในศาสนาพราหมณ์ฮินดูและพฤกษานานาพันธุ์ เทียบเคียงได้กับศิลปกรรมในวัฒนธรรมเขมรโบราณ แบบคลังผสมกับบาปวน กำหนดอายุได้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ศิลปะขอมแบบคลัง - บาปวน        ภาพ: แผนผัง / ภาพถ่ายทางอากาศ       ภาพ : แผนผังแสดงตำแหน่งของภาพสลักเล่าเรื่อง/ลวดลายที่ปรากฏ (ลำดับที่ ๑-๑๑) ภาพสลักบริเวณหน้าบันและทับหลังบริเวณซุ้มประตู (โคปุระ) ของกำแพงแก้ว   ๑. หน้าบันสลักภาพศิวนาฏราช ๒. ทับหลัง ๓. หน้าบันสลักภาพพระกฤษณะปราบช้างกุวัลปิถะ ๔. ทับหลัง ๕. หน้าบันสลักภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ ๖. ทับหลัง ๗. ทับหลัง ๘. หน้าบันสลักภาพพระกฤษณะปราบม้าเกศี ๙. หน้าบันสลักภาพศิวะคชาสูร ๑๐. ทับหลัง ๑๑. หน้าบันสลักภาพกวนเกษียรสมุทร           กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานปราสาทสด๊กก๊อกธมครั้งแรก ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘  ต่อมาได้กำหนดเขตพื้นที่โบราณสถานประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนพิเศษ ๘๑ ง วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๐  รวมพื้นที่โบราณสถาน ๖๔๑ ไร่ ๒ งาน ๘๒ ตารางวา ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ การจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ๑. กรมศิลปากรได้อนุรักษ์ปราสาทสด๊กก๊อกธม ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๕๗ ตามหลักการอนุรักษ์และบูรณะโดยวิธีอนัสติโลซิส บนพื้นฐานของงานโบราณคดี ๒. ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์เบื้องต้น เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว โดยมีลานจอดรถ ห้องสุขา ซุ้มจำหน่ายของที่ระลึก ระบบน้ำ ระบบไฟ และดูแลความสะอาดภายในบริเวณปราสาท ๓. ปราสาทสด๊กก๊อกธมเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมโบราณสถานมากขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ โดยเฉลี่ย ๓,๐๐๐ คน/เดือน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย ซึ่งยังมิได้เก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม ๔. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้สื่อสารประชาสัมพันธ์ปราสาทสด๊กก๊อกธม เชื่อมโยงกับปราสาทบันทายฉมาร์ และปราสาทบันทายทัพ ราชอาณาจักรกัมพูชา ผ่านทางรายการเดินหน้าประเทศไทยกับทูตานุทูต ๒๒ ประเทศ ทั้งในอาเซียน ยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอเมริกา ๕. สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ได้ดำเนินการประสานจังหวัดสระแก้วตั้งคณะกรรมการพัฒนาเพิ่มศักยภาพโบราณสถานปราสาทสด๊กก๊อกธมให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสู่อาเซียน เพื่อเตรียมรายละเอียดในการจัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการ บริหารจัดการและปรับภูมิทัศน์เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งใหม่ ซึ่งมีมติที่ประชุมแล้ว เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๙ ๖. สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ได้รับอนุมัติงบประมาณจากกรมศิลปากรเพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์  ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ จำนวน ๑๐ ล้านบาท ๗. งบท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด เพื่อสร้างอาคารนิทรรศการ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ     


กรมศิลปากร จัดพิมพ์หนังสือชุด “เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม” เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ เพิ่มคุณค่าแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม จัดทำเป็น ๔ เล่ม โดยแบ่งเส้นทางท่องเที่ยวเป็นกลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคใต้ รวม ๑๘ เส้นทาง ได้แก่ เล่มที่ ๑ เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : วัง เวียง วัดเล่มที่ ๒ เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม: พระพุทธบาทกับบรรยากาศทางน้ำเล่มที่ ๓ เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : ตามรอยขอมถึงริมโขง และเล่มที่ ๔ เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม :ลงใต้ – ไปเหนือ   เล่มที่ ๑ เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : วัง เวียง วัดประกอบด้วย   เส้นทางที่ ๑ ท่องเที่ยววัดวา ภาษาชาวบ้าน   เส้นทางที่ ๒ เที่ยวชมเกาะรัตนโกสินทร์ “ยลวังหน้า”   เส้นทางที่ ๓ เส้นทางสืบสานมรดกโลกสุโขทัย   เส้นทางที่ ๔ ท่องเที่ยวเมืองเก่าลพบุรี วัด วัง เวียงละโว้   เล่มที่ ๒ เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม: พระพุทธบาทกับบรรยากาศทางน้ำประกอบด้วย   เส้นทางที่ ๑ รัตนโกสินทร์ ถิ่นเพชรบุรี   เส้นทางที่ ๒ แสวงบุญ บูชาพระพุทธบาท   เส้นทางที่ ๓ เส้นทางโบราณคดีสีคราม จากผืนดินสู่แผ่นน้ำ   เส้นทางที่ ๔ วัฒนธรรมสัญจร