ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,423 รายการ

ชื่อเรื่อง                     ทางไมตรีกับฝรั่งในรัชกาลที่ 4ผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์เอเชียเลขหมู่                      959.3056 ท374ทจสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ตีรณสารปีที่พิมพ์                    2502ลักษณะวัสดุ               284 หน้า หัวเรื่อง                     ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 4                              ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ – อังกฤษภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเรื่องเซอร์ยอนโบว์ริง เข้ามาเมืองไทยทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศสยาม เมื่อปี พ.ศ. 2398: ตามข้อความในหนังสือรายวัน ของเซอร์ยอนโบว์ริง ตั้งแต่วันที่ 24 มินาคม ถึง วันที่ 25 เมษายน พิมพ์ตามต้นฉบับเมื่อ พ.ศ. 2456 / แปลแต่งโดย เพ่ง พ, ป, บุนนาคประชุมพงศาวดารภาคที่ 62 เรื่องทูตฝรั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์: ตอนกล่าวถึงทางไมตรีกับฝรั่งในรัชกาลที่ 4



         พระเจ้าเข้านิพพาน (พระพุทธรูปปางถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ)          ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ (ประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว)           สมบัติเดิมของวัดโบสถ์ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี           โลหะผสมปิดทอง กว้าง ๘.๗ เซนติเมตร ยาว ๒๐ เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน ๑๙.๕ เซนติเมตร           ปัจจุบันจัดแสดงใน นิทรรศการพิเศษ “พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนถึงวันอาทิตย์ที่ ๑๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖          ประติมากรรมรูปพระหีบประดิษฐานพระพุทธสรีระ ซึ่งแสดงปาฏิหาริย์เหยียดพระบาททะลุออกมาภายนอกพระหีบเพื่อให้พระมหากัสสปะบูชาด้วยเศียรเกล้า พระหีบปากผายมีฝาปิดตั้งบนพระจิตกาธาน ส่วนบนประดับกลีบบัวหงายพระหีบและฐานตกแต่งลวดลายนูน  มีรูปพระสาวก ๕ องค์ นั่งอยู่ฐานสี่เหลี่ยม ฐานแต่ละองค์จารึกระบุนาม คือ พระอนุรุทธ พระอุบาลี และพระมหากัสสปะ ทั้ง ๓ รูป นั่งประคองอัญชลีระหว่างอก พระสุภัททะ นั่งชันเข่าข้างหนึ่ง และพระอานนท์ นั่งกระหย่งก้มใบหน้า มือขวาทาบที่หน้าอก มือซ้ายยกป้องใบหน้า แสดงความโศกเศร้าเสียใจ          พระสุภัททะ ที่นั่งในท่าทางไม่สำรวมนี้ คงได้แก่ พระสุภัททวุฑฒบรรพชิต ภิกษถผู้บวชเมื่อแก่  พระสุภัททะเมื่อรู้ว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้กล่าวว่า “การที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปนั้นดีแล้ว เพราะเวลาที่ทรงพระชนม์อยู่นั้น มีแต่ทรงห้ามไม่ให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว พวกเราก็จักทำตามชอบใจได้” ครั้งพระมหากัสสปเถระได้ฟังคำพระสุภัททะเช่นนั้น ก็เกิดธรรมสังเวชและเหตุนี้ส่งผลให้เกิดการทำสังคายนาครั้งแรกขึ้นภายหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้  ๓ เดือน          งานศิลปกรรมพระพุทธเจ้าเข้านิพพานในประเทศไทยพบหลักฐานการสร้างเก่าที่สุดในสมัยสุโขทัย เมื่อราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ประมาณ ๖๐๐ ปีมาแล้ว) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา-รัตนโกสินทร์ พบทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม และพระพิมพ์ โดยมีคติการสร้างเพื่อบูชาเนื่องในพิธีอัฐมีบูชา หรือการบูชาในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ วันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ มกุฏพันธนเจดีย์    



