ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ





เวทมนต์คาถา ชบ.ส. ๗๑ เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.27/1-6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



“ชวนชม” โบราณวัตถุชิ้นเด่นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา วันนี้ขอนำเสนอ “ชุดถ้วยอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร.”  ................................................................................. ชุดถ้วยอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร.  วัสดุ ดินเผาเคลือบ  ขนาดสูงพร้อมฝา 7 ซม. /  ปากกว้าง 10.3 ซม. ศิลปะรัตนโกสินทร์ อายุพุทธศตวรรษที่ 25  ที่มา นางจำนงค์ (ณ สงขลา) ไกรฤกษ์ มอบให้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา .................................................................................           ชุดถ้วยอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ลักษณะเป็นเครื่องถ้วยประเภทเนื้อดินเผา มีความบาง เบา พื้นสีขาว เขียนลายเคลือบสีคราม ตัวถ้วยชามีลักษณะ ปากกว้าง ขอบปากผาย และใช้การเลี่ยมทองตรงบริเวณขอบปากถ้วยและขอบปากฝา ด้านในเป็นพื้นสีขาวไม่มีลวดลาย ด้านนอกเขียนลายอักษร “จปร.” ผูกลายแบบอักษรจีน หรือเรียกว่า “ลายยี่สยาม” มีการตกแต่งด้วยลวดลายค้างคาว ลายดอกไม้ขนาดเล็กตรงบริเวณขอบถ้วยซึ่งเป็นลายสัญลักษณ์มงคลของจีน และใต้ก้นถ้วยทุกใบมีการเขียนลายอักษร จปร. สยาม ในกรอบสี่เหลี่ยม และมีตัวเลข ๑๒๕๐            “ชุดถ้วยอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร.” หรือที่นิยมเรียกกันว่า “ชุด จปร.”เป็นเครื่องถ้วยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งช่างชาวจีนผลิตขึ้นเป็นพิเศษจากแหล่งเตาเมืองจิ้งเต๋อเจิ้น มณฑลเจียงซี ประเทศจีน มีการใช้อักษรพระปรมาภิไธยย่อผูกเป็นลายแบบจีนออกมาถึง 12 แบบ และเนื่องด้วยชุดถ้วยชาลายคราม จปร. ชุดนี้    ใต้ก้นถ้วยปรากฏลายอักษร “จปร. สยาม ๑๒๕๐” จึงสันนิษฐานว่าเป็นชุดเครื่องถ้วยที่หลวงสั่งผลิต และเป็นของพระราชทานไม่มีการซื้อขาย โดยจะทรงพระราชทานแก่ข้าราชการผู้ใหญ่ และพระภิกษุผู้มีสมณะศักดิ์สูงเท่านั้น            การใช้ลวดลายค้างคาวที่ปรากฏบนถ้วยชาชุดนี้ ตามความเชื่อโบราณของจีน “ค้างคาว” หมายถึง สัญลักษณ์ของความสุข และอายุยืน  โดยส่วนใหญ่มักพบลายค้างคาวจำนวน 1-5ตัว หรืออาจมีการเขียนลายค้างคาวคู่กับอักษรจีน หรือสัญลักษณ์มงคลของจีน เรียกว่า “อู่ฝู” ซึ่งพบได้ทั่วไปบนโบราณวัตถุ หรือโบราณสถานรูปแบบจีน  ................................................................................. เรียบเรียง : นางสาวอันดามัน เทพญา เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ กราฟฟิก : ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ................................................................................. อ้างอิง 1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา. “เครื่องถ้วยจีนไทยพบในสงขลา.” มปท. : มปพ, 2538. 2. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. “โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา.” กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549.






หินทุบเปลือกไม้ Bark-cloth    เครื่องมือสำหรับทำเส้นใยยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในภาคใต้ โบราณวัตถุประเภทเครื่องมือหินยุคก่อนประวัติศาสตร์ "หินทุบเปลือกไม้ " ที่มนุษย์นำมาใช้สำหรับทุบเปลือกไม้หรือพืชเพื่อนำเส้นใยมาใช้งานกัน ----------------------------------------------------------------------- เครื่องนุ่งห่มยุคก่อนประวัติศาสตร์           เชื่อกันว่ามนุษย์ในยุคแรกเริ่มยังไม่รู้จักการใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม แต่ในเวลาต่อมาจึงเริ่มนำขนสัตว์ หนังสัตว์ ใบไม้ หญ้า เปลือกไม้ มาห่อหุ้มร่างกาย ซึ่งสิ่งของจากธรรมชาติเหล่านี้ช่วยสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย ห่อหุ้มผิวหนังจากอันตราย สร้างความสวยงาม รวมทั้งอาจตอบสนองในเรื่องความเชื่อหรือพิธีกรรมต่างๆในสังคม  เครื่องนุ่มห่มจากเส้นใยพืช           ในยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้น นอกเหนือจากหนังสัตว์และวัสดุตามธรรมชาติแล้ว มนุษย์ในยุคสมัยนี้ยังสามารถคิดค้นวิธีในการนำเส้นใยจากพืชมาถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่มได้ โดยพืชที่สามารถให้เส้นใยได้นั้นได้แก่ พืชในตระกูลป่าน ปอ และลินิน สำหรับในประเทศไทยนั้นพบหลักฐานของการทอผ้าจากเส้นใยธรรมชาติบนเครื่องประดับและเครื่องมือสำริดที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และใบมีดเหล็กที่แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา หินทุบเปลือกไม้เครื่องมือสำหรับทำเส้นใย  เครื่องมือสำคัญอีกประเภทหนึ่งซึ่งสามารถใช้ในการเปลี่ยนสภาพของพืชให้เกิดเป็นเส้นใยได้นั้นก็คือ “หินทุบเปลือกไม้” หินเหล่านี้มักมีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดเหมาะมือ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายตัดซึ่งปรากฏการขูดพื้นผิวหินให้เป็นเส้นตัดกันเป็นรูปตารางบนหน้าหิน การศึกษาเรื่อง The Origins of bark cloth production in Southeast Asia โดย Judith Cameron ได้นำเสนอการจำแนกรูปแบบของหินทุบเปลือกไม้ที่พบในจีนตอนใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ ๗ รูปแบบ  หินทุบเปลือกไม้ในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  การสำรวจและการขุดค้นในปัจจุบัน มีรายงานการพบหินทุบเปลือกไม้ในภาคใต้ของประเทศจีน  เกาะไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย  ทั้งนี้บทความเรื่อง The oldest bark cloth beater in southern China (Dingmo, Bubing basin,Guangxi) โดย Dawei Li และคณะ ได้ให้ข้อมูลผลการกำหนดอายุของหินทุบเปลือกไม้จากแหล่งโบราณคดีต่างๆไว้ดังนี้           ๑.แหล่งโบราณคดี Dingmo ในมณฑลกวางสี ประเทศจีน กำหนดอายุได้ราว ๗,๙๐๐ ปีมาแล้ว            ๒.แหล่งโบราณคดี Xiantouling บริเวณที่ราบปากแม่น้ำเพิร์ล ในมณฑลกว้างตุ้ง ประเทศจีน   กำหนดอายุได้ราว ๖,๖๐๐ ปีมาแล้ว            ๓.แหล่งโบราณคดีในเวียดนามกำหนดอายุได้ราว ๔,๕๐๐-๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว            ๔.แหล่งโบราณคดี Arku Cave จังหวัดคากายัน เกาะลูซอน ฟิลิปปินส์  กำหนดอายุได้ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว  หินทุบเปลือกไม้ที่พบในแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในภาคใต้ของไทย  ในพื้นที่ภาคใต้ แม้จะยังไม่เคยพบหลักฐานการมีอยู่ของผ้าในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่การสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งได้พบหินทุบเปลือกไม้ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทำเส้นใย ในแหล่งโบราณคดีอย่างน้อย ๖ แห่ง ในพื้นที่ ๔ จังหวัดคือ           ๑.เขาถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึกเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่           ๒.บางปากวง(เชิงเขาวง) ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี           ๓.ถ้ำเบื้องแบบ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี           ๔.เขาถ้ำพระ ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช           ๕.เขาบ้านในค่าย ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช           ๖.เพิงผาที่พักสงฆ์เขาน้ำหรา ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล     และสามารถระบุที่มาเพียงว่าพบในพื้นที่ภาคใต้จำนวน ๑ ชิ้น จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช      ทั้งนี้หากจำแนกหินทุบเปลือกไม้ที่พบในภาคใต้ตามรูปแบบที่ Judith Cameron เสนอไว้ก็จะพบว่า หินทุบเปลือกไม้ที่พบในภาคใต้ทั้งหมดซึ่งระบุแหล่งที่มาได้จัดอยู่ในรูปแบบที่ ๗ และมีเพียงชิ้นเดียวและไม่ระบุแหล่งที่มาจัดอยู่ในรูปแบบที่ ๕ +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ เรียบเรียงข้อมูลโดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที ๑๑ สงขลา


ชื่อเรื่อง                         มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา                                   (เตมิยะ-ภูริทัต)      สพ.บ.                           411/ฆ/3หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสาน/ไทยล้านนาหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    ทศชาติประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    40 หน้า : กว้าง 4.2 ซม. ยาว 50 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมล้านนา-ธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี




องค์ความรู้จากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เรื่อง พระพุทธรูปลีลา ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงจัดทำข้อมูลโดย นางสาวมณฑกาญจน์ อินทร์ทอง นักโบราณคดีปฏิบัติการ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย


Messenger