ย้อนรอยทวารวดีลุ่มแม่น้ำแม่กลอง-ท่าจีน   เส้นทางที่ ๕ ล่องเจ้าพระยานที ชมวิถีรามัญชน ผ่านเส้นทางโบราณสถานเมืองนนท์ และปทุมธานี   เล่มที่ ๓ เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : ตามรอยขอมถึงริมโขงประกอบด้วย   เส้นทางที่ ๑ เส้นทางอารยธรรมขอมโบราณเบื้องบูรพา   เส้นทางที่ ๒ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำมูล   เส้นทางที่ ๓ เส้นทางท่องเที่ยววัฒนธรรมสำริดชิดขอบโขง   เส้นทางที่ ๔ ตามรอยสิมอีสานไหว้พระธาตุสำคัญ   เส้นทางที่ ๕ ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมชาติพันธุ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   เล่มที่ ๔ เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม:ลงใต้ – ไปเหนือ ประกอบด้วย   เส้นทางที่ ๑ ท่องเที่ยวเมืองสงขลา (เก่า)   เส้นทางที่ ๒ ศรีวิชัย-ศรีธรรมาโศกราช: ไหว้ ๔ พระธาตุ ๔ จังหวัด   เส้นทางที่ ๓ เยือนประวัติศาสตร์หริภุญไชยสู่ล้านนา   เส้นทางที่ ๔ ท่องเที่ยวเมืองเก่าน่าน   หนังสือชุดนี้จะแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม อาทิ โบราณสถาน วัด วัง อุทยานประวัติศาสตร์ ย่านประวัติศาสตร์ ชุมชนทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ สถานที่ซื้อสินค้า ร้านอาหาร รวมถึงกิจกรรมทางวัฒนธรรมหลากหลายรูปแบบ โดยนำเสนอตามเส้นทางแต่ละเส้นทางที่มีแก่นเรื่องหรือสาระสำคัญ ด้วยวิธีการนำเสนอที่ไม่เหมือนกัน มีเกร็ดความรู้สอดแทรกอยู่ในแต่ละเส้นทาง เพื่อให้ผู้เดินทางได้ทราบถึงประวัติและความสำคัญของแต่ละสถานที่ นอกจากนี้ยังมีการแนะนำการเดินทางด้วยแผนที่ซึ่งแสดงข้อมูลที่จำเป็นเพื่อวางแผนการเดินทางอีกด้วย   หนังสือชุดนี้จัดพิมพ์สี่สีสวยงาม ขนาดเหมาะสำหรับพกพา จำหน่ายราคาชุดละ ๘๐๐ บาท (๒๐๐/เล่ม) ติดต่อสั่งซื้อได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ สอบถามเพิ่มเติมได้ โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๐๙๓๔, ๐ ๒๒๒๒ ๓๕๖๙


ผู้แต่ง : วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ปีที่พิมพ์ : 2528 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่     ละครพันทางเรื่องพญาผานองเป็นเรื่องราวเบื้องต้นของพงศาวดารเมืองน่านและเมืองพะเยา จากหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 10 กรมศิลปากรสร้างบทใหม่ นำออกแสดงครั้งแรกที่โรงละครศิลปากร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2501 เป็นเวลา 27 ปี วิทยาลัยนาฏศิลปะเชียงใหม่ พิจารณาเห็นว่าละครเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับจังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะเมืองน่านและเมืองพะเยา จึงได้ปรับบทเจรจาและสำนวน ให้เป็นสำเนียงชาวเหนือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้



โบราณสถานเมืองสุโขทัย โบราณสถานสำคัญในเขตกำแพงเมือง  ได้แก่ วัดมหาธาตุ           ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ตามแบบแผนความเชื่อในเรื่องจักรวาลแบบอินเดียโบราณ เป็นวัดที่มีความสำคัญประกอบด้วยเจดีย์ประธาน วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์รายจำนวนมาก ถึง ๒๐๐ องค์           เจดีย์ประธานของวัด ซึ่งตั้งเด่นสง่างามมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัยโดยแท้ แต่คงมิได้เป็นรูปแบบแรกเริ่มเมื่อมีการสร้างวัดมหาธาตุขึ้น ของเดิมน่าจะมีลักษณะเช่นเดียวกับเจดีย์ทิศที่ตั้งอยู่ตรงกลางของด้านทั้งสี่บนฐานเดียวกัน           รายรอบเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทิศ จำนวน ๘ องค์ องค์ที่อยู่ตรงมุมทั้งสี่เป็นเจดีย์ที่มีอิทธิพลของศิลปะหริภุญไชยล้านนา  ส่วนเจดีย์ที่อยู่กึ่งกลางของด้านทั้งสี่เป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบสุโขทัยซึ่งมีลวดลายปูนปั้นแบบอิทธิพลศิลปะลังกา รอบ ๆ เจดีย์ประธานมีปูนปั้นรูปพระสาวกในท่าอัญชุลีเดินประทักษิณโดยรอบพระมหาธาตุ           ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้บรรยายว่า...กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธอันใหญ่ มีพระพุทธอันราม... พระพุทธรูปทองเข้าใจโดยทั่วไปว่าหมายถึงหลวงพ่อโตของชาวเมืองเก่า เมื่อต้นรัตนโกสินทร์ ที่ประดิษฐานอยู่ที่วิหารหลวงในวัดมหาธาตุ  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญโดยล่องแพไปไว้ที่ วิหารหลวงวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานนามว่า พระศรีศากยมุนี พระพุทธรูปนี้น่าจะเป็นพระพุทธรูปสำริดที่พระมหาธรรมราชาลิไททรงโปรดให้หล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อันเป็นแบบที่นิยมมากในสมัยสุโขทัย ที่วิหารหลวงในวัดมหาธาตุสุโขทัยจึงยังปรากฏแท่นฐานขนาดใหญ่ของพระพุทธรูปองค์นี้เหลือให้เห็น           ส่วนพระอัฎฐารศ ที่กล่าวถึงในจารึกหมายถึงพระพุทธรูปยืน ที่มีขนาดใหญ่สูงราว ๑๘ ศอก ประดิษฐานภายในมณฑปที่ขนาบอยู่สองข้างของเจดีย์ประธาน           ถัดจากวิหารหลวงไปทางตะวันออกเป็นวิหารสูง ที่เรียกชื่อเช่นนี้ เนื่องจากวิหารหลังนี้มีฐานก่ออิฐเป็นลักษณะฐานบัว มีความสูงประมาณ ๑.