ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,838 รายการ

หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          ธรรมเทศนา                                    ชาดก                                    นิทานคติธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    40 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534  


เลขทะเบียน : นพ.บ.33/ก/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า  ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 19 (194-204) ผูก 2หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง :       กรมศิลปกร ชื่อเรื่อง :        ประติมากรรมทางพระพุทธศาสนาของไทย   ปีที่พิมพ์ :       2544 สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ โรงพิมพ์      :  รุ่งสิทธิ์ จำนวนหน้า    28 หน้า            หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากรได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้เกี่ยวศิลปวัฒนธรรมในมุมมองที่ลึกซึ่ง โดยมีรูปภาพ ซึ่งแสดงถึง มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย ให้ต่างชาติได้รับรู้และเป็นการเผยแพร่ส่งเสริมความเข้าทางศิลปะและวัฒนธรรมของชาติไทยสู่สาธารณะชน  


บริเวณนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ติดกับแม่น้ำแควน้อย ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน ๔ โครง แต่เห็นอยู่ในหลุมขุดค้นเพียง ๒ โครง เนื่องจากอีก ๒ โครงไม่สามารถกำหนดอายุและเพศได้ ทั้งถูกรบกวนจากสัตว์ในดิน จึงได้นำขึ้นจากหลุมและนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โครงกระดูกที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเพศหญิง อายุประมาณ ๓๐-๓๕ ปี และโครงที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเพศหญิง อายุประมาณ ๒๐-๓๐ ปี ทั้งสองโครงถูกฝังรวมกับภาชนะสำริด ลูกปัดหินอาเกตและคาร์นีเลียน และลูกปัดแก้ว แหล่งโบราณคดีที่เป็นหลุมฝังศพในลักษณะนี้ พบหลายแห่งตามริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย ในเขตอำเภอไทรโยค จนถึงอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แสดงถึงกลุ่มคนในวัฒนธรรมดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งน้ำมาก่อนที่จะมีการสร้างปราสาทเมืองสิงห์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จากหลักฐานต่างๆ ที่พบแสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนเหล่านี้เคยอยู่มาเมื่อประมาณ ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว และเคยมีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนอื่น เช่นที่แหล่งบ้านดอนตราเพชร อำเภอพนมทวน เพราะหลักฐานต่างๆ ที่พบคล้ายคลึงกันและมีอายุในช่วงปลายของยุคโลหะเช่นเดียวกัน              


ชื่อเรื่อง : นิทานทองอิน ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 312 หน้า สาระสังเขป : นิทานทองอิน ผู้แต่งใช้นามปากกาว่า “นายแก้ว นายขวัญ”ซึ่งเป็นพระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เนื้อเรื่องมีลักษณะเป็นเรื่องสั้น ประเภทสืบสวนสอบสวน มีนายทองอินเป็นตัวละครเอก หรือที่เรียกว่า“พลตระเวนลับ” คอยสืบข่าวต่างๆ ให้ทางราชการ นิทานทองอิน มีทั้งหมด 2 ชุด 11 ตอน ตัวอย่างเช่น นากพระโขนงที่สอง  ความลับของแผ่นดิน ยายม้าบังกะโล ระเด่นลันได สร้อยคอร้อยชั่ง เป็นต้น


1. ตำรายาเกร็ด เช่น แก้สารพัดลมทั้งปวง, ยาคอ, ยาแก้คัน, แก้ลงท้อง, ยาอยู่ไฟไม่ได้, ยาแก้เจ็บท้อง, ยาต้มแก้ไข้ปัจจุบัน, แก้การจับหัวใจ, ยาหัสราสี, ยามะหาวิเสไส, กำเนิดริดสีดวงมหาการ 43 พวก, ยาทำลายพระสุเมนอย ฯลฯ 2. เวทย์มนต์คาถา เช่น บทไหว้ครูและมนต์พนสากพ้น


ชื่อเรื่อง : ประชุมกลอนสุภาษิตสุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายกาญจน์ พันธ์ฤกษ์ ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2499 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : บริษัท ไทยหัตถการพิมพ์ จำนวนหน้า : 102 หน้า สาระสังเขป : ด้วยนายเหลื่อม พันธ์ฤกษ์ ได้มาติดต่อ ณ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เพื่อขออนุญาตจัดพิมพ์ประชุมกลอนสุภาษิตสุนทรภู่ อันมีเรื่องสวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท และสุภาษิตสอนตรี ตีพิมพ์อยู่รวม 3 เรื่อง ด้วยกัน เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายกาญจน์ พันธ์ฤกษ์ ผู้เป็นบิดา เรื่องทั้ง 3 นี้ มีอธิบายความเป็นมา ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ ได้นำมาจัดพิมพ์ไว้ ณ เบื้องต้นของเรื่องด้วย






ชื่อเรื่อง : สาวิตรี ความเรียงและบทละครร้อง ผู้แต่ง : มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2528 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ธนาคารออมสิน



          กลองมโหระทึก เป็นกลองชนิดหนึ่งที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อ ซึ่งมีอายุประมาณ 2,000 – 3,000 ปีมาแล้ว ทำด้วยโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะรูปร่างคล้ายทรงกระบอก ส่วนหน้ากลองและฐานนั้นผายออก มีด้านหนึ่งเป็นแผ่นเรียบซึ่งเป็นส่วนของหน้ากลอง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นส่วนฐานเป็นรูปกรวยและกลวง กลองมโหระทึกนั้นมีกำเนิดในแถบเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม จัดอยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมดองซอน ต่อมาได้รับเอาวิธีการหลอมโลหะมาจากจีน ในส่วนของประเทศไทยนั้น มีหลักฐานปรากฏชัดว่า ได้มีการผลิตและใช้กลองมโหระทึกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคโลหะเป็นต้นมา รูปแบบกลองมโหระทึก            แบ่งออกได้เป็น 4 แบบ คือ            - แบบที่ 1 เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ กลองทำเป็นรูปคล้ายกลองรำมะนา ส่วนที่อยู่เหนือหูมีลักษณะโค้งผายและปิดทึบ ถัดมาเป็นส่วนตรงกลางมีรูปเป็นทรงกระบอก ส่วนล่างสุดโค้งผายออกและกลวงคล้ายบาตรคว่ำ กลองแบบนี้เป็นกลองที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด และทางใต้ของประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่พบแบบที่ 1            - แบบที่ 2 เป็นกลองขนาดปานกลาง ส่วนของหน้ากลองมีลักษณะโค้งมากขึ้นจนดูคล้ายทรงกระบอก ส่วนหูจะมี 2 อัน คู่กัน กลองแบบนี้พวกมวงในประเทศเวียดนามยังคงใช้กันอยู่            - แบบที่ 3 เป็นกลองขนาดกลาง ส่วนตอนกลางและตอนล่างจะกลมกลืนกันจนแยกไม่ค่อยออก ส่วนหน้ากลองจะมีรูปกบประกอบเกาะแน่นอยู่หลายตัว กลองแบบนี้เรียกว่า แบบยางหรือแบบกระเหรี่ยง เพราะชาวกระเหรี่ยงยังคงใช้กันจนทุกวันนี้           แบบที่ 4 เป็นแบบที่คล้ายทรงกระบอกเตี้ยและมีขนาดเล็ก บางครั้งเรียกว่า แบบจีนและมีลวดลายตกแต่งเป็นลายจีน มีหูจับ 2 คู่ ปัจจุบันยังคงพบและมีการใช้กันตามวัดในประเทศจีน ลวดลายประดับ          1. ลายดวงดาวหรือดวงอาทิตย์ เป็นลายที่สำคัญที่สุด พบบนหน้ากลองมโหระทึกตั้งแต่รุ่นแรกๆ จนถึงรุ่นหลังสุด สัญนิษฐานว่ากลุ่มชนที่สร้างกลองมโหระทึกอาจนับถือหรือเคารพบูชาดวงอาทิตย์           2. ลายนกบิน เป็นลายรูปสัตว์ที่สำคัญลายหนึ่งที่พบบนหน้ากลองมโหระทึก ลายนกบินที่พบส่วนใหญ่จะมีหลายตัวตั้งแต่ 4 ตัวขึ้นไป สัญนิษฐานว่าลายนกบินนั้นอาจหมายถึงนกส่งวิญญาณตามความเชื่อของกลุ่มชน คือใช้ในการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย           3. ประติมากรรมลอยตัวรูปกบ ความสำคัญของกบบนขอบหน้ากลองสันนิษฐานว่าเนื่องจากกบเป็นสัตว์ที่คนในสังคมเกษตรคุ้นเคย เป็นสัตว์ที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ คาดว่ากลองมโหระทึกแบบนี้น่าจะเกี่ยวกับการเกษตรกรรมวัตถุประสงค์ในการผลิตกลองมโหระทึก           มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับกลองมโหระทึก โดยศึกษาจากชนเผ่าที่ยังใช้กลองมโหระทึกกันอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงตีความจากลวดลายที่ปรากฏบนหน้ากลอง และจากหลักฐานทางโบราณคดี พบว่ากลองมโหระทึกนั้นผลิตขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป อาทิเช่น - ใช้เป็นสิ่งแสดงถึงฐานะและความมั่งมี พวกเหลียว (Liao) ในประเทศจีน ถือว่าผู้ใดมีกลองใบใหญ่จะได้รับการยกย่องให้เป็นทู-ลาว (Tu-lao) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องนับถือจากคนในชุมชน - ใช้เป็นสิ่งสำคัญในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความตาย พบว่าพวกกระเหรี่ยงในพม่าและภาคตะวันตกของไทยใช้กลองมโหระทึกในการตีเพื่อเรียกวิญญานของผู้ตาย โดยเชื่อว่าผู้ตายนั้นจะแปลงร่างเป็นนก และใช้กลองมโหระทึกเป็นแท่นวางเครื่องสังเวย นอกจากนี้ยังมีการตีความลายนกบินทวนเข็มนาฬิกาที่ปรากฏบนหน้ากลองว่า อาจเป็นกลองที่ใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย และในทางตอนใต้ของจีน ที่สุสานสือไจ้ซาน มณฑลหยุนหนาน ได้มีการขุดพบกลองมโหระทึกในพื้นที่สุสานด้วย - ใช้ตีเป็นสัญญาณในคราวออกศึกสงคราม ที่ปาเซมะ(Pasemah) เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ได้มีการค้นพบประติมากรรมนักรบมีกลองมโหระทึกขนาดกลางแขวนอยู่ด้านหลัง - ใช้ตีในการประกอบพิธีกรรมขอฝน พบว่ากลองมโหระทึกบางใบมีการทำรูปสัตว์ต่าง เช่น กบ หอยทาก ช้าง จักจั่น ติดบนหน้ากลอง ซึ่งเชื่อว่าสัตว์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับฝน ในทางตอนใต้ของจีนเชื่อว่า กบ และคางคกจะบอกเหตุล่วงหน้าว่าฝนจะตก - ใช้ในการประกอบพิธีกรรมอื่นๆ เช่น ในประเทศพม่าจะมีการตีกลองมโหระทึกในงานประเพณีของกลุ่มชนพื้นเมือง ส่วนในประเทศไทยพบว่ามีการตีกลองในงานมงคล และใช้ตีในงานพระราชพิธี อย่างเช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ภาพ : มโหระทึกและฆ้องชัยในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ           กลองมโหระทึกที่พบจากชุมชนโบราณเขาสามแก้ว พบในบริเวณเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ภาพ : กลองมโหระทึก ขนาด (ฐาน) ศก.18.5 ซม. สูง 16.5 ซม. (หน้ากลอง) ศก.15.5 ซม. ชนิด สำริด สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พุทธศตวรรษที่ 5-10 ลักษณะวัตถุ : หน้ากลองตกแต่งลายดวงอาทิตย์หรือดาว 8 แฉก ล้อมรอบด้วยลายนกกระสาบินทวนเข็มนาฬิกา ประวัติ : พบที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร นำมาจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2540 ภาพ : กลองมโหระทึก ขนาด กว้าง 76 ซม. สูง 56 ซม. (หน้ากลอง) ศก.68.5 ซม. ชนิด สำริด สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พุทธศตวรรษที่ 5-10 ลักษณะวัตถุ : หน้ากลองตกแต่งลายดวงอาทิตย์หรือดาว 12 แฉก คั่นด้วยลายหางนกยูงล้อมรอบด้วยลายนกกระสาบินทวนเข็มนาฬิกาและลายเรขาคณิต ด้านข้างกลองตอนบนมีหู 4 หู โดยรอบ ตัวกลองตกแต่งลายวงกลมมีจุดตรงกลางมีเส้นทแยงในแนวตั้ง ประวัติ : พบที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร นำมาจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2540 ภาพ : กลองมโหระทึก ขนาด สูง 51 ซม. ศก.หน้ากลอง 69 ซม. ชนิด สำริด สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พุทธศตวรรษที่ 5-10 ลักษณะวัตถุ : ทรงกลมสีเทาดำ หน้ากลองแบนราบ ตัวกลองป่องออกแล้วคอดเข้า ก่อนผายออกเป็นฐานมีหูสี่คู่ ภายในกรวง หน้ากลองตกแต่งลายดวงอาทิตย์สิบสี่แฉกล้อมรอบด้วยลายเส้น ลายจุด ลายนกยูงเหลียวหลังจำนวนหกตัว ลายปีกใบพัดจำนวนสิบสองตัว และลายนกกระสาสิบหกตัว บินทวนเข็มนาฬิกา ด้านข้างกลองตกแต่งลายเส้น ลายวงกลม ลายเส้นทแยง ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าและลายวงกลมขนาดเล็ก ประวัติ : พบในคลองท่าตะเภา ตำบลบางลึก (เขาสามแก้ว) อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร นำมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2554 ภาพ : ลวดลายบนหน้ากลองมโหระทึก-----------------------------------------ข้อมูลโดย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร -----------------------------------------เอกสารอ้างอิงภาพลายเส้นจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เขมชาติ เทพไชย. "รายงานการสำรวจและศึกษากลองมโหระทึก ณ บ้านยวนเฒ่า ตำบลเทพราช อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช" ใน ศิลปากร ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๔, หน้า ๘๒-๙๘. เมธินี จิระวัฒนา. กลองมโหระทึกในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒. สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๑. ระบบทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร


ชื่อผู้แต่ง          จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ชื่อเรื่อง           อักษรอริยกะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคิดประดิษฐ์ ลายพระหัตถ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      พระนคร สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์          2501 จำนวนหน้า      27  หน้า รายละเอียด           จัดพิมพ์ขั้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในสุรทินตรงกับวันสิ้นพระชนม์ ปีที่ 38  วันที่  2 สิงหาคม 2501  เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย 2  เรื่องคือ อักษรอริยกะ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นใช้สำหรับเขียนภาษาบาลีและลายพระหัตถ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับเรื่องเมืองกำแพงเพชร มีตัวอย่างอักษรอริยกะพร้อมเขียนแปลเป็นภาษาไทย นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายของหัวหน้ากองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรและคำอธิบายเพิ่มเติม ประกอบท้ายเล่ม



Messenger