อธิบดีกรมศิลปากรปลื้ม “ราตรีนี้...ที่ วัดไชยวัฒนาราม” คึกคัก ต่อยอดความสำเร็จขยายเวลาเปิดพิพิธภัณฑ์เครื่องทอง เพิ่มอยุธยาไนท์มาร์เก็ต วัดราชบูรณะ รับนักท่องเที่ยว            วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เดินทางไปติดตามความคืบหน้าโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรี ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชมกิจกรรมตลาดย้อนยุค อยุธยาไนท์มาร์เก็ต บริเวณลานด้านข้างวัดราชบูรณะ และกิจกรรม “ราตรีนี้...ที่ วัดไชยวัฒนาราม”            อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ผลการดำเนินงานการท่องเที่ยวโบราณยามราตรีที่วัดไชยวัฒนาราม ถือเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่สำคัญ แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนนโยบายการดำเนินการแบบควิกวิน (Quick Win) ของรัฐบาล นอกจากจะส่งผลสำเร็จด้านการท่องเที่ยว คือจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และทำให้นักท่องเที่ยวเหล่านั้นหันมาพัก ค้างแรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามากขึ้น ยังทำให้ธุรกิจในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ร้านเช่าชุดไทย ร้านอาหาร บริการต่าง ๆ มีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างมาก กรมศิลปากรจึงมีแนวคิดต่อยอดความสำเร็จดังกล่าว โดยการขยายเวลาเปิดให้บริการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ซึ่งจัดแสดงเครื่องทองสมัยอยุธยาที่สวยงามและมีจำนวนมากที่สุดของประเทศไทย และเปิดให้เข้าชมวัดราชบูรณะ ยามค่ำคืน เพิ่มเติม เพื่อเชื่อมโยงเรื่องราว และทำให้นักท่องเที่ยวมีสถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืนเพิ่มขึ้น             นอกจากนี้ ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดตั้งตลาดย้อนยุค ไนท์มาร์เก็ต ขึ้นบริเวณลานด้านข้างวัดราชบูรณะ เพี่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนในภาพรวมของผู้ประกอบการโอทอป วิสาหกิจชุมชน SME รองรับนักท่องเที่ยวยามค่ำ รวมถึงภาคธุรกิจโรงแรม ที่พัก เกสต์เฮ้าส์ รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ รถจักรยานเช่า ร้านเช่าชุดไทย ร้านค้าต่าง ๆ จะได้รับอานิสงส์จากการที่มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นและมาพักค้างคืนในอยุธยา ช่วงวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ โดยตลาดอยุธยาไนท์มาร์เก็ต เปิดทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ตามนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล             สำหรับกิจกรรม “ราตรีนี้...ที่ วัดไชยวัฒนาราม” ซึ่งเปิดให้เข้าชมในเวลา ๑๘.๐๐ – ๒๒.๐๐ น. ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และเทศกาลสำคัญนั้น จะเปิดให้เข้าชมเป็นพิเศษ ติดต่อกัน ๕ วัน ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เพื่อเป็นการรับลมหนาว โดยวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ จะมีการขับร้องและบรรเลงดนตรี จากศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ท่ามกลางโบราณสถานในยามค่ำคืน อีกด้วย


          กรมศิลปากรจัดกิจกรรมศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา - ศรีเทพ” นำผู้สนใจกว่า 80 คน ร่วมทัวร์ไปกับกรมศิลปากร ระหว่างวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2567 พร้อมชมการแสดงโขนประกอบแสงสี ณ วัดไชยวัฒนาราม เรื่องรามเกียรติ์ ชุด “สัจจะพาลี” โดยมีวิทยากรและนักโบราณคดีในแต่ละพื้นที่เป็นมัคคุเทศก์ร่วมให้ความรู้และข้อมูลแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ           นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ตามที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากรดำเนินโครงการส่งเสริม Soft Power ด้านการท่องเที่ยว  ในมิติทางวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวโบราณสถานตามจุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน กรมศิลปากรจึงจัดกิจกรรมศิลปากรสัญจร เพื่อแนะนำเส้นทางท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จัก พร้อมทั้งให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชนและประเทศ ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจชาติ หลังจากนี้จะมีการจัดกิจกรรมศิลปากรสัญจรในอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางในกรุงเทพมหานคร สืบสานธรรมเนียมโบราณ นมัสการพระใหญ่เพื่อเป็นสิริมงคล ย้อนประวัติศาสตร์ “ชุมชนกุฎีจีน” ท่องไปในชุมชนเก่าแก่ สะท้อนภาพวิถีชีวิตผู้คนจากแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และเส้นทางวัฒนธรรมวงแหวนตะวันตก : ต้นธารแห่งอารยธรรมไทย นำเที่ยวแหล่งโบราณสถานและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในพื้นที่ภาคตะวันตกของไทย ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม            ศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา - ศรีเทพ” เยือนแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 2 แห่ง ได้แก่ เมืองโบราณพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เริ่มต้นด้วยการสักการะพระพุทธสิหิงค์ และชมห้องจัดแสดงนิทรรศการศิลปะทวารวดีและศิลปะอยุธยา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จากนั้นเดินทางไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก เมื่อพุทธศักราช 2534 ภายใต้ชื่อ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ชมนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และแต่งชุดไทยชมวัดไชยวัฒนารามยามเย็น พร้อมชมการแสดงโขนสุดวิจิตรครั้งประวัติศาสตร์ โขนประกอบแสงสี เรื่องรามเกียรติ์ ชุด สัจจะพาลี โดยศิลปินจากสำนักการสังคีต รุ่งเช้าร่วมกิจกรรมตักบาตร ณ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร และออกเดินทางไปจังหวัดเพชรบูรณ์ ชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ มรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก เมื่อพุทธศักราช 2566 ภายใต้ชื่อเมืองโบราณศรีเทพ และโบราณสถานสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง



          หม่อมราชวงศ์ถนอมศักดิ์ กฤดากร           ผลงาน : ม.ร.ว.ถนอมศักดิ์ กฤดากร (M.R. Thanomsak Kritsadakorn)           ศิลปิน : นายเฟื้อ หริพิทักษ์ (Fua Hariphitak)           เทคนิค : ปั้นดินเหนียว หล่อบรอนซ์ (Technique of Clay Sculpture and Bronze Cast)           ขนาด : สูง 35 เซนติเมตร (Height 35 cm.)           ปีที่สร้างสรรค์ : พ.ศ. 2481 (1938)           ประวัติ :เฟื้อ หริพิทักษ์ เป็นศิลปินหัวก้าวหน้า ที่ท้าทายและปฏิเสธศิลปะตามหลักวิชาการ อันเป็นกระแสหลักของวงการศิลปะไทยในช่วงทศวรรษที่ 2470 - 2480 (สุธี 2454 : 55) มีความชำนาญทั้งการเขียนภาพ และงานประติมากรรม พื้นฐานการศึกษาของเฟื้อ เริ่มต้นที่โรงเรียนเพราะช่าง แล้วเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนประณีตศิลปกรรม และมีโอกาสไปศึกษาที่แระเทศอินเดียและอิตาลีตามลำดับ ทางด้านหน้าที่การงาน เฟื้อประสบความสำเร็จอย่างสูง นอกจากรับราชการตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรและวิทยาลัยช่างศิลปแล้ว ยังได้รับยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมใน พ.ศ.2500 ได้รับรางวัลแมกไซไซใน พ.ศ.2526 และได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตกรรมฉ เมื่อปี พ.ศ.2528 (ขนิษฐษ และคณะ 2535 : 55 - 56) ประติมากรรมภาพเหมือนรูปนี้ จัดเป็นงานยุคแรกเริ่มต้นเส้นทางการเป็นศิลปินของท่าน           อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (Guide to The National Gallery, Bangkok)                        หนังสือ 100 ปี เฟื้อ หริพิทักษ์ (หน้า 111)           แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nationalgallery/360/model/zz08ok/     ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nationalgallery/



โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (ม.6) จ.นครปฐม  (เวลา 09.00 น.) จำนวน 47 คนวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน ๔๗ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่งพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้






พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ). ประเพณีเรื่องแต่งงานบ่าวสาวของไทย. พระนคร : รุ่งเรืองธรรม, 2510.




Messenger