๕ เมตร เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ซึ่งสร้างขึ้นในภายหลัง ทำให้พื้นที่ว่างระหว่างหน้าวิหารสูงกับกำแพงแก้วด้านหน้าเหลือเพียงพื้นที่แคบ ๆ ไม่ได้สัดส่วนกับความสูงของตัวอาคาร           นอกจากนี้ภายในวัดมหาธาตุยังมีกลุ่มเจดีย์ จัดแยกออกเป็นกลุ่มหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ประธาน มีศูนย์กลางอยู่ที่เจดีย์ ๕ ยอด ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นที่ ๒ รองจากเจดีย์ประธาน ได้พบหลักฐานที่เป็นจารึกลานทองมีข้อความระบุเป็นที่น่าเชื่อว่าเจดีย์ ๕ ยอดองค์นี้เป็นเจดีย์บรรจุอัฐิของพระมหาธรรมราชาลิไท เนินปราสาท           ทางทิศตะวันออกติดกันกับวัดมหาธาตุ มีโบราณสถานแห่งหนึ่งซึ่งเรียกในปัจจุบันว่าเนินปราสาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นฐานปราสาทราชวังของกษัตริย์เมืองสุโขทัย           กรมศิลปากรได้ขุดแต่งโบราณสถาน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ พบฐานอาคารแบบฐานบัวคว่ำบัวหงาย ลักษณะเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ขนาด ๒๗.๕๐ x ๕๑.๕๐ เมตรมีบันไดที่ด้านหน้าและด้านหลังอย่างละหนึ่งแห่ง           อย่างไรก็ตาม ในการขุดค้นทางโบราณคดีไม่พบหลักฐานที่พอจะชี้ได้ว่าสถานที่นี้เป็นปราสาทราชวัง อีกทั้งแผนที่เก่าทำในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็บ่งบอกว่า เป็นบริเวณเดียวกันกับวัดมหาธาตุ คือเป็นสิ่งก่อสร้างเนื่องในทางศาสนาในวัด มากกว่าจะเป็นวัง แต่เดิมวังกษัตริย์สุโขทัยควรเป็นตำหนักไม้ ตำแหน่งที่ตั้งควรอยู่เหนือศาลตาผาแดงติดกับวัดสรศักดิ์ทางทิศตะวันตก  ซึ่งศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ กล่าวว่าเป็นตำหนัก ของเจ้านายสุโขทัย เมื่อตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งเช่นนี้จะตรงกันกับตำแหน่งของพระราชวังกษัตริย์เขมรโบราณที่เมืองพระนครหลวง หรือนครธม วัดศรีสวาย           ตั้งอยู่ทางใต้ของวัดมหาธาตุห่างออกไปประมาณ ๓๕๐ เมตร โบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่ในกำแพงแก้วนั้นประกอบไปด้วยปรางค์ ๓ องค์ ที่มีรูปแบบศิลปะลพบุรี แต่ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียวตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ มีลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ อันเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าวัดศรีสวาย เคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อนแล้วแปลงเป็นพุทธสถานโดย ต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้า เป็นวัดในพุทธศาสนาในภายหลัง วัดตระพังเงิน           ตั้งอยู่ทางตะวันตกของวัดมหาธาตุ มีระยะห่างประมาณ ๓๐๐ เมตร โบราณสถานแห่งนี้ไม่มีกำแพงแก้ว ประกอบด้วยเจดีย์ประธาน วิหาร และโบสถ์กลางน้ำ           โบราณสถานของวัดนี้มีเจดีย์ทรงดอกบัวตูมเป็นประธาน โดยมีวิหารประกอบอยู่ด้านหน้า ลักษณะที่เด่นของเจดีย์ทรงดอกบัวตูมของวัดนี้ คือมีจระนำที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้านสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปยืนและลีลา ซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ทรงดอกบัวตูมในที่อื่น ๆ           ด้านตะวันออกของเจดีย์ เป็นเกาะมีโบสถ์ตั้งอยู่กลางน้ำตามคตินทีสีมาเช่นเดียวกับวัดสระศรี โบสถ์นี้ตั้งอยู่ในสระน้ำที่มีชื่อว่า ตระพังเงิน วัดสระศรี           เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ โบราณสถานนี้มีความงดงามมากอีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากตั้งอยู่กลางสระน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ตระพังตระกวน สิ่งสำคัญของวัดประกอบด้วย เจดีย์ทรงระฆัง วิหารและโบสถ์กลางน้ำ ก่อน พ.ศ. ๒๕๒๑ มีถนนจรดวิถีถ่องตัดผ่านกลางวัด ซึ่งทำลายคุณค่าและเป็นอันตรายต่อโบราณสถาน กรมศิลปากรจึงได้ปรับปรุงทัศนียภาพเพื่อรักษาโบราณสถาน โดยขุดรื้อถนนออกไป แล้วสร้างถนนเลียบสระน้ำขึ้นแทน           เจดีย์ทรงระฆังกลมของวัดเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการรับพุทธศาสนาจากลังกาของสุโขทัย บางครั้งจึงเรียกเจดีย์แบบนี้ว่า เจดีย์ทรงลังกา ส่วนโบสถ์ที่อยู่กลางน้ำก็เป็นความเชื่อถือแบบพุทธศาสนา ที่ใช้น้ำในความหมายของความบริสุทธิ์ของขอบเขตที่กันไว้เป็นเขตสำหรับให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกว่า นทีสีมา วัดชนะสงคราม           ตั้งอยู่ทางเหนือของวัดมหาธาตุ และอยู่ใกล้กับ โบราณสถานที่เรียกว่า หลักเมืองด้วย เดิมเรียกกันว่า วัดราชบูรณะ ลักษณะเด่นก็คือ มีเจดีย์ทรงระฆังกลมขนาดใหญ่เป็นเจดีย์ประธาน ด้านตะวันออกมีวิหาร โบสถ์ และเจดีย์รายต่าง ๆ แผนผังของวัดนี้มีที่พิเศษออกไปคือ มีเจดีย์ทรงวิมานขนาดเล็ก ๒ องค์ ขนาบอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน(ด้านตะวันออก) คล้ายที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวเมืองศรีสัชนาลัย น่าจะเป็นเจดีย์ที่สร้างเพิ่มเติมขึ้นในระยะเวลาต่อมา เมื่อสุโขทัยรวมอยู่ในราชอาณาจักรอยุธยาแล้ว ศาลตาผาแดง           ตั้งอยู่ติดกับตระพังตระกวนทางด้านทิศเหนือ และใกล้กับประตูเมืองด้านเหนือ ปรากฏในแผนที่สมัย รัชกาลที่ ๕ เรียกว่า ศาลเทพารักษ์ใหญ่และศาลตาผ้าแดง           ลักษณะเป็นโบราณสถานหลังเดี่ยวแบบปราสาทเขมร ก่อด้วยศิลาแลงทั้งหมด ส่วนบนฐานบัวลูกฟัก มีห้องยาวหรือส่วนที่ยื่นออกไปจากตัวปราสาท อยู่ทางด้านตะวันออก และตะวันตก โดยห้องด้านตะวันออกมีความยาวกว่าด้านตรงข้าม           เมื่อกรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะศาลตาผาแดง ได้พบชิ้นส่วนเทวรูปและเทวสตรี ประดับด้วยเครื่องตกแต่งอย่างงดงาม เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบแล้วอาจเทียบได้กับศิลปะเขมรแบบบายน รุ่นแรก ๆ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง           โบราณสถานแห่งนี้เป็นหลักฐานยืนยันถึง การมีชุมชนที่มีวัฒนธรรมเขมรนับถือศาสนาฮินดูปะปนในแถบนี้แล้ว เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โบราณสถานนอกเขตกำแพงเมือง           ในพื้นที่ทั้งสี่ด้านของเมืองสุโขทัยมีโบราณสถานตั้งอยู่เป็นจำนวนมากปรากฏทั่วไปตามพื้นที่ราบและบนภูเขา เป็นจำนวนถึง ๑๑๖ แห่ง นอกจากนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างเพื่อระบบชลประทาน แหล่งวัตถุดิบ และแหล่งอุตสาหกรรมโบราณสถานสำคัญนอกเขตกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ วัดพระพายหลวง           ตั้งอยู่ใกล้ประตูเมืองด้านเหนือและอยู่ขนาบกับกำแพงเมืองชั้นนอก จัดเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ และมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สุโขทัยอีกแห่งหนึ่ง เพราะมีสิ่งก่อสร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของเมืองสุโขทัย และก่อสร้างเพิ่มเติมสืบต่อกันมาจนถึงสมัยสุโขทัยตอนปลาย           กลุ่มโบราณสถานตั้งอยู่ตรงกลางในพื้นที่ที่มีคูน้ำล้อมรอบ คูน้ำแต่ละด้านมีความยาวประมาณ ๖๐๐ เมตร โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดในวัดเป็นปราสาท ๓ องค์ ปัจจุบันพังทลายลงเหลือเพียงฐาน ๒ องค์ และที่สมบูรณ์เพียงองค์ด้านทิศเหนือนั้น มีลักษณะของปราสาท และลวดลายปูนปั้นประดับเล่าเรื่องตามพุทธประวัติเหมือนกับปราสาทที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี และที่ปราสาทปาลิไลย์ในเมืองพระนครหลวงของเขมรเป็นเครื่องยืนยันว่า ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ชุมชนสุโขทัยมีวัฒนธรรมร่วมกับเขมรในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และมีความเกี่ยวข้องกับเมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองใหญ่ที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมเขมร ในที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง           ถัดจากปราสาทไปทางตะวันออกนอกจากจะมีวิหารแล้ว ยังมีเจดีย์ทรงเหลี่ยมแบบปิรามิด ประดับทุกด้านด้วยซุ้มพระพุทธรูปลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป เหมือนกับเจดีย์กู่กุดจังหวัดลำพูน ที่เจดีย์นี้มีหลักฐานการก่อสร้างทับซ้อนกันหลายสมัย เช่น มีพระพุทธรูปในซุ้มเป็นแบบหมวดวัดตระกวนอยู่ภายใน  โดยถูกปิดและซ้อนทับอยู่ด้วยพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่อันเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เป็นต้น           ทางด้านตะวันออกสุดของกลุ่มโบราณสถาน  เป็นมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบท  เดิน ยืน และนอน ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะสร้างในสมัยหลังที่สุดในบรรดาโบราณสถานที่กล่าวมาแล้ว คือในสมัยสุโขทัยตอนปลาย วัดศรีชุม           อยู่นอกกำแพงเมืองตรงมุมตะวันตกเฉียงเหนือพอดี สิ่งสำคัญที่ปรากฏอยู่โดดเด่น ได้แก่ อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ภายในอาคาร มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๑๑.๓๐ เมตร เชื่อกันว่าชื่อพระพุทธรูปเรียกตามที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า พระอจนะ มีความหมายว่า ผู้ไม่หวั่นไหว สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์ที่เห็นในปัจจุบันนี้ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ราว พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๙           คำว่า ศรี มาจากคำเรียกพื้นเมืองเดิมของไทยว่า สะหลี ซึ่งหมายถึงต้นโพธิ์ ดังนั้นชื่อศรีชุม จึงหมายถึงดงของต้นโพธิ์ แต่ในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่เขียนในสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่เข้าใจความหมายนี้แล้ว จึงเรียกสถานที่นี้ว่า ฤๅษีชุม ว่าเป็นสถานที่ที่พระนเรศวรมาประชุมทัพกันอยู่ที่นั้นก่อนที่จะยกทัพไปปราบเมืองสวรรคโลก อันเป็นต้นตอของตำนานเรื่องพระ (อจนะ) พูดได้ที่เล่าขานกันต่อมา           วัดศรีชุมยังมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สุโขทัยอีก ในช่องผนังของมณฑปได้ค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๒ เรียกว่า จารึกวัดศรีชุม ที่เล่าเรื่องราวของการก่อตั้งราชวงศ์สุโขทัยของคนไทยกลุ่มหนึ่ง และที่เพดานของช่องผนังดังกล่าวมีภาพจิตรกรรมลายเส้นเป็นภาพเล่าเรื่องพระพุทธเจ้าในชาติต่าง ๆ ที่เรียกว่า ชาดก บางภาพมีลักษณะทางศิลปกรรมคล้ายกับศิลปะลังกา โดยมีอักษรสมัยสุโขทัยกำกับบอกเรื่องชาดกไว้ที่ภาพแต่ละภาพด้วย เตาเผาเครื่องสังคโลก           สังคโลก เป็นชื่อที่มีความหมายถึงเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นในสมัยสุโขทัย ทั้งในเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัย เป็นการทำเครื่องถ้วยชามที่เคลือบสีต่าง ๆ เช่น สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีใสเคลือบทับลายเขียนรูปต่าง ๆ เป็นอาทิ สังคโลกเป็นสินค้าที่ส่งไปขายยังนอกอาณาเขตสุโขทัยอย่างกว้างขวาง ทั้งในดินแดนแถบที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันเช่นที่อยุธยาและแถบภาคใต้แล้วยังได้พบในแถบฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่นด้วย           แหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยชามสังคโลกที่เมืองสุโขทัยพบอยู่ทางด้านเหนือ นอกกำแพงเมืองโดยเฉพาะในบริเวณคันดินรอบวัดพระพายหลวง ลักษณะของเตามีอยู่ ๒ แบบ แบบแรกเป็นเตากลม มีพื้นเจาะรูเพื่อระบายความร้อนจากช่องใส่ไฟที่อยู่ด้านล่างขึ้นมา บางครั้งก็เรียกว่า เตาตระกรับ  แบบที่ ๒ มีลักษณะเป็นรูปหลังเต่า มีปล่องระบายความร้อนและช่องไฟอยู่คนละแนวกัน เพื่อระบายความร้อนในแนวนอนเรียก เตาประทุน           เตาเผาที่สุโขทัยส่วนใหญ่เป็นเตาที่ก่อขึ้นจากอิฐดิบ ไม่ใช่เตาขุดที่ขุดเข้าไปในเนินดินธรรมชาติแบบเตาบางแห่งที่ศรีสัชนาลัย เพราะในการขุดค้นของกรมศิลปากรพบเตาอิฐดิบนี้ ก่ออยู่บนชั้นดินดานซึ่งเป็นชั้นดินล่างสุดของสุโขทัย โบราณสถานสำคัญนอกเขตกำแพงเมืองด้านทิศใต้ ประตูนะโม           ประตูเมืองทางด้านใต้ มีลักษณะทั่วไปเช่นเดียวกับประตูเมืองด้านอื่น ๆ คือ ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางกำแพงด้านใต้เป็นช่องตัดผ่าน และมีป้อมดินที่สร้างยื่นออกไปจากแนวกำแพงเป็นรูปสี่เหลี่ยม เพื่อใช้ดูข้าศึก หลักฐานกล่าวถึงกำแพงเมืองสุโขทัยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า.... เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง... และ... รอบเมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา...           ลักษณะกำแพงเมืองสุโขทัยเป็นกำแพงสามชั้น สองชั้นนอกเป็นคันดินสลับกับคูน้ำ กำแพงชั้นในมีแกนเป็นคันดิน ก่อหุ้มด้วยศิลาแลงและอิฐ ประโยชน์ของกำแพงเมือง คือ ใช้บอกขอบเขตของเมือง ป้องกันข้าศึก และคูน้ำใช้เป็นทางระบายน้ำไม่ให้ท่วมเมือง เนื่องจากพื้นที่ลาดเอียงจึงเป็นทำเลที่ดีและมีการใช้เทคนิควิทยาการที่เหมาะสม คือ ใช้คันดินบังคับน้ำให้ไหลพ้นตัวเมือง           การขุดค้นทางโบราณคดี ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๒๕  พบว่าการสร้างกำแพงเมืองทั้งสามชั้นนั้น คงสร้างในระยะเวลาที่แตกต่างกัน คือครั้งแรกมีกำแพงเมืองกับคูน้ำชั้นในเพียงชั้นเดียว วัดเชตุพน           ลักษณะโดดเด่นของโบราณสถานแห่งนี้เป็นพระพุทธรูปสี่อิริยาบท (นั่ง นอน ยืน เดิน) ขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถมองเห็นได้แต่ไกล โดยสร้างอยู่ภายในมณฑปจตุรมุข องค์พระพุทธรูปปั้นโดยรอบผนังอิฐซึ่งทำหน้าที่เป็นแกนรองรับหลังคาอันเป็นลักษณะที่พัฒนามาจากสถาปัตยกรรมของพม่าในเมืองพุกาม ถัดไปทางด้านตะวันตกของมณฑปจตุรมุขนี้มีมณฑปย่อมุมไม้ยี่สิบขนาดเล็กมีหลังคาก่อซ้อนกันเป็นเสา และใช้หินชนวนขนาดใหญ่ทำเป็นเพดาน ยังปรากฏร่องรอยของพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย แต่ชำรุดมากแล้ว ที่ผนังด้านนอกมีลายเขียนสีดำ แสดงลักษณะลายแบบที่ปรากฏบนเครื่องถ้วยจีนเป็นลายพันธุ์พฤกษา           วัดเชตุพนยังมีสิ่งที่น่าดูอีกอย่างหนึ่งก็คือ กำแพงแก้วที่ล้อมมณฑปจตุรมุขนี้สร้างจากหินชนวนที่มีขนาดใหญ่และหนา โดยมีการสกัดและบากหินเพื่อทำเป็นกรอบและซี่กรงเลียนแบบเครื่องไม้           ถัดจากมณฑปจตุรมุขและมณฑปย่อมุมไปทางตะวันตก มีลานก่ออิฐสูงราว ๑ เมตร ใช้เป็นที่ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์           ไม่ปรากฏหลักฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยใด เชื่อว่าในสมัยพ่อขุนรามคำแหงคงยังไม่สร้างขึ้น จารึกวัดสรศักดิ์ กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ว่าเมื่อพระมหาเถรธรรมไตรโลกฯ มีศักดิ์เป็นน้าของพระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองสุโขทัยพระองค์หนึ่ง มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสรศักดิ์ได้ร่วมชุมนุมกับพระวัดเชตุพน พิจารณาการสร้างเจดีย์ช้างรอบและศาสนสถานอื่น ๆ ที่วัดสรศักดิ์ จากข้อความที่ระบุชื่อวัดเชตุพนในศิลาจารึกหลักนี้  ประกอบกับรูปแบบทางศิลปกรรมของที่นี่แสดงให้เห็นว่า วัดเชตุพนคงเป็นวัดที่มีความสำคัญและเจริญรุ่งเรืองในช่วงสุโขทัยตอนปลาย           นอกจากนี้ยังได้พบจารึกที่วัดเชตุพน กล่าวถึงเจ้าธรรมรังษีซึ่งบวชได้ ๒๒ พรรษามีจิตศรัทธาสร้างพระพุทธรูปขึ้นใน พ.ศ. ๒๐๕๗ วัดเจดีย์สี่ห้อง           ตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดเชตุพน ห่างกันประมาณ ๑๐๐ เมตร นอกจากวิหาร เจดีย์ประธาน และเจดีย์รายต่าง ๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญของวัดคือ ที่ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับอยู่โดยรอบ ปั้นเป็นรูปบุคคล รูปบุรุษและสตรี สวมอาภรณ์และเครื่องประดับต่าง ๆ กัน ในมือถือภาชนะมีพันธุ์พฤกษางอกโผล่พ้นออกมาแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงาม ภาชนะนี้เรียกว่า หม้อปูรณฆฏะ นอกนั้นก็มีปูนปั้นรูปช้างและสิงห์ประดับ รูปบุคคลที่กล่าวนี้อาจหมายถึงมนุษยนาค ซึ่งถือว่าเป็นเทพอยู่ในโลกบาดาลตามแบบอย่างคติที่นิยมในลังกา           องค์เจดีย์ประธานที่ได้รับการบูรณะมาแล้วหลายสมัยนั้น เป็นทรงระฆังกลมส่วนยอดของเจดีย์ได้พังทลายลง คงปรากฏส่วนปล้องไฉนตกอยู่ที่ฐานเจดีย์ วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม           จากวัดเจดีย์สี่ห้องเดินทางต่อไปทางตะวันออกราว ๒๐๐ เมตร เป็นที่ตั้งของวัดนี้ ซึ่งมีชื่อเรียกของชาวบ้านแต่เดิมว่า วัดตาเถรขึงหนัง ต่อมาได้พบศิลาจารึกที่วัดนี้ปรากฏชื่อเรียกว่า วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยารามสร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๙๔๖ โดยพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดามหาดิลกรัตนราชนาถกรรโลง ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระมหาธรรมราชาลิไท และเป็นพระราชมารดาของพระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองสุโขทัยพระองค์หนึ่งได้โปรดให้นิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากเมืองกำแพงเพชรมาอำนวยการสร้างวัดนี้           โบราณสถานยังล้อมรอบด้วยคูน้ำเช่นวัดทั่วไปในสุโขทัย รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังกลมซึ่งเป็นประธานของวัด ได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบทั่วไปของสุโขทัยที่มีฐานเตี้ย แต่เจดีย์วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม ตั้งอยู่บนฐานสูง มีฐานเขียงสี่เหลี่ยมเรียบ ๓ ชั้น ต่อด้วยฐานย่อมุมไม้ยี่สิบ แล้วจึงถึงองค์ระฆังกลม ทางด้านตะวันออกของเจดีย์ได้พบอัฒจรรย์ คือลายบนพื้นเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก (ครึ่งวงกลม) มีลวดลายเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ  ซึ่งเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากศิลปะลังกา โบราณสถานด้านตะวันออก           ทางด้านตะวันออกของสุโขทัยมีถนนโบราณผ่านหน้าวัดมุมลังกา ถนนเส้นนี้เชื่อมการสัญจรระหว่างเมืองกำแพงเพชรและสุโขทัย เป็นถนนที่มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยและเป็นเส้นทางที่สมเด็จ      พระสามีสังฆราช ซึ่งพระมหาธรรมราชาลิไท ได้อาราธนามาจากนครพัน เมืองทางตอนใต้ของพม่า เดินทางมาสู่เมืองสุโขทัยและเข้าประตูเมืองด้านตะวันออกที่เรียกว่าประตูกำแพงหัก           ด้านเหนือของประตูกำแพงหักเข้าไปช่วงต่อกับกำแพงเมืองสุโขทัยชั้นกลางและชั้นนอกมีคลองแม่ลำพัน นำน้ำจากภูเขาและที่ลาดแถบนี้ไปสู่แม่น้ำยมที่ตำบลธานี ฝั่งตรงข้ามกับตัวจังหวัดสุโขทัย และจากคลองแม่ลำพันติดต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ลุ่มกว้างใหญ่อยู่ผืนหนึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นทะเลหลวง หรือที่รับน้ำขนาดใหญ่ซึ่งกล่าวอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ นอกจากนี้ศิลาจารึกยังได้บรรยายให้เห็นสภาพทางด้านตะวันออกของเมืองสุโขทัยนี้ว่า ...มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง  มีป่าหมากป่าพลู มีไร่มีนา มีถิ่นมีถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก...           โบราณสถานในด้านตะวันออกที่ปรากฏอยู่ และมีความสำคัญ ได้แก่ วัดช้างล้อม           จากประตูกำแพงหักไปตามถนนจรดวิถีถ่อง วัดช้างล้อมตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย ห่างถนนออกไปราว ๑๐๐ เมตร และตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือของคลองแม่ลำพัน ได้พบศิลาจารึกที่วัดนี้กล่าวถึงเหตุการณ์ในระหว่างก่อน พ.ศ. ๑๙๐๕-๑๙๓๓ ว่า พ่อนมไสดำผัวแม่นมเทด เป็นขุนนางที่จงรักภักดีต่อพระ      มหาธรรมราชาลิไท มีใจศรัทธา ออกบวชตามพระมหาธรรมราชาลิไท และได้อุทิศที่ดินของตนสร้างวิหารใน ปี พ.