ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 22 ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว จำนวนหน้า : 198 หน้า สาระสังเขป : จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 22 เริ่มบันทึกตั้งแต่วันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ อัฐศก ศักราช 1248 ถึง วันพฤหัสบดี แรม 12 ค่ำ เดือน 2 ปี จอ อัฐศก ศักราช 1248 กล่าวถึงพระราชกิจ เช่น การออกประทับพระที่นั่งเพื่อให้ข้าราชการเข้าเฝ้า การพระราชทานตราตั้งกรรมสัมปาทิกผู้จัดการหอสมุดวชิรญาณ การเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานกฐิน เป็นต้น


1. ว่าด้วยสูตรยันต์ 2. ว่าด้วยกฎหมาย อักษรขอม – ไทย ภาษาบาลี – ไทย เช่น ลักษณะตัดสำนวนโดยมูลคดี, ลักษณะสักขีเฉทกะ, ลักษณะเผชิญพยานตัดพยาน, ลักษณะอันมีอัญมันยะปะทิภาค, สารคดีในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์โดยมาตราอันโบราณราชกษัตริย์ ฯลฯ


เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ภาคปลาย กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่.  พระนคร : กรมศิลปากร, 2510.       หนังสือบทเสภาขุนช้างขุนแผน ภาคปลายนี้ อธิบดีกรมศิลปากรและเจ้าหน้าที่กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ได้ตรวจสอบชำระใหม่ แล้วทำผังแสดงลำดับวงศ์สกุลของตัวละครในเรื่องขึ้นไว้ด้วย เนื้อหาแบ่งเป็นตอน มี 26 ตอน เริ่มด้วยตอนที่ 43 จับจระเข้เถรขวาด จนถึงตอนที่ 68 พลายบัวยกทัพไปตีเมืองลำพูน  



ชื่อเรื่อง : ศรีทะนนไชย (สำนวนกาพย์) และ ลิลิตตำรานพรัตน์ ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ศรีเมืองการพิมพ์


ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 5 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2510 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยเอก ขุนวรนิติ์นิสัย (สอน นิธินันทน์) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2510. มีรูปและประวัติผู้ตาย.               หนังสือตำราพิไชยสงคราม คำกลอนให้ความรู้ในกลยุทธ์ด้านทหารของไทยในสมัยโบราณ แฝงแง่คิดด้านเศรษฐกิจ การเมือง และปรัชญาการต่อสู้ นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาเรื่อง ตำราพิชัยสงครามจีน ของ ซุนวู ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยจากต้นฉบับภาษาจีน โดย คุณเสถียร วีรกุล ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับกลยุทธ์ของทหารและการสงคราม ด้วยเช่นกัน


ชื่อเรื่อง : พระราชหัดถเลขา เล่ม ๒ ชื่อผู้แต่ง : จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระปีที่พิมพ์ : 2506 สถานที่พิมพ์ : -สำนักพิมพ์ : -จำนวนหน้า : 286 หน้า สาระสังเขป : พระราชหัดถเลขา คือหนังสือซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเขียนเองไปถึงผู้หนึ่งผู้ใด ฤาลงพระนามด้วยพระราชหัดถ์ในหนังสือซึ่งมีไปถึงผู้หนึ่งผู้ใด เข้าใจว่าเป็นของมีขึ้นใหม่เมื่อในรัชกาลที่ ๔ แต่ก่อนมา หนังสือรับสั่งมีไปถึงที่ใด ย่อมมีผู้รับสั่ง คือเสนาบดีเจ้ากระทรวงเป็นต้นเขียนหนังสืออ้างรับสั่งไป แลประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ หาได้ใช้ประเพณีลงชื่อด้วยลายมือเป็นสำคัญไม่


ชื่อเรื่อง : ระเบียบสำนักพระราชวังที่เกี่ยวกับข้าราชการและประชาชนและประเพณีไทย ชื่อผู้แต่ง : ปีย์ มาลากุล, ม.ล ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี สำนักพิมพ์ : เพ็ชรรัตน์ จำนวนหน้า : 210 หน้า สาระสังเขป : รวบรวมระเบียบสำนักพระราชวังเพื่อเป็นแนวทางให้ข้าราชการและประชาชนยึดถือปฏิบัติ ประกอบด้วย ระเบียบการผ่านเข้าพระบรมมหาราชวัง ระเบียบการแต่งกายเข้าพระบรมมหาราชวัง ระเบียบการขออนุญาตเข้าชมพระราชฐาน ระเบียบการวางพวงมาลาในวันถวายบังคมพระบรมรูป ระเบียบการเผาศพ ระเบียบการใช้ถ้อยคำ เป็นต้น นอกจากนี้ได้จัดพิมพ์เรียงความ กาพย์กลอน ฉบับชนะการประกวดเพื่อรับทุนการศึกษาของยาสีฟันวิเศษนิยมไว้ในส่วนท้ายเล่ม


ผู้แต่ง :  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2507 หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางโต๊ะ  รักรุ่งเรือง และ นายส่ง  รักรุ่งเรือง               เนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่องราวการเดินทางระหว่างปีนังถึง ถึงเมืองเมดันซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลสุมาตรา เพื่อไปส่งพระเจ้าอยู่หัวเสด็จต่อไปยังยุโรปและอเมริกา กล่าวถึงเส้นทางการเดินทาง ชีวิตความเป็นอยู่ และภาษาที่ใช้ของพลเมืองในเกาะสุมาตรา



โบราณคดีดอยสุเทพ​ #เพิงผาถ้ำฤษี​ #ฤษีวาสุเทพ .. -- ถ้ำฤษี​บนดอยสุเทพ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์​ที่มีมุขปาฐะเรื่องเล่าต่อกันมาว่า​ เป็นถ้ำที่ฤษีวาสุเทพเคยใช้เป็นที่พำนักมาตั้งแต่สมัยสร้างเมืองหริภุญ​ไชย .. -- การสำรวจเมื่อ​ ปี​ พ.ศ.2553 ที่ผ่านมา​ พบว่าบริเวณเพิงผาห่างจากถ้ำฤษี​ ประมาณ​ 10​ เมตร​ ปรากฏชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินตกแต่งด้วยลายเชือกทาบกระจายอยู่บนผิวดิน​ เชื่อได้ว่าบริเวณ​พื้นแห่งนี้​น่าจะมีอายุก่อนสมัยล้านนา​ จึงได้ทำการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณ​นี้ .. -- การขุดค้นทางโบราณคดี​ครั้งนั้น ได้พบโบราณ​วัตถุชิ้นพิเศษ​ คือ​ ชิ้นส่วนกำไลหินขัด​ ทำจากหินโคลน​ (mudstone)​ สีดำด้าน​ สันนิษฐาน​ว่าหากมีสภาพ​สมบูรณ์​ จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง​ ประมาณ​ 10​ เซนติเมตร .. -- กำไลหินขัด​ ถือ​เป็นโบราณวัตถุที่มักพบอยู่ในวัฒนธรรม​หินใหม่​ จึงอาจตั้งข้อสันนิษฐาน​เบื้องต้น​ได้ว่า​ พื้นที่บริเวณ​เพิงผาใกล้ถ้ำฤษี​บนดอยสุเทพ​ น่าจะมีผู้คนเคลื่อนไหว​เข้ามาใช้พื้นที่ตั้งแต่​ราว​ 3,500 ปีมาแล้ว​ ก่อนที่จะมีพัฒนาการลงสู่พื้นราบในช่วงระยะเวลาต่อมา .. -- ปล.พื้นที่ดอยสุเทพ​ ยังมีหลักฐาน​ทางโบราณคดี​ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้คนก่อนการเกิดขึ้นของเมือง​เชียงใหม่​อีกมากมาย​ โปรดติดตามชมตอนต่อไป -- ปล.2​ ภาพประกอบที่​ 1​ คือ​ เผิงพาถ้ำฤษี​ ซึ่งอยู่ห่างจากแหล่งที่ทำการขุดค้นประมาณ​ 10​ เมตร


ชื่อเรื่อง                           เทศนาธัมมสังคิณี-มหาปัฏฐานสพ.บ.                                  198/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           56 หน้า กว้าง 4.2 ซ.ม. ยาว 56.2 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                ทิพฺพมนฺต (ทิพพมนต์)สพ.บ.                                  234/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           12 หน้า กว้าง 5.3 ซ.ม. ยาว 59.2 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์ บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน  เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 


     บานประตูประดับมุก      ศิลปะอยุธยา  พ.ศ. ๒๒๙๕      เดิมเป็นบานประตูพระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากรรับจากสำนักพระราชวัง เมื่อ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖      พ.ศ. ๒๒๙๕ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างบานประตูประดับมุกพระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม       พ.ศ. ๒๔๔๓ พระญาณไตรโลกาจารย์ (อาจ จนฺทโชติ) วัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถวายบานประตูประดับมุกแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในการสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สำหรับใช้เป็นประตูหอพุทธศาสนสังคหะแต่ภายหลังทรงพระราชดำริเป็นอย่างอื่น  จึงเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงวังมิได้ใช้งาน        พ.ศ. ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายบานประตูประดับมุกจากกระทรวงวังมาจัดแสดง ที่มุขหน้าพระที่นั่งพรหมเมศธาดา พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร       พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้นำบานประตูประดับมุกจากพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ไปประกอบเข้าที่ประตูหอพระมณเฑียรธรรม ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  เนื่องในการบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คราวฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี       พ.ศ. ๒๕๕๐ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชปรารภให้กรมศิลปากรจำลองบานประตูประดับมุกขึ้นทดแทนบานประตูมุกหอพระมณเฑียรธรรมตามแบบเดิมทุกประการ       พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ดำเนินการถอดบานประตูมุกเดิมที่หอพระมณเฑียรธรรมและประกอบบานประตูประดับมุกใหม่ทดแทน บานประตูประดับมุก พระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันจัดแสดงมุขหน้าพระที่นั่งพรหมเมศธาดา ขอบประตูมุกด้านหนึ่งมีจารึกข้อความประวัติการสร้างจำนวน ๒ บรรทัด ความว่า        ๏ศุภมัศดุ พระพุทธศักราช ๒๒๙๕ พระวษา ณ วัน ๗ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะแมตรีณิศก พระบาทสมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งให้เขียนลายมุกบานประตูพระอุโบสถวัดบรมพุทธารามช่าง ๒๐๐ คน      เถิง ณ วัน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะแมตรีณิศก ลงมือทำมุก ๖ เดือน ๒๔ วันสำเร็จ พระราชทานช่างผู้ได้ทำการมุกทั้งปวง เสื้อผ้ารูปพรรณทองเงินแลเงินตราเปนอันมากเลี้ยงวันแล ๓ เพลา ค่าเลี้ยงมิได้คิดเข้าในพระราชทานด้วย คิดแต่บำเหนจประตูหนึ่งเป็นเงินตรา ๓๐ ชั่ง ๛ ภาพบุษบกที่ตอนบนของบานประตูประดับมุก พระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม      บานประตูมุกคู่นี้ มีการซ่อมแซมมาหลายคราว ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๙ ความตอนต้นว่า      “ด้วยบานมุกวัดศาลาปูนนั้น เปนของไปเก็บมาจากที่อื่น ติดอยู่ในที่นั้นก็ไม่สู้มีผู้ใดเห็นบัดนี้ฉันคิดจะสร้างหอธรรมที่วัดเบญจมบพิตร เห็นว่าบานคู่นั้นเปนฝีมือเก่างามดี ซึ่งจะเลียนทำขึ้นใหม่ไม่ได้ บานนั้นชำรุดตอนล่าง พระซ่อมขึ้นไว้ก็ไม่เหมือนของเดิม บัดนี้อยากจะได้ลงมาคิดซ่อมแซมลองดูแล้วจะติดหอธรรมวัดเบญจมบพิตร...” รายละเอียดของนมบนที่อกเลาบานประตูประดับมุก พระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม ปีกครุฑพาหนะพระนารายณ์ บนบานประตูประดับมุก พระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม มีขนาดกว้าง ๑๒ เซนติเมตร      ข้อมูลเดิมมักกล่าวกันว่า บานประตูวัดบรมพุทธารามบานอื่นถูกตัดและนำมาปรับใช้เป็นบานตู้คัมภีร์ ( ๑๑๔บ.) ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงในห้องเครื่องมุก พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) แต่จากขนาดของตัวภาพประดับมุกที่บานตู้มีขนาดใหญ่กว่า (๑๘ เซนติเมตร) และบานประตูประดับมุกพระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม ได้รับการวัดขนาดแล้วว่าเป็นเป็นบานประตูคู่กลางของพระอุโบสถ (ช่องประตูกลางมีขนาดกว้าง ๑๖๕.๕ เซนติเมตร สูง ๓๗๒ เซนติเมตร)      ดังนั้นงานประดับมุกบนบานตู้คัมภีร์ จึงเป็นบานประตูประดับมุกของพระอารามอื่นไม่ใช่วัดบรมพุทธารามตามที่เข้าใจกันแต่เดิม ปีกครุฑพาหนะพระนารายณ์ บนบานตู้ประตูประดับมุก (๑๑๔บ.) มีขนาดกว้าง ๑๘ เซนติเมตร จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทานเมื่อ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๕       ข้อมูลเดิมมักกล่าวกันว่า บานประตูวัดบรมพุทธารามบานอื่นถูกตัดและนำมาปรับใช้เป็นบานตู้คัมภีร์ ( ๑๑๔บ.) ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงในห้องเครื่องมุก พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) แต่จากขนาดของตัวภาพประดับมุกที่บานตู้มีขนาดใหญ่กว่าคือมีขนาดกว้าง ๑๘ เซนติเมตร และบานประตูประดับมุกพระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม ได้รับการวัดขนาดแล้วว่าเป็นเป็นบานประตูคู่กลางของพระอุโบสถ (ช่องประตูกลางมีขนาดกว้าง ๑๖๕.๕ เซนติเมตร สูง ๓๗๒ เซนติเมตร) โดยปีกครุฑพาหนะพระนารายณ์ บนบานประตูประดับมุก พระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม มีขนาดกว้าง ๑๒ เซนติเมตร      ดังนั้นงานประดับมุกบนบานตู้คัมภีร์ จึงเป็นบานประตูประดับมุกของพระอารามอื่นไม่ใช่วัดบรมพุทธารามตามที่เข้าใจกันแต่เดิม  


เลขทะเบียน : นพ.บ.83/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  28 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : ยอดไตรปิฎก (ยอดไต) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger