ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

          พระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กร           สมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระราชทานเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๙           ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           รูปพระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กร พระเศียรรวบพระเกศาเกล้าขึ้นเป็นมวย (ชฎามกุฏ) กึ่งกลางมีสถูปขนาดเล็ก และทรงอุณหิศประดับตาบสามเหลี่ยม ปลายพระเกศาปล่อยลงมาปรกพระอังสา พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง ริมพระโอษฐ์ทาด้วยสีแดง พระพาหาทรงพาหุรัด สองพระกรคู่หลังยกขึ้นแสดงการทรงวัตถุในพระหัตถ์ (แต่ชำรุดหักหายไป) สองพระกรคู่หน้าแสดงปางสมาธิ และสองพระกรคู่กลางพระหัตถ์ขวาแบฝ่าพระหัตถ์ออก พระหัตถ์ซ้ายชำรุดหักหายไป พระวรกายทรงยัชโญปวีต (หรือสายธุรำ แสดงถึงการเป็นนักบวช) ประทับขัดสมาธิเพชร บนฐานดอกบัว เบื้องหลังเป็นแผ่นประภามณฑลประดับด้วยกระหนกรูปเปลวไฟ           พระโพธิสัตว์จุนทา (หรือบางครั้งเรียก จุณฑี) เป็นหนึ่งในธยานิโพธิสัตว์เพศหญิง กล่าวกันว่าเป็นเสมือนมารดาของพระพุทธเจ้า ในคัมภีร์นิษปันนโยคาวลี (Nispannayogavali) กล่าวว่าคำที่ใช้เรียกขานพระโพธิสัตว์องค์นี้คือ “จุณฑาธารณี” (Cundā Dhāraṇī) และในคัมภีร์ มัญชูวัชระมณฑล (Mañjuvajra-mandala) ระบุว่าพระโพธิสัตว์จุนทาจัดอยู่ในกลุ่มธยานิพุทธไวโรจนะ พระโพธิสัตว์จุนทานั้นมีรูปเคารพแสดงพระกรที่ต่างกันไป ทั้งแบบสองกร สี่กร หกกร แปดกร และมากถึงสิบหกกร ปรากฏหลักฐานตั้งแต่ในศิลปะอินเดีย ตัวอย่างเช่น ประติมากรรมพระโพธิสัตว์จุนทาสัมฤทธิ์ (๔ กร) ศิลปะอินเดียสมัยปาละ พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ พบในมหาวิทยาลัยนาลันทา ภาพวาดพระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กร ที่ถ้ำเอลโลร่า (Ellora Cave) หมายเลข ๑๐ เป็นต้น การนับถือพระโพธิสัตว์จุนทานั้นแพร่หลายไปในหลายประเทศที่นับถือพุทธศาสนามหายาน โดยเฉพาะทิเบต จีนและญี่ปุ่น ส่วนบ้านเมืองในพื้นที่คาบสมุทรและหมู่เกาะ โดยเฉพาะที่อินโดนีเซียพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์จุนทาในสมัยศรีวิชัยทั้งแบบประติมากรรมสัมฤทธิ์ เช่น ประติมากรรมพระโพธิ์สัตว์จุนทา ๔ กร สัมฤทธิ์ จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์จากาตาร์ และรูปสลักพระโพธิสัตว์จุนทาบนผนังด้านนอกของจันทิเมนดุต (Candi Mendut) ศิลปะชวาภาคกลาง พุทธศตวรรษที่ ๑๔           สำหรับประติมากรรมพระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กรชิ้นนี้ แสดงรูปแบบของศิลปะอินเดียได้แก่ ชฎามกุฏ และฐานบัว แต่ในขณะเดียวกันการทำแผ่นหลังทึบดังกล่าวกลับพบได้ทั่วไปในกลุ่มประติมากรรมสัมฤทธิ์ศิลปะชวา และลักษณะความเป็นท้องถิ่นของประติมากรรมชิ้นนี้คือเปลวไฟที่ประดับขอบแผ่นหลังนั้น ไม่ได้มีลักษณะเดียวกับศิลปะอินเดียหรือศิลปะชวา ประกอบกับทำประดับไว้ห่าง ๆ กันไม่ได้ติดกันเป็นแถบ ดังนั้นประติมากรรมชิ้นนี้ จึงน่าจะสร้างขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยรับแรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียและชวา     อ้างอิง เชษฐ์ ติงสัญชลี. ศิลปะไทยภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. นนทบุรี: มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๘. ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย, ๒๕๔๓. Puspa Niyogi. “Cundā - a Popular Buddhist Goddess.”.East and West Vol. 27, No. 1/4 (December 1977), pp. 299-308.


เลขทะเบียน : นพ.บ.527/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 5 x 48 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 176  (267-279) ผูก 8 (2566)หัวเรื่อง : ลำสินไชย--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                             กจฺจายนมูล (ศัพท์นาม - การก)สพ.บ.                                 429/ก/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย              คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                            พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                       68 หน้า : กว้าง 4.7 ซม.  ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                              พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                         ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน  เส้นจาร ฉบับลานดิบ ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจาก  วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เมืองโบราณยะรัง EP.5 : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR)   องค์ความรู้ตอนที่ 5 ที่นำเสนอในวันนี้มีชื่อว่า "เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR)”   เทคโนโลยีไลดาร์ เป็นหนึ่งเทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing) โดยคำว่า Li-DAR เป็นตัวย่อจากคำว่า “Light detection and ranging” วัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือการใช้แสงเพื่อวัดระยะ หรือความสูงของพื้นผิว หลักการทำงานคือการส่งแสงเลเซอร์ไปกระทบวัตถุหรือพื้นผิวต่างๆ ซึ่งระหว่างทางระบบจะทำการคำนวณเวลาในการเดินทางของแสงตั้งแต่ถูกปล่อยออกจากอุปกรณ์จนสะท้อนกลับมาที่ตัวรับสัญญาณเพื่อวัดระยะ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์พื้นผิวได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเส้นชั้นความสูง (Contour Line) พื้นที่การมองเห็น (Viewshed) ความลาดชัน (Slope) การตกกระทบของแสง (Hillshade) การหาปริมาตรในการขุดและถมที่ (Cut and Fill) เป็นต้น อย่างไรก็ตามการใช้ไลดาร์ซึ่งใช้หลักการการสะท้อนกลับของคลื่นแสง ก็ยังมีข้อจำกัดสำหรับการแปลความวัตถุประเภทกระจก โลหะหรือน้ำที่สามารถสะท้อนแสงได้ดี ในพ.ศ.2565 สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้ดำเนินการสำรวจเนินโบราณสถานเมืองโบราณยะรังด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR) ในพื้นที่เมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ผลการศึกษาพบตำแหน่งร่องรอยผิดวิสัยจำนวน 40 จุด (มีตำแหน่งซ้ำกัน 4 จุด) พบพื้นที่พื้นที่ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเนินโบราณสถานเพิ่มเติมจำนวน 2 แห่ง อย่าลืมติดตามตอนสุดท้าย Ep.6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี ด้วยนะคะ --------------------------- Ep.1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/628320109334790 Ep.2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ? https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid023vs8jRqA2iqonHKfjBgCMWEC6GfQLWyYHFy8ogMX3RVt1UG1uy2pSNVxkd2s9BT6l Ep.3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid02yA8FEeS67MfC8HzjSBSYFYPtYd2b3nmNpXf9FQuwkajWb5X4woZgmPtHJ4vyyA8dl Ep.4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid0va5D37FDUqFdjb2uGRWXaLWPdEzE3awHxN52dk6ztdmCYgt5gfxBoVdH84dGAf5hl EP.5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR) Ep.6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี



        ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ขอแนะนำหนังสือ ศิลปากรสถาน : ผู้รังสรรค์งานมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ จำหน่ายราคา ๑,๓๕๐ บาท ผู้ที่สนใจสามารถซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) โทรศัพท์ ๐-๒๑๖๔-๒๕๐๑ ต่อ ๑๐๐๔ (ในวันและเวลาราชการ) หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th และสามารถติดตามข่าวสารหนังสือต่าง ๆ ของกรมศิลปากรได้ที่ facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร


แนะนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญนิทรรศการ “เงินตราในประเทศไทย : วิวัฒน์เงินตราไทย จากสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์” เหรียญเงิน พระบรมรูป – ตราไอราพต เหรียญเงิน พระบรมรูป – ตราไอราพต ชนิดราคา ๑ สลึง สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๖ นายศักดิ์สิทธิ์ เพชรเภรี มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ในนามนายสำราญ – นางสมวงศ์ เพชรเภรี บิดามารดา เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑ ลักษณะเป็นเหรียญกลมแบน ขอบมีเฟือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ทางขวา ริมขอบซ้ายมีพระปรมาภิไธย “มหาวชิราวุธ” ริมขอบขวามีคำว่า “สยามินทร์” ด้านหลังเป็นรูปช้างเอราวัณ ริมขอบซ้ายมีคำว่า “สยามรัฐ” ริมขอบขวามีตัวเลข “๒๔๖๒” เป็นปีพุทธศักราชที่ผลิต ริมขอบล่างเป็นคำว่า “หนึ่งสลึง”เหรียญชนิดนี้ประกอบด้วยราคาบาท สลึง และ ๒ สลึง สร้างในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๖๑ ซึ่งราคาโลหะเงินเพิ่มสูงขึ้นมากจึงได้ลดส่วนผสมของเงินที่ใช้ผลิตไปเป็นอัตราส่วนเงิน ๖๕ ส่วน ต่อทองแดง ๓๕ ส่วน และในปีเดียวกันนี้เงินมีราคาสูงขึ้นไปอีกจึงได้ลดอัตราส่วนเงินกับทองแดงไปเป็น ๕๐ ส่วน ต่อ ๕๐ ส่วน เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ต่อมาเมื่อสงครามโลกยุติลง ราคาโลหะเงินค่อยลดลง จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของเหรียญเงินนี้เป็นเงินต่อทองแดง ๖๕ ต่อ ๓๕


          กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี ขอเชิญร่วมการสัมมนาความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีของเมืองราชบุรี "รู้รากราชบุรี" ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารกรมศิลปากร (เทเวศร์) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เป็นพิพิธภัณฑสถานทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยาของจังหวัดราชบุรี โดยมีการจัดแสดนิทรรศการถาวรที่เน้นเรื่องราวของท้องถิ่น ทั้งด้านธรณีวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น ชาติพันธุ์วิทยา และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี ในปี 2566 นี้ กรมศิลปากรได้ดำเนินการโครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เพื่อเป็นการยกระดับการรักษาความปลอดภัยให้แก่โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ปรับปรุงการจัดแสดงให้มีความทันสมัย ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในพิพิธภัณฑ์ รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลทางวิชาการให้ทันสมัย และเป็นเอกภาพ อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทยให้เกิดความสมบูรณ์ จึงจัดการสัมมนาทางวิชาการเพื่อรวบรวมข้อมูลและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ ชาติพันธุ์วิทยาของเมืองราชบุรี อันจะนำไปสู่การพัฒนาบทจัดแสดงนิทรรศการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ที่มีความชัดเจนและเป็นปัจจุบัน            สำหรับการสัมมนา "รู้รากราชบุรี" ประกอบด้วย การปาฐกถา เรื่อง แนวทางการปรับปรุงการจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี โดยอธิบดีกรมศิลปากร และการบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจ จากคณาจารย์ผู้ศึกษาวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรม ชาติพันธุ์วิทยาของราชบุรี ได้แก่ การบรรยาย เรื่อง “ก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดราชบุรี: การทบทวนและข้อสังเกต” โดย ดร.ภีร์ เวณุนันทน์ ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร การบรรยาย เรื่อง “เมืองคูบัวกับความสำคัญต่อการศึกษาโบราณคดีสมัยทวารวดี” โดย รศ.ดร.สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร การบรรยาย เรื่อง “ประวัติศาสตร์ราชบุรีจากหัวเมืองตะวันตกสู่มณฑลราชบุรี” โดย ผศ.นุชนภางค์   ชุมดี ภาควิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร การบรรยาย เรื่อง “Re-Learning Ratchaburi เรียนรู้ราชบุรีผ่านวัฒนธรรมและชาติพันธุ์” โดย อ.ศศิธร ศิลป์วุฒยา ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และการบรรยาย เรื่อง “ประวัติศาสตร์ราชบุรีจากพุทธสถาน” โดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร            ผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนา "รู้รากราชบุรี" ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารกรมศิลปากร (เทเวศร์) สามารถลงทะเบียนผ่าน inbox facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 หรือติดตามรับชมการถ่ายทอดสด ผ่านช่องทางออนไลน์ : facebook live เพจ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และเพจ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี


ชื่อเรื่อง: ประมวลภาพในหลวง และพระราชพิธีต่างๆผู้แต่ง: -ปีที่พิมพ์: พ.ศ.๒๔๙๓สถานที่พิมพ์: ม.ป.ทสำนักพิมพ์: แผนกโรงงานสำนักพิมพ์ รัชดารมภ์ โรงพิมพ์วิบูลกิจจำนวนหน้า: ๒๕๔ หน้า เนื้อหา: หนังสือภาพพร้อมพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิทราธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตรและประมวลภาพและพระราชพิธีต่างๆ ทั้งคราวเสด็จนิวัติพระนคร ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๘ วันรับเสด็จ พ.ศ. ๒๔๙๓ พระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานกาชาด ๖ เมษายน ๒๔๙๓ ชุมนุนสมาชิกราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฯ ณ พระที่นั่งจักรี ๒๖ เมษายน ๒๔๙๓ พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส เสด็จพระราชดำเนินประพาศหัวหิน ๒๙เมษายน ๒๔๙๓ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชจริยาวัตรในยามปกติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระบรมราชินีเลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๔๒๖ เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๓๐หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (ไฟล์ดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์เท่านั้น)


          เขี้ยววาฬและการออกเรือล่า           คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้นำโบราณวัตถุศิลปวัตถุหายากมาจัดแสดงในนิทรรศการ “Museum Unveiling” เรื่องลึกเบื้องหลังพิพิธภัณฑ์ไทย ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ กันยายน ๒๕๖๖ คือ           เขี้ยววาฬสเปิร์ม (วาฬหัวทุย) แกะสลักเป็นภาพเรือล่าวาฬในมหาสมุทร มีข้อความว่า “Crew of Pacific killing a Sperm Whale”  อีกด้านหนึ่งแกะสลักภาพการตัดชิ้นส่วนของวาฬหัวทุย ใต้ภาพมีข้อความว่า “Ship Pacific cutting a Sperm Whale” เป็นศิลปะของกะลาสีเรียกว่าสคริมซอว์ (Scrimsham) เป็นที่นิยมในหมู่นักล่าวาฬ ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย            วาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่เคยถูกล่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร บางกลุ่มชนถือว่าเป็นกิจกรรมสำหรับบุคคลที่มีกำลังและอายุเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จนกลายเป็นฤดูกาลหรือเทศกาลประจำปี อาทิ เทศกาลนาลุคกาทัคของชาวอินูเปียต           ในช่วงศตวรรษที่ ๗ ของญี่ปุ่น ปรากฏหลักฐานบันทึก “โคจิกิ” กล่าวถึง จักรพรรดิจิมมุที่ทรงเสวยเนื้อปลาวาฬ และคำว่า "อิซานาโทริ“ คือ วัฒนธรรมการฆ่าวาฬด้วยดาบ และใช้อวนดักจับ ทั้งนี้สหรัฐอเมริกา แคนาดา นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์ ก็มีการล่าวาฬเพื่อการบริโภค โดยใช้ประโยชน์จากไขมันและกระดูกส่วนต่างๆ ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบการล่าในศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ด้วยการออกเรือเป็นกลุ่มและใช้อาวุธประเภทหอก ต่อมาได้เปลี่ยนมารูปแบบการล่ามาเป็นการใช้อาวุธปืน            การล่าวาฬในเชิงพาณิชย์ได้รับความนิยมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยเป็นช่วงการขาดแคลนอาหาร จึงมีความพยายามแสวงหาอาหารรูปแบบใหม่ และมีการดัดแปลงเรือสำหรับรองรับการล่าวาฬด้วย ภายหลังการจัดตั้งองค์กร International Whaling Commission (IWC) ขึ้น มีการออกกฎหมายและควบคุมตามอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการล่าวาฬ ซึ่งจำกัดจำนวนการล่าวาฬสำหรับใช้ในการวิจัยและทางวิทยาศาสตร์มากกว่าการบริโภค           นอกจากกระดูกวาฬที่ใช้ในการศึกษาธรรมชาติวิทยาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแล้ว “เขี้ยววาฬ” ก็นับเป็นสมบัติล้ำค่าหายากของนักสะสม มีความเชื่อว่าสามารถคุ้มครองนักเดินเรือให้แคล้วคลาดปลอดภัย หากนำมาแกะสลักจะมีคุณค่าเทียบเท่ากับเขายูนิคอร์น ทั้งนี้เขี้ยวแต่ละซี่ของวาฬหัวทุยอาจมีน้ำหนักมากถึง ๑ กิโลกรัม และอาจมีความยาวถึง ๒๐ เซ็นติเมตร           บางชุมชนของญี่ปุ่นยังมีการตั้งศาลวาฬหรือคุจิระให้สักการะในฐานะเทพเจ้า คล้ายคลึงกับศาลเจ้าจีนในไทยที่มีการเก็บสะสมปากปลาฉนาก กระดองเต่า กะโหลกฉลาม ซึ่งให้ความเคารพในฐานะ "เจ้าพ่อน้ำ" เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ นับเป็นวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังประจำศาสนสถาน           หากท่านสนใจของสะสมหายาก "ของแปลก" ที่เคยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ยังคงมีอีกหนึ่งวัน แอดมินแอบกระซิบว่ามีหนังสือ "คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" แจกในงานด้วยนะ     อ้างอิง การล่าวาฬ วัฒนธรรมการค้า และการต่อสู้เชิงอนุรักษ์. เข้าถึงเมื่อ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/1aKUw วิเคราะห์ และเข้าใจวัฒนธรรม กิน-ล่าวาฬของญี่ปุ่น .เข้าถึงเมื่อ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_208323 วาฬหัวทุยยักษ์. เข้าถึงเมื่อ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://whalewatch.co.nz/th_TH/thai/about-whales/


๒๓ ตุลาคม วันปิยมหาราชวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ภาพตรงกลางเป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารโดยแถวยืนถัดจากแถวนั่ง ลำดับที่ ๔ คือ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์สุดท้าย ลำดับที่ ๕ คือ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ ๖ คือ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางถ่าย ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ที่มาภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน


"เอาผ้าขาวมาวัดตัดสบง เย็บลงฝีเข็มเหมือนเล็มเลี่ยน ตัดจีวรสไบตะไกรเจียน เย็บทับจับเนียนเป็นเนื้อเดียว” จากขุนช้างขุนแผน ตอน พลายแก้วบวชเณร ไตรจีวร ถือเป็นปัจจัยเครื่องอัฏฐบริขารที่พระภิกษุใช้สอย โดยพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐาน คือ ตั้งไว้เป็นของประจำตัว ประกอบด้วย อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) และสังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนนอก) ในต้นพุทธกาลพระภิกษุคงใช้ผ้านุ่งห่มตามที่หามาได้ โดยเก็บเอาผ้าที่ถูกทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ ผ้าคลุกฝุ่น และผ้าห่อศพ เรียกว่า “ผ้าบังสกุล” ต่อมาพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาตให้รับผ้าจากฆราวาส ตามศรัทธาของอุบาสกอุบาสิกา และเพื่อบรรเทาความยากลำบากของพระภิกษุ รูปแบบของสีจีวรตามพระอรรถกถาจารย์ กล่าวว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้า... ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประเสริฐสีแดง มีวรรณะละม้ายยอดอ่อนแห่งต้นไทร (นิโครธ)” และ “..แม้พระมหาเถระทั้งหลาย มีท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะเปนต้น ก็ห่มบังสุกุลจีวรมีสีแดงเหมือนเมฆ” แสดงให้เห็นว่าน้ำย้อมจีวรที่ได้จากการเคี่ยวสีย้อมจากธรรมชาติ ทำให้มีความเข้มอ่อนแตกต่างกัน แต่ยังคงเป็นโทนสีแดงหรือเรียกว่าสีกรักแดง พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตใช้น้ำย้อมสำหรับผ้ากาสาวพัสตร์ คือ ผ้าจีวรที่ย้อมด้วยน้ำฝาด ๖ ชนิด อันเป็นการรักษาคุณภาพของผ้า เนื่องจากยางไม้บางประเภทมีคุณสมบัติทางยา ทำให้เชื้อราไม่เจริญเติบโต มีสีเข้มไม่เปื้อน และไม่เก็บความชื้น ทั้งนี้ยังกำหนดข้อห้ามใช้จีวรบางสีเพื่อให้เกิดความแตกต่างจากนักบวชของสำนักอื่นๆ การเย็บจีวรของพระภิกษุยังไม่มีรูปแบบชัดเจน โดยนำเศษผ้ามาเย็บต่อกันตามความสามารถของพระภิกษุสำหรับพอนุ่งหุ่มได้ แต่ยังดูไม่เป็นระเบียบ พระพุทธเจ้าจึงได้มอบให้พระอานนท์กำหนดการตัดเย็บจีวรตามรูปร่างผืนนาข้าวสำหรับเป็นแบบแผนเดียวกัน เรียกว่า ผ้าขัณฑ์ คือ ผ้าที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้พระสงฆ์ตัดจีวรเป็นกระทง มีลักษณะการตัดผ้าเป็นชิ้นๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกระทงนา แล้วเย็บติดกัน แต่ละชิ้นเรียกว่าขัณฑ์ โดยต้องตัดผ้าตามจำนวนเลขคี่ เรียกว่า ขัณฑ์ขอน พระธรรมวินัยได้บัญญัติขนาดของจีวร ในรตนวรรคสิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า “อนึ่งภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวรหรือยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคตในคำนั้น โดยยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต” หากจีวรมีขนาดย่อมกว่า แล้วพอดีกับบุคคลผู้ครองนั้นไม่มีข้อห้าม สำหรับพระภิกษุไทยนั้น ประมาณความยาวไม่เกิน ๖ ศอก กว้างไม่เกิน ๔ ศอกของผู้ครอง จีวรสีแก่นขนุน ๕ ขัณฑ์ นี้ ปักอักษรบริเวณกระทงความว่า “ผ้าผืนนี้ของสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริยรักธอเมื่อจุลสักราชได ๑๑๖๔ ปีจอจัตวาศก ด้ายหนักเขดลสลึงสองไพธอเป็นเนื้อเอกมือ ๛” โดยสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินีในรัชกาลที่ ๑) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน มีบทบาทเกี่ยวกับการสงคราม โขน-ละคร และการปฏิสังขรณ์วัดเลียบ ภายหลังพระราชทานนามว่า “วัดราชบูรณะ” จากลักษณะการเย็บทับจับเนียนเป็นเนื้อเดียว แสดงให้เห็นฝีมือการทอผ้าเนื้อละเอียดและการเย็บที่ต้องอาศัยความประณีตบรรจง มีขนาดต้องตามพระธรรมวินัย และอาจพอเหมาะกับรูปร่างของบุคคลผู้ครองจีวรด้วย จีวรผืนนี้ตามประวัติระบุว่า พระอาจารย์รวม วัดยาง ตำบลคลองกระแซง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มอบให้เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๗ . . อ้างอิง กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔. สุนทรี สุริยะรังษี. จีวร : การตัดเย็บจากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ ๓,๒(พฤษภาคม-สิงหาคม) ๒๕๕๙ พระสมุห์จักรพงศ์ จนฺทสีโล. ศึกษาการทรงผ้าจีวรของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาในเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑ ถมรัตน์ สีต์วรานนท์. ปทานุกรมผ้าไทย ใน “วารสารฝ้ายและสิ่งทอ” ๕,๙ (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ๒๕๒๕ ยิ้ม ปัณฑยางกูร. ประชุมหมายรับสั่ง ภาคที่ ๒ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, ๒๕๒๕


ชื่อเรื่อง                     เมืองพิษณุโลก และพระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราชผู้แต่ง                       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้แต่งเพิ่ม                  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยาเลขหมู่                      398.329593 ด495มพสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 กรมแผนที่ทหารบกปีที่พิมพ์                    2504ลักษณะวัสดุ               106 หน้า หัวเรื่อง                     พระพุทธชินราช                              พิษณุโลก – ประวัติ                              พิษณุโลก – ภูมิประเทศ – นำเที่ยว                              พิษณุโลก – โบราณสถานภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเล่มนี้รวบรวมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองพิษณุโลก




ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.45 คาถาอาคมและตำรายาประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ              49; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    คาถาอาคมและตำรายา                     ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัตินายดิเรก ทัศนพันธ์ ต.ดอนตาล  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 6 ต.ค..2538


Messenger