ศ. ๑๙๓๓ สร้างพระพุทธรูป หอพระไตรปิฎก ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ อุทิศบุญกุศลถวายแด่พระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งทรงเสด็จสวรรคตแล้ว และสร้างพระพุทธรูปหิน อุทิศบุญกุศลถวายแด่พระมเหสีของพระมหาธรรมราชาลิไทที่ทรงสิ้นพระชนม์ไปแล้วด้วยเช่นกัน           โบราณสถานวัดนี้มีพื้นที่กว้างขนาด ๑๐๐ x ๑๕๗ เมตร มีคูน้ำล้อมรอบนอกคูน้ำห่างไปทางตะวันออกมีอุโบสถแบบ นทีสีมา เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่มาก เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงระฆังกลม มีฐานเจดีย์ทำเป็นรูปช้างล้อม จำนวน ๓๒ เชือก มีลานประทักษิณโดยรอบ มีวิหารหน้าเจดีย์มีพระพุทธรูปปูนปั้นชำรุดมากแล้ว โบราณสถานอื่นก็มีเจดีย์ราย มีกำแพงแก้วล้อมรอบชั้นหนึ่งก่อนที่เป็นชั้นของคูน้ำ   วัดตระพังทองหลาง           อยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง หากเดินทางมาจากจังหวัดสุโขทัยวัดตระพังทองหลางจะตั้งอยู่ริมซ้ายมือ  จุดสังเกตง่าย ๆ ก็คือ มีซุ้มประตูประดับกระจกทางเข้าวัดตระพังทองหลางซึ่งเป็นวัดสมัยปัจจุบัน           วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารว่าสร้างในสมัยใด เป็นวัดขนาดกลาง โบราณสถานหลักก็มีมณฑปประกอบวิหารที่งดงามแห่งหนึ่งของสุโขทัย เจดีย์ราย มีคูน้ำล้อมรอบ และโบสถ์อยู่ทางตะวันออก วัดนี้ไม่มีเจดีย์ประธาน แต่ใช้มณฑปทำหน้าที่เหมือนเป็นเจดีย์ประธาน อันเป็นลักษณะเฉพาะแบบหนึ่งของการสร้างวัดที่สุโขทัย           มณฑปก่อด้วยอิฐ เป็นอาคารในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ แต่ปัจจุบันชำรุดหมดแล้ว มณฑปด้านทิศตะวันออกเป็นซุ้มประตู อีกสามด้านเป็นผนังที่ประดับด้วยปูนปั้น เป็นเรื่องตามพุทธประวัติที่ชำรุดเกือบหมดแล้ว แต่จากหลักฐานที่บันทึกเป็นภาพถ่ายเก่าทำให้ทราบเรื่องราวได้ว่า           ผนังด้านเหนือเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าทรงทรมานช้างนาฬาคีรี โดยปั้นรูปพระพุทธองค์ประทับยืนเคียงข้างด้วยอัครสาวกคือ พระอานนท์ ที่ปลายพระบาทของพระพุทธเจ้ามีร่องรอยให้ทราบว่าเป็นหัวเข่าช้าง ซึ่งคุกเข่ายอมแพ้พระพุทธเจ้า           ผนังด้านใต้เป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรคชั้นดาวดึงส์ ภายหลังเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา ปั้นรูปพระพุทธเจ้าในท่าลีลา มีพระอินทร์กับพระพรหม และเหล่าทวยเทพตามเสด็จมาส่ง ได้มีการถอดพิมพ์ภาพปูนปั้นนี้ขณะที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์กว่า จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง           ผนังด้านตะวันตกเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าโปรดเทศนาสั่งสอนพวกศากยวงศ์ที่เมืองกบิลพัสดุ์ ขณะทรงสั่งสอนทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นรูปรัศมีเปลวไฟล้อมรอบพระพุทธองค์ และมีรูปบรรดาพระญาติแวดล้อมอยู่ภายนอกรูปรัศมีนั้น           บรรดาภาพปูนปั้นเหล่านี้แสดงถึงลักษณะศิลปะสุโขทัยที่เจริญสูงสุด หรือที่เรียกว่ายุคทองของศิลปะสุโขทัย ซึ่งอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ โบราณสถานนอกเขตกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก           พื้นที่นอกเขตกำแพงเมืองสุโขทัยด้านตะวันตกเรียกว่าเขตอรัญญิก ซึ่งเรียกตามการแบ่งคณะสงฆ์ออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายคามวาสีเป็นพระสงฆ์ที่อยู่ในเขตเมือง อีกฝ่ายหนึ่งเป็นพระสงฆ์ที่อยู่นอกเขตเมือง มุ่งเน้นการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อการหลุดพ้น เขตอรัญญิกในระยะแรก ๆ ของสุโขทัยคงเริ่มขึ้นที่บริเวณด้านตะวันตกดังปรากฏความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า “...เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร...”           เส้นทางที่จะออกไปสู่เขตอรัญญิกจักต้องผ่านประตูเมืองด้านตะวันตกที่ชื่อว่า ประตูอ้อ นับว่าเป็นเส้นทางสำคัญ เพราะนอกจากพ่อขุนรามคำแหงจะทรงเสด็จขึ้นไปไหว้พระบนเขาตะพานหิน ตามเส้นทางนี้แล้ว พระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งผนวชแล้วมาจำพรรษาที่วัดป่ามะม่วง ตลอดจนสมเด็จพระสังฆราชจากลังกาที่มาเผยแพร่ศาสนาที่สุโขทัย ก็ทรงใช้เส้นทางและมีกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับ พื้นที่เขตอรัญญิกอีกด้วย           โบราณสถานที่สำคัญนอกเขตกำแพงเมืองด้านตะวันตก ได้แก่ วัดสะพานหิน           เป็นวัดตั้งอยู่บนเนินเขาที่มีความสูง ๒๐๐ เมตร ชื่อวัดเรียกตามลักษณะทางที่ปูลาดด้วยหินจากตีนเขาขึ้นไปเป็นระยะทาง ๓๐๐ เมตร สิ่งสำคัญในวัดมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่น่าจะตรงกับที่ศิลาจารึกหลักที่ ๑ กล่าวถึงเมืองสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงว่า  “...ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันณึ่งมนใหญ่สูงงามแก่กม มีพระอัฎฐารศอันณึ่งลุกยืน...”  และน่าจะเป็นวัดที่พ่อขุนรามคำแหงทรงช้างเผือกชื่อรูจาคีรีเพื่อไปนบพระในวัดนี้ทุกวันข้างขึ้นและแรม ๑๕ ค่ำ วัดเขาพระบาทน้อย           อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกห่างจากประตูอ้อประมาณ ๒.๗ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ โบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ทรงจอมแห มีคูหาพระพุทธรูป ๔ ทิศ องค์ระฆังมีรอยเป็นริ้ว ๆ ลักษณะเหมือนการตากแห ซึ่งพบเพียงองค์เดียวในเมืองสุโขทัย           ด้านหน้าเจดีย์ทรงจอมแหมีวิหาร ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ๔ รอย (ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง) นอกจากนี้ยังมีกุฏิสงฆ์สำหรับวิปัสสนา และฐานเจดีย์ศิลาแลงขนาดใหญ่ วัดป่ามะม่วง           จารึกสมัยสุโขทัยหลายหลักกล่าวถึงป่ามะม่วง ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมืองสุโขทัย มีจารึกหลักที่ ๖ ค้นพบในวัดป่ามะม่วง พูดถึงความสำคัญของวัดนี้ว่าพระมหาธรรมราชาลิไททรงออกผนวช เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ ในวัดป่ามะม่วงปัจจุบันประกอบด้วยอุโบสถและเจดีย์ต่าง ๆ และอยู่ไม่ไกลจากเทวาลัย  มหาเกษตร ซึ่งเป็นที่ที่พบเทวรูปสำริดศิลปะสุโขทัยอันเป็นรูปเคารพในศาสนาฮินดู อาทิ พระนารายณ์ พระศิวะ และพระพรหม เทวาลัยมหาเกษตร           ชื่อ เทวาลัยมหาเกษตร พบอยู่ ในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงของพระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งทำเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ กล่าวถึง พระมหาธรรมราชาลิไททรงประดิษฐานรูปพระอิศวร และรูปพระนารายณ์ไว้ที่เทวาลัยมหาเกษตร ในป่ามะม่วงนี้เพื่อเป็นที่สักการะ บูชาของพวกดาบสและพราหมณ์ทั้งหลาย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๘๙๒           รูปพระอิศวรและพระนารายณ์ตามที่กล่าวนี้ เชื่อกันว่าตรงกับกลุ่มประติมากรรมลอยตัวเทวรูปสำริด นุ่งผ้าและสวมเครื่องประดับอย่างที่เรียกว่าทรงเครื่อง คือมีเครื่องประดับรัดต้นแขนและรัดเกล้า ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครหลายองค์ องค์ที่มีขนาดใหญ่นั้นคือ พระอิศวร สูง ๓.๐๘ เมตร และพระนารายณ์ สูง ๒.๖๗ เมตร           ตัวโบราณสถานที่ประดิษฐานเทวรูปเหล่านี้ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผนังก่อด้วยอิฐ ทั้งผนังและเสามณฑปมีขนาดใหญ่หันหน้าสู่ทิศตะวันออก วัดมังกร           ตั้งอยู่บริเวณสามแยกทางไปเขตอรัญญิกและสรีดภงส์   ความโดดเด่นของวัดแห่งนี้คือ กำแพงแก้วก่อด้วยอิฐ  ประดับซี่ลูกกรงด้วยเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ  และยังพบประติมากรรม มกรดินเผาเคลือบแบบเครื่องสังคโลกด้วย  ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัดแห่งนี้    ภายในกำแพงวัดประกอบด้วยฐานโบสถ์ที่มีมุขยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  มีใบเสมาหินชนวนปักล้อมรอบ  เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ส่วนยอดได้พังทลายอยู่ทางด้านทิศเหนือของอุโบสถ  มีฐานวิหาร และยังมีเจดีย์รายอีกหลายองค์   นอกจากนี้ยังมีเจดีย์รายที่ตั้งอยู่ภายนอกกำแพงด้วย วัดเขาพระบาทใหญ่           อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก ตั้งอยู่บนเขาพระบาทใหญ่ติดกับสรีดภงส์ โบราณสถานประกอบด้วย ซากวิหารก่อด้วยอิฐและหิน วัดเขาพระบาทใหญ่เคยเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๒ ปัจจุบันนำมาประดิษฐานที่วัดตระพังทอง ข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง   สรีดภงส์           ทิศตะวันตกของเมืองมีเทือกเขาประทักษ์ทอดตัวยาวเป็นฉากหลังให้กับเมืองเป็นอย่างดีนั้น เป็นแหล่งที่อุดมด้วยพืชพรรณไม้ต่างๆ รวมทั้งพืชสมุนไพร และเป็นพื้นที่เปรียบเสมือนหลังคาที่สามารถรองรับน้ำฝนได้อีกด้วย จากความชาญฉลาดของคนสุโขทัยในอดีตจึงรู้จักสร้างคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ในระหว่างหุบเขากิ่วอ้ายมาถึงเขาพระบาทใหญ่อันเป็นที่รวมของน้ำจากโซกต่าง ๆ ตามบริเวณเขาถึง ๑๗ โซกเป็นคันดินสำหรับผันแปรทิศทางของน้ำ ที่เชื่อกันมาแต่เดิมว่าคือสรีดภงส์ที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกที่ ๑ น้ำจาก สรีดภงส์ถูกระบายไปตามคลองเสาหอ เพื่อเข้าไปใช้อุปโภคบริโภคในเมือง โดยระบายเข้าสู่เมืองตรงมุมตะวันตกเฉียงใต้ สรีดภงส์ในปัจจุบันได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยกรมชลประทานร่วมกับกรมศิลปากร ให้มีความสูงและแข็งแรงกว่าเดิมสำหรับใช้กักเก็บน้ำ มีความสูงประมาณ ๑๐ เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง ๔๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร             นอกจากนี้ยังมี พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงและหอพระพุทธสิริมารวิชัย  ซึ่งแม้จะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่  แต่ก็มีคุณค่าและความสำคัญเช่นเดียวกันกับโบราณสถานต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น


มาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 ตอนที่ ๑ เทวดารู้แจ้งแห่งเภทภัย



